สรุปโมเดลธุรกิจ ของ McDonald’s เชนฟาสต์ฟูด ที่ทำตัวเป็น บริษัทอสังหาริมทรัพย์
12 ก.พ. 2022
สรุปโมเดลธุรกิจ ของ McDonald’s เชนฟาสต์ฟูด ที่ทำตัวเป็น บริษัทอสังหาริมทรัพย์ | THE BRIEFCASE
ถ้าพูดถึงเครือข่ายร้านอาหารฟาสต์ฟูด ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
และเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีชื่อเสียงที่สุดโลก เราจะนึกถึงใคร ?
เชื่อว่าชื่อของ “แมคโดนัลด์” น่าจะเป็นชื่อที่หลายคนนึกถึง
หลายคนอาจคิดว่า แมคโดนัลด์มีรายได้มาจาก แค่การทำธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟูดเท่านั้น
แต่รู้ไหมว่า จริง ๆ แล้วบริษัทยังมีรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วย และถือเป็นธุรกิจสำคัญ ที่ผลักดันให้แมคโดนัลด์ประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้
เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
แมคโดนัลด์ก่อตั้งเมื่อปี 1940 โดย 2 พี่น้องตระกูลแมคโดนัลด์ ที่มีชื่อว่า Richard และ Maurice McDonald
โดยเริ่มแรกเป็นร้านขายแฮมเบอร์เกอร์ในเมืองเล็ก ๆ ที่ชื่อว่า แซนเบอร์นาร์ดีโน ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อนที่ 2 พี่น้องจะเริ่มนำธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์มาใช้กับร้านของตัวเองในเวลาต่อมา
ต่อมาในปี 1955 Ray Kroc นักธุรกิจชาวอเมริกัน ได้เข้ามาซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ พร้อมทั้งทำหน้าที่เป็นตัวแทนขายแฟรนไชส์จาก 2 พี่น้องตระกูลแมคโดนัลด์
เนื่องจากสังเกตเห็นถึงความนิยม ในสินค้าของแมคโดนัลด์มากขึ้นเรื่อย ๆ จนเขาได้มาเปิดสาขาแรกของแฟรนไชส์ขึ้นที่เมืองเดสเพลนส์ รัฐอิลลินอย บ้านเกิดตนเอง
อย่างไรก็ตาม Ray Kroc ก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับการขยายสาขาของแมคโดนัลด์ เนื่องจากขาดแคลนเงินทุน
ในระหว่างนั้น เขาได้ไปรู้จักกับ Harry J. Sonneborn ซึ่งในเวลาต่อมาก็ได้กลายมาเป็น CFO หรือผู้บริหารฝ่ายการเงินของแมคโดนัลด์
ในตอนนั้น Harry J. Sonneborn ได้แนะนำ Ray Kroc ว่า
วิธีแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนเงินทุนคือ
“คุณต้องซื้อที่ และนำไปปล่อยเช่าให้แก่ ผู้ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ของแมคโดนัลด์”
แล้วนำเงินที่ได้จากค่าเช่านั้น ไปซื้อที่ดินหรือหาทำสัญญาระยะยาวในที่ดินที่อื่น ๆ ไปเรื่อย ๆ เพื่อนำมาปล่อยเช่า ให้แก่ผู้ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ ที่จะช่วยขยายสาขาของแมคโดนัลด์ไปเรื่อย ๆ
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ทั้งคู่จึงร่วมกันก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า Franchise Realty เพื่อทำธุรกิจซื้อที่ดินและปล่อยเช่าให้แก่ผู้ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์แมคโดนัลด์ต่ออีกทีหนึ่ง
แนวคิดนี้ของทั้งคู่ถือว่าไปได้สวยและประสบความสำเร็จ
จนสุดท้าย ทั้ง 2 คน ตัดสินใจไปขอซื้อกิจการแมคโดนัลด์ มาจาก 2 พี่น้องตระกูลแมคโดนัลด์ ในปี 1961 ด้วยเงินทั้งหมด 2.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสิทธิ์ในการบริหารกิจการอย่างเบ็ดเสร็จ
โดยปัจจุบัน ภายใต้รูปแบบแฟรนไชส์
เมื่อมีผู้ที่ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์แมคโดนัลด์ไปแล้วนั้น พวกเขาต้องลงทุนค่าอุปกรณ์ ป้าย ที่นั่ง และการตกแต่งร้าน ด้วยตนเอง ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดโดยบริษัทแม่
แต่สิทธิ์บนที่ดิน หรือพื้นที่ที่แฟรนไชส์เปิดร้านนั้น จะเป็นของแมคโดนัลด์
ซึ่งอาจเป็นในฐานะเจ้าของ หรือเป็นผู้เช่าที่ดินบนสัญญาระยะยาว แต่ไม่ว่ากรณีใด แมคโดนัลด์ จะมีการเก็บค่าเช่าจากผู้ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ในฐานะผู้ให้เช่า
