กรณีศึกษา ยงสงวน ค้าปลีก-ค้าส่ง เจ้าสัว 2,500 ล้าน ในอุบลราชธานี
19 ม.ค. 2024
กรณีศึกษา ยงสงวน ค้าปลีก-ค้าส่ง เจ้าสัว 2,500 ล้าน ในอุบลราชธานี | BrandCase
รู้หรือไม่ว่า ในจังหวัดทางภาคอีสานอย่าง อุบลราชธานี
นอกจากโมเดิร์นเทรดเจ้าดังอย่าง เซเว่น อีเลฟเว่น และแม็คโคร แล้วยังมีอีกแบรนด์หนึ่งที่คนในจังหวัดคุ้นเคยกันดีไม่แพ้กัน
นอกจากโมเดิร์นเทรดเจ้าดังอย่าง เซเว่น อีเลฟเว่น และแม็คโคร แล้วยังมีอีกแบรนด์หนึ่งที่คนในจังหวัดคุ้นเคยกันดีไม่แพ้กัน
แบรนด์นั้นก็คือ “ยงสงวน” ร้านค้าปลีก-ค้าส่ง เจ้าดังที่อยู่คู่กับจังหวัดนี้มากว่า 69 ปี
ที่น่าสนใจคือปัจจุบัน ร้านค้าในเครือของยงสงวนมีอยู่ 23 สาขา
แต่ในปี 2565 ที่ผ่านมา ทำรายได้ทั้งหมดไปกว่า 2,500 ล้านบาท
แต่ในปี 2565 ที่ผ่านมา ทำรายได้ทั้งหมดไปกว่า 2,500 ล้านบาท
เรื่องราวของ ยงสงวน น่าสนใจอย่างไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
ยงสงวน ก่อตั้งขึ้นในปี 2498 หรือ 69 ปีที่แล้ว โดยคุณพ่องี่เต็ก แซ่โค้ว และคุณแม่เง็กเนย ไชยสงคราม
โดยตอนแรกเปิดเป็นร้านโชห่วยเล็ก ๆ 1 คูหา 2 ชั้น
ตั้งอยู่ที่ถนนยุทธภัณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้ชื่อว่า “โคว้ย่งง้วน” ที่แปลว่า แหล่งน้ำที่ยั่งยืน
ตั้งอยู่ที่ถนนยุทธภัณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้ชื่อว่า “โคว้ย่งง้วน” ที่แปลว่า แหล่งน้ำที่ยั่งยืน
แต่ต่อมาได้เกิดไฟไหม้ขึ้น ทำให้ร้านโชห่วยของทั้งคู่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ต้องย้ายไปยังทำเลใหม่ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อร้านมาเป็น “ยงสงวน” ในเวลาต่อมา
จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี 2533 เมื่อตระกูลไชยสงคราม ทางฝั่งคุณแม่เง็ก ได้เข้ามาประมูลสิทธิ์การก่อสร้าง
และได้เปลี่ยนธุรกิจของยงสงวนมาเป็นธุรกิจห้างสรรพสินค้า โดยใช้ชื่อว่า ยงสงวน ช็อปปิงมอลล์
และได้เปลี่ยนธุรกิจของยงสงวนมาเป็นธุรกิจห้างสรรพสินค้า โดยใช้ชื่อว่า ยงสงวน ช็อปปิงมอลล์
อย่างไรก็ตาม เมื่อทำไปได้สักพัก ตระกูลไชยสงคราม มองว่า ธุรกิจห้างสรรพสินค้าน่าจะเติบโตได้ยาก เพราะมีคู่แข่งใหม่ ๆ เข้ามามากขึ้น และมองว่าธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีกจะเติบโตดีกว่า
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงมีการหันมาลงทุนและเปิดศูนย์กระจายสินค้ายงสงวน เพื่อกระจายสินค้าแทน
โดยปัจจุบัน ธุรกิจของ ยงสงวน ประกอบไปด้วย 2 ธุรกิจหลักคือ
ธุรกิจค้าส่ง ในชื่อ ยงสงวน มี 1 สาขาธุรกิจคอนวีเนียนสตอร์ ในชื่อ “เซฟแลนด์” มีทั้งสิ้น 22 สาขา
กลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจของยงสงวน สามารถยืนหยัดอยู่ท่ามกลางการเข้ามาของธุรกิจค้าปลีกโมเดิร์นเทรดรายใหญ่ระดับประเทศ คือ
การตั้งราคาสินค้าที่ต้องเท่ากับหรือไม่เกินธุรกิจค้าปลีกโมเดิร์นเทรดรายใหญ่ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการการมองหาสินค้าที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้ามาที่ร้าน และค่อย ๆ เพิ่มรายการสินค้า เมื่อได้รับกระแสตอบรับจากลูกค้า
ผลประกอบการของ บริษัท ยงสงวนกรุ๊ป จำกัด
ปี 2564 รายได้ 2,592 ล้านบาท กำไร 64 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 2,541 ล้านบาท กำไร 54 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 2,541 ล้านบาท กำไร 54 ล้านบาท
และนี่คือเรื่องราวของยงสงวน
ธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก เจ้าถิ่นอุบลราชธานี ที่ทำรายได้ปีละกว่า 2,500 ล้านบาท..
ธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก เจ้าถิ่นอุบลราชธานี ที่ทำรายได้ปีละกว่า 2,500 ล้านบาท..