มีจริงไหม.. กองทุนรวม ที่ทำผลตอบแทนเกือบ 100% ในปีเดียว
4 ก.ค. 2021
มีจริงไหม.. กองทุนรวม ที่ทำผลตอบแทนเกือบ 100% ในปีเดียว | THE BRIEFCASE
ปฏิเสธไม่ได้ว่า เราลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนที่ดี
ซึ่งก็มีอยู่หนึ่งกองทุนที่มีผลตอบแทนสูงถึง 93.3% ในปี 2020 ที่ผ่านมา นั่นก็คือ PWIN
สำหรับใครเห็นตัวเลขนี้แล้วน่าจะตาลุกวาว
แต่.. อย่าลืมว่า ผลตอบแทนที่สูง ก็มักมาพร้อมความเสี่ยงที่สูงเช่นกัน
เพราะฉะนั้นลองมาดูกันว่า ความน่าสนใจของ PWIN เป็นอย่างไร
และคนที่สนใจอยากลงทุนผ่านกองทุนนี้ ต้องรู้ และดูความเสี่ยงเรื่องอะไรบ้าง..
PWIN หรือก็คือ กองทุนเปิดฟิลลิปเวิลด์อินโนเวชั่น
เป็นกองทุนรวมภายใต้การบริหารงานของ บลจ. ฟิลลิปแคปปิตอล
กองทุนนี้ไปลงทุนใน ETF (Exchange Traded Fund) และหน่วยลงทุนของกองทุนในต่างประเทศ รวมแล้วมากกว่า 90% ของ สินทรัพย์กองทุน
ซึ่งต้องบอกว่า ถ้าใครที่อยากลงทุนใน ETF ตระกูล “ARK”
PWIN ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว
เพราะ PWIN ได้เข้าไปลงทุนใน ARKK : Innovation ETF Fund เป็นสัดส่วนมากอันดับ 1 ของสัดส่วนการลงทุนของกองทุน
นอกจากตระกูล ARK แล้ว PWIN ยังเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไป
เช่น กลุ่มอินเทอร์เน็ตและความปลอดภัยทางไซเบอร์, โทรคมนาคมและดาต้าเซนเตอร์
และกลุ่มกีฬาอิเล็กทรอนิกส์หรือ Esports,
ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่าง 4 กองทุนหลักที่ PWIN เข้าไปลงทุนกัน (ข้อมูล ณ วันที่ 28 พ.ค. 2021)
1. ARKK Innovation ETF (ARKK) สัดส่วน 23%
กองทุน ARKK ได้เข้าไปลงทุนในหุ้นอย่างเช่น
- Tesla ที่ทำธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า และมีเจ้าพ่อเทคโนโลยีอย่าง Elon Musk เป็น CEO
- Teladoc Health ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการสื่อสารทางการแพทย์ ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกา ในช่วงวิกฤติโควิด 19 ที่ผู้คนหลีกเลี่ยงการไปโรงพยาบาล
- Zoom Video Communications ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Video Conference ที่รายได้เติบโตมากกว่า 369% ในปีที่ผ่านมา เพราะคนส่วนใหญ่อยู่ในช่วง Work From Home
นอกจากนั้น กอนทุนนี้ยังกระจายการลงทุนไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซี
โดยการไปถือหุ้นอย่าง Coinbase Global ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีรายใหญ่ ที่พึ่งจะ IPO ไปเมื่อไม่นานมานี้
ซึ่งหุ้นที่ตระกูล ARK ไปลงทุนนั้น ขึ้นชื่อว่าเป็นหุ้นแห่งอนาคต
แต่ความเสี่ยงที่หลายคนต้องทราบก่อนจะลงทุนคือ
หุ้นของบริษัทเหล่านี้ หลายบริษัทยังไม่มีกำไร
หมายความว่า มูลค่าที่สะท้อนออกมานั้น
สะท้อนออกมาจากความคาดหวังของนักลงทุนที่มากพอสมควร
2. Fidelity MSCI Information Technology Index ETF (FTEC) สัดส่วน 12.8%
กองทุน Fidelity ได้เข้าไปลงทุนหุ้นอย่างเช่น
- Apple เจ้าของ iPhone, Mac, iPad ระบบปฏิบัติการ iOS
