สรุปแนวคิด แก้ปัญหาคอขวด ทำงานไม่ลื่นไหล จากเคสของ Toyota
25 มี.ค. 2023
สรุปแนวคิด แก้ปัญหาคอขวด ทำงานไม่ลื่นไหล จากเคสของ Toyota | BrandCase
ปัญหาคอขวด หรือ Bottleneck คือ ปัญหาที่เปรียบเสมือนการเทน้ำออกจากขวด แล้วน้ำค่อย ๆ ไหลออกมาช้า ๆ เพราะว่าปากขวดและคอขวดมันแคบ
ตัวอย่างในชีวิตประจำวันของเรา เช่น
-รถติดที่ด่านเก็บเงินบนทางด่วน
-ต่อคิวซื้อตั๋วรถไฟฟ้า
-หรือจะเป็นงานที่ทำไม่เสร็จสมบูรณ์สักที เพราะต้องรอหัวหน้าที่ไม่ยอมมาตรวจความเรียบร้อย
-รถติดที่ด่านเก็บเงินบนทางด่วน
-ต่อคิวซื้อตั๋วรถไฟฟ้า
-หรือจะเป็นงานที่ทำไม่เสร็จสมบูรณ์สักที เพราะต้องรอหัวหน้าที่ไม่ยอมมาตรวจความเรียบร้อย
ปัญหาพวกนี้ พอเกิดสะสมไปเรื่อย ๆ จะทำให้การทำงาน หรือกระบวนการของการทำสิ่งนั้น ๆ ช้าลงแบบที่ไม่ควรจะเป็น
คำถามคือ แล้วเราจะแก้ปัญหาด้วยวิธีไหนได้บ้าง ?
ลองมาดูเคสวิธีแก้ปัญหานี้ ของ Toyota
BrandCase จะสรุปให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
ลองมาดูเคสวิธีแก้ปัญหานี้ ของ Toyota
BrandCase จะสรุปให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
ต้องบอกว่า Toyota จะมีหลักคิดในการปรับปรุง และพัฒนากระบวนการผลิต ในโรงงานและองค์กรของตัวเองอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งพวกเขาเรียกว่า การทำ “ไคเซ็น (Kaizen)”
ซึ่งพวกเขาเรียกว่า การทำ “ไคเซ็น (Kaizen)”
เรื่องหลัก ๆ ในการทำไคเซ็นของ Toyota ก็จะเป็นการเช็กจุดด้อยของกระบวนการทำงาน เพื่อปรับปรุง และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ปัญหาคอขวด
ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ปัญหาคอขวด
โดย Toyota ใช้ 3 ข้อสำคัญในการบอกว่า จุดไหนเป็นจุดด้อยที่ต้องปรับปรุง คือ
1.MUDA คือ ความสูญเปล่าที่ต้องกำจัด อย่างเช่น
การออกแบบขั้นตอนที่ไม่ดี หรืออุปกรณ์การทำงานไม่ดีพอ จนทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของพนักงานมากเกินไป และเสียเวลาในการทำงาน
การออกแบบขั้นตอนที่ไม่ดี หรืออุปกรณ์การทำงานไม่ดีพอ จนทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของพนักงานมากเกินไป และเสียเวลาในการทำงาน
2.MURA คือ ความไม่สม่ำเสมอของการผลิต
เป็นสิ่งที่ต้องปรับปรุง เพื่อให้งานออกมามีมาตรฐานที่เหมือนกัน
เป็นสิ่งที่ต้องปรับปรุง เพื่อให้งานออกมามีมาตรฐานที่เหมือนกัน
3.MURI คือ การรับภาระงานที่หนักหน่วงเกินไป จนทำให้งานไม่มีประสิทธิภาพ
เช่น งานโหลดที่คนคนเดียวมากเกินไป จนคนนั้นทำงานได้ไม่มีคุณภาพ
เช่น งานโหลดที่คนคนเดียวมากเกินไป จนคนนั้นทำงานได้ไม่มีคุณภาพ
จาก 3 ข้อที่ว่ามา ข้อแรก วิธีแก้เบื้องต้นคือ การออกแบบอุปกรณ์และคู่มือการทำงานให้ดีขึ้น
ส่วนข้อที่ 2 และ 3 วิธีแก้คือ ต้องจัดระเบียบการทำงานของคนในทีม หรือไลน์การผลิตใหม่
ซึ่งเราลองมาดูตัวอย่างกันให้เห็นภาพ
ซึ่งเราลองมาดูตัวอย่างกันให้เห็นภาพ
ถ้าในไลน์การผลิตชิ้นส่วนหนึ่ง ต้องใช้คนงานประกอบทั้งหมด 5 คน
