คุยกับเจ้าของ KOUEN ทำร้านอาหารอย่างไร ในวันที่คู่แข่ง เต็มบ้านเต็มเมือง
28 ต.ค. 2023
คุยกับเจ้าของ KOUEN ทำร้านอาหารอย่างไร ในวันที่คู่แข่ง เต็มบ้านเต็มเมือง | BrandCase
“อาหารญี่ปุ่น” ถือเป็นหนึ่งในร้านอาหารที่คนไทยนิยมไปทานเป็นอันดับต้น ๆ
โดยจากผลการสำรวจของ JETRO หรือองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น
พบว่า ในปี 2565 ประเทศไทยมีร้านอาหารญี่ปุ่น ทั้งหมด 5,325 ร้าน
โดยจากผลการสำรวจของ JETRO หรือองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น
พบว่า ในปี 2565 ประเทศไทยมีร้านอาหารญี่ปุ่น ทั้งหมด 5,325 ร้าน
และในจำนวนนี้มีร้านอาหารญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นทั้งหมด 955 ร้าน ซึ่งเพิ่มขึ้นมากถึง 21.9% จากปีที่แล้ว และเป็นการเพิ่มขึ้นมากสุดในรอบ 15 ปี
นั่นหมายความว่า ตอนนี้ ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย นับเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงมาก
หนึ่งในเจ้าของร้านอาหารญี่ปุ่น ที่อยู่ในสมรภูมิเดือดนี้ ก็คือ Kouen Group เจ้าของ “Kouen Sushi Bar” ร้านบุฟเฟต์อาหารญี่ปุ่นคุณภาพพรีเมียม
BrandCase มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณบอนด์-ธีรพัฒน์ เลิศสิริประภา CEO Kouen Group
ถึงความยากในการทำร้านอาหารญี่ปุ่น
และวิธีทำร้านอาหารให้แตกต่าง ท่ามกลางคู่แข่งที่มีอยู่เต็มบ้านเต็มเมืองในตอนนี้
ถึงความยากในการทำร้านอาหารญี่ปุ่น
และวิธีทำร้านอาหารให้แตกต่าง ท่ามกลางคู่แข่งที่มีอยู่เต็มบ้านเต็มเมืองในตอนนี้
คุณบอนด์ เจ้าของ Kouen Group มีมุมมองกับเรื่องนี้อย่างไร ?
BrandCase จะสรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase จะสรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
ก่อนอื่นต้องบอกว่า เชนร้านบุฟเฟต์อาหารญี่ปุ่นและอาหารไทย อย่าง Kouen Group จะมีจุดเริ่มต้นมาจากความบังเอิญ..
โดยจุดเริ่มต้นของเครือร้านอาหารนี้ เกิดขึ้นในปี 2557
ตอนนั้นคุณบอนด์-ธีรพัฒน์ เลิศสิริประภา ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของ Kouen Group ได้เซ้งห้องแถวที่ I'm Park จุฬาฯ เอาไว้ เพื่อเอาไว้ขายหวังเก็งกำไร
แต่ในปีนั้นได้เกิดเหตุการณ์ระเบิดขึ้นแถวบรรทัดทอง บริเวณใกล้ ๆ กับตึก I'm Park ที่คุณบอนด์เซ้งมา ทำให้ไม่สามารถขายห้องเช่าให้ราคาสูงขึ้นได้ตามที่ตั้งใจ
