สรุปแนวคิด ดึงดูดคนเก่งมาร่วมทีม ฉบับ LINE MAN Wongnai
25 พ.ย. 2021
สรุปแนวคิด ดึงดูดคนเก่งมาร่วมทีม ฉบับ LINE MAN Wongnai | THE BRIEFCASE
LINE MAN Wongnai ถือเป็นหนึ่งในบริษัทที่เด็กจบใหม่หรือเด็กรุ่นใหม่ ๆ อยากทำงานด้วย ซึ่งแน่นอนว่าในยุคสมัยนี้ สิ่งที่จะดึงดูดใจคนรุ่นใหม่ คงไม่ได้มีแค่เรื่องของเงินเดือนเพียงอย่างเดียว
ในวันนี้ THE BRIEFCASE จะพาไปหาคำตอบจาก คุณยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai ว่าบริษัทมีกลยุทธ์อะไร ถึงทำให้ตัวเองกลายเป็นบริษัทที่เนื้อหอมสำหรับคนรุ่นใหม่ รวมถึงประเด็นการคัดเลือกทีมงาน ไปจนถึงการรักษาคนของ LINE MAN Wongnai
1. ภาพลักษณ์แบรนด์ เป้าหมาย และวัฒนธรรมองค์กร คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนรุ่นใหม่อยากเข้ามาทำงาน
คุณยอด ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ก่อนหน้าที่ Wongnai จะเข้าไปรวมกับ LINE MAN โมเดลธุรกิจของ Wongnai จะเป็นธุรกิจมีเดียและแพลตฟอร์มไลฟ์สไตล์ ทำให้แบรนด์เข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ในวงกว้าง
เพราะเมื่อแบรนด์เป็นที่รู้จักของคนรุ่นใหม่ จึงไม่ยากที่พวกเขาจะนึกถึง และอยากลองเข้ามาทำงานด้วย
อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญก็คือ วัฒนธรรมองค์กรที่ตรงใจคนรุ่นใหม่
และนี่คือ 3 วัฒนธรรมองค์กรของ Wongnai (ช่วงก่อนที่จะรวมกับ LINE MAN)
- Speed ความเร็ว หมายถึง กระบวนการทำงาน รวมถึงความเร็วในการผลิตสื่อนั้นต้องทำด้วยความรวดเร็ว
- Passion ทำงานด้วยหัวใจ อย่างการสร้างผลงานออกมาได้เร็ว ก็เป็นหนึ่งสิ่งสะท้อนว่า องค์กรมี Passion ในการเป็นสื่อเพื่อผู้อ่าน อีกทั้งในทุกการทำบทความ หรือสื่อต่าง ๆ ก็จะมีความตลก มีเนื้อหาที่อ่านง่าย จึงทำให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย
- Flexibility ความยืดหยุ่น ซึ่ง Wongnai ถือเป็นองค์กรแรก ๆ ที่ลางานได้ไม่จำกัด, Work From Home ที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ เพราะทางบริษัทเชื่อว่าพนักงานหนึ่งคน มีหลาย ๆ อย่างที่ต้องทำ เช่น บางคนอาจจะขายของออนไลน์ไปด้วย ซึ่งนโยบายเหล่านี้จะช่วยให้ทำงานประจำได้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพราะวัฒนธรรมขององค์กรสามข้อเหล่านี้เอง ที่ทำให้ Wongnai สามารถดึงดูดพนักงานเจเนอเรชันใหม่ ๆ อย่าง Gen Z, Alpha ได้ไม่ยาก
2. คัดเลือกคนให้เหมาะกับองค์กร เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในองค์กร
ในการสัมภาษณ์คัดเลือกทีมงานจะมีทั้งหมด 3 รอบ นั่นคือ รอบสัมภาษณ์กับหัวหน้างาน, ระดับ C-Level และสัมภาษณ์กับคุณยอด
สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกคน จะดูทั้งหมด 4 อย่าง ดังนี้
- Skills คือ ทักษะการทำงาน, ประสบการณ์ทำงาน และการทำแบบทดสอบของบริษัท
- Potential คือ ความสามารถเดิมของคนคนนั้นว่า ถ้าเราช่วยพัฒนาเขา เขาสามารถเติบโตได้อีกหรือไม่ รวมทั้งทัศนคติต่าง ๆ เช่น เป็นคนที่ช่างสังเกต ขี้สงสัย มีการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ในรอบหลายปีบ้างหรือไม่ หรือมีงานอดิเรกอะไรที่น่าสนใจบ้าง