พอเรื่องเป็นแบบนี้ เราอาจบอกได้ว่า
นอกจากจะขาย แฮมเบอร์เกอร์ นักเกตไก่ หรือเฟรนช์ฟรายส์แล้ว แมคโดนัลด์ ยังมีรายได้ค่าเช่าจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย
ในอดีตนั้น Harry J. Sonneborn ยังเคยพูดไว้ว่า
“หลายคนอาจคิดว่าพวกเราทำธุรกิจอาหารจานด่วน แต่จริง ๆ แล้วพวกเราทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อยู่ต่างหาก”
ซึ่งความสำเร็จของแนวคิดนี้ ก็ถึงขนาดมีคนเอาไปเรียกกันว่า “Sonneborn model” เลยทีเดียว
ซึ่งในงบการเงินสิ้นปี 2021 ของแมคโดนัลด์ แสดงให้เห็นว่า สิทธิ์ในการเช่าสินทรัพย์และที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ มีมูลค่ารวมกันสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท หรือกว่า 71% ของสินทรัพย์รวมของบริษัท
ที่น่าสนใจคือ ค่าเช่าที่และค่าสิทธิ์ดังกล่าวนั้น จะมีการกำหนดขั้นต่ำไว้ และจะผันแปรไปตามเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย
หมายความว่า ถ้าร้านแฟรนไชส์ของแมคโดนัลด์ สามารถขายของได้เยอะ ค่าเช่าที่และค่าสิทธิ์จะปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ปัจจุบัน แมคโดนัลด์ มีสาขาทั้งหมดกว่า 39,000 แห่ง กระจายอยู่ใน 119 ประเทศและ ใน 6 ทวีปทั่วโลก
โดยให้บริการลูกค้ามากกว่า 70 ล้านคนต่อวัน
ขณะที่ประมาณ 93% ของสาขาทั้งหมด เป็นรูปแบบแฟรนไชส์ ซึ่งบริษัทได้ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนดังกล่าวเป็น 95% ในอนาคตอันใกล้นี้
รายได้และกำไรของ แมคโดนัลด์
ปี 2019 รายได้ 696,000 ล้านบาท กำไร 199,000 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 634,000 ล้านบาท กำไร 156,000 ล้านบาท
ปี 2021 รายได้ 766,000 ล้านบาท กำไร 249,000 ล้านบาท
โดยปัจจุบัน มูลค่าบริษัทของ แมคโดนัลด์ นั้นสูงถึง 6.4 ล้านล้านบาท และเป็นบริษัทเชนร้านอาหารฟาสต์ฟูด ที่ใหญ่สุดในโลก
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนก็น่าจะเซอร์ไพรส์
ว่าแบรนด์ฟาสต์ฟูดที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก อย่าง แมคโดนัลด์
ส่วนสำคัญคือ เบื้องหลังแนวคิดในการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถือว่ามีส่วนกับความสำเร็จของแมคโดนัลด์ ไม่น้อยเลยทีเดียว..
References
-https://www.investopedia.com/articles/markets/012516/worlds-top-10-restaurant-companies-mcdsbux.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/McDonald%27s
-https://corporate.mcdonalds.com/content/dam/gwscorp/assets/investors/financial-information/dividend-release/Q4.21%20Dividend%20Release.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Harry_J._Sonneborn
-https://en.wikipedia.org/wiki/Ray_Kroc
-https://www.inc.com/jeff-haden/64-years-ago-ray-kroc-made-a-decision-that-completely-transformed-mcdonalds-rest-is-history.html
-https://corporate.mcdonalds.com/content/dam/gwscorp/assets/investors/financial-information/earnings-release/Q4%20Earnings%20Release%20-%2099.1.pdf
-https://www.investopedia.com/articles/markets/032015/how-mcdonalds-makes-its-money-mcd.asp
-https://finance.yahoo.com/quote/MCD/financials?p=MCD
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_the_largest_fast_food_restaurant_chains
ถ้าพูดถึงเครือข่ายร้านอาหารฟาสต์ฟูด ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
และเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีชื่อเสียงที่สุดโลก เราจะนึกถึงใคร ?
