คนเก่งเฉพาะทาง กับ คนรู้กว้าง แบบไหน ที่ดีต่อใจองค์กร
17 ส.ค. 2021
คนเก่งเฉพาะทาง กับ คนรู้กว้าง แบบไหน ที่ดีต่อใจองค์กร | THE BRIEFCASE
คำถามนี้อาจจะเกิดขึ้นทั้งกับองค์กรที่กำลังมองหาคนเข้ามาทำงาน หรือแม้แต่ตัวพนักงานเอง เพื่อที่จะทำให้เขารู้ว่า เขาควรพัฒนาตนเองไปเป็นแบบไหน เพื่อเป็นคนประเภทที่องค์กรกำลังมองหา
Specialist เราจะเรียกง่าย ๆ ว่า “คนเก่งเฉพาะทาง” เป็นคนที่มีความรู้ ความชำนาญการเฉพาะด้านเป็นพิเศษ ชอบทำงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถของตนเองเป็นหลัก บางครั้งอาจทำงานคนเดียว ไม่ต้องมีทีมงาน หรือหากมีก็อาจมีลูกน้องเพียงไม่กี่คนได้สบาย ๆ
ข้อดีของคนที่ทำงานเป็น Specialist คือ
ด้วยความที่แรงงานในกลุ่มนี้อาจมีจำนวนน้อย เพราะต้องอาศัยคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น การแข่งขันในตลาดแรงงานจึงน้อยกว่างานตำแหน่งอื่น และ Specialist “มีแนวโน้ม” ที่จะได้เงินเดือนสูงเมื่อเทียบกับตำแหน่งงานทั่วไป
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างข้อเสียของคนที่ทำงานในตำแหน่ง Specialist ก็คือ
ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ หลายธุรกิจลดการจ้างงาน อาจทำให้คนที่เป็น Specialist มีโอกาสที่จะหางานยากในช่วงเวลาดังกล่าว
ทั้งนี้เพราะหลายบริษัทที่ต้องการควบคุมค่าใช้จ่าย ทำให้อาจชะลอหรือเลื่อนการจ้างคนที่มีเงินเดือนสูง ๆ ออกไปก่อน จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว
ขณะที่ Generalist หรือ “คนรู้กว้าง” เป็นคนที่แม้จะไม่รู้ลึกในบางเรื่องเหมือน Specialist แต่จะมีทักษะความรู้กว้าง ๆ และรู้หลากหลาย สามารถทำงานได้หลาย ๆ อย่าง พูดง่าย ๆ คือสารพัดประโยชน์และยืดหยุ่นได้มากกว่า
จนทำให้หลายครั้ง คนที่เป็น Generalist จึงมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับ “เป็ด” ที่ไม่ว่าจะว่ายน้ำก็ได้ เดินบนบกก็ได้ หรือกระพือปีกยกตัวเองขึ้นเล็ก ๆ ก็ได้ แต่ก็ถูกมองว่าแม้จะทำได้หลายอย่าง แต่เก่งไม่สุดสักทาง
ตัวอย่างข้อดีของการเป็น Generalist คือ ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ หลายองค์กรมีแนวโน้มต้องการคนที่สามารถทำงานได้หลากหลาย เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
ดังนั้น ในกรณีนี้ Generalist ก็มักจะเป็นคนที่หลายองค์กรต้องการมากกว่า
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างข้อเสียของคนที่ทำงานในตำแหน่ง Generalist ก็คือ โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูง ๆ ก็มี แต่อาจจะยากกว่ากรณีคนที่เก่งเฉพาะทาง เนื่องจากมีหลายคนที่สามารถมาทำงานในตำแหน่งนี้แทนได้
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ แล้วยุคสมัยนี้ เราควรเป็นคนที่เก่งเฉพาะทาง มีความรู้อะไรบางอย่างเป็นพิเศษ หรือเราควรเป็นคนที่มีความรู้แบบกว้าง ๆ
แบบไหนมีโอกาสในการเติบโตในหน้าที่การงานมากกว่ากัน ?