ขณะเดียวกัน ทางเจ้าของตึกก็ต้องการให้ร้านค้ากลับมาเปิดให้บริการมากขึ้น เพื่อให้ลูกค้ากลับมาเดินเที่ยวอีกครั้ง
ณ ตอนนั้นธุรกิจที่บ้านของคุณบอนด์คือ ธุรกิจขายผ้าแถวสำเพ็ง
แต่หากจะเอาร้านผ้ามาเปิดที่ I'm Park คุณบอนด์ก็คิดว่า ไม่น่าจะเหมาะ
แต่หากจะเอาร้านผ้ามาเปิดที่ I'm Park คุณบอนด์ก็คิดว่า ไม่น่าจะเหมาะ
แต่เนื่องจากคุณบอนด์เป็นคนชอบทานอาหารญี่ปุ่นอยู่แล้ว
ชอบไปเที่ยวญี่ปุ่นบ่อย ๆ และชอบตระเวนทานร้านอาหารในญี่ปุ่นมานาน
ชอบไปเที่ยวญี่ปุ่นบ่อย ๆ และชอบตระเวนทานร้านอาหารในญี่ปุ่นมานาน
สุดท้ายคุณบอนด์จึงตัดสินใจใช้พื้นที่ตรงนั้น ทำร้านอาหารญี่ปุ่นขึ้นมา
โดยมีชื่อร้านว่า “KOUEN” ซึ่งคำนี้ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า “สวนสาธารณะ” ซึ่งพ้องกับคำว่า Park ที่เป็นชื่อตึก I'm Park
แต่เนื่องจากคุณบอนด์ไม่เคยทำธุรกิจร้านอาหารมาก่อน และไม่รู้ว่าต้องบริหารร้านอาหารอย่างไร
ทำให้หลังจากที่เปิดร้าน KOUEN ไปได้เพียงแค่ 8-9 เดือน ร้านนี้ก็ขาดทุน กว่า 3 ล้านบาท
พอเป็นแบบนี้ คุณบอนด์จึงตัดสินใจวางมือจากธุรกิจขายผ้าของที่บ้าน เพื่อออกมาทำการบริหารร้านอาหารแบบจริงจัง
โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาโมเดลธุรกิจ เรียนคอร์สการบริหารร้านอาหาร และสังเกตจากร้านที่มีอยู่ในตลาดไปพร้อม ๆ กัน
คุณบอนด์เล่าให้ฟังต่อว่า ในขณะเดียวกันก็ทำตัวเองให้เป็นอาเฮียขายของหลังมหาวิทยาลัย ทำให้มีความใกล้ชิดกับลูกค้าที่เป็นกลุ่มนักศึกษามากขึ้น
พอเริ่มสนิท ก็เริ่มมีการพูดคุยกับนักศึกษาที่มาใช้บริการว่า ร้านควรทำอย่างไรดี เพื่อให้ลูกค้ามาใช้บริการที่ร้านเยอะ ๆ
จังหวะนั้นมหาวิทยาลัยก็เปิดเทอมพอดี และมีการจัดงานเลี้ยงบ่อย
ซึ่งคุณบอนด์สังเกตเห็นว่า ปลาที่คนไทยและวัยรุ่นชอบทานในร้านอาหารญี่ปุ่นคือ ปลาแซลมอน
ซึ่งคุณบอนด์สังเกตเห็นว่า ปลาที่คนไทยและวัยรุ่นชอบทานในร้านอาหารญี่ปุ่นคือ ปลาแซลมอน
จึงลองทำเป็นแซลมอนบุฟเฟต์ออกมาขาย ซึ่งถือว่าได้รับผลตอบรับที่ดี
ลูกค้าที่เคยทานที่ร้านก็กลับมาทานซ้ำ
และนั่นทำให้ทุกคนรู้จักชื่อร้าน KOUEN ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ลูกค้าที่เคยทานที่ร้านก็กลับมาทานซ้ำ
และนั่นทำให้ทุกคนรู้จักชื่อร้าน KOUEN ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
แต่ทุกธุรกิจย่อมมีความท้าทายในตัวของมัน..
