สรุป อิตาเลียนไทย ในมุมธุรกิจ ปีที่แล้วรายได้เกือบครึ่ง มาจากต่างประเทศ
13 ม.ค. 2024
สรุป อิตาเลียนไทย ในมุมธุรกิจ ปีที่แล้วรายได้เกือบครึ่ง มาจากต่างประเทศ | BrandCase
หากพูดชื่อบริษัทรับเหมาก่อสร้างในไทย ที่เป็นตัวท็อป
“อิตาเลียนไทย” จะอยู่ในลิสต์นั้นด้วย
“อิตาเลียนไทย” จะอยู่ในลิสต์นั้นด้วย
ปัจจุบัน อิตาเลียนไทย มีผลงานการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ซึ่งลูกค้าหลักก็คือ รัฐบาลไทย
ผลงานของอิตาเลียนไทย คือโครงการเมกะโปรเจกต์ต่าง ๆ ในไทย
อย่างเช่น สนามบินสุวรรณภูมิ หรือรถไฟฟ้า BTS
อย่างเช่น สนามบินสุวรรณภูมิ หรือรถไฟฟ้า BTS
อีกส่วนคือ อิตาเลียนไทย ก็ได้ไปรับงานก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์ ในหลายประเทศด้วย
ตัวอย่างเช่น
โครงการรถไฟฟ้าในประเทศอินเดีย และบังกลาเทศโครงการรถไฟความเร็วสูง ในไต้หวัน
โมเดลรายได้ของ อิตาเลียนไทย เป็นอย่างไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
จุดเริ่มต้นของ อิตาเลียนไทย มาจากผู้ก่อตั้งที่เป็นหมอและวิศวกรทั้ง 2 คน
นั่นคือ นพ.ชัยยุทธ กรรณสูต และ Mr. Giorgio Berlingieri วิศวกรชาวอิตาลี
นั่นคือ นพ.ชัยยุทธ กรรณสูต และ Mr. Giorgio Berlingieri วิศวกรชาวอิตาลี
โดยเป็นการร่วมทุนกันคนละครึ่ง ก่อตั้งเป็น บริษัท อิตัลไทยอุตสาหกรรม จำกัด ในปี 2498 หรือเมื่อ 69 ปีก่อน
ตอนเริ่มแรก บริษัทยังไม่ได้เริ่มทำธุรกิจก่อสร้าง
แต่เริ่มเป็นตัวแทนนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวกับวิศวกรรมมาขาย อย่างเช่น เครื่องจักรกล
แต่เริ่มเป็นตัวแทนนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวกับวิศวกรรมมาขาย อย่างเช่น เครื่องจักรกล
และยังเป็นผู้นำเข้าสินค้า อย่างเช่น เตาแก๊ส เข้ามาขายเป็นเจ้าแรกของประเทศไทยในยุคนั้น
ต่อมาปี 2501 กลุ่มอิตัลไทย ก็ได้แตกบริษัทใหม่
นั่นคือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือ ITD เพื่อกระโดดเข้าสู่ธุรกิจก่อสร้าง
นั่นคือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือ ITD เพื่อกระโดดเข้าสู่ธุรกิจก่อสร้าง
ซึ่งเป็นช่วงที่ประจวบเหมาะกับประเทศไทย ที่กำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อย่างเช่น ถนน หรือระบบชลประทาน
ซึ่งต้องบอกว่าในช่วงนั้น ก็เป็นช่วงที่สหรัฐอเมริกา ได้เข้ามาตั้งฐานทัพที่ประเทศไทย เพื่อทำสงครามกับคอมมิวนิสต์ในประเทศเวียดนาม
สหรัฐอเมริกา ก็ได้เข้ามาวางโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ให้กับประเทศไทย
ที่เห็นชัด ๆ คือ ถนนมิตรภาพ ที่อยู่ทางภาคอีสาน ไปจนถึงสนามบิน และระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ
ที่เห็นชัด ๆ คือ ถนนมิตรภาพ ที่อยู่ทางภาคอีสาน ไปจนถึงสนามบิน และระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ
โดยในช่วงนั้น เป็นช่วงที่ประเทศไทย จำเป็นต้องจ้างผู้รับเหมาจากต่างประเทศ ให้เข้ามาก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ของประเทศไทย
จึงทำให้บริษัทก่อสร้างในประเทศไทย เริ่มได้รับองค์ความรู้ เกี่ยวกับการก่อสร้างจากสหรัฐอเมริกา
ต่อมาปี 2506 รัฐบาลไทย เริ่มเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาเอกชนในประเทศ
ได้เข้ามาร่วมประมูลงานก่อสร้าง ซึ่งอิตาเลียนไทย ก็เป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมการประมูลด้วย
ได้เข้ามาร่วมประมูลงานก่อสร้าง ซึ่งอิตาเลียนไทย ก็เป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมการประมูลด้วย
โดยอิตาเลียนไทย ก็ได้เป็นงานรับเหมาก่อสร้างหลายโครงการ
ตั้งแต่ทำถนนหนทาง ไปจนถึงงานยาก ๆ อย่างเช่น สร้างทางยกระดับ ทางแยกต่างระดับ และสนามบิน
ตั้งแต่ทำถนนหนทาง ไปจนถึงงานยาก ๆ อย่างเช่น สร้างทางยกระดับ ทางแยกต่างระดับ และสนามบิน
ซึ่งทุก ๆ ปี อิตาเลียนไทย ก็เป็นบริษัทอันดับต้น ๆ ที่รับโปรเจกต์ต่าง ๆ จากรัฐบาลไปทำ
ทำให้บริษัทก่อสร้าง อิตาเลียนไทย กลายเป็นธุรกิจหลักของกลุ่มอิตัลไทย
และเติบโตอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ตอนนั้น
และเติบโตอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ตอนนั้น
จนอิตาเลียนไทยได้ IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2537
โดยหลังจากที่ได้ IPO ไปนั้น อิตาเลียนไทย ก็เริ่มรับงานโครงการเมกะโปรเจกต์ขนาดใหญ่ของรัฐบาลมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น
งานก่อสร้างทางรถไฟ บริเวณเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2541งานก่อสร้างทางด่วน อย่างดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงดอนเมือง-รังสิต และทางด่วนสาย รามอินทรา-อาจณรงค์ สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2541งานก่อสร้างรถไฟฟ้า BTS 2 สายแรกของประเทศไทย
นั่นคือ สายสีเขียวอ่อน (หมอชิต-อ่อนนุช)
และสายสีเขียวเข้ม (สามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน) ระยะทางรวม 23.5 กิโลเมตร
ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการเมื่อปี 2542โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง) ซึ่งบริษัทได้ร่วมกับบริษัทญี่ปุ่น อีก 2 บริษัท
เพื่อก่อสร้างสถานีที่อยู่ทางเหนือทั้งหมด 9 สถานี พร้อมกับขุดเจาะอุโมงค์ เป็นระยะทาง 10.5 กิโลเมตร
โดยรถไฟฟ้าใต้ดินแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการปี 2547โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร สนามบินสุวรรณภูมิ ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการเมื่อปี 2549นอกจากนี้ ก็ยังมีโครงการภาคเอกชน
อย่างเช่น ศูนย์การค้าเช่น Terminal 21 พระราม 3 และ ดิ เอ็มสเฟียร์ ที่เพิ่งเปิดไปได้ไม่นาน
นั่นคือ สายสีเขียวอ่อน (หมอชิต-อ่อนนุช)
และสายสีเขียวเข้ม (สามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน) ระยะทางรวม 23.5 กิโลเมตร
ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการเมื่อปี 2542โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง) ซึ่งบริษัทได้ร่วมกับบริษัทญี่ปุ่น อีก 2 บริษัท
เพื่อก่อสร้างสถานีที่อยู่ทางเหนือทั้งหมด 9 สถานี พร้อมกับขุดเจาะอุโมงค์ เป็นระยะทาง 10.5 กิโลเมตร
โดยรถไฟฟ้าใต้ดินแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการปี 2547โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร สนามบินสุวรรณภูมิ ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการเมื่อปี 2549นอกจากนี้ ก็ยังมีโครงการภาคเอกชน
อย่างเช่น ศูนย์การค้าเช่น Terminal 21 พระราม 3 และ ดิ เอ็มสเฟียร์ ที่เพิ่งเปิดไปได้ไม่นาน