จริง ๆ แล้วคำถามนี้ มันฟันธงไม่ได้ชัด ๆ ว่าแบบไหนที่ดีกว่า เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว Multi-Skills หรือสกิลรู้รอบตอบได้ที่เป็นจุดแข็งของ Generalist ก็ยังเป็นสิ่งที่หลายองค์กรมองหา
อย่างไรก็ตาม Expertise หรือความเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ที่เป็นจุดแข็งของคนที่เป็น Specialist ก็สำคัญเช่นกัน
เพราะงานบางอย่างนั้น ความรู้ความเชี่ยวชาญของ Specialist สามารถตัดสินได้เลยว่า องค์กรนั้นจะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจหรือไม่
ดังนั้น ถ้าจะให้ตอบก็คงต้องบอกว่า ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจในช่วงนั้น ๆ รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมซึ่งในกรณีนี้หมายถึงขนาดขององค์กร ก็ถือว่ามีส่วนสำคัญบริษัทที่ทำให้บอกว่า Specialist หรือ Generalist เป็นที่ต้องการมากกว่ากัน
ในกรณีขององค์กรขนาดใหญ่ มีแนวโน้มที่จะจ้างคนที่เป็น Specialist มากกว่าองค์กรขนาดเล็ก เนื่องจากองค์กรขนาดใหญ่ มีหลากหลายหน่วยธุรกิจ มีการแบ่งงานอย่างชัดเจน ทำให้มีโอกาสที่จะจ้างคนที่เป็น Specialist เพื่อมารับผิดชอบงานเฉพาะด้าน ที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ จากแรงงาน
ในกรณีขององค์กรขนาดเล็ก หรือแม้แต่ Startup มีแนวโน้มที่จะจ้างคนที่เป็น Generalist มากกว่า ซึ่งอาจเกิดจากบริษัทขนาดเล็กปริมาณงานยังไม่มากเท่าบริษัทขนาดใหญ่
รวมไปถึงโครงสร้างองค์กรและความหลากหลายของธุรกิจที่ยังไม่ซับซ้อนเท่าองค์กรขนาดใหญ่ ทำให้คนที่มาทำงานเลยจำเป็นต้องทำได้หลายอย่าง ซึ่งก็เป็นคุณลักษณะของ Generalist นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม มีคนจำนวนไม่น้อยที่เริ่มต้นจากการเป็น Generalist และค่อย ๆ สั่งสมประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในงาน จนกลายเป็น Specialist ได้ในที่สุด
ก็กรณีนี้ถือว่า นอกจากคนเหล่านี้จะมีความรู้กว้าง ๆ และรู้หลากหลายแล้ว พวกเขายังมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับบางเรื่องในเชิงลึกอีกด้วย จนคนเหล่านี้ถูกเรียกว่า “Expert-Generalist”
ในโลกยุคปัจจุบันที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายเท่านั้น แต่ยังทำให้องค์ความรู้เหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เราจึงไม่ควรหยุดนิ่งที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ตลอดเวลา
ดังนั้น ถ้าจะให้สรุปว่า Specialist กับ Generalist คนแบบไหน ที่ดีต่อใจองค์กรมากกว่ากัน
ก็ต้องบอกว่า ดีทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมขององค์กรและกลยุทธ์ของธุรกิจนั้น
แต่ถ้าเราสามารถนำจุดเด่นของ Generalist ที่เป็นการมีความรู้กว้าง รู้หลายเรื่อง และจุดเด่นของ Specialist ซึ่งเป็นการรู้เรื่องบางเรื่องในเชิงลึก มารวมกันในตัวเรา จนเรากลายเป็น Expert-Generalist หรือทั้งรู้ลึกและรู้กว้างในเวลาเดียวกัน
เราก็น่าจะเป็นคนที่หลาย ๆ องค์กร ต้องแย่งตัวกัน..