ตัวอย่างที่คุณบอนด์เล่าให้ฟัง ก็อย่างเช่น
-ความท้าทายในช่วงแรกของ KOUEN คือราคาปลาแซลมอนที่แพงขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
แน่นอนว่าเมื่อวัตถุดิบแพงขึ้น ราคาอาหารภายในร้านก็ต้องมีการปรับตัว
ซึ่งเรื่องราคาวัตถุดิบเป็นเรื่องที่ท้าทายการบริหารมาก เพราะเป็นปัจจัยภายนอก ที่ร้านควบคุมไม่ได้ 100%
ซึ่งเรื่องราคาวัตถุดิบเป็นเรื่องที่ท้าทายการบริหารมาก เพราะเป็นปัจจัยภายนอก ที่ร้านควบคุมไม่ได้ 100%
แต่สิ่งที่ KOUEN ทำนอกจากการปรับราคาอาหาร คือการออกเมนูใหม่ ให้หลากหลาย เพื่อให้ลูกค้ายังรู้สึกถึงความคุ้มค่ากับราคาที่เพิ่มขึ้นมาด้วย
-ความท้าทายต่อมาของ KOUEN ก็คงหนีไม่พ้นช่วงของการเกิดโรคระบาด
คุณบอนด์เล่าให้ฟังว่า เนื่องจากธุรกิจร้านอาหาร จะมีรายจ่ายหลัก ๆ คือ ค่าเช่า ค่าพนักงาน และค่าวัตถุดิบ ซึ่งถือเป็นราคาต้นทุนที่เยอะพอสมควร
สิ่งที่ต้องทำคือ เริ่มจากการเจรจากับซัปพลายเออร์ ในส่วนของการเลื่อนจ่ายเงิน และเจรจากับผู้ให้เช่าที่
รวมถึงติดตามนโยบายจากภาครัฐถึงวิธีการช่วยเหลือต่าง ๆ เพื่อที่ร้านจะได้เตรียมแผนรับมือได้ถูกทาง
และพูดคุยทำความเข้าใจกับพนักงานตลอด
และพูดคุยทำความเข้าใจกับพนักงานตลอด
โดยคุณบอนด์ ยกตัวอย่างวิธีที่ KOUEN ใช้ในการระบายของที่มีอยู่ในสต็อกของร้านให้ฟังว่า
ตอนนั้นมีการทำ Live สดขายของที่เป็นเหมือนซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดย่อม เรียกได้ว่าขายตั้งแต่ไข่ไก่ไปจนถึงฟัวกราส์
โชคดีที่ก่อนหน้านั้นร้าน KOUEN เข้าไปขายในช่องทางดิลิเวอรีอยู่แล้ว
พอเกิดวิกฤติ จึงทำให้ร้านยังเหลือช่องทางในการขายอาหาร และสามารถประคับประคองธุรกิจให้รอดมาได้
พอเกิดวิกฤติ จึงทำให้ร้านยังเหลือช่องทางในการขายอาหาร และสามารถประคับประคองธุรกิจให้รอดมาได้
ทีนี้มาถึงเรื่องสำคัญ
จากที่เกริ่นไปว่า “อาหารญี่ปุ่น” ถือเป็นหนึ่งในร้านอาหารที่คนไทยนิยมไปทานเป็นอันดับต้น ๆ
จากที่เกริ่นไปว่า “อาหารญี่ปุ่น” ถือเป็นหนึ่งในร้านอาหารที่คนไทยนิยมไปทานเป็นอันดับต้น ๆ
และถือเป็นประเภทของร้านอาหาร ที่มีผู้เล่นจำนวนมากในตลาด
แล้วจะปั้นแบรนด์ร้านอาหารอย่างไร ในวันที่คู่แข่ง เต็มบ้านเต็มเมือง ?