เชื่อว่าชื่อของ “แมคโดนัลด์” น่าจะเป็นชื่อที่หลายคนนึกถึง
หลายคนอาจคิดว่า แมคโดนัลด์มีรายได้มาจาก แค่การทำธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟูดเท่านั้น
แต่รู้ไหมว่า จริง ๆ แล้วบริษัทยังมีรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วย และถือเป็นธุรกิจสำคัญ ที่ผลักดันให้แมคโดนัลด์ประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้
เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
แมคโดนัลด์ก่อตั้งเมื่อปี 1940 โดย 2 พี่น้องตระกูลแมคโดนัลด์ ที่มีชื่อว่า Richard และ Maurice McDonald
โดยเริ่มแรกเป็นร้านขายแฮมเบอร์เกอร์ในเมืองเล็ก ๆ ที่ชื่อว่า แซนเบอร์นาร์ดีโน ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อนที่ 2 พี่น้องจะเริ่มนำธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์มาใช้กับร้านของตัวเองในเวลาต่อมา
ต่อมาในปี 1955 Ray Kroc นักธุรกิจชาวอเมริกัน ได้เข้ามาซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ พร้อมทั้งทำหน้าที่เป็นตัวแทนขายแฟรนไชส์จาก 2 พี่น้องตระกูลแมคโดนัลด์
เนื่องจากสังเกตเห็นถึงความนิยม ในสินค้าของแมคโดนัลด์มากขึ้นเรื่อย ๆ จนเขาได้มาเปิดสาขาแรกของแฟรนไชส์ขึ้นที่เมืองเดสเพลนส์ รัฐอิลลินอย บ้านเกิดตนเอง
อย่างไรก็ตาม Ray Kroc ก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับการขยายสาขาของแมคโดนัลด์ เนื่องจากขาดแคลนเงินทุน
ในระหว่างนั้น เขาได้ไปรู้จักกับ Harry J. Sonneborn ซึ่งในเวลาต่อมาก็ได้กลายมาเป็น CFO หรือผู้บริหารฝ่ายการเงินของแมคโดนัลด์
ในตอนนั้น Harry J. Sonneborn ได้แนะนำ Ray Kroc ว่า
วิธีแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนเงินทุนคือ
“คุณต้องซื้อที่ และนำไปปล่อยเช่าให้แก่ ผู้ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ของแมคโดนัลด์”
แล้วนำเงินที่ได้จากค่าเช่านั้น ไปซื้อที่ดินหรือหาทำสัญญาระยะยาวในที่ดินที่อื่น ๆ ไปเรื่อย ๆ เพื่อนำมาปล่อยเช่า ให้แก่ผู้ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ ที่จะช่วยขยายสาขาของแมคโดนัลด์ไปเรื่อย ๆ
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ทั้งคู่จึงร่วมกันก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า Franchise Realty เพื่อทำธุรกิจซื้อที่ดินและปล่อยเช่าให้แก่ผู้ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์แมคโดนัลด์ต่ออีกทีหนึ่ง
แนวคิดนี้ของทั้งคู่ถือว่าไปได้สวยและประสบความสำเร็จ
จนสุดท้าย ทั้ง 2 คน ตัดสินใจไปขอซื้อกิจการแมคโดนัลด์ มาจาก 2 พี่น้องตระกูลแมคโดนัลด์ ในปี 1961 ด้วยเงินทั้งหมด 2.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสิทธิ์ในการบริหารกิจการอย่างเบ็ดเสร็จ
โดยปัจจุบัน ภายใต้รูปแบบแฟรนไชส์
เมื่อมีผู้ที่ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์แมคโดนัลด์ไปแล้วนั้น พวกเขาต้องลงทุนค่าอุปกรณ์ ป้าย ที่นั่ง และการตกแต่งร้าน ด้วยตนเอง ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดโดยบริษัทแม่
แต่สิทธิ์บนที่ดิน หรือพื้นที่ที่แฟรนไชส์เปิดร้านนั้น จะเป็นของแมคโดนัลด์
ซึ่งอาจเป็นในฐานะเจ้าของ หรือเป็นผู้เช่าที่ดินบนสัญญาระยะยาว แต่ไม่ว่ากรณีใด แมคโดนัลด์ จะมีการเก็บค่าเช่าจากผู้ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ในฐานะผู้ให้เช่า