References:
-https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2specialist-generalist/
-https://www.voathai.com/a/specialist-or-generalist-ct/4637999.html
คำถามนี้อาจจะเกิดขึ้นทั้งกับองค์กรที่กำลังมองหาคนเข้ามาทำงาน หรือแม้แต่ตัวพนักงานเอง เพื่อที่จะทำให้เขารู้ว่า เขาควรพัฒนาตนเองไปเป็นแบบไหน เพื่อเป็นคนประเภทที่องค์กรกำลังมองหา
Specialist เราจะเรียกง่าย ๆ ว่า “คนเก่งเฉพาะทาง” เป็นคนที่มีความรู้ ความชำนาญการเฉพาะด้านเป็นพิเศษ ชอบทำงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถของตนเองเป็นหลัก บางครั้งอาจทำงานคนเดียว ไม่ต้องมีทีมงาน หรือหากมีก็อาจมีลูกน้องเพียงไม่กี่คนได้สบาย ๆ
ข้อดีของคนที่ทำงานเป็น Specialist คือ
ด้วยความที่แรงงานในกลุ่มนี้อาจมีจำนวนน้อย เพราะต้องอาศัยคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น การแข่งขันในตลาดแรงงานจึงน้อยกว่างานตำแหน่งอื่น และ Specialist “มีแนวโน้ม” ที่จะได้เงินเดือนสูงเมื่อเทียบกับตำแหน่งงานทั่วไป
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างข้อเสียของคนที่ทำงานในตำแหน่ง Specialist ก็คือ
ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ หลายธุรกิจลดการจ้างงาน อาจทำให้คนที่เป็น Specialist มีโอกาสที่จะหางานยากในช่วงเวลาดังกล่าว
ทั้งนี้เพราะหลายบริษัทที่ต้องการควบคุมค่าใช้จ่าย ทำให้อาจชะลอหรือเลื่อนการจ้างคนที่มีเงินเดือนสูง ๆ ออกไปก่อน จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว
ขณะที่ Generalist หรือ “คนรู้กว้าง” เป็นคนที่แม้จะไม่รู้ลึกในบางเรื่องเหมือน Specialist แต่จะมีทักษะความรู้กว้าง ๆ และรู้หลากหลาย สามารถทำงานได้หลาย ๆ อย่าง พูดง่าย ๆ คือสารพัดประโยชน์และยืดหยุ่นได้มากกว่า
จนทำให้หลายครั้ง คนที่เป็น Generalist จึงมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับ “เป็ด” ที่ไม่ว่าจะว่ายน้ำก็ได้ เดินบนบกก็ได้ หรือกระพือปีกยกตัวเองขึ้นเล็ก ๆ ก็ได้ แต่ก็ถูกมองว่าแม้จะทำได้หลายอย่าง แต่เก่งไม่สุดสักทาง
ตัวอย่างข้อดีของการเป็น Generalist คือ ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ หลายองค์กรมีแนวโน้มต้องการคนที่สามารถทำงานได้หลากหลาย เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
ดังนั้น ในกรณีนี้ Generalist ก็มักจะเป็นคนที่หลายองค์กรต้องการมากกว่า
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างข้อเสียของคนที่ทำงานในตำแหน่ง Generalist ก็คือ โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูง ๆ ก็มี แต่อาจจะยากกว่ากรณีคนที่เก่งเฉพาะทาง เนื่องจากมีหลายคนที่สามารถมาทำงานในตำแหน่งนี้แทนได้
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ แล้วยุคสมัยนี้ เราควรเป็นคนที่เก่งเฉพาะทาง มีความรู้อะไรบางอย่างเป็นพิเศษ หรือเราควรเป็นคนที่มีความรู้แบบกว้าง ๆ
แบบไหนมีโอกาสในการเติบโตในหน้าที่การงานมากกว่ากัน ?
