Samsung และ SK Group บริษัทเกาหลี ตัวพ่อแห่งวงการ เซมิคอนดักเตอร์
24 มิ.ย. 2023
Samsung และ SK Group บริษัทเกาหลี ตัวพ่อแห่งวงการ เซมิคอนดักเตอร์ | BrandCase
ถ้าพูดถึงบริษัทดัง ๆ ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
หลายคนจะนึกถึง TSMC บริษัทรับจ้างผลิตชิปจากไต้หวัน ที่มีลูกค้าเป็นบริษัทดัง ๆ อย่างเช่น Apple
หลายคนจะนึกถึง TSMC บริษัทรับจ้างผลิตชิปจากไต้หวัน ที่มีลูกค้าเป็นบริษัทดัง ๆ อย่างเช่น Apple
แต่รู้หรือไม่ว่า ประเทศที่ใกล้ ๆ กับไต้หวันอย่างเกาหลีใต้
ก็มีอยู่ 2 บริษัท ที่เป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ และเป็นตัวพ่อในวงการเซมิคอนดักเตอร์เหมือนกัน
ก็มีอยู่ 2 บริษัท ที่เป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ และเป็นตัวพ่อในวงการเซมิคอนดักเตอร์เหมือนกัน
2 บริษัทนั้น คือ
-Samsung เจ้าของแบรนด์สมาร์ตโฟน และเครื่องใช้ไฟฟ้าระดับโลก
-SK Group บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ในเกาหลีใต้
ทั้ง 2 บริษัทนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มแชโบล หรือก็คือกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้
แล้วจุดเริ่มต้นกับธุรกิจชิป ในเกาหลีใต้ มีที่มาน่าสนใจอย่างไร ?
BrandCase สรุปให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase สรุปให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
อธิบายเพื่อให้หลาย ๆ คนไม่งงก่อนว่า การผลิตชิป คือส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
ซึ่งอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ นอกจากการผลิตชิปนี้ ก็ยังมีรายละเอียดอย่างอื่นอีก
เช่น การออกแบบชิป, การผลิตเครื่องผลิตฉายแสงเพื่อผลิตลวดลายบนตัวชิป
เช่น การออกแบบชิป, การผลิตเครื่องผลิตฉายแสงเพื่อผลิตลวดลายบนตัวชิป
ทีนี้เรามาโฟกัสกันที่ จุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในเกาหลีใต้
เรื่องราวมันเริ่มมาจาก 3 บริษัทแชโบลยักษ์ใหญ่ คือ Samsung, LG และ Hyundai
โดยเริ่มต้นจากช่วงทศวรรษ 1960s ในตอนนั้นสหรัฐอเมริกา กำลังมองหาแหล่งผลิตชิป
หรือเพื่อใช้สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ
หรือเพื่อใช้สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ
ซึ่งประเทศเกาหลีใต้ก็เป็นตัวเลือกแรก ๆ ของสหรัฐอเมริกา ในการมาตั้งฐานการผลิต
เพราะในยุคนั้น เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีการเมืองนิ่ง ค่าแรงถูก แต่แรงงานมีทักษะสูง
เพราะในยุคนั้น เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีการเมืองนิ่ง ค่าแรงถูก แต่แรงงานมีทักษะสูง
สหรัฐอเมริกาไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตชิป ที่เกาหลีใต้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1965
ต่อมา ก็เริ่มมีแบรนด์อุปกรณ์ไฟฟ้าเจ้าดัง ของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ไปตั้งฐานการผลิตที่เกาหลีใต้มากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเช่น Motorola และ Toshiba
ซึ่งการที่สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น เริ่มเข้ามาตั้งฐานการผลิตในเกาหลีใต้
ทำให้เกาหลีใต้เอง ได้รับองค์ความรู้ เกี่ยวกับการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ทำให้เกาหลีใต้เอง ได้รับองค์ความรู้ เกี่ยวกับการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ซึ่งที่ผ่านมา ก็ต้องบอกว่ารัฐบาลเกาหลีใต้เอง ได้พยายามผลักดันอุตสาหกรรมหนัก อย่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาตลอด
จนกระทั่งอุตสาหกรรมการรับจ้างผลิตชิปในเกาหลีใต้ ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด
โดยในปี 1971-1979 เกาหลีใต้ มียอดส่งออกชิปที่เติบโตเกือบ 50% แทบทุกปี
โดยในปี 1971-1979 เกาหลีใต้ มียอดส่งออกชิปที่เติบโตเกือบ 50% แทบทุกปี
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเกาหลีใต้ ก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่การรับจ้างผลิต แล้วส่งออกชิปเพียงอย่างเดียว..