ทีนี้มาถึงไฮไลต์สำคัญคือ อิตาเลียนไทย ไม่ได้มีผลงานก่อสร้างแค่เฉพาะโครงการใหญ่ ในประเทศไทยเท่านั้น
แต่ยังได้บินไปประมูลงานก่อสร้างในต่างประเทศอีกด้วย
ซึ่งอิตาเลียนไทย ก็ชนะการประมูลหลายโครงการ ตัวอย่างเช่น
ในไต้หวัน
งานก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ไทเป-เกาสง
โดยอิตาเลียนไทยจะรับผิดชอบก่อสร้าง
เส้นทางในจังหวัดไถหนาน ไปจนถึงจังหวัดเกาสง รวมระยะทางทั้งหมด 27.3 กิโลเมตร
โดยก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2548งานก่อสร้างสถานีรถไฟใต้ดิน พ่วงกับศูนย์การค้า อาคารคลังสินค้าและสำนักงาน
ที่สถานี Nankang กรุงไทเป ไต้หวัน
โดยอิตาเลียนไทยจะรับผิดชอบก่อสร้าง
เส้นทางในจังหวัดไถหนาน ไปจนถึงจังหวัดเกาสง รวมระยะทางทั้งหมด 27.3 กิโลเมตร
โดยก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2548งานก่อสร้างสถานีรถไฟใต้ดิน พ่วงกับศูนย์การค้า อาคารคลังสินค้าและสำนักงาน
ที่สถานี Nankang กรุงไทเป ไต้หวัน
นอกจากนั้น อิตาเลียนไทย ก็ได้เน้นตลาดไปที่ประเทศ ที่กำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
อย่างเช่น ประเทศอินเดีย
อิตาเลียนไทย ได้เข้าไปบุกตลาดเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2543 โดยร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่น
ก่อสร้างถนนและรถไฟฟ้า ที่กรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย
ก่อสร้างถนนและรถไฟฟ้า ที่กรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย
ต่อมากลางปี 2547 อิตาเลียนไทย ก็ได้เข้าซื้อกิจการบริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่งในประเทศอินเดีย
และเปลี่ยนชื่อเป็น ITD Cementation India Limited หรือ ITDCem
โดยอิตาเลียนไทย ถือหุ้น ITDCem อยู่ 47%
และเปลี่ยนชื่อเป็น ITD Cementation India Limited หรือ ITDCem
โดยอิตาเลียนไทย ถือหุ้น ITDCem อยู่ 47%
และประมูลโครงการเมกะโปรเจกต์ต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย ผ่านบริษัท ITDCem ซึ่งก็ชนะการประมูลไปหลายโครงการ
ไม่ว่าจะเป็น
งานก่อสร้างรถไฟฟ้ายกระบบและใต้ดินในกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย
และเมืองอื่น ๆ อีกหลายเมือง เช่น เมืองบังคาลอร์ เมืองชัยปุระ และเมืองโกลกาตางานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินในหลาย ๆ เมืองในอินเดีย
และเมืองอื่น ๆ อีกหลายเมือง เช่น เมืองบังคาลอร์ เมืองชัยปุระ และเมืองโกลกาตางานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินในหลาย ๆ เมืองในอินเดีย
ในประเทศบังกลาเทศ
อิตาเลียนไทย ได้งานรับเหมาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายแรกในกรุงธากา เมืองหลวงของบังกลาเทศ ในระยะทาง 5 กิโลเมตร
ร่วมทุนกับรัฐวิสาหกิจจีน เพื่อก่อสร้างทางด่วนสายแรกในกรุงธากา พร้อมรับสัมปทานบริหารทางด่วนเป็นระยะเวลาถึง 25 ปี
ในประเทศเมียนมา
งานก่อสร้างสนามบินนานาชาติมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา โดยสนามบินเปิดให้บริการเมื่อปี 2543โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ปัจจุบันยังสร้างไม่เสร็จ และรัฐบาลเมียนมาได้ยกเลิกโครงการ
ปัจจุบันโครงการอยู่ในระหว่างการเจรจาเพื่อหาข้อสรุป
ปัจจุบันโครงการอยู่ในระหว่างการเจรจาเพื่อหาข้อสรุป
