สรุป งานฉลองครบ 10 ปี ของ Sea ประเทศไทย มีอะไรน่าสนใจบ้าง
19 ก.ค. 2022
สรุป งานฉลองครบ 10 ปี ของ Sea ประเทศไทย มีอะไรน่าสนใจบ้าง | BrandCase
พูดถึงชื่อ Sea Limited หลายคนอาจจะงง ว่าคือบริษัทอะไร
แต่เชื่อว่าทุกคนต้องรู้จักบริษัทนี้ ถ้าบอกว่า Sea Limited ก็คือบริษัทแม่ของ Garena, Shopee และ SeaMoney ที่ก่อตั้งในประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2009
วันนี้ Sea (ประเทศไทย) ก็เพิ่งจัดงาน “Sea Story 2022: Digital Technology for All” ที่จัดขึ้นเพื่อบอกเล่าถึงการดำเนินงานของ Sea (ประเทศไทย) ในช่วงตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา
มีรายละเอียดอะไรน่าสนใจบ้าง BrandCase จะสรุปให้ฟัง..
หลัก ๆ ของงานนี้คือ Sea (ประเทศไทย) ได้มีการเปิดแผนกลยุทธ์ใหม่ เดินหน้าขับเคลื่อน 3 ธุรกิจหลัก พร้อมกับเปิดตัว Sea Academy แพลตฟอร์มให้ความรู้ และทักษะดิจิทัล
โดย 3 ธุรกิจหลักที่ว่านี้ ได้แก่
1. ดิจิทัลเอนเทอร์เทนเมนต์ (Digital Entertainment) คือ Garena
Garena เป็นผู้พัฒนาและให้บริการเกมออนไลน์ชั้นนำระดับโลก โดย Sea (ประเทศไทย) บอกว่า จะมุ่งเน้นการนำเสนอประสบการณ์การเล่นเกมที่น่าพึงพอใจ และมีความหลากหลาย มีการส่งเสริมการเล่นเกมในรูปแบบของกีฬา รวมถึงการสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมอีสปอร์ต
ในปัจจุบันเกมจาก Garena สามารถเข้าถึงผู้เล่นกว่า 654 ล้านคน จากกว่า 130 ตลาดทั่วโลก และในช่วงปี 2017-2021 ที่ผ่านมา จำนวนผู้ใช้งานประจำ (Active Users) มีการเติบโตเฉลี่ยกว่า 65% ต่อปี
สำหรับประเทศไทย ธุรกิจเกมและอีสปอร์ตยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทยที่ให้ความสนใจกับเกมมากขึ้น
โดยในปี 2021 ประเทศไทยมีเกมเมอร์กว่า 32 ล้านคน ส่วนตลาดเกมและอีสปอร์ตไทยมีมูลค่าราว 33,000 ล้านบาท เติบโตราว 14% จากปี 2020
ดังนั้น Garena จะยังคงเติบโตควบคู่ไปกับอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตต่อไป ทั้งในฐานะผู้ให้บริการและผู้พัฒนาเกม เพื่อต่อยอดวงการเกมและอีสปอร์ตไทยสู่โอกาสทางอาชีพใหม่ ๆ และการใช้เกมเป็นสื่อกลางพัฒนาทักษะดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง
2. อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) คือ Shopee
เพื่อตอบโจทย์ผู้ซื้อและผู้ขายแบบครบวงจรในแอปพลิเคชันเดียว Shopee มีการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องด้วย Data Driven
และมีการส่งเสริม SMEs ด้วยโครงการพัฒนาทักษะและบริการส่งเสริมธุรกิจผู้ขาย เช่น Shopee University และ Shopee Seller Centre
พร้อมกันนี้ยังมีการพัฒนาประสบการณ์ผู้ซื้อ และสร้างการมีส่วนร่วมกับแพลตฟอร์ม ด้วยเอนเทอร์เทนเมนต์ต่าง ๆ บนแอปพลิเคชัน เช่น การเก็บ Shopee Coins หรือร่วมเล่นฟิลเตอร์ในแอปพลิเคชันเดียว
ปัจจุบัน Shopee มีการเติบโตอย่างเข้มแข็ง โดย Gross Order กว่า 2,000 ล้านออร์เดอร์ จากทั่วโลกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2021
และในช่วงปี 2017-2021 พบว่ามูลค่า GMV หรือ Gross Merchandise Volume เติบโตเฉลี่ยต่อปีกว่า 83% สำหรับตลาดไทย
ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
โดยในปี 2021 อีคอมเมิร์ซไทยมีมูลค่ายอดขายสินค้าออนไลน์ (GMV) อยู่ที่ 21,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการคาดการณ์ว่าจะพุ่งสูงไปถึง 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2025 เติบโตเฉลี่ย ปีละ 14%
นอกจากนี้ Shopee ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย ช่วยสนับสนุนผู้ขายไทยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยผู้ขายรายใหม่มียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 18 เท่า ในช่วง Shopee 11.11 Big Sale ปี 2021
3. ดิจิทัลเพย์เมนต์และบริการการเงินดิจิทัล (Digital Payments and Financial Services) ได้แก่ SeaMoney