พอเรื่องเป็นแบบนี้ เราอาจบอกได้ว่า
นอกจากจะขาย แฮมเบอร์เกอร์ นักเกตไก่ หรือเฟรนช์ฟรายส์แล้ว แมคโดนัลด์ ยังมีรายได้ค่าเช่าจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย
ในอดีตนั้น Harry J. Sonneborn ยังเคยพูดไว้ว่า
“หลายคนอาจคิดว่าพวกเราทำธุรกิจอาหารจานด่วน แต่จริง ๆ แล้วพวกเราทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อยู่ต่างหาก”
ซึ่งความสำเร็จของแนวคิดนี้ ก็ถึงขนาดมีคนเอาไปเรียกกันว่า “Sonneborn model” เลยทีเดียว
ซึ่งในงบการเงินสิ้นปี 2021 ของแมคโดนัลด์ แสดงให้เห็นว่า สิทธิ์ในการเช่าสินทรัพย์และที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ มีมูลค่ารวมกันสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท หรือกว่า 71% ของสินทรัพย์รวมของบริษัท
ที่น่าสนใจคือ ค่าเช่าที่และค่าสิทธิ์ดังกล่าวนั้น จะมีการกำหนดขั้นต่ำไว้ และจะผันแปรไปตามเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย
หมายความว่า ถ้าร้านแฟรนไชส์ของแมคโดนัลด์ สามารถขายของได้เยอะ ค่าเช่าที่และค่าสิทธิ์จะปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ปัจจุบัน แมคโดนัลด์ มีสาขาทั้งหมดกว่า 39,000 แห่ง กระจายอยู่ใน 119 ประเทศและ ใน 6 ทวีปทั่วโลก
โดยให้บริการลูกค้ามากกว่า 70 ล้านคนต่อวัน
ขณะที่ประมาณ 93% ของสาขาทั้งหมด เป็นรูปแบบแฟรนไชส์ ซึ่งบริษัทได้ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนดังกล่าวเป็น 95% ในอนาคตอันใกล้นี้
รายได้และกำไรของ แมคโดนัลด์
ปี 2019 รายได้ 696,000 ล้านบาท กำไร 199,000 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 634,000 ล้านบาท กำไร 156,000 ล้านบาท
ปี 2021 รายได้ 766,000 ล้านบาท กำไร 249,000 ล้านบาท
โดยปัจจุบัน มูลค่าบริษัทของ แมคโดนัลด์ นั้นสูงถึง 6.4 ล้านล้านบาท และเป็นบริษัทเชนร้านอาหารฟาสต์ฟูด ที่ใหญ่สุดในโลก
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนก็น่าจะเซอร์ไพรส์
ว่าแบรนด์ฟาสต์ฟูดที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก อย่าง แมคโดนัลด์
ส่วนสำคัญคือ เบื้องหลังแนวคิดในการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถือว่ามีส่วนกับความสำเร็จของแมคโดนัลด์ ไม่น้อยเลยทีเดียว..
References
-https://www.investopedia.com/articles/markets/012516/worlds-top-10-restaurant-companies-mcdsbux.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/McDonald%27s
-https://corporate.mcdonalds.com/content/dam/gwscorp/assets/investors/financial-information/dividend-release/Q4.21%20Dividend%20Release.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Harry_J._Sonneborn
-https://en.wikipedia.org/wiki/Ray_Kroc
-https://www.inc.com/jeff-haden/64-years-ago-ray-kroc-made-a-decision-that-completely-transformed-mcdonalds-rest-is-history.html
-https://corporate.mcdonalds.com/content/dam/gwscorp/assets/investors/financial-information/earnings-release/Q4%20Earnings%20Release%20-%2099.1.pdf
-https://www.investopedia.com/articles/markets/032015/how-mcdonalds-makes-its-money-mcd.asp
-https://finance.yahoo.com/quote/MCD/financials?p=MCD
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_the_largest_fast_food_restaurant_chains