ถ้าเราลองไปดูสัดส่วนรายได้ของอิตาเลียนไทย ในปี 2565 แยกตามภูมิภาค
งานก่อสร้างในประเทศไทย 59%งานก่อสร้างในประเทศอินเดีย 31%งานก่อสร้างในประเทศบังกลาเทศ 5%งานก่อสร้างในประเทศอื่น ๆ 5%
ซึ่งจะเห็นได้ว่า อิตาเลียนไทย มีรายได้จากการรับเหมาก่อสร้างมาจากต่างประเทศ ประมาณ 41%
หรือเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้รวม เลยทีเดียว
หรือเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้รวม เลยทีเดียว
ถ้าเราไปดูโครงสร้างรายได้ ของอิตาเลียนไทย โดยซอยย่อยเป็นประเภทโครงการต่าง ๆ
จะเห็นได้ว่ารายได้ทุก ๆ 100 บาท มาจาก
งานก่อสร้างถนนทางหลวง เส้นทางรถไฟ ระบบขนส่งมวลชน และทางด่วน 29 บาทงานก่อสร้างสนามบิน และท่าเรือ 19 บาทงานก่อสร้างอาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม และโรงแรม 14 บาทงานวางท่อ เพื่อขนส่งน้ำมัน แก๊ส และระบบสายไฟใต้ดิน 11 บาทงานขุดเหมืองแร่และถ่านหิน 7 บาทงานสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้า 6 บาทงานก่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่ 3 บาทโครงการอื่น ๆ อีก 11 บาท
ทีนี้เราลองไปดูผลประกอบการของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือ ITD กัน
ปี 2557 มีรายได้ 47,973 ล้านบาท กำไร 522 ล้านบาท
ปี 2561 มีรายได้ 60,644 ล้านบาท กำไร 306 ล้านบาท
ปี 2565 มีรายได้ 67,833 ล้านบาท ขาดทุน 4,759 ล้านบาท
ปี 2561 มีรายได้ 60,644 ล้านบาท กำไร 306 ล้านบาท
ปี 2565 มีรายได้ 67,833 ล้านบาท ขาดทุน 4,759 ล้านบาท
จะเห็นว่า แม้อิตาเลียนไทย จะทำรายได้จากงานก่อสร้างที่เติบโต
แต่บริษัทกลับมีสัดส่วนกำไรที่น้อย ไม่เติบโตไปตามรายได้ แถมยังขาดทุนในบางปี
แต่บริษัทกลับมีสัดส่วนกำไรที่น้อย ไม่เติบโตไปตามรายได้ แถมยังขาดทุนในบางปี
นั่นก็เพราะว่า เวลาที่มีโครงการก่อสร้างทั้งจากภาครัฐและเอกชน
บริษัทรับเหมาก่อสร้างหลาย ๆ แห่ง จะต้องเข้ามาแข่งกันประมูล โดยเสนอราคาให้ต่ำ ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้รับงานก่อสร้างโครงการต่าง ๆ
บริษัทรับเหมาก่อสร้างหลาย ๆ แห่ง จะต้องเข้ามาแข่งกันประมูล โดยเสนอราคาให้ต่ำ ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้รับงานก่อสร้างโครงการต่าง ๆ
อย่างกรณีของ อิตาเลียนไทย แม้จะได้งานโครงการก่อสร้างต่าง ๆ เข้ามาอยู่ในมือ เป็นจำนวนมาก
แต่บริษัท กลับต้องแบกรับต้นทุนต่าง ๆ เช่น ต้นทุนค่าแรง และค่าวัสดุก่อสร้าง ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้น บริษัทรับเหมาก่อสร้าง จึงต้องพยายามควบคุมต้นทุนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
การเจรจาต่อรองกับซัปพลายเออร์ เพื่อต่อรองราคาวัสดุก่อสร้างให้ถูกลงล็อกราคาวัสดุก่อสร้าง ด้วยการทำสัญญาซื้อขายกับซัปพลายเออร์ไว้ล่วงหน้าจ้างแรงงานต่างด้าวที่มีค่าแรงถูกกว่าแรงงานไทย เช่น พม่า ลาว หรือกัมพูชา
เมื่อควบคุมต้นทุนได้ ก็ค่อยประมูลงานก่อสร้าง
โดยพยายามเสนอราคาให้ต่ำกว่าคู่แข่ง เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้งาน ในขณะที่บริษัทก็มีโอกาสทำกำไรมากขึ้น
โดยพยายามเสนอราคาให้ต่ำกว่าคู่แข่ง เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้งาน ในขณะที่บริษัทก็มีโอกาสทำกำไรมากขึ้น