- Fit คือ ความสามารถเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร เช่น พร้อมทำงานหนักมากแค่ไหน เพราะองค์กรในปัจจุบันได้กลายเป็น Food Delivery ทำให้ทีมงานต้องสลับกันทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์
- Mindset คือ การมองโลกของผู้สมัครเป็นอย่างไร เป็นคนที่จิตใจดี หรือเป็นคนที่ชอบดราม่าหรือไม่ เพราะหากเป็นคนที่คิดมาก ดราม่าอยู่ตลอดเวลา จะส่งผลให้ภาพรวมของทีมเสียหายได้
3. วิสัยทัศน์และมิชชันขององค์กร คือสิ่งที่สร้างความเชื่อมั่นให้ทีมงานอยากอยู่กับองค์กรต่อไป
ถึงแม้ว่าจะมีคนอยากเข้ามาอยู่ในบริษัทมากมาย แต่ถ้าเรารักษาทีมงานไว้ไม่ได้ อาจกลายเป็นปัญหายุ่งยากตามมามากมาย
คุณยอดจึงมองว่า สิ่งที่สร้างความเชื่อมั่นและทำให้ทีมงานอยากเดินต่อไปกับเรา ไม่ใช่แค่เรื่องสวัสดิการ หรือเงินเดือนเพียงอย่างเดียว เพราะมันคือเรื่องพื้นฐานของทุกบริษัทอยู่แล้ว
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่จะทำให้บริษัทแข่งขันเรื่องทรัพยากรคนได้ดีก็คือ
- วิสัยทัศน์ของผู้นำและของบริษัท
ถ้าสิ่งที่บริษัทกำลังทำอยู่เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้คน และหน้าที่ที่พนักงานกำลังทำอยู่นั้น ช่วยทำให้ชีวิตคนอื่นดีขึ้น ทีมงานก็มีโอกาสที่จะอยู่ต่อ
- สภาพแวดล้อมที่มีแต่คนเก่ง ๆ
คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตัวเอง ถ้าเขาได้ทำงานที่แวดล้อมไปด้วยคนเก่ง ๆ เขาก็จะได้เรียนรู้เรื่องใหม่อยู่เสมอ เพราะเพิ่มโอกาสก้าวหน้ามากขึ้นได้นั่นเอง
ดังนั้น การดึงดูดใจพนักงานรุ่นใหม่ ๆ ด้วยสวัสดิการและค่าตอบแทน อาจไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว
4. พยายามทำให้องค์กรมีชีวิตอยู่เสมอ
คุณยอดมองว่า เมื่อทีมงานต้องกลับไป Work From Home ทำให้หลาย ๆ คนขาดการปฏิสัมพันธ์กันในทีม ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อจิตใจไปจนถึงการทำงาน
ดังนั้นทางบริษัทจะมีกิจกรรม ที่ช่วยสร้างเอนเกจเมนต์ให้กับทีมงาน เช่น
- จัดเวิร์กช็อป ปั้นหมอดิน โดยให้แต่ละคนปั้นดินเผาที่บ้านของตัวเอง
- มีโยคะไวน์ เล่นโยคะโดยการถือแก้วไม่ให้ไวน์หก
- จัด Virtual Concert
ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ก็จะช่วยให้พนักงานมีความสดใสขึ้นมาบ้าง แม้ไม่ได้เจอกันที่ออฟฟิศ
และยังมีโปรแกรม Mental Health โดยให้คนที่มีความรู้ด้านสุขภาพจิต มาให้คำปรึกษากับพนักงานได้ฟรี
ถึงวันนี้ Wongnai จะกลายเป็น LINE MAN Wongnai มีโครงสร้างการทำงานที่หลายชั้นมากขึ้น
แต่คุณยอดก็ยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องของทรัพยากรคน เพราะ “คน” คือกำลังหลักที่จะบอกได้ว่าองค์กรจะไปในทิศทางไหน
สุดท้ายนี้ คุณยอดทิ้งท้ายไว้ว่า หากใครที่กำลังเป็นสตาร์ตอัปหรือเจ้าของกิจการมือใหม่ ควรดูแลคนใกล้ตัวให้ดี โดยเฉพาะคนที่เชื่อมั่นในตัวเรา อย่ามองข้ามและลืมให้รางวัลพวกเขา เพราะเขาอาจจะกลายเป็นทีมงานคนสำคัญ ที่อยู่ช่วยเราจนองค์กรเติบโต
และวิสัยทัศน์ ภารกิจขององค์กร ก็เป็นเรื่องที่ต้องทำให้ดีและทำให้ชัด เพื่อดึงดูดคนเก่ง ๆ ให้เข้ามาในองค์กร และเมื่อคนเก่ง ๆ เข้ามา ก็จะเกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี และกลายเป็นบริษัทที่เนื้อหอมของเด็กรุ่นใหม่ได้ นั่นเอง..