- Microsoft เจ้าของบริการที่เราคุ้นเคย อย่างเช่น ระบบปฏิบัติการ Windows บริการคลาวด์ Azure
- Visa ผู้ให้บริการระบบชำระเงินรายใหญ่ของโลก
3. First Trust Nasdaq Cybersecurity ETF (CIBR) สัดส่วน 9.8%
เข้าไปลงทุนใน Theme ความปลอดภัยของธุรกิจ ตัวอย่างหุ้นที่เข้าไปลงทุนคือ
- CrowdStrike Holdings, Inc. ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์
- Splunk Inc. ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยด้าน Cloud Platform
- Accenture PLC บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ การเงิน และการลงทุน
4. VanEck Vectors Video Gaming and eSports ETF (ESPO) สัดส่วน 8.3%
เน้นลงทุนในอุตสาหกรรม Esports หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างหุ้นที่กองทุนนี้ไปถือคือ
- Tencent เจ้าของเกมดัง เช่น Arena of Valor หรือ RoV ที่คนไทยรู้จัก
- Activision Blizzard ที่เป็นเจ้าของเกม Warcraft, Overwatch และ Candy Crush
- Electronic Arts ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เกมและผู้พัฒนาเกมมากมาย เช่น FIFA, The Sims, Need for Speed
ลองมาดูผลประกอบการย้อนหลังของ PWIN กันบ้าง
PWIN เป็นกองทุน Active Fund คือมีนโยบายการลงทุนแบบเอาชนะ Benchmark หรือค่ามาตรฐาน
ปี 2019 ผลประกอบการ PWIN อยู่ที่ 13.3%
ขณะที่ Benchmark อยู่ที่ 16.9%
ปี 2020 ผลประกอบการ PWIN อยู่ที่ 93.3%
ขณะที่ Benchmark อยู่ที่ 16.0%
ส่วนถ้านับตั้งแต่ 31 พฤษภาคม 2021 ที่ผ่านมาย้อนไป 1 ปี กองทุนนี้ มีอัตราผลตอบแทน 51.3%
แต่ถ้านับจาก ต้นปีที่ผ่านมาจนถึง 31 พฤษภาคม 2021 กองทุนนี้ มีอัตราผลตอบแทน -1.4%
ที่น่าสนใจคือ ผลตอบแทนของกองทุนนี้เคยมีการปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุด (Maximum Drawdown) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เท่ากับ -32.4%
และมีความผันผวนของผลการดำเนินงาน (Standard Deviation) เท่ากับ 29.5% (ช่วง 8 ต.ค. 2018 - 30 ธ.ค. 2020)
ซึ่งเราจะเห็นว่าแม้ในปี 2020 กองทุนจะสร้างผลตอบแทนได้สูงถึง 93.3% แต่กองทุนก็มีความผันผวนที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว
สรุปแล้วกองทุน PWIN เหมาะกับใคร ?
PWIN เป็นหนึ่งกองทุนเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นแห่งอนาคต ที่จะมีโอกาสรับผลตอบแทนสูง
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรทำความเข้าใจในตัวหุ้นที่กองทุน PWIN เข้าไปลงทุนด้วย เพราะอย่างที่เราได้เล่าไปแล้วว่า หลายบริษัทที่กองทุนนี้ไปลงทุน (โดยเฉพาะหุ้นที่ ETF ของ ARK ไปลงทุน) หลายบริษัทนั้นยังไม่ทำกำไร
เพราะผลตอบแทนที่สูง มันก็มักจะมาพร้อมกับ โอกาสขาดทุนที่สูงตามไปด้วย..
ใครสนใจกองทุน PWIN สามารถอ่านต่อได้เลย ตามลิงก์นี้:
https://static1.squarespace.com/static/5b763853266c075695c73c0a/t/60d06801090ef86c08dfc1b5/1624270851514/PWIN_factsheet_m202105.pdf
ใครอยากให้ THE BRIEFCASE ไปรีวิวกองทุนไหน หรือ ETF ไหนสามารถคอมเมนต์บอกได้เลยนะครับ..