แล้วเมื่อบริษัทชนะการประมูลโครงการ โครงการเหล่านั้นจะกลายมาเป็น
“ปริมาณงานในมือที่รอรับรู้รายได้” หรือ “Backlog” ของบริษัทนั่นเอง
“ปริมาณงานในมือที่รอรับรู้รายได้” หรือ “Backlog” ของบริษัทนั่นเอง
ซึ่งปัจจุบัน อิตาเลียนไทย มีมูลค่างานที่อยู่ในมือ หรือ Backlog
ที่รอรับรู้รายได้ทั้งหมด 288,605 ล้านบาท
ที่รอรับรู้รายได้ทั้งหมด 288,605 ล้านบาท
โดย Backlog ที่อิตาเลียนไทยมีในตอนนี้ เป็นโครงการก่อสร้างในประเทศ 82%
นั่นหมายความว่า ในอนาคต รายได้ของอิตาเลียนไทย จะมาจากโครงการก่อสร้างในประเทศเป็นหลัก
ยกตัวอย่างงาน Backlog ของอิตาเลียนไทย ที่กำลังก่อสร้างและรอรับรู้รายได้ ก็อย่างเช่น
โครงการทางหลวงมอเตอร์เวย์หมายเลข 82 (บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว)
ตอนที่ 7 มูลค่าโครงการ 1,746 ล้านบาทโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ)
สัญญาที่ 3, 5 และ 6 มูลค่าโครงการ 24,064 ล้านบาทร่วมมือกับบริษัทจีน ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา)
โดยอิตาเลียนไทย รับผิดชอบก่อสร้าง ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก–บันไดม้า
มูลค่าโครงการ 9,348 ล้านบาท
ตอนที่ 7 มูลค่าโครงการ 1,746 ล้านบาทโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ)
สัญญาที่ 3, 5 และ 6 มูลค่าโครงการ 24,064 ล้านบาทร่วมมือกับบริษัทจีน ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา)
โดยอิตาเลียนไทย รับผิดชอบก่อสร้าง ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก–บันไดม้า
มูลค่าโครงการ 9,348 ล้านบาท
ซึ่งงานในมือ หรือ Backlog ของอิตาเลียนไทย เป็นงานของภาครัฐมากถึง 81% ของมูลค่าโครงการ
จะเห็นได้ว่า ลูกค้าคนสำคัญของอิตาเลียนไทย ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตต่อจากนี้
ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนไกล เพราะเป็น รัฐบาลไทย นั่นเอง..
References
รายงานประจำปี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ปี 2543, ปี 2561 และปี 2565
-https://www.itd.co.th/th/about-history.php
-https://viratts.com/2012/03/23/cy-italthai/
-https://italthaigroup.com/italthaigroup/
-https://www.blockdit.com/posts/5edc9012f72e97113fa2d7ba
-https://www.itd.co.th/th/our-capabilities-detail.php?project=62
-https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635769
-https://www.finnomena.com/stock/ITD
-https://www.longtunman.com/42622
-https://www.pptvhd36.com/news/
-https://www.ditp.go.th/post/144723
-https://www.xinhuathai.com/eco/329509_20221230
-https://www.itd.co.th/th/about-history.php
-https://viratts.com/2012/03/23/cy-italthai/
-https://italthaigroup.com/italthaigroup/
-https://www.blockdit.com/posts/5edc9012f72e97113fa2d7ba
-https://www.itd.co.th/th/our-capabilities-detail.php?project=62
-https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635769
-https://www.finnomena.com/stock/ITD
-https://www.longtunman.com/42622
-https://www.pptvhd36.com/news/
-https://www.ditp.go.th/post/144723
-https://www.xinhuathai.com/eco/329509_20221230
Tag:อิตาเลียนไทย