รัฐบาลเกาหลีใต้ ยังมองเห็นว่า จำเป็นต้องพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตชิปในประเทศให้มีคุณภาพ และขายได้ในราคาถูก เพื่อให้สามารถแข่งกับประเทศคู่แข่งอย่างไต้หวัน และญี่ปุ่นได้
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทางรัฐบาลเกาหลีใต้ ก็ได้ส่งเสริมให้บริษัทในกลุ่มแชโบลต่าง ๆ
หันมาทำธุรกิจในอุตสาหกรรมหนัก อย่างการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และการผลิตชิปมากขึ้น
หันมาทำธุรกิจในอุตสาหกรรมหนัก อย่างการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และการผลิตชิปมากขึ้น
โดยรัฐบาลเกาหลีใต้ จะสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ที่ทางบริษัทจำเป็นต้องใช้ในการทำธุรกิจ
เช่น การค้ำประกันเงินกู้ให้ การออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมการค้า และการส่งออก
เช่น การค้ำประกันเงินกู้ให้ การออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมการค้า และการส่งออก
ไปจนถึงการสนับสนุน ให้ชาวเกาหลีใต้หันมาใช้สินค้า ในแบรนด์ของประเทศตัวเอง
ไม่เน้นการซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ
ไม่เน้นการซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ
Samsung บริษัทที่เริ่มต้นผลิตชิปเป็นบริษัทแรกในเกาหลีใต้
ได้เริ่มตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองขึ้นมา ชื่อว่า “Samsung Research” ในปี 1979 เพื่อวิจัยและพัฒนาชิป นำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ของตัวเอง
ได้เริ่มตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองขึ้นมา ชื่อว่า “Samsung Research” ในปี 1979 เพื่อวิจัยและพัฒนาชิป นำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ของตัวเอง
และก็ได้เริ่มต้นวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ
อย่างในปี 1985 Samsung ก็ได้เริ่มต้นพัฒนาชิปประเภท DRAM ซึ่งเป็นหน่วยความจำ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
อย่างในปี 1985 Samsung ก็ได้เริ่มต้นพัฒนาชิปประเภท DRAM ซึ่งเป็นหน่วยความจำ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
จากจุดเริ่มต้นตรงนี้ ทำให้ Samsung ได้กลายเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปประเภท DRAM
ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน
ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน
ส่วน LG บริษัทคู่แข่งของ Samsung ก็ได้หันมาเริ่มต้นธุรกิจผลิตชิปเช่นเดียวกัน
โดยตั้งบริษัท GoldStar Semiconductor ขึ้น
โดยตั้งบริษัท GoldStar Semiconductor ขึ้น
ในช่วงนั้น LG จะเน้นรับจ้างผลิตชิปเป็นหลัก โดยผลิตให้ลูกค้ารายใหญ่คือ Hitachi แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่จากญี่ปุ่น
และต่อมา ก็เริ่มหันมาผลิตชิปประเภท DRAM เหมือนกับ Samsung
และต่อมา ก็เริ่มหันมาผลิตชิปประเภท DRAM เหมือนกับ Samsung