โดยแต่ละคน จะถูกแบ่งงานให้ทำให้เสร็จ แล้วค่อยส่งต่อให้คนถัดไป
โดยแต่ละคน จะถูกแบ่งงานให้ทำให้เสร็จ แล้วค่อยส่งต่อให้คนถัดไป
สมมติว่าแต่ละคน มีเวลาทำงานตามนี้
-คนที่ 1 ประกอบชิ้นส่วน A ใช้เวลา 10 นาทีต่อชิ้น
-คนที่ 2 ประกอบชิ้นส่วน B ใช้เวลา 10 นาทีต่อชิ้น และชิ้นส่วน C ใช้เวลา 4 นาทีต่อชิ้น
-คนที่ 3 ประกอบชิ้นส่วน D ใช้เวลา 6 นาทีต่อชิ้น
-คนที่ 4 ประกอบชิ้นส่วน E ใช้เวลา 10 นาทีต่อชิ้น
-คนที่ 5 ประกอบชิ้นส่วน F ใช้เวลา 10 นาทีต่อชิ้น
-คนที่ 2 ประกอบชิ้นส่วน B ใช้เวลา 10 นาทีต่อชิ้น และชิ้นส่วน C ใช้เวลา 4 นาทีต่อชิ้น
-คนที่ 3 ประกอบชิ้นส่วน D ใช้เวลา 6 นาทีต่อชิ้น
-คนที่ 4 ประกอบชิ้นส่วน E ใช้เวลา 10 นาทีต่อชิ้น
-คนที่ 5 ประกอบชิ้นส่วน F ใช้เวลา 10 นาทีต่อชิ้น
ทั้ง 5 คน ก็จะทำงานของตัวเองไปเรื่อย ๆ โดยใช้เวลาทำงานวันละ 10 ชั่วโมง
จากขั้นตอนดังกล่าว ถ้าเราสังเกตดี ๆ จะเห็นได้ว่า จุดที่เป็นคอขวด ก็คือคนที่ 2
เพราะเขาใช้เวลาทำงาน รอบละ 14 นาที ซึ่งคนที่ 3 ก็ต้องรองานจากคนที่ 2 และคนอื่น ๆ แล้วค่อยส่งต่อ
หมายความว่า พนักงานคนอื่นหลังจากคนที่ 2 จะต้องว่างงานระยะเวลาหนึ่งในแต่ละรอบ เพราะต้องรอคนที่ 2 ทำงานเสร็จก่อน แล้วค่อยส่งต่อมา
เพราะฉะนั้น ปัญหาคอขวดตอนนี้ อยู่ที่พนักงานคนที่ 2 ในไลน์การผลิตนั่นเอง
เพราะฉะนั้น ปัญหาคอขวดตอนนี้ อยู่ที่พนักงานคนที่ 2 ในไลน์การผลิตนั่นเอง
ซึ่งสำหรับการแก้ปัญหาคอขวดแบบนี้ ก็คือการจัดลำดับการทำงานใหม่ให้ลงตัว
ตัวอย่างเช่น
เปลี่ยนคนที่ทำงาน ประกอบชิ้นส่วน C จากคนที่ 2 ไปเป็นคนที่ 3 เพื่อให้ทุกคน มีเวลาในการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เท่ากัน ที่คนละ 10 นาที
เปลี่ยนคนที่ทำงาน ประกอบชิ้นส่วน C จากคนที่ 2 ไปเป็นคนที่ 3 เพื่อให้ทุกคน มีเวลาในการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เท่ากัน ที่คนละ 10 นาที
ซึ่งจะทำให้งาน สามารถไหลไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีสะดุด
และจะช่วยให้ไลน์การผลิต ทำงานได้เร็วขึ้นได้
และจะช่วยให้ไลน์การผลิต ทำงานได้เร็วขึ้นได้
ซึ่งอันนี้ก็เป็นแค่เคสแนวทางการแก้ไขปัญหาคอขวด เรื่องการทำงานไม่ลื่นไหลของ Toyota
และตัวอย่างวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นเท่านั้น
และตัวอย่างวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นเท่านั้น
แต่เชื่อว่าใครที่เจอปัญหาทำงานไม่ลื่นไหลแบบนี้อยู่
ลองใช้เวลาสำรวจและทบทวน กระบวนการทำงานดูสักหน่อย
ลองใช้เวลาสำรวจและทบทวน กระบวนการทำงานดูสักหน่อย
เพราะปัญหาคอขวดที่หลายคนเจออยู่
บางที แค่พลิกแพลงมันนิดเดียว
ก็อาจจะช่วยให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น และลื่นไหลขึ้น ได้อีกเยอะเลย..
บางที แค่พลิกแพลงมันนิดเดียว
ก็อาจจะช่วยให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น และลื่นไหลขึ้น ได้อีกเยอะเลย..