กรณีศึกษา Advice ร้านขายสินค้าไอที รายได้ 14,000 ล้าน กำลังจะ IPO
4 ส.ค. 2023
กรณีศึกษา Advice ร้านขายสินค้าไอที รายได้ 14,000 ล้าน กำลังจะ IPO | BrandCase
ถ้าพูดถึงธุรกิจจำหน่ายสินค้าไอทีรายใหญ่ ๆ ในไทย ก็จะมีหลัก ๆ อยู่นับเจ้าได้
ซึ่งหนึ่งในนั้นจะมีร้านค่ายสีฟ้า ที่ชื่อว่า “Advice”
ซึ่งหนึ่งในนั้นจะมีร้านค่ายสีฟ้า ที่ชื่อว่า “Advice”
ปีที่ผ่านมา Advice ฟันรายได้ไป 14,000 ล้านบาท และมีแผนว่าจะ IPO เข้าตลาดหุ้นด้วย
เรื่องราวของ Advice มีอะไรน่าสนใจ ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
Advice หรือ บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งโดยคุณณัฏฐ์ ณัฐนิธิการัชต์ ซึ่งปัจจุบัน เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือก็คือ CEO ของบริษัท
โดยเส้นทางของ Advice นั้นอาจจะดูแตกต่างจาก ธุรกิจจำหน่ายสินค้าไอทีทั่วไปสักหน่อย
ตรงที่คุณณัฏฐ์ ผู้ก่อตั้งนั้น มาจากสายบัญชี ไม่ใช่สายไอทีเหมือนอีกหลาย ๆ เจ้า
ตรงที่คุณณัฏฐ์ ผู้ก่อตั้งนั้น มาจากสายบัญชี ไม่ใช่สายไอทีเหมือนอีกหลาย ๆ เจ้า
จุดเริ่มต้นของ Advice คือการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบบัญชี และ ERP เพื่อใช้งานเองภายในบริษัทก่อน
และเมื่อเข้าที่เข้าทาง คุณณัฏฐ์จึงเริ่มนำเสนอบริการระบบบัญชี และ ERP ให้กับร้านไอทีต่าง ๆ
จากนั้นจึงได้ขยายเข้ามาสู่การขายฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์ไอที ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต สมาร์ตโฟน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเวลาต่อมา
จนกิจการ Advice เติบโตไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว
และกลายเป็นหนึ่งในผู้ค้าปลีกและค้าส่งสินค้าไอที รวมถึงให้บริการด้านไอทีแบบครบวงจรรายใหญ่ของประเทศ
และกลายเป็นหนึ่งในผู้ค้าปลีกและค้าส่งสินค้าไอที รวมถึงให้บริการด้านไอทีแบบครบวงจรรายใหญ่ของประเทศ
ลองมาดูตัวเลขที่น่าสนใจของ Advice ณ สิ้นปี 2565
-มีทั้งสิ้น 337 สาขา ตั้งอยู่ในประเทศไทย และ สปป.ลาว
-บริษัทบอกว่า เป็นผู้จำหน่ายสินค้าไอที ที่มีหน้าร้านครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดอันดับ 1 ของไทย มีสินค้าให้ลูกค้าได้เลือกซื้อ มากกว่า 16,000 รายการ
-เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าไอทีจากผู้ผลิตชั้นนำระดับโลก รวมแล้วมากกว่า 433 แบรนด์
แต่ก็ต้องบอกว่า ธุรกิจจำหน่ายสินค้าไอที ในรูปแบบค้าปลีกและค้าส่งนั้น ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันที่สูงและมีความเสี่ยงอยู่ไม่น้อย
เพราะนอกจากผู้เล่นหลักในตลาดแล้ว ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจศูนย์การค้า หรือไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ นั้นก็มักจะมีแบรนด์จัดจำหน่ายสินค้าไอทีเป็นของตัวเอง และจัดพื้นที่ขนาดใหญ่ไว้ให้
อย่างเช่น PowerBuy ของเครือเซ็นทรัล หรือ Power Mall ของเดอะมอลล์ กรุ๊ป
ความเสี่ยงหลักอีกเรื่องก็คือ ความล้าสมัยของสินค้าคงคลัง หากสินค้านั้นไม่สามารถจำหน่ายออกไป เนื่องจากสินค้าไอทีนั้น เป็นสินค้าที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีตลอดเวลา
ซึ่งถ้าทางร้านระบายสินค้าเหล่านี้ไม่ได้ ก็มีต้นทุนค่าเสื่อม ค่าจัดเก็บ และค่าจัดการต่าง ๆ ตามมา
ซึ่งตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่หลายบริษัทรวมทั้ง Advice เองก็ต้องพยายามปรับตัว และหากลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างการเติบโตให้ธุรกิจต่อไป
โดยในมุมของผลประกอบการ ของ บมจ.แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท
ปี 2563 รายได้ 12,545 ล้านบาท กำไร 234 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 14,310 ล้านบาท กำไร 430 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 14,395 ล้านบาท กำไร 206 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 14,310 ล้านบาท กำไร 430 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 14,395 ล้านบาท กำไร 206 ล้านบาท
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
แม้ว่า Advice จะยังเป็นบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ แต่ถ้าเราลองจินตนาการว่า ถ้า Advice เข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะมีมูลค่าเท่าไร ?
แม้ว่า Advice จะยังเป็นบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ แต่ถ้าเราลองจินตนาการว่า ถ้า Advice เข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะมีมูลค่าเท่าไร ?
ถ้าเราลองเทียบดูกับหุ้นของบริษัทที่ทำธุรกิจคล้าย ๆ กันอย่าง บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) เจ้าของร้าน BaNANA และ Studio 7
ที่ปัจจุบัน ซื้อขายกันที่ค่า P/E ประมาณ 21 เท่า
ที่ปัจจุบัน ซื้อขายกันที่ค่า P/E ประมาณ 21 เท่า
ดังนั้น ด้วยกำไรล่าสุดของ Advice
จะทำให้บริษัทมีมูลค่ากิจการประมาณ 4,300 ล้านบาท..
จะทำให้บริษัทมีมูลค่ากิจการประมาณ 4,300 ล้านบาท..
References
-https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=523480&lang=th
-https://www.advicepcl.co.th/
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2565, บมจ.คอมเซเว่น
-https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=523480&lang=th
-https://www.advicepcl.co.th/
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2565, บมจ.คอมเซเว่น