สามารถติดตามเรื่องราวของพนักงาน LINE MAN Wongnai ได้ ผ่านทาง Facebook, Instagram, Medium และ LinkedIn ที่ใช้ชื่อว่า Life at LINE MAN Wongnai
Reference
-สัมภาษณ์พิเศษ คุณยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai โดยเพจ THE BRIEFCASE
LINE MAN Wongnai ถือเป็นหนึ่งในบริษัทที่เด็กจบใหม่หรือเด็กรุ่นใหม่ ๆ อยากทำงานด้วย ซึ่งแน่นอนว่าในยุคสมัยนี้ สิ่งที่จะดึงดูดใจคนรุ่นใหม่ คงไม่ได้มีแค่เรื่องของเงินเดือนเพียงอย่างเดียว
ในวันนี้ THE BRIEFCASE จะพาไปหาคำตอบจาก คุณยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai ว่าบริษัทมีกลยุทธ์อะไร ถึงทำให้ตัวเองกลายเป็นบริษัทที่เนื้อหอมสำหรับคนรุ่นใหม่ รวมถึงประเด็นการคัดเลือกทีมงาน ไปจนถึงการรักษาคนของ LINE MAN Wongnai
1. ภาพลักษณ์แบรนด์ เป้าหมาย และวัฒนธรรมองค์กร คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนรุ่นใหม่อยากเข้ามาทำงาน
คุณยอด ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ก่อนหน้าที่ Wongnai จะเข้าไปรวมกับ LINE MAN โมเดลธุรกิจของ Wongnai จะเป็นธุรกิจมีเดียและแพลตฟอร์มไลฟ์สไตล์ ทำให้แบรนด์เข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ในวงกว้าง
เพราะเมื่อแบรนด์เป็นที่รู้จักของคนรุ่นใหม่ จึงไม่ยากที่พวกเขาจะนึกถึง และอยากลองเข้ามาทำงานด้วย
อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญก็คือ วัฒนธรรมองค์กรที่ตรงใจคนรุ่นใหม่
และนี่คือ 3 วัฒนธรรมองค์กรของ Wongnai (ช่วงก่อนที่จะรวมกับ LINE MAN)
- Speed ความเร็ว หมายถึง กระบวนการทำงาน รวมถึงความเร็วในการผลิตสื่อนั้นต้องทำด้วยความรวดเร็ว
- Passion ทำงานด้วยหัวใจ อย่างการสร้างผลงานออกมาได้เร็ว ก็เป็นหนึ่งสิ่งสะท้อนว่า องค์กรมี Passion ในการเป็นสื่อเพื่อผู้อ่าน อีกทั้งในทุกการทำบทความ หรือสื่อต่าง ๆ ก็จะมีความตลก มีเนื้อหาที่อ่านง่าย จึงทำให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย
- Flexibility ความยืดหยุ่น ซึ่ง Wongnai ถือเป็นองค์กรแรก ๆ ที่ลางานได้ไม่จำกัด, Work From Home ที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ เพราะทางบริษัทเชื่อว่าพนักงานหนึ่งคน มีหลาย ๆ อย่างที่ต้องทำ เช่น บางคนอาจจะขายของออนไลน์ไปด้วย ซึ่งนโยบายเหล่านี้จะช่วยให้ทำงานประจำได้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพราะวัฒนธรรมขององค์กรสามข้อเหล่านี้เอง ที่ทำให้ Wongnai สามารถดึงดูดพนักงานเจเนอเรชันใหม่ ๆ อย่าง Gen Z, Alpha ได้ไม่ยาก
2. คัดเลือกคนให้เหมาะกับองค์กร เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในองค์กร
ในการสัมภาษณ์คัดเลือกทีมงานจะมีทั้งหมด 3 รอบ นั่นคือ รอบสัมภาษณ์กับหัวหน้างาน, ระดับ C-Level และสัมภาษณ์กับคุณยอด
สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกคน จะดูทั้งหมด 4 อย่าง ดังนี้
- Skills คือ ทักษะการทำงาน, ประสบการณ์ทำงาน และการทำแบบทดสอบของบริษัท
- Potential คือ ความสามารถเดิมของคนคนนั้นว่า ถ้าเราช่วยพัฒนาเขา เขาสามารถเติบโตได้อีกหรือไม่ รวมทั้งทัศนคติต่าง ๆ เช่น เป็นคนที่ช่างสังเกต ขี้สงสัย มีการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ในรอบหลายปีบ้างหรือไม่ หรือมีงานอดิเรกอะไรที่น่าสนใจบ้าง
- Fit คือ ความสามารถเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร เช่น พร้อมทำงานหนักมากแค่ไหน เพราะองค์กรในปัจจุบันได้กลายเป็น Food Delivery ทำให้ทีมงานต้องสลับกันทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์