ทางเรายินดีที่จะให้ความรู้ทุกท่านเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน
หมายเหตุ: ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้นผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
References:
-https://www.finnomena.com/fund/PWIN
-https://www.wealthmagik.com/Document/FundProfile/PWIN_FACT_t.pdf?25640624164518
-https://www.bloomberg.com/quote/ARKK:US
-https://www.bloomberg.com/quote/CIBR:US
-https://www.bloomberg.com/quote/ESPO:US
-https://www.bloomberg.com/quote/ARKG:US
-https://www.bloomberg.com/quote/KWEB:US
ปฏิเสธไม่ได้ว่า เราลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนที่ดี
ซึ่งก็มีอยู่หนึ่งกองทุนที่มีผลตอบแทนสูงถึง 93.3% ในปี 2020 ที่ผ่านมา นั่นก็คือ PWIN
สำหรับใครเห็นตัวเลขนี้แล้วน่าจะตาลุกวาว
แต่.. อย่าลืมว่า ผลตอบแทนที่สูง ก็มักมาพร้อมความเสี่ยงที่สูงเช่นกัน
เพราะฉะนั้นลองมาดูกันว่า ความน่าสนใจของ PWIN เป็นอย่างไร
และคนที่สนใจอยากลงทุนผ่านกองทุนนี้ ต้องรู้ และดูความเสี่ยงเรื่องอะไรบ้าง..
PWIN หรือก็คือ กองทุนเปิดฟิลลิปเวิลด์อินโนเวชั่น
เป็นกองทุนรวมภายใต้การบริหารงานของ บลจ. ฟิลลิปแคปปิตอล
กองทุนนี้ไปลงทุนใน ETF (Exchange Traded Fund) และหน่วยลงทุนของกองทุนในต่างประเทศ รวมแล้วมากกว่า 90% ของ สินทรัพย์กองทุน
ซึ่งต้องบอกว่า ถ้าใครที่อยากลงทุนใน ETF ตระกูล “ARK”
PWIN ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว
เพราะ PWIN ได้เข้าไปลงทุนใน ARKK : Innovation ETF Fund เป็นสัดส่วนมากอันดับ 1 ของสัดส่วนการลงทุนของกองทุน
นอกจากตระกูล ARK แล้ว PWIN ยังเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไป
เช่น กลุ่มอินเทอร์เน็ตและความปลอดภัยทางไซเบอร์, โทรคมนาคมและดาต้าเซนเตอร์
และกลุ่มกีฬาอิเล็กทรอนิกส์หรือ Esports,
ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่าง 4 กองทุนหลักที่ PWIN เข้าไปลงทุนกัน (ข้อมูล ณ วันที่ 28 พ.ค. 2021)
1. ARKK Innovation ETF (ARKK) สัดส่วน 23%
กองทุน ARKK ได้เข้าไปลงทุนในหุ้นอย่างเช่น
- Tesla ที่ทำธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า และมีเจ้าพ่อเทคโนโลยีอย่าง Elon Musk เป็น CEO
- Teladoc Health ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการสื่อสารทางการแพทย์ ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกา ในช่วงวิกฤติโควิด 19 ที่ผู้คนหลีกเลี่ยงการไปโรงพยาบาล
- Zoom Video Communications ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Video Conference ที่รายได้เติบโตมากกว่า 369% ในปีที่ผ่านมา เพราะคนส่วนใหญ่อยู่ในช่วง Work From Home
นอกจากนั้น กอนทุนนี้ยังกระจายการลงทุนไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซี
โดยการไปถือหุ้นอย่าง Coinbase Global ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีรายใหญ่ ที่พึ่งจะ IPO ไปเมื่อไม่นานมานี้
ซึ่งหุ้นที่ตระกูล ARK ไปลงทุนนั้น ขึ้นชื่อว่าเป็นหุ้นแห่งอนาคต
แต่ความเสี่ยงที่หลายคนต้องทราบก่อนจะลงทุนคือ
หุ้นของบริษัทเหล่านี้ หลายบริษัทยังไม่มีกำไร
หมายความว่า มูลค่าที่สะท้อนออกมานั้น
สะท้อนออกมาจากความคาดหวังของนักลงทุนที่มากพอสมควร
2. Fidelity MSCI Information Technology Index ETF (FTEC) สัดส่วน 12.8%
กองทุน Fidelity ได้เข้าไปลงทุนหุ้นอย่างเช่น
- Apple เจ้าของ iPhone, Mac, iPad ระบบปฏิบัติการ iOS
- Microsoft เจ้าของบริการที่เราคุ้นเคย อย่างเช่น ระบบปฏิบัติการ Windows บริการคลาวด์ Azure