เรื่องนี้คุณบอนด์สรุปให้ง่าย ๆ เป็น 3 ข้อ
1.ทำร้านอาหาร เรื่องวัตถุดิบ ต้องรักษาคุณภาพให้ได้
วัตถุดิบที่ร้านใช้ต้องเป็นวัตถุดิบคุณภาพชั้นดี และดีแบบสม่ำเสมอ
เพราะการขายของกิน หากลูกค้าเคยทานของดี มีคุณภาพมาก่อน
เมื่อกลับมาทานซ้ำ ผู้บริโภคก็จะเกิดการเปรียบเทียบกับคุณภาพที่เคยทานมาก่อนหน้า
เมื่อกลับมาทานซ้ำ ผู้บริโภคก็จะเกิดการเปรียบเทียบกับคุณภาพที่เคยทานมาก่อนหน้า
ดังนั้นการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และรักษาระดับคุณภาพนั้นให้ได้ ก็เปรียบเหมือนกับการซื่อสัตย์กับลูกค้า
2.ราคาสมเหตุสมผล
การใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ แน่นอนว่า จะทำให้ต้นทุนของร้านอาหารเพิ่มขึ้น
แต่เนื่องจาก สไตล์ของ Kouen Group อยากจะเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และราคาสมเหตุสมผล
แต่เนื่องจาก สไตล์ของ Kouen Group อยากจะเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และราคาสมเหตุสมผล
จึงทำให้ราคาอาหารของ Kouen Group มีราคาขายที่ไม่แพงเกินไป
ซึ่งกลายเป็นจุดขายที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า และกลับมาทานซ้ำ ๆ
ซึ่งกลายเป็นจุดขายที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า และกลับมาทานซ้ำ ๆ
ตัวอย่างราคาเช่น ชุดเริ่มต้น Variety Buffet 599++ ซึ่งมีเมนูให้เลือกหลากหลาย เช่น เกี๊ยวซ่าทอด ปลาแซลมอนย่างเกลือ เนื้อผัดซอสญี่ปุ่น ปลาทูน่าซาชิมิ เนื้อวัวนำเข้า ไปจนถึงเมนูไฮไลต์ประจำแพ็กเกจอย่าง Volcano Roll หมูไห และเนื้อวัวออสเตรเลีย
3.ให้ความสำคัญกับการเทรนพนักงาน แล้วบริการจะออกมาดี
อีกเรื่องที่ Kouen Group ทำ คือการตั้งใจเทรนนิงพนักงาน
เช่น Kouen Group ได้ใช้ผู้ฝึกสอนจากสายการบิน มาเทรนนิงให้กับพนักงานโดยตรง
เช่น Kouen Group ได้ใช้ผู้ฝึกสอนจากสายการบิน มาเทรนนิงให้กับพนักงานโดยตรง
ซึ่งพอพนักงานได้เรียนรู้ทักษะการบริการที่ดี จากผู้ฝึกสอนที่ดี ก็จะสามารถให้บริการลูกค้าได้ดีด้วย
คุณบอนด์บอกว่า 3 เรื่องนี้ คือหัวใจของการทำร้านอาหาร ที่ต้องทำให้ดี
ถ้าเราทำดีจริง ๆ ลูกค้าจะไปแนะนำกันแบบปากต่อปาก แล้วแบรนด์ของเราจะเป็นที่รู้จัก จะมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งได้
และสุดท้ายจะอยู่ได้ แม้ในตลาดที่มีคู่แข่งรายอื่น ๆ เยอะแยะไปหมด
และสุดท้ายจะอยู่ได้ แม้ในตลาดที่มีคู่แข่งรายอื่น ๆ เยอะแยะไปหมด
ซึ่ง Kouen Group ก็ไม่ได้โดดเด่นแค่ในกลุ่มผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังดึงดูดนักลงทุนสถาบันได้ด้วย