- Mindset คือ การมองโลกของผู้สมัครเป็นอย่างไร เป็นคนที่จิตใจดี หรือเป็นคนที่ชอบดราม่าหรือไม่ เพราะหากเป็นคนที่คิดมาก ดราม่าอยู่ตลอดเวลา จะส่งผลให้ภาพรวมของทีมเสียหายได้
3. วิสัยทัศน์และมิชชันขององค์กร คือสิ่งที่สร้างความเชื่อมั่นให้ทีมงานอยากอยู่กับองค์กรต่อไป
ถึงแม้ว่าจะมีคนอยากเข้ามาอยู่ในบริษัทมากมาย แต่ถ้าเรารักษาทีมงานไว้ไม่ได้ อาจกลายเป็นปัญหายุ่งยากตามมามากมาย
คุณยอดจึงมองว่า สิ่งที่สร้างความเชื่อมั่นและทำให้ทีมงานอยากเดินต่อไปกับเรา ไม่ใช่แค่เรื่องสวัสดิการ หรือเงินเดือนเพียงอย่างเดียว เพราะมันคือเรื่องพื้นฐานของทุกบริษัทอยู่แล้ว
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่จะทำให้บริษัทแข่งขันเรื่องทรัพยากรคนได้ดีก็คือ
- วิสัยทัศน์ของผู้นำและของบริษัท
ถ้าสิ่งที่บริษัทกำลังทำอยู่เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้คน และหน้าที่ที่พนักงานกำลังทำอยู่นั้น ช่วยทำให้ชีวิตคนอื่นดีขึ้น ทีมงานก็มีโอกาสที่จะอยู่ต่อ
- สภาพแวดล้อมที่มีแต่คนเก่ง ๆ
คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตัวเอง ถ้าเขาได้ทำงานที่แวดล้อมไปด้วยคนเก่ง ๆ เขาก็จะได้เรียนรู้เรื่องใหม่อยู่เสมอ เพราะเพิ่มโอกาสก้าวหน้ามากขึ้นได้นั่นเอง
ดังนั้น การดึงดูดใจพนักงานรุ่นใหม่ ๆ ด้วยสวัสดิการและค่าตอบแทน อาจไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว
4. พยายามทำให้องค์กรมีชีวิตอยู่เสมอ
คุณยอดมองว่า เมื่อทีมงานต้องกลับไป Work From Home ทำให้หลาย ๆ คนขาดการปฏิสัมพันธ์กันในทีม ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อจิตใจไปจนถึงการทำงาน
ดังนั้นทางบริษัทจะมีกิจกรรม ที่ช่วยสร้างเอนเกจเมนต์ให้กับทีมงาน เช่น
- จัดเวิร์กช็อป ปั้นหมอดิน โดยให้แต่ละคนปั้นดินเผาที่บ้านของตัวเอง
- มีโยคะไวน์ เล่นโยคะโดยการถือแก้วไม่ให้ไวน์หก
- จัด Virtual Concert
ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ก็จะช่วยให้พนักงานมีความสดใสขึ้นมาบ้าง แม้ไม่ได้เจอกันที่ออฟฟิศ
และยังมีโปรแกรม Mental Health โดยให้คนที่มีความรู้ด้านสุขภาพจิต มาให้คำปรึกษากับพนักงานได้ฟรี
ถึงวันนี้ Wongnai จะกลายเป็น LINE MAN Wongnai มีโครงสร้างการทำงานที่หลายชั้นมากขึ้น
แต่คุณยอดก็ยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องของทรัพยากรคน เพราะ “คน” คือกำลังหลักที่จะบอกได้ว่าองค์กรจะไปในทิศทางไหน
สุดท้ายนี้ คุณยอดทิ้งท้ายไว้ว่า หากใครที่กำลังเป็นสตาร์ตอัปหรือเจ้าของกิจการมือใหม่ ควรดูแลคนใกล้ตัวให้ดี โดยเฉพาะคนที่เชื่อมั่นในตัวเรา อย่ามองข้ามและลืมให้รางวัลพวกเขา เพราะเขาอาจจะกลายเป็นทีมงานคนสำคัญ ที่อยู่ช่วยเราจนองค์กรเติบโต
และวิสัยทัศน์ ภารกิจขององค์กร ก็เป็นเรื่องที่ต้องทำให้ดีและทำให้ชัด เพื่อดึงดูดคนเก่ง ๆ ให้เข้ามาในองค์กร และเมื่อคนเก่ง ๆ เข้ามา ก็จะเกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี และกลายเป็นบริษัทที่เนื้อหอมของเด็กรุ่นใหม่ได้ นั่นเอง..
สามารถติดตามเรื่องราวของพนักงาน LINE MAN Wongnai ได้ ผ่านทาง Facebook, Instagram, Medium และ LinkedIn ที่ใช้ชื่อว่า Life at LINE MAN Wongnai
Reference
-สัมภาษณ์พิเศษ คุณยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai โดยเพจ THE BRIEFCASE