สรุปวิธีทำ Buyer Persona ตัวช่วยให้ธุรกิจเข้าใจ ว่าใครคือ ลูกค้าของแบรนด์
27 พ.ย. 2023
สรุปวิธีทำ Buyer Persona ตัวช่วยให้ธุรกิจเข้าใจ ว่าใครคือ ลูกค้าของแบรนด์ | BrandCase
เรื่องสำคัญเวลาทำธุรกิจ คือต้องมีสินค้าหรือบริหาร ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้จริง ๆ
ซึ่งธุรกิจจะทำแบบนั้นได้ เรื่องสำคัญคือ ต้องรู้ก่อนว่า ลูกค้าของเราคือใคร
ซึ่งธุรกิจจะทำแบบนั้นได้ เรื่องสำคัญคือ ต้องรู้ก่อนว่า ลูกค้าของเราคือใคร
โดยเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในเรื่องนี้ได้ คือสิ่งที่เรียกว่า “Buyer Persona”
ซึ่งอธิบายง่าย ๆ ก็คือ การตั้งภาพในหัวว่า ลูกค้าของเราคือคนที่มีภาพลักษณ์ประมาณไหน อายุเท่าไร ทำงานอะไร รายได้ประมาณเท่าไร ชื่นชอบอะไร
ซึ่งอธิบายง่าย ๆ ก็คือ การตั้งภาพในหัวว่า ลูกค้าของเราคือคนที่มีภาพลักษณ์ประมาณไหน อายุเท่าไร ทำงานอะไร รายได้ประมาณเท่าไร ชื่นชอบอะไร
รายละเอียดเต็ม ๆ ของ Buyer Persona มีอะไรต้องรู้บ้าง ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
Persona ในภาษาไทยหมายถึง บุคลิกลักษณะ
Buyer Persona จึงหมายถึง การสร้างหรือกำหนด บุคลิกลักษณะของลูกค้า ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์เราขึ้นมา
แล้วการทำ Buyer Persona ต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง ?
โดยปกติแล้ว Buyer Persona มักประกอบขึ้นมาจากชุดข้อมูล เช่น
ข้อมูลส่วนตัว (Demographics)
ข้อมูลส่วนตัว เป็นข้อมูลสำคัญเบื้องต้น ที่ทำให้รู้จักลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเรามากขึ้น
ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ เช่น อายุ, เพศ, ที่อยู่, สถานะ และระดับการศึกษา
ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน (Professional Status)
ข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่การงาน มีความสำคัญมาก
เพราะจะทำให้เรารู้ว่า ลูกค้าของเรา มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ มากน้อยแค่ไหน มีกำลังซื้อมากเท่าไร
เพราะจะทำให้เรารู้ว่า ลูกค้าของเรา มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ มากน้อยแค่ไหน มีกำลังซื้อมากเท่าไร
ตัวอย่างข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน เช่น
อยู่ในวัยทำงาน หรือกำลังศึกษาอยู่ ?ถ้าทำงานแล้ว ทำงานตำแหน่งอะไร ?งานที่ทำ อยู่ในอุตสาหกรรมประเภทไหน ?รายได้โดยประมาณอยู่ที่เท่าไร ?
ข้อมูลเชิงจิตวิทยา (Psychographics)
ข้อมูลในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับความคิด และความเชื่อของคนคนหนึ่ง ว่าเขาคิดเห็นอย่างไรบ้าง
ซึ่งการทำการตลาดที่ดี จะต้องล้อไปกับความคิดของลูกค้า ไม่ไปขัดหรือแย้งความคิดของลูกค้า
ตัวอย่างข้อมูลเชิงจิตวิทยา เช่น
ค่านิยม เช่น แนวคิดเรื่องเพศ แนวคิดเรื่องวัตถุนิยม แนวคิดเรื่องเสรีภาพความเชื่อ เช่น เชื่อเรื่องสิ่งลี้ลับ โชคชะตา ดวง พรหมลิขิต หรือไม่ ?มุมมองทางการเมือง เช่น แนวคิดทางการเมือง และพรรคการเมืองที่ลูกค้าชื่นชอบไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เช่น ชอบทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือชอบทำกิจกรรมในบ้านเป้าหมายชีวิต เช่น อยากเกษียณเร็ว หรืออยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง
สื่อที่ลูกค้าเลือกที่จะรับฟัง (Influences and Information Sources)
