วิเคราะห์โมเดล ร้าน Sushiro ทำไมขายซูชิคุณภาพดี ในราคาไม่แพง
5 พ.ค. 2022
วิเคราะห์โมเดล ร้าน Sushiro ทำไมขายซูชิคุณภาพดี ในราคาไม่แพง | BrandCase
ในประเทศไทยสมัยก่อน เมนูซูชิ ถือเป็นอาหารจานหรู ที่มีราคาแพง ยิ่งเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นที่ขึ้นห้าง คุณภาพดี แน่นอนว่าราคาเฉลี่ยต่อจานก็จะอยู่ที่ 100 บาทขึ้นไป
หรือถ้าจะทานให้อิ่ม ก็จะต้องควักเงินในกระเป๋าเป็นหลักพันบาทแน่ ๆ
เพราะปลาดิบต่าง ๆ มักจะเป็นวัตถุดิบนำเข้าที่มีคุณภาพ มีค่าขนส่ง และต้องใช้เชฟมีฝีมือ รวมถึงต้องมีพนักงานมากมาย มาคอยให้บริการลูกค้า
แต่ในวันนี้ ใครหลายคนสามารถเข้าถึงเมนูซูชิขึ้นห้างได้ง่ายขึ้น ด้วยราคาเฉลี่ยต่อจานที่ถูกลง
อย่างร้าน Sushiro ที่มีราคาต่อจานเริ่มต้นที่ 40, 60, 80 และ 120 บาทเท่านั้น
เห็นราคานี้ หลาย ๆ คนอาจจะถามว่า ถูกตรงไหน ?
แต่สำหรับคนที่ชื่นชอบซูชิเป็นชีวิตจิตใจ
ราคานี้กับคุณภาพระดับนี้ ถือว่าไม่แพงเลย
เมื่อก่อนหลายคนคงไม่คิดว่า จะได้กินซูชิโฮตาเตะ ในราคา 60 บาท
หรือซูชิชูโทโระ ในราคา 80 บาท ที่มาพร้อมคุณภาพและการบริการที่ค่อนข้างดี แถมยังอยู่ในพื้นที่ทำเลทองในห้างใหญ่ เช่น เซ็นทรัลเวิลด์
แล้วทำไมร้านซูชิสายพาน อย่าง Sushiro ถึงตั้งราคาถูกได้ ?
BrandCase จะสรุปให้ฟัง..
1. ใช้เครื่องจักร เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายในการบริการ
ในประเทศญี่ปุ่น ต้นทุนแรงงานคน ถือว่าเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นในประเทศญี่ปุ่นจึงชอบคิดค้นโมเดลธุรกิจที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ภายในร้าน เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
อย่างเช่น การใช้สายพาน แบบร้าน Sushiro
โดยสายพานของทางร้าน Sushiro จะมี 2 สายพาน
แบ่งออกเป็นสายพานชั้นล่าง ที่เป็นสายพานสำหรับซูชิทั่วไป ที่หมุนเวียนมาเสิร์ฟอยู่ตลอด และสายพานชั้นบน สำหรับซูชิที่ถูกสั่งผ่านแท็บเล็ต และจะส่งตรงมาที่โต๊ะของคนที่สั่งเลย
ซึ่งการทำให้ลูกค้าสามารถสั่ง และหยิบเมนูได้ด้วยตัวเอง นอกจากจะไม่ต้องพึ่งพาแรงงานคนแล้ว ลูกค้ายังได้รับความรวดเร็วในการบริการด้วย
แน่นอนว่าระบบสายพานพวกนี้ ในช่วงแรกน่าจะใช้เงินลงทุนไม่น้อย
แต่ในระยะยาวก็น่าจะคุ้มค่า เมื่อเทียบกับต้นทุนที่ต้องเสียไป กับการจ้างพนักงานมาบริการจำนวนมากในร้านตลอดเวลา
2. เน้นหมุนรอบการบริการให้เร็ว ทำให้สามารถรับลูกค้าได้จำนวนที่มากขึ้นต่อวัน