นอกจาก LG และ Samsung แล้ว
ในตอนนั้น อุตสาหกรรมการผลิตชิปในเกาหลีใต้ ก็ยังมีผู้เล่นที่เป็นแชโบลคนสำคัญ
นั่นก็คือ Hyundai เจ้าของแบรนด์รถยนต์อันดับ 1 ในเกาหลีใต้
ในตอนนั้น อุตสาหกรรมการผลิตชิปในเกาหลีใต้ ก็ยังมีผู้เล่นที่เป็นแชโบลคนสำคัญ
นั่นก็คือ Hyundai เจ้าของแบรนด์รถยนต์อันดับ 1 ในเกาหลีใต้
โดย Hyundai ก็เน้นผลิตชิปป้อนให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหลัก
ซึ่งทั้ง 3 แบรนด์ ก็ได้ขยายกำลังการผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
มาถึงตรงนี้ ก็จะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมการผลิตชิปในเกาหลีใต้ จะมีโมเดลธุรกิจที่แตกต่างจากไต้หวัน
ตรงที่
ตรงที่
อุตสาหกรรมการผลิตชิปของไต้หวัน จะเน้นไปที่การรับจ้างผลิต โดยไม่ต้องมีแบรนด์
แต่จะเน้นนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้ในการผลิต
เหมือนที่ TSMC และหลาย ๆ บริษัทในไต้หวันทำ
แต่จะเน้นนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้ในการผลิต
เหมือนที่ TSMC และหลาย ๆ บริษัทในไต้หวันทำ
แต่สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตชิปในเกาหลีใต้ รัฐบาลจะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้ ตามแนวทางที่ตัวเองต้องการ
ไม่ว่าจะเป็น การสร้างแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเอง ไปจนถึงการรับจ้างผลิต
ไม่ว่าจะเป็น การสร้างแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเอง ไปจนถึงการรับจ้างผลิต
ทำให้ในช่วงทศวรรษ 1990s อุตสาหกรรมการผลิตชิปของทั้ง 3 บริษัทแชโบลในเกาหลีใต้ ก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
โดยเฉพาะชิปประเภท DRAM ที่มียอดขายเติบโตอย่างรวดเร็ว
ตามการพัฒนา ของเมมโมรีการ์ดหรือแรมบนคอมพิวเตอร์ ที่สามารถจุความจำได้มากขึ้น
ตามการพัฒนา ของเมมโมรีการ์ดหรือแรมบนคอมพิวเตอร์ ที่สามารถจุความจำได้มากขึ้น
จนทำให้การผลิตชิปของเกาหลีใต้ เริ่มมียอดขายแซงหน้าญี่ปุ่น ในช่วงปลายทศวรรษ 1990s
ในเวลาต่อมา เกาหลีใต้ ก็ต้องเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย เมื่อปี 1997 (ซึ่งก็คือวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 ในบ้านเรา)
ทำให้บริษัทผลิตชิปทั้ง 2 บริษัท ซึ่งก็คือ LG และ Hyundai เจอปัญหาขาดทุน
ทำให้บริษัทผลิตชิปทั้ง 2 บริษัท ซึ่งก็คือ LG และ Hyundai เจอปัญหาขาดทุน
LG และ Hyundai จึงควบรวมกิจการกันเพื่อความอยู่รอด และเกิดเป็นบริษัทใหม่ชื่อ Hynix ในปี 1999
ต่อมาในปี 2012 SK Group บริษัทแชโบลยักษ์ใหญ่ ที่ทำธุรกิจโทรคมนาคมของเกาหลีใต้ ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท Hynix จนบริษัทเปลี่ยนชื่อเป็น SK Hynix
จึงทำให้ปัจจุบัน เกาหลีใต้ ก็เหลือบริษัทผลิตชิปเพียง 2 บริษัทใหญ่ ๆ
นั่นคือ Samsung และ SK Hynix
นั่นคือ Samsung และ SK Hynix
ซึ่งทั้ง 2 บริษัท เป็นบริษัทผลิตชิป ติด Top 5 ของโลก ในปัจจุบัน..
