กลยุทธ์ ยำยำ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เบอร์ 3 ในไทย

กลยุทธ์ ยำยำ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เบอร์ 3 ในไทย

16 มี.ค. 2023
กลยุทธ์ ยำยำ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เบอร์ 3 ในไทย | BrandCase
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรายแรก ที่เข้ามาในไทยคือยี่ห้อ ซันวา
ซึ่งเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ต้องใช้วิธีต้มแบบใส่หม้อก่อนถึงจะทานได้
แต่ผู้ที่มาพลิกวงการเปลี่ยนจากใส่หม้อต้ม ไปเป็นแบบใส่น้ำร้อนก็ทานได้ทันที เป็นเจ้าแรกคือยี่ห้อ “ยำยำ”
และนับตั้งแต่นั้นมา บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบใส่น้ำร้อนพร้อมทาน ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ
มาในวันนี้ ยำยำ คือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เบอร์ 3 ในไทย
โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาด เป็นรอง มาม่า และไวไว
แล้ว ยำยำ ในตอนนี้ เป็นอย่างไรบ้าง ?
BrandCase จะสรุปให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
ภาพรวมตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทย ปี 2565 ที่ผ่านมา มีมูลค่ารวมของตลาดอยู่ที่ประมาณ 20,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 14% เทียบกับปีก่อน
ซึ่งต้องบอกว่าสาเหตุสำคัญในการเติบโต เป็นผลมาจากการปรับราคาของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของบางเจ้าด้วย
ขณะที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกลุ่มพรีเมียม ที่ขายกันซองละหลัก หลายสิบบาท ก็เติบโตจากเทรนด์การบริโภคของกลุ่มคนรุ่นใหม่ และต้องการรสชาติที่หลากหลาย
คำถามคือแล้วตอนนี้ ยำยำ ขายดีแค่ไหน ?
ถ้าลองมาดู ส่วนแบ่งการตลาดของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทย ในปี 2565
อ้างอิงจากเว็บไซต์ Modernist
-มาม่า 45%
-ไวไว 24%
-ยำยำ 22%
-อื่น ๆ 9%
โดยกลยุทธ์ของ ยำยำ คือทำ ซับแบรนด์ หรือแบรนด์ย่อย ๆ ให้ครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม
-“ยำยำ ช้างน้อย” เจาะกลุ่มเป้าหมายเด็ก อายุ 6-12 ปี
-“ยำยำ คัพ” และ “ยำยำ สูตรเด็ด” เจาะกลุ่ม New Generation (Gen-Z) อายุตั้งแต่ 10-21 ปี
-“ยำยำ จัมโบ้” เจาะกลุ่มเป้าหมาย อายุตั้งแต่ 18-55 ปี
ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มียอดขายอันดับหนึ่งของแบรนด์ คือ ยำยำ จัมโบ้
ยำยำบอกว่า เป้าหมายปีนี้ คาดว่าจะมียอดการเติบโตทั้งปีอยู่ที่ +14% เทียบกับปีที่ผ่านมา
โดยกลยุทธ์ที่ใช้ภายในประเทศ จะเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มพรีเมียม ทั้งแบบซองและแบบถ้วย
ส่วนในต่างประเทศอย่างโซนยุโรปและจีน จะเน้นไปที่การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ การลงทุนในส่วนของโรงงาน และการพัฒนาการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
และมีแผนที่จะลงทุนขนาดใหญ่ในระยะกลางอีก 2-3 ปี ข้างหน้า
โดยผลประกอบการที่ผ่านมาของ บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมการอาหาร จำกัด เจ้าของ ยำยำ
ปี 2563 รายได้ 5,346 ล้านบาท กำไร 628 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 5,077 ล้านบาท กำไร 267 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 6,106 ล้านบาท กำไร 296 ล้านบาท
เทียบกับเจ้าอื่น ที่เป็นเบอร์ 1 และ เบอร์ 2
-บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของ มาม่า
ปี 2562 รายได้ 14,589 ล้านบาท กำไร 2,935 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 15,043 ล้านบาท กำไร 3,139 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 15,809 ล้านบาท กำไร 2,687 ล้านบาท
-บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด เจ้าของ ไวไว
ปี 2562 รายได้ 6,526 ล้านบาท กำไร 342 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 7,059 ล้านบาท กำไร 431 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 6,798 ล้านบาท กำไร 306 ล้านบาท
© 2024 BrandCase. All rights reserved. Privacy Policy.