- Visa ผู้ให้บริการระบบชำระเงินรายใหญ่ของโลก
3. First Trust Nasdaq Cybersecurity ETF (CIBR) สัดส่วน 9.8%
เข้าไปลงทุนใน Theme ความปลอดภัยของธุรกิจ ตัวอย่างหุ้นที่เข้าไปลงทุนคือ
- CrowdStrike Holdings, Inc. ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์
- Splunk Inc. ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยด้าน Cloud Platform
- Accenture PLC บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ การเงิน และการลงทุน
4. VanEck Vectors Video Gaming and eSports ETF (ESPO) สัดส่วน 8.3%
เน้นลงทุนในอุตสาหกรรม Esports หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างหุ้นที่กองทุนนี้ไปถือคือ
- Tencent เจ้าของเกมดัง เช่น Arena of Valor หรือ RoV ที่คนไทยรู้จัก
- Activision Blizzard ที่เป็นเจ้าของเกม Warcraft, Overwatch และ Candy Crush
- Electronic Arts ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เกมและผู้พัฒนาเกมมากมาย เช่น FIFA, The Sims, Need for Speed
ลองมาดูผลประกอบการย้อนหลังของ PWIN กันบ้าง
PWIN เป็นกองทุน Active Fund คือมีนโยบายการลงทุนแบบเอาชนะ Benchmark หรือค่ามาตรฐาน
ปี 2019 ผลประกอบการ PWIN อยู่ที่ 13.3%
ขณะที่ Benchmark อยู่ที่ 16.9%
ปี 2020 ผลประกอบการ PWIN อยู่ที่ 93.3%
ขณะที่ Benchmark อยู่ที่ 16.0%
ส่วนถ้านับตั้งแต่ 31 พฤษภาคม 2021 ที่ผ่านมาย้อนไป 1 ปี กองทุนนี้ มีอัตราผลตอบแทน 51.3%
แต่ถ้านับจาก ต้นปีที่ผ่านมาจนถึง 31 พฤษภาคม 2021 กองทุนนี้ มีอัตราผลตอบแทน -1.4%
ที่น่าสนใจคือ ผลตอบแทนของกองทุนนี้เคยมีการปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุด (Maximum Drawdown) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เท่ากับ -32.4%
และมีความผันผวนของผลการดำเนินงาน (Standard Deviation) เท่ากับ 29.5% (ช่วง 8 ต.ค. 2018 - 30 ธ.ค. 2020)
ซึ่งเราจะเห็นว่าแม้ในปี 2020 กองทุนจะสร้างผลตอบแทนได้สูงถึง 93.3% แต่กองทุนก็มีความผันผวนที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว
สรุปแล้วกองทุน PWIN เหมาะกับใคร ?
PWIN เป็นหนึ่งกองทุนเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นแห่งอนาคต ที่จะมีโอกาสรับผลตอบแทนสูง
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรทำความเข้าใจในตัวหุ้นที่กองทุน PWIN เข้าไปลงทุนด้วย เพราะอย่างที่เราได้เล่าไปแล้วว่า หลายบริษัทที่กองทุนนี้ไปลงทุน (โดยเฉพาะหุ้นที่ ETF ของ ARK ไปลงทุน) หลายบริษัทนั้นยังไม่ทำกำไร
เพราะผลตอบแทนที่สูง มันก็มักจะมาพร้อมกับ โอกาสขาดทุนที่สูงตามไปด้วย..
ใครสนใจกองทุน PWIN สามารถอ่านต่อได้เลย ตามลิงก์นี้:
https://static1.squarespace.com/static/5b763853266c075695c73c0a/t/60d06801090ef86c08dfc1b5/1624270851514/PWIN_factsheet_m202105.pdf
ใครอยากให้ THE BRIEFCASE ไปรีวิวกองทุนไหน หรือ ETF ไหนสามารถคอมเมนต์บอกได้เลยนะครับ..
ทางเรายินดีที่จะให้ความรู้ทุกท่านเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน
หมายเหตุ: ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้นผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
References:
-https://www.finnomena.com/fund/PWIN
-https://www.wealthmagik.com/Document/FundProfile/PWIN_FACT_t.pdf?25640624164518
-https://www.bloomberg.com/quote/ARKK:US
-https://www.bloomberg.com/quote/CIBR:US
-https://www.bloomberg.com/quote/ESPO:US
-https://www.bloomberg.com/quote/ARKG:US
-https://www.bloomberg.com/quote/KWEB:US