โดยปกติแล้ว หากพนักงานต้องคอยมาบริการลูกค้าให้ครบทุกโต๊ะ แน่นอนว่าจะต้องใช้เวลาหมุนเวียนต่อโต๊ะค่อนข้างนาน อย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อโต๊ะ
กว่าพนักงานจะเดินไปรับออร์เดอร์จากโต๊ะหนึ่งไปอีกโต๊ะหนึ่ง กว่าจะเดินเสิร์ฟให้ครบแต่ละโต๊ะ ล้วนต้องใช้เวลาที่ยาวนาน มากกว่าเครื่องจักรอย่างแน่นอน
ดังนั้นเมื่อมีสายพานเข้ามาช่วยบริการลูกค้า ลูกค้าจะใช้เวลาต่อโต๊ะ เฉลี่ยเพียง 30-40 นาทีเท่านั้น ส่งผลให้ลูกค้าคนต่อไปไม่ต้องรอคิวนาน และยังสามารถรับลูกค้าในแต่ละวันได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
เมื่อร้านอาหาร สามารถรับลูกค้าในแต่ละวันได้มากขึ้น ทางร้านก็สามารถสั่งวัตถุดิบได้ครั้งละมาก ๆ
ซึ่งก็เป็นไปตามหลัก Economies of scale คือ ยิ่งสั่งหรือยิ่งผลิตของในล็อตหนึ่งมากขึ้น (ในระดับการผลิตหนึ่ง) ก็ยิ่งทำให้ต้นทุนในการผลิตนั้นถูกลง เท่ากับว่าทำให้ร้าน สามารถลดต้นทุนวัตถุดิบลงได้อีก
สรุปคือเราวิเคราะห์ได้ว่า ร้าน Sushiro ที่ขายซูชิสายพานขึ้นห้างในราคาถูกได้
ส่วนสำคัญน่าจะเพราะ การใช้สายพานที่ช่วยควบคุมต้นทุนการบริการได้ดี
และทางร้านก็เลือกตั้งราคาให้คนเข้าถึงได้ง่าย ไม่เน้นขายต่อชิ้นแพง ๆ
แต่เน้นให้คนรู้สึกว่า ราคาจับต้องได้ไม่ยาก
จนต้องมารอคิวทานกันเต็มหน้าร้านตลอด นั่นเอง..
Reference:
-https://www.facebook.com/SushiroThailand/photos/a.712094086145348/729381141083309/?type=3
ในประเทศไทยสมัยก่อน เมนูซูชิ ถือเป็นอาหารจานหรู ที่มีราคาแพง ยิ่งเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นที่ขึ้นห้าง คุณภาพดี แน่นอนว่าราคาเฉลี่ยต่อจานก็จะอยู่ที่ 100 บาทขึ้นไป
หรือถ้าจะทานให้อิ่ม ก็จะต้องควักเงินในกระเป๋าเป็นหลักพันบาทแน่ ๆ
เพราะปลาดิบต่าง ๆ มักจะเป็นวัตถุดิบนำเข้าที่มีคุณภาพ มีค่าขนส่ง และต้องใช้เชฟมีฝีมือ รวมถึงต้องมีพนักงานมากมาย มาคอยให้บริการลูกค้า
แต่ในวันนี้ ใครหลายคนสามารถเข้าถึงเมนูซูชิขึ้นห้างได้ง่ายขึ้น ด้วยราคาเฉลี่ยต่อจานที่ถูกลง
อย่างร้าน Sushiro ที่มีราคาต่อจานเริ่มต้นที่ 40, 60, 80 และ 120 บาทเท่านั้น
เห็นราคานี้ หลาย ๆ คนอาจจะถามว่า ถูกตรงไหน ?
แต่สำหรับคนที่ชื่นชอบซูชิเป็นชีวิตจิตใจ
ราคานี้กับคุณภาพระดับนี้ ถือว่าไม่แพงเลย
เมื่อก่อนหลายคนคงไม่คิดว่า จะได้กินซูชิโฮตาเตะ ในราคา 60 บาท
หรือซูชิชูโทโระ ในราคา 80 บาท ที่มาพร้อมคุณภาพและการบริการที่ค่อนข้างดี แถมยังอยู่ในพื้นที่ทำเลทองในห้างใหญ่ เช่น เซ็นทรัลเวิลด์
แล้วทำไมร้านซูชิสายพาน อย่าง Sushiro ถึงตั้งราคาถูกได้ ?