สื่อที่ลูกค้าเลือกรับฟัง จะเป็นสิ่งที่สะท้อนว่า ลูกค้าชอบการนำเสนอแบบไหน ทำให้เราสามารถทำคอนเทนต์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ได้ถูกแหล่งมากขึ้น
ตัวอย่างข้อมูลในส่วนนี้ เช่น
ลูกค้าใช้เวลาไปกับอะไร ? เช่น ชอบอ่านหนังสือ, ดูโทรทัศน์, เล่นอินเทอร์เน็ต หรือชอบอ่านหนังสือพิมพ์ลูกค้าชอบใช้แอปโซเชียลมีเดียอะไร ? เช่น Facebook, Instagram, Line, Twitter, TikTok หรือ YouTubeอินฟลูเอนเซอร์ที่ชอบ และไว้วางใจคือใคร ?แนวคอนเทนต์ที่ชื่นชอบคืออะไร ? เช่น บทความ วิดีโอสั้น รีวิว แค็ปชันสั้น ๆ หรืออินโฟกราฟิก
ปัญหา (Pain Point)
คือ สิ่งต่าง ๆ ที่ลูกค้าต้องเจอ แล้วได้รับความไม่สะดวก
ถ้าเรารู้และเข้าใจปัญหาของลูกค้า แล้วธุรกิจสามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ตรงจุด ธุรกิจของเราก็จะมีมูลค่ามากขึ้น
ถ้าเรารู้และเข้าใจปัญหาของลูกค้า แล้วธุรกิจสามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ตรงจุด ธุรกิจของเราก็จะมีมูลค่ามากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อสินค้า (Purchasing Process)
ข้อมูลส่วนนี้จะบอกเราว่า ลูกค้ามีความคิดและพฤติกรรมอย่างไร ในการเลือกซื้อสินค้าของเรา
ตัวอย่างข้อมูลการซื้อสินค้า เช่น
ความถี่ในการซื้อสินค้า ซื้อสินค้าบ่อยครั้งแค่ไหน ?อุปสรรคในการเข้าถึงการซื้อสินค้า เช่น ลูกค้าอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีสินค้าวางขายหรือไม่ ?ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้า เช่น เกิดขึ้นเพราะอารมณ์ เหตุผล หรือความจำเป็น
คำถามคือ แล้วเราจะหาข้อมูลพวกนี้จากไหนได้บ้าง ? ก็ทำได้หลายช่องทาง เช่น
สอบถามลูกค้าโดยตรงให้ลูกค้าช่วยทำแบบสอบถามเก็บข้อมูลผ่านระบบสมัครสมาชิกเก็บจากข้อมูลการซื้อสินค้าของลูกค้าสอบถามจากพนักงานขาย ทีมการตลาด หรือคนที่ได้ใกล้ชิดกับลูกค้า
แล้วทำไมการวิเคราะห์ Buyer Persona ถึงสำคัญ ? ก็มีเหตุผลหลายอย่าง เช่น
ช่วยให้คนทำธุรกิจเข้าใจกลุ่มลูกค้าของตัวเองชัดขึ้น
ซึ่งช่วยให้ธุรกิจเข้าใจลูกค้าว่า กำลังสนใจอะไร ต้องการอะไร ซึ่งข้อมูลตรงนี้สามารถนำมาพัฒนากลยุทธ์การตลาดต่อได้
ซึ่งช่วยให้ธุรกิจเข้าใจลูกค้าว่า กำลังสนใจอะไร ต้องการอะไร ซึ่งข้อมูลตรงนี้สามารถนำมาพัฒนากลยุทธ์การตลาดต่อได้
เช่น การสร้างคอนเทนต์ให้ถูกใจลูกค้า, การโปรโมตสินค้าผ่านช่องทางใหม่ ๆ หรือการนำอินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นกระแสอยู่ในขณะนั้นมาช่วยรีวิวสินค้า
ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
เมื่อเรารู้ว่าลูกค้าอยากได้อะไร การพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ก็ทำได้ง่ายขึ้น
เมื่อเรารู้ว่าลูกค้าอยากได้อะไร การพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ก็ทำได้ง่ายขึ้น
เมื่อเราสร้าง Buyer Persona ขึ้นมาจากข้อมูลที่มีเรียบร้อยแล้ว
เราก็สามารถนำผลลัพธ์ที่ได้ มาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เพื่อกำหนดกลยุทธ์สำหรับทำการตลาดต่อไปได้
เราก็สามารถนำผลลัพธ์ที่ได้ มาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เพื่อกำหนดกลยุทธ์สำหรับทำการตลาดต่อไปได้
ซึ่งมันคือหนึ่งในส่วนสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจ สินค้า หรือบริการของเรา สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ได้อย่างแท้จริง..
Tag:Buyer Persona