SeaMoney มีจุดเริ่มต้นที่ AirPay ซึ่งเป็นดิจิทัลเพย์เมนต์ยอดนิยมเจ้าหนึ่งในไทย ที่เริ่มต้นจาก บริการทางการเงินที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์การเติมเงินในเกมของกลุ่มเกมเมอร์
จากนั้นจึงมีการขยายขอบเขตการให้บริการ และเข้ามาเป็นหนึ่งในช่องทางการรับชำระเงินบน Shopee ในปี 2019 และมีการรีแบรนด์จาก AirPay เป็น ShopeePay ในปี 2021
และเพื่อขยายการเข้าถึงบริการการเงินดิจิทัลที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น SeaMoney ก็ให้ความสำคัญกับการขยายบริการ Digital Finance ด้านอื่น ๆ เช่น บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล
การชำระเงินดิจิทัลจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และผู้บริโภคไทยยังใช้ e-wallet มากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเพิ่มจาก 18.6 ล้านคนในปี 2020 เป็น 41.9 ล้านคนในปี 2025
ในปี 2021 จำนวนผู้ใช้งาน ShopeePay ในพื้นที่นอกเขตหัวเมืองใหญ่ของประเทศไทย ยังเพิ่มขึ้นกว่า 50% จากปี 2020
สะท้อนให้เห็นถึงการเข้าถึงบริการการเงินดิจิทัลที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ไฮไลต์สำคัญคือ ภายในงานยังมีการเปิดตัวแพลตฟอร์ม Sea Academy ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมความรู้หลากหลายด้านจากโครงการต่าง ๆ ของ Sea (ประเทศไทย)
โดย Sea Academy จะมีการสอนเนื้อหาครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่
- การใช้อีคอมเมิร์ซ และการทำธุรกิจในยุคออนไลน์
- การเงินดิจิทัล และความปลอดภัย
- ทักษะสำหรับอาชีพในวงการเกมและอีสปอร์ต เพื่อเสริมทักษะดิจิทัลให้กับคนไทย
หากใครที่ต้องการหาความรู้ด้านดิจิทัลแบบฟรี ๆ สามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ Sea Academy https://seaacademy.co/
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลที่สรุปได้จาก งานฉลองครบรอบ 10 ปี ของ Sea (ประเทศไทย) ภายใต้คอนเซปต์ Sea Story 2022: Digital Technology for All
Reference:
-ข่าวประชาสัมพันธ์ บริษัท Sea Limited
พูดถึงชื่อ Sea Limited หลายคนอาจจะงง ว่าคือบริษัทอะไร
แต่เชื่อว่าทุกคนต้องรู้จักบริษัทนี้ ถ้าบอกว่า Sea Limited ก็คือบริษัทแม่ของ Garena, Shopee และ SeaMoney ที่ก่อตั้งในประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2009
วันนี้ Sea (ประเทศไทย) ก็เพิ่งจัดงาน “Sea Story 2022: Digital Technology for All” ที่จัดขึ้นเพื่อบอกเล่าถึงการดำเนินงานของ Sea (ประเทศไทย) ในช่วงตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา
มีรายละเอียดอะไรน่าสนใจบ้าง BrandCase จะสรุปให้ฟัง..
หลัก ๆ ของงานนี้คือ Sea (ประเทศไทย) ได้มีการเปิดแผนกลยุทธ์ใหม่ เดินหน้าขับเคลื่อน 3 ธุรกิจหลัก พร้อมกับเปิดตัว Sea Academy แพลตฟอร์มให้ความรู้ และทักษะดิจิทัล
โดย 3 ธุรกิจหลักที่ว่านี้ ได้แก่
1. ดิจิทัลเอนเทอร์เทนเมนต์ (Digital Entertainment) คือ Garena
Garena เป็นผู้พัฒนาและให้บริการเกมออนไลน์ชั้นนำระดับโลก โดย Sea (ประเทศไทย) บอกว่า จะมุ่งเน้นการนำเสนอประสบการณ์การเล่นเกมที่น่าพึงพอใจ และมีความหลากหลาย มีการส่งเสริมการเล่นเกมในรูปแบบของกีฬา รวมถึงการสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมอีสปอร์ต
ในปัจจุบันเกมจาก Garena สามารถเข้าถึงผู้เล่นกว่า 654 ล้านคน จากกว่า 130 ตลาดทั่วโลก และในช่วงปี 2017-2021 ที่ผ่านมา จำนวนผู้ใช้งานประจำ (Active Users) มีการเติบโตเฉลี่ยกว่า 65% ต่อปี
สำหรับประเทศไทย ธุรกิจเกมและอีสปอร์ตยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทยที่ให้ความสนใจกับเกมมากขึ้น
โดยในปี 2021 ประเทศไทยมีเกมเมอร์กว่า 32 ล้านคน ส่วนตลาดเกมและอีสปอร์ตไทยมีมูลค่าราว 33,000 ล้านบาท เติบโตราว 14% จากปี 2020
ดังนั้น Garena จะยังคงเติบโตควบคู่ไปกับอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตต่อไป ทั้งในฐานะผู้ให้บริการและผู้พัฒนาเกม เพื่อต่อยอดวงการเกมและอีสปอร์ตไทยสู่โอกาสทางอาชีพใหม่ ๆ และการใช้เกมเป็นสื่อกลางพัฒนาทักษะดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง
2. อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) คือ Shopee
เพื่อตอบโจทย์ผู้ซื้อและผู้ขายแบบครบวงจรในแอปพลิเคชันเดียว Shopee มีการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องด้วย Data Driven
และมีการส่งเสริม SMEs ด้วยโครงการพัฒนาทักษะและบริการส่งเสริมธุรกิจผู้ขาย เช่น Shopee University และ Shopee Seller Centre
พร้อมกันนี้ยังมีการพัฒนาประสบการณ์ผู้ซื้อ และสร้างการมีส่วนร่วมกับแพลตฟอร์ม ด้วยเอนเทอร์เทนเมนต์ต่าง ๆ บนแอปพลิเคชัน เช่น การเก็บ Shopee Coins หรือร่วมเล่นฟิลเตอร์ในแอปพลิเคชันเดียว
ปัจจุบัน Shopee มีการเติบโตอย่างเข้มแข็ง โดย Gross Order กว่า 2,000 ล้านออร์เดอร์ จากทั่วโลกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2021
และในช่วงปี 2017-2021 พบว่ามูลค่า GMV หรือ Gross Merchandise Volume เติบโตเฉลี่ยต่อปีกว่า 83% สำหรับตลาดไทย
ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
โดยในปี 2021 อีคอมเมิร์ซไทยมีมูลค่ายอดขายสินค้าออนไลน์ (GMV) อยู่ที่ 21,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการคาดการณ์ว่าจะพุ่งสูงไปถึง 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2025 เติบโตเฉลี่ย ปีละ 14%
นอกจากนี้ Shopee ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย ช่วยสนับสนุนผู้ขายไทยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยผู้ขายรายใหม่มียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 18 เท่า ในช่วง Shopee 11.11 Big Sale ปี 2021
3. ดิจิทัลเพย์เมนต์และบริการการเงินดิจิทัล (Digital Payments and Financial Services) ได้แก่ SeaMoney
SeaMoney มีจุดเริ่มต้นที่ AirPay ซึ่งเป็นดิจิทัลเพย์เมนต์ยอดนิยมเจ้าหนึ่งในไทย ที่เริ่มต้นจาก บริการทางการเงินที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์การเติมเงินในเกมของกลุ่มเกมเมอร์
จากนั้นจึงมีการขยายขอบเขตการให้บริการ และเข้ามาเป็นหนึ่งในช่องทางการรับชำระเงินบน Shopee ในปี 2019 และมีการรีแบรนด์จาก AirPay เป็น ShopeePay ในปี 2021
และเพื่อขยายการเข้าถึงบริการการเงินดิจิทัลที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น SeaMoney ก็ให้ความสำคัญกับการขยายบริการ Digital Finance ด้านอื่น ๆ เช่น บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล
การชำระเงินดิจิทัลจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และผู้บริโภคไทยยังใช้ e-wallet มากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเพิ่มจาก 18.6 ล้านคนในปี 2020 เป็น 41.9 ล้านคนในปี 2025
ในปี 2021 จำนวนผู้ใช้งาน ShopeePay ในพื้นที่นอกเขตหัวเมืองใหญ่ของประเทศไทย ยังเพิ่มขึ้นกว่า 50% จากปี 2020
สะท้อนให้เห็นถึงการเข้าถึงบริการการเงินดิจิทัลที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ไฮไลต์สำคัญคือ ภายในงานยังมีการเปิดตัวแพลตฟอร์ม Sea Academy ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมความรู้หลากหลายด้านจากโครงการต่าง ๆ ของ Sea (ประเทศไทย)
โดย Sea Academy จะมีการสอนเนื้อหาครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่
- การใช้อีคอมเมิร์ซ และการทำธุรกิจในยุคออนไลน์
- การเงินดิจิทัล และความปลอดภัย
- ทักษะสำหรับอาชีพในวงการเกมและอีสปอร์ต เพื่อเสริมทักษะดิจิทัลให้กับคนไทย
หากใครที่ต้องการหาความรู้ด้านดิจิทัลแบบฟรี ๆ สามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ Sea Academy https://seaacademy.co/
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลที่สรุปได้จาก งานฉลองครบรอบ 10 ปี ของ Sea (ประเทศไทย) ภายใต้คอนเซปต์ Sea Story 2022: Digital Technology for All
Reference:
-ข่าวประชาสัมพันธ์ บริษัท Sea Limited