BrandCase จะสรุปให้ฟัง..
1. ใช้เครื่องจักร เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายในการบริการ
ในประเทศญี่ปุ่น ต้นทุนแรงงานคน ถือว่าเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นในประเทศญี่ปุ่นจึงชอบคิดค้นโมเดลธุรกิจที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ภายในร้าน เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
อย่างเช่น การใช้สายพาน แบบร้าน Sushiro
โดยสายพานของทางร้าน Sushiro จะมี 2 สายพาน
แบ่งออกเป็นสายพานชั้นล่าง ที่เป็นสายพานสำหรับซูชิทั่วไป ที่หมุนเวียนมาเสิร์ฟอยู่ตลอด และสายพานชั้นบน สำหรับซูชิที่ถูกสั่งผ่านแท็บเล็ต และจะส่งตรงมาที่โต๊ะของคนที่สั่งเลย
ซึ่งการทำให้ลูกค้าสามารถสั่ง และหยิบเมนูได้ด้วยตัวเอง นอกจากจะไม่ต้องพึ่งพาแรงงานคนแล้ว ลูกค้ายังได้รับความรวดเร็วในการบริการด้วย
แน่นอนว่าระบบสายพานพวกนี้ ในช่วงแรกน่าจะใช้เงินลงทุนไม่น้อย
แต่ในระยะยาวก็น่าจะคุ้มค่า เมื่อเทียบกับต้นทุนที่ต้องเสียไป กับการจ้างพนักงานมาบริการจำนวนมากในร้านตลอดเวลา
2. เน้นหมุนรอบการบริการให้เร็ว ทำให้สามารถรับลูกค้าได้จำนวนที่มากขึ้นต่อวัน
โดยปกติแล้ว หากพนักงานต้องคอยมาบริการลูกค้าให้ครบทุกโต๊ะ แน่นอนว่าจะต้องใช้เวลาหมุนเวียนต่อโต๊ะค่อนข้างนาน อย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อโต๊ะ
กว่าพนักงานจะเดินไปรับออร์เดอร์จากโต๊ะหนึ่งไปอีกโต๊ะหนึ่ง กว่าจะเดินเสิร์ฟให้ครบแต่ละโต๊ะ ล้วนต้องใช้เวลาที่ยาวนาน มากกว่าเครื่องจักรอย่างแน่นอน
ดังนั้นเมื่อมีสายพานเข้ามาช่วยบริการลูกค้า ลูกค้าจะใช้เวลาต่อโต๊ะ เฉลี่ยเพียง 30-40 นาทีเท่านั้น ส่งผลให้ลูกค้าคนต่อไปไม่ต้องรอคิวนาน และยังสามารถรับลูกค้าในแต่ละวันได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
เมื่อร้านอาหาร สามารถรับลูกค้าในแต่ละวันได้มากขึ้น ทางร้านก็สามารถสั่งวัตถุดิบได้ครั้งละมาก ๆ
ซึ่งก็เป็นไปตามหลัก Economies of scale คือ ยิ่งสั่งหรือยิ่งผลิตของในล็อตหนึ่งมากขึ้น (ในระดับการผลิตหนึ่ง) ก็ยิ่งทำให้ต้นทุนในการผลิตนั้นถูกลง เท่ากับว่าทำให้ร้าน สามารถลดต้นทุนวัตถุดิบลงได้อีก
สรุปคือเราวิเคราะห์ได้ว่า ร้าน Sushiro ที่ขายซูชิสายพานขึ้นห้างในราคาถูกได้
ส่วนสำคัญน่าจะเพราะ การใช้สายพานที่ช่วยควบคุมต้นทุนการบริการได้ดี
และทางร้านก็เลือกตั้งราคาให้คนเข้าถึงได้ง่าย ไม่เน้นขายต่อชิ้นแพง ๆ
แต่เน้นให้คนรู้สึกว่า ราคาจับต้องได้ไม่ยาก
จนต้องมารอคิวทานกันเต็มหน้าร้านตลอด นั่นเอง..
Reference:
-https://www.facebook.com/SushiroThailand/photos/a.712094086145348/729381141083309/?type=3