ทำไม ยาคูลท์ ขายสินค้า แค่ขนาดเดียว
10 ก.พ. 2023
ทำไม ยาคูลท์ ขายสินค้า แค่ขนาดเดียว | BrandCase
ถ้าเราเคยกินยาคูลท์ แล้วสังเกตดี ๆ
ก็จะเห็นว่า ยาคูลท์ มีเพียงขนาด 80 มิลลิลิตร เท่านั้น
ซึ่งทั้ง ๆ ที่ดื่มทีไรก็ไม่เคยอิ่ม ดูดได้ไม่กี่ทีก็หมดเสียแล้ว
ทำไม ยาคูลท์ ต้องขายแค่ขนาดเดียว ?
ก็จะเห็นว่า ยาคูลท์ มีเพียงขนาด 80 มิลลิลิตร เท่านั้น
ซึ่งทั้ง ๆ ที่ดื่มทีไรก็ไม่เคยอิ่ม ดูดได้ไม่กี่ทีก็หมดเสียแล้ว
ทำไม ยาคูลท์ ต้องขายแค่ขนาดเดียว ?
เรื่องนี้ มีเหตุผลในตัวของมัน
ซึ่ง BrandCase จะสรุปให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
ซึ่ง BrandCase จะสรุปให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
ต้องบอกว่า เรื่องนี้เองก็ไม่ใช่ความบังเอิญ
เพราะยาคูลท์เอง ก็ตั้งใจที่จะขายแค่ปริมาณนี้อยู่ก่อนแล้ว
เพราะยาคูลท์เอง ก็ตั้งใจที่จะขายแค่ปริมาณนี้อยู่ก่อนแล้ว
ตัวผลิตภัณฑ์ยาคูลท์เอง เกิดขึ้นจากการผลิตด้วยวิธีการหมักจุลินทรีย์
โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่ชื่อว่า แล็กโทบาซิลลัส
โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่ชื่อว่า แล็กโทบาซิลลัส
และเชื้อจุลินทรีย์นี้เองจะทำให้เกิดรสชาติเปรี้ยวเกิดขึ้น ทำให้เรารับรู้รสชาติว่า เป็นนมเปรี้ยวนั่นเอง
เชื้อจุลินทรีย์นี้ โดยปกติก็อยู่ในระบบการย่อยอาหารของเราอยู่แล้ว เพื่อช่วยในเรื่องการย่อยอาหารให้ดีขึ้น
และหากร่างกายของเรามีเชื้อโรคเข้ามา จุลินทรีย์เหล่านี้ก็จะช่วยกำจัดเชื้อโรคที่เข้ามาอีกด้วย
และหากร่างกายของเรามีเชื้อโรคเข้ามา จุลินทรีย์เหล่านี้ก็จะช่วยกำจัดเชื้อโรคที่เข้ามาอีกด้วย
ยาคูลท์ จึงออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่ช่วยให้ร่างกายมีปริมาณจุลินทรีย์มากขึ้น เพื่อไปสู้กับเชื้อโรค เวลาเรามีอาการท้องเสีย
ประเด็นคือ หากมีปริมาณจุลินทรีย์ชนิดนี้ มากเกินไป ก็ไม่ใช่เรื่องดีสักเท่าไร
นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมยาคูลท์ต้องขายสินค้าเพียงขนาดเดียว คือ 80 มิลลิลิตร ที่มีแล็กโทบาซิลลัส ราว 8,000 ล้านตัว
เพราะเป็นขนาดที่มีจำนวนจุลินทรีย์ ที่เหมาะสมกับร่างกาย นั่นเอง
เพราะเป็นขนาดที่มีจำนวนจุลินทรีย์ ที่เหมาะสมกับร่างกาย นั่นเอง
แล้ว การขายสินค้าขนาดเดียวของยาคูลท์ ประสบความสำเร็จมากแค่ไหน ?
หากเราไปดูผลประกอบการของ Yakult Honsha บริษัทแม่ของยาคูลท์ที่ญี่ปุ่น
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจะพบว่า
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจะพบว่า
-ปี 2562 รายได้ 103,962 ล้านบาท กำไร 10,266 ล้านบาท
-ปี 2563 รายได้ 103,703 ล้านบาท กำไร 11,455 ล้านบาท
-ปี 2564 รายได้ 98,519 ล้านบาท กำไร 11,111 ล้านบาท
โดยรายได้กว่า 90% ของ Yakult Honsha มาจากธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมียาคูลท์เป็นสินค้าหลัก
ส่วนผลประกอบการของ ยาคูลท์ในไทย
บริษัท ยาคูลท์ (ประเทศไทย) จำกัด
ปี 2565 รายได้ 2,285 ล้านบาท กำไร 232 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 2,285 ล้านบาท กำไร 232 ล้านบาท
บริษัท ยาคูลท์ เซลส์ (กรุงเทพฯ) จำกัด
-ปี 2565 รายได้ 4,313 ล้านบาท กำไร 607 ล้านบาท
ซึ่งต้องหมายเหตุว่า ทั้ง 2 บริษัทนี้ อาจมีรายการระหว่างกัน
จะเห็นว่า ยาคูลท์ประสบความสำเร็จทั้งในประเทศญี่ปุ่นเอง หรือแม้แต่ในประเทศไทย
ซึ่งเหตุผลเรื่องหนึ่งคือ การขายสินค้าขนาดเดียว
เพราะสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ไม่ยากนัก และการทำการตลาด ก็สามารถทำได้ด้วยการขายสินค้าเพียงขนาดเดียวเท่านั้น ทำให้คนทั่วไปจดจำได้ง่าย
เพราะสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ไม่ยากนัก และการทำการตลาด ก็สามารถทำได้ด้วยการขายสินค้าเพียงขนาดเดียวเท่านั้น ทำให้คนทั่วไปจดจำได้ง่าย
ทั้งหมดนี้ จึงทำให้ยาคูลท์ เป็นสินค้าที่ขายเพียงขนาดเดียว แต่ก็สามารถประสบความสำเร็จได้
จนมีอายุแบรนด์เกือบ 100 ปี จนถึงวันนี้..
จนมีอายุแบรนด์เกือบ 100 ปี จนถึงวันนี้..