จริง ๆ แล้วคำถามนี้ มันฟันธงไม่ได้ชัด ๆ ว่าแบบไหนที่ดีกว่า เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว Multi-Skills หรือสกิลรู้รอบตอบได้ที่เป็นจุดแข็งของ Generalist ก็ยังเป็นสิ่งที่หลายองค์กรมองหา
อย่างไรก็ตาม Expertise หรือความเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ที่เป็นจุดแข็งของคนที่เป็น Specialist ก็สำคัญเช่นกัน
เพราะงานบางอย่างนั้น ความรู้ความเชี่ยวชาญของ Specialist สามารถตัดสินได้เลยว่า องค์กรนั้นจะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจหรือไม่
ดังนั้น ถ้าจะให้ตอบก็คงต้องบอกว่า ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจในช่วงนั้น ๆ รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมซึ่งในกรณีนี้หมายถึงขนาดขององค์กร ก็ถือว่ามีส่วนสำคัญบริษัทที่ทำให้บอกว่า Specialist หรือ Generalist เป็นที่ต้องการมากกว่ากัน
ในกรณีขององค์กรขนาดใหญ่ มีแนวโน้มที่จะจ้างคนที่เป็น Specialist มากกว่าองค์กรขนาดเล็ก เนื่องจากองค์กรขนาดใหญ่ มีหลากหลายหน่วยธุรกิจ มีการแบ่งงานอย่างชัดเจน ทำให้มีโอกาสที่จะจ้างคนที่เป็น Specialist เพื่อมารับผิดชอบงานเฉพาะด้าน ที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ จากแรงงาน
ในกรณีขององค์กรขนาดเล็ก หรือแม้แต่ Startup มีแนวโน้มที่จะจ้างคนที่เป็น Generalist มากกว่า ซึ่งอาจเกิดจากบริษัทขนาดเล็กปริมาณงานยังไม่มากเท่าบริษัทขนาดใหญ่
รวมไปถึงโครงสร้างองค์กรและความหลากหลายของธุรกิจที่ยังไม่ซับซ้อนเท่าองค์กรขนาดใหญ่ ทำให้คนที่มาทำงานเลยจำเป็นต้องทำได้หลายอย่าง ซึ่งก็เป็นคุณลักษณะของ Generalist นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม มีคนจำนวนไม่น้อยที่เริ่มต้นจากการเป็น Generalist และค่อย ๆ สั่งสมประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในงาน จนกลายเป็น Specialist ได้ในที่สุด
ก็กรณีนี้ถือว่า นอกจากคนเหล่านี้จะมีความรู้กว้าง ๆ และรู้หลากหลายแล้ว พวกเขายังมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับบางเรื่องในเชิงลึกอีกด้วย จนคนเหล่านี้ถูกเรียกว่า “Expert-Generalist”
ในโลกยุคปัจจุบันที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายเท่านั้น แต่ยังทำให้องค์ความรู้เหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เราจึงไม่ควรหยุดนิ่งที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ตลอดเวลา
ดังนั้น ถ้าจะให้สรุปว่า Specialist กับ Generalist คนแบบไหน ที่ดีต่อใจองค์กรมากกว่ากัน
ก็ต้องบอกว่า ดีทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมขององค์กรและกลยุทธ์ของธุรกิจนั้น
แต่ถ้าเราสามารถนำจุดเด่นของ Generalist ที่เป็นการมีความรู้กว้าง รู้หลายเรื่อง และจุดเด่นของ Specialist ซึ่งเป็นการรู้เรื่องบางเรื่องในเชิงลึก มารวมกันในตัวเรา จนเรากลายเป็น Expert-Generalist หรือทั้งรู้ลึกและรู้กว้างในเวลาเดียวกัน
เราก็น่าจะเป็นคนที่หลาย ๆ องค์กร ต้องแย่งตัวกัน..
References:
-https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2specialist-generalist/
-https://www.voathai.com/a/specialist-or-generalist-ct/4637999.html