โดยในปี 2564 Kouen Group มีพันธมิตรรายใหญ่เข้ามาร่วมลงทุนในบริษัท คือ OR หรือ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
OR ได้เข้ามาลงทุน 192 ล้านบาท แลกกับหุ้นสัดส่วน 25% ของ บริษัท อิ่มทรัพย์ โกลบอล คูซีน จำกัด เจ้าของแบรนด์ร้านอาหาร Kouen Sushi Bar และแบรนด์อื่น ๆ ในเครือ
ซึ่งการเข้ามาของ OR ในครั้งนี้ ก็มีส่วนทำให้ Kouen Group เป็นที่รู้จักมากขึ้น และสามารถขยายสาขาเพิ่ม จากเงินทุนที่ได้มา
โดยปัจจุบัน Kouen Group มีแบรนด์ร้านอาหารในเครือทั้งหมด 7 แบรนด์ด้วยกัน ได้แก่
-Kouen Sushi Bar ร้านบุฟเฟต์อาหารญี่ปุ่น ทั้งหมด 17 สาขา
-Ono Sushi ร้านอาหารญี่ปุ่นในราคาที่เข้าถึงได้ แบบดิลิเวอรี ทั้งหมด 2 สาขา
-E-Curry ร้านข้าวแกงกะหรี่ แบบดิลิเวอรี
-หมูตั่วเฮีย ร้านสตรีตฟูดที่รวมที่สุดของเมนูหมู
-ยุ้งข้าวหอม ร้านอาหารใต้รสดั้งเดิมจากเกาะสมุย ทั้งหมด 1 สาขา
-URAKI ร้านอาหารสไตล์ญี่ปุ่นดั้งเดิม เน้นรสชาติแบบต้นตำรับ และใช้วัตถุดิบชั้นดีตามฤดูกาล ทั้งหมด 1 สาขา
-ขนมเบื้องหวานผึ้งน้อย ร้านขนมเบื้องสูตรต้นตำรับ อายุ 42 ปี ที่ได้รับมิชลิน ไกด์ ทั้งหมด 3 สาขา
จะเห็นว่าแต่ละแบรนด์ของ Kouen Group มีความแตกต่างและหลากหลายพอสมควร
ที่เป็นแบบนี้ เพราะคุณบอนด์มองว่า การทำธุรกิจร้านอาหาร จำเป็นต้องมี Passion หรือความหลงใหลในการทำร้านอาหาร
บวกกับความชอบส่วนตัวของคุณบอนด์ ที่ทำให้การเปิดร้านอาหารเป็นสิ่งที่ทำแล้วมีความสุข
รวมถึงความตั้งใจที่อยากทำขนมไทยดี ๆ ให้อยู่กับผู้คนต่อไป และกลายเป็นเสน่ห์ของประเทศไทย จนเป็นที่รู้จักในกลุ่มคนต่างชาติ
และจากประสบการณ์ในการทำร้านอาหารมากว่า 9 ปี ที่ทำให้เจอทั้งความสำเร็จและความท้าทาย
จึงทำให้คุณบอนด์พยายามมองหาโอกาส
และช่องทางของธุรกิจในอาหารประเภทอื่นอีกหลาย ๆ อย่าง ด้วยนั่นเอง
และช่องทางของธุรกิจในอาหารประเภทอื่นอีกหลาย ๆ อย่าง ด้วยนั่นเอง
และในอีก 2 ปีข้างหน้าต่อจากนี้ Kouen Group กำลังมีแผนที่จะขยายสาขาออกไปต่างจังหวัดมากขึ้น
รวมถึงการเพิ่มจำนวนสาขาของแบรนด์ร้านอาหารไทยในเครือให้เติบโตขึ้น
ด้วยความตั้งใจที่อยากเห็นร้านอาหารไทย มีชื่อเสียงไปให้ไกล ถึงในระดับโลก
References
-สัมภาษณ์พิเศษคุณบอนด์-ธีรพัฒน์ เลิศสิริประภา CEO Kouen Group
-https://www.jetro.go.jp/ext_images/thailand/food/japaneserestaurantssurvey2022th.pdf
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-สัมภาษณ์พิเศษคุณบอนด์-ธีรพัฒน์ เลิศสิริประภา CEO Kouen Group
-https://www.jetro.go.jp/ext_images/thailand/food/japaneserestaurantssurvey2022th.pdf
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า