โดย SK Hynix เป็นบริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ที่มีรายได้เป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่งจะเน้นการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในแบรนด์ของตัวเอง
สินค้าหลัก ก็คือชิป DRAM หน่วยความจำในคอมพิวเตอร์
และ NAND Flash ที่เป็นชิปประมวลผลในแฟลชไดรฟ์ หรือการ์ดความจำ
และ NAND Flash ที่เป็นชิปประมวลผลในแฟลชไดรฟ์ หรือการ์ดความจำ
โดย SK Hynix ก็ยังมีลูกค้าหลัก ๆ คือ Microsoft, Apple และ HP
ส่วน Samsung เรียกได้ว่าเป็นบริษัทที่มีรายได้จากธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ เป็นอันดับ 1 ของโลก
ข้อมูลในปี 2022 Samsung มีรายได้จากธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ 2,658,000 ล้านบาท
ในขณะที่ TSMC มีรายได้จากธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ 2,558,000 ล้านบาท
ในขณะที่ TSMC มีรายได้จากธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ 2,558,000 ล้านบาท
ซึ่งก็ต้องบอกว่า Samsung มีธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์แบบครบวงจร
ตั้งแต่ การออกแบบ การผลิตในแบรนด์ของตัวเอง การรับจ้างผลิตชิปให้แบรนด์อื่น
ไปจนถึงการประกอบชิปเซต
ตั้งแต่ การออกแบบ การผลิตในแบรนด์ของตัวเอง การรับจ้างผลิตชิปให้แบรนด์อื่น
ไปจนถึงการประกอบชิปเซต
ต่างจาก TSMC ที่เน้นรับจ้างผลิตชิป เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ซึ่งถ้าเรานับเฉพาะอุตสาหกรรมที่ “รับจ้างผลิตชิป” เพียงอย่างเดียว
TSMC ก็ยังคงครองส่วนแบ่งการตลาดกว่า 59% หรือมากกว่าครึ่งหนึ่ง ของผู้รับจ้างผลิตชิปทั้งโลก
ในขณะที่ผู้รับจ้างผลิตอันดับ 2 ของโลก ก็คือ Samsung ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดราว 13%
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็พอจะทราบได้ว่า
นอกจากไต้หวัน ที่ใครหลายคนมองว่าเป็นมหาอำนาจในด้านเซมิคอนดักเตอร์แล้ว
นอกจากไต้หวัน ที่ใครหลายคนมองว่าเป็นมหาอำนาจในด้านเซมิคอนดักเตอร์แล้ว
ก็ยังมีเกาหลีใต้ ที่นำทัพโดย 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ อย่าง Samsung และ SK Group..
References
-https://www.shmj.or.jp/english/trends/trd90s.html
-The Korean Semiconductor Industry : Historical Overview and Prospects for Future Development by David Mushkudiani
-https://en.wikipedia.org/wiki/SK_Hynix
-https://news.samsung.com/global/history-of-samsung-electronics-5-suwon-rd-center-expands-knowledge-base-samsung-semiconductor-expands-production-base-19791980
-https://www.procureinc.com/manufacturer/Goldstar_-LG_Semicon-_SK_Hynix/
-https://www.eetimes.com/hyundai-and-lg-semicon-to-merge-chip-ops/
-https://www.counterpointresearch.com/global-semiconductor-foundry-market-share/
-https://news.skhynix.com/sk-hynix-story/company-overview/
-https://www.youtube.com/watch?v=fDQ9Ce1re4w
-https://www.youtube.com/watch?v=EWAsfRLaoC4
-https://www.shmj.or.jp/english/trends/trd90s.html
-The Korean Semiconductor Industry : Historical Overview and Prospects for Future Development by David Mushkudiani
-https://en.wikipedia.org/wiki/SK_Hynix
-https://news.samsung.com/global/history-of-samsung-electronics-5-suwon-rd-center-expands-knowledge-base-samsung-semiconductor-expands-production-base-19791980
-https://www.procureinc.com/manufacturer/Goldstar_-LG_Semicon-_SK_Hynix/
-https://www.eetimes.com/hyundai-and-lg-semicon-to-merge-chip-ops/
-https://www.counterpointresearch.com/global-semiconductor-foundry-market-share/
-https://news.skhynix.com/sk-hynix-story/company-overview/
-https://www.youtube.com/watch?v=fDQ9Ce1re4w
-https://www.youtube.com/watch?v=EWAsfRLaoC4