กลยุทธ์ Thai Union ส่งออก ทูน่ากระป๋อง อาหารทะเลแปรรูป รายได้ 100,000 ล้าน
13 ม.ค. 2023
กลยุทธ์ Thai Union ส่งออก ทูน่ากระป๋อง อาหารทะเลแปรรูป รายได้ 100,000 ล้าน | BrandCase
ถ้าพูดถึงธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป หลายคนอาจจะคิดว่าบริษัทใหญ่ ๆ จะต้องเป็นของบริษัททางยุโรป หรือทางฝั่งสหรัฐอเมริกา
แต่รู้ไหมว่าหนึ่งในบริษัทที่เป็นผู้นำในตลาดนี้ เป็นบริษัทสัญชาติไทย
บริษัทนั้นก็คือ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ Thai Union
บริษัทนั้นก็คือ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ Thai Union
ปี 2564 Thai Union มีรายได้ 141,858 ล้านบาท กำไร 8,013 ล้านบาท
กลยุทธ์ที่น่าสนใจของผู้ส่งออก ทูน่ากระป๋อง และอาหารทะเลแปรรูปรายนี้ มีอะไรบ้าง ?
BrandCase จะสรุปให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase จะสรุปให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
Thai Union คือเจ้าของแบรนด์อาหารทะเลแปรรูปหลาย ๆ แบรนด์ที่เราคุ้นตา
เช่น ทูน่ากระป๋อง ตราซีเล็ค และขนมปลาเส้น ตราฟิชโช
เช่น ทูน่ากระป๋อง ตราซีเล็ค และขนมปลาเส้น ตราฟิชโช
นอกจากแบรนด์ที่เราคุ้นเคย อย่างสองแบรนด์ข้างต้นแล้ว ทาง Thai Union ยังมีอีกหลายบริษัทมากมายอยู่ในเครือ
และยังเป็นผู้รับผลิตอาหารทะเลแปรรูปให้กับอีกหลายแบรนด์ทั่วโลก
และยังเป็นผู้รับผลิตอาหารทะเลแปรรูปให้กับอีกหลายแบรนด์ทั่วโลก
โดยปีที่ผ่านมา Thai Union มีรายได้กว่า 90% มาจากต่างประเทศ
ทีนี้ลองมาดูกลยุทธ์ที่น่าสนใจ และข้อได้เปรียบของ Thai Union กัน..
1.อาศัยข้อได้เปรียบเรื่อง ทำเลและค่าแรงที่ถูก
ต้องบอกว่า ถึงแม้บ้านเราจะไม่ได้เป็นแหล่งปลาทูน่า เหมือนกับประเทศอื่น ๆ ที่เน้นส่งออกปลาชนิดนี้เป็นหลัก
แต่เนื่องด้วยจุดยุทธศาสตร์ หรือทำเลที่ตั้งของประเทศไทย ที่เอื้อต่อการนำเข้าหรือส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก เพราะมีชายฝั่งสองด้านที่ติดทะเล
ก็เลยทำให้ประเทศไทย รวมถึง Thai Union เอง ก็ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ไปด้วย
ส่วนในเรื่องของค่าแรง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศฝั่งตะวันตก ค่าแรงของบ้านเรา ถูกกว่าหลายเท่า ทำให้ ต้นทุนการผลิตนั้นต่ำลงไปด้วย
2.วิกฤติต้มยำกุ้งกลายเป็นโอกาสทอง ของ Thai Union
หลายคนอาจจะสงสัยว่าในเมื่อเกิดวิกฤติ ทำไม ธุรกิจส่งออกปลาทูน่ากระป๋องถึงจะได้ประโยชน์
แต่วิกฤติต้มยำกุ้ง ไม่กระทบหนักกับตลาดต่างประเทศมากนัก บวกกับเรื่องของการลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้ สินค้าที่ส่งออกจากไทย มีราคาถูกมากในสายตาของชาวต่างชาติ
ซึ่งก็ถือว่าเป็นโอกาสทอง เพราะว่า Thai Union ทำธุรกิจที่เน้นการส่งออกไปขายต่างประเทศพอดี
ทั้งหมดนี้ก็ทำให้ ยอดขายของ Thai Union ในช่วงนั้น เติบโตแบบก้าวกระโดด สวนทางกับหลาย ๆ ธุรกิจ ที่เจอปัญหาหนัก
3.กลยุทธ์เติบโต ด้วยการไล่ซื้อกิจการ
พอมีรายได้มาก บริษัทก็เริ่มมีเงินลงทุนมากขึ้น โดยบริษัทไม่ได้เน้นการเติบโตด้วยธุรกิจเดิมของตัวเอง แต่ Thai Union กลับเลือกที่จะไปซื้อกิจการอื่น ๆ
และไม่ใช่ธุรกิจในไทย แต่เป็นธุรกิจในต่างประเทศ
และไม่ใช่ธุรกิจในไทย แต่เป็นธุรกิจในต่างประเทศ
เช่น หลังจากที่มียอดขายถล่มทลายในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง
บริษัทก็ทำการเข้าซื้อกิจการ ธุรกิจที่คล้าย ๆ กันในประเทศอื่น ๆ
บริษัทก็ทำการเข้าซื้อกิจการ ธุรกิจที่คล้าย ๆ กันในประเทศอื่น ๆ
อย่างเช่น กิจการ Chicken of the Sea เจ้าของแบรนด์ทูน่ากระป๋อง ที่มีส่วนแบ่งการตลาดเป็น Top 3 ในประเทศสหรัฐอเมริกา
หรืออย่างในช่วงวิกฤติซับไพรม์ ที่ส่งผลกระทบไปทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
Thai Union ก็ซื้อบริษัท MWB ซึ่งเป็นผู้ผลิตและขายอาหารทะเลแบบครบวงจร ในทวีปยุโรป
Thai Union ก็ซื้อบริษัท MWB ซึ่งเป็นผู้ผลิตและขายอาหารทะเลแบบครบวงจร ในทวีปยุโรป
4.ต่อยอดธุรกิจ เพิ่มมูลค่า อาหารทะเลแปรรูป
นอกจากอาหารทะเลแปรรูป อย่างทูน่ากระป๋องแล้ว
ปัจจุบัน Thai Union ก็เริ่มไปเจาะธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ที่เน้นมีวัตถุดิบตั้งต้นเป็นอาหารทะเลด้วย
ปัจจุบัน Thai Union ก็เริ่มไปเจาะธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ที่เน้นมีวัตถุดิบตั้งต้นเป็นอาหารทะเลด้วย
ซึ่งตลาดของคนรักสัตว์เลี้ยงนั้น ก็ถือว่าเป็นตลาดที่กำลังเติบโตได้ดี
เช่น ในไทยที่ปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 40,000 ล้านบาท และยังมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต
เช่น ในไทยที่ปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 40,000 ล้านบาท และยังมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต
แล้วปัจจุบัน Thai Union มีผลประกอบการเป็นอย่างไร ?
ปี 2564 รายได้ 141,858 ล้านบาท กำไร 8,013 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 141,858 ล้านบาท กำไร 8,013 ล้านบาท
โดยมีสัดส่วนรายได้ ดังนี้
-อาหารทะเลแปรรูป 42%
-อาหารแช่แข็ง 41%
-อาหารสัตว์เลี้ยง และอื่น ๆ 17%
โดยรายได้กว่า 90% มาจากต่างประเทศ..