กลยุทธ์ IKEA โปรโมตองค์กร โดยให้พนักงาน มาเล่าให้ฟัง
29 มิ.ย. 2022
กลยุทธ์ IKEA โปรโมตองค์กร โดยให้พนักงาน มาเล่าให้ฟัง | BrandCase
สมัยนี้การเล่า หรือสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องราววัฒนธรรมองค์กร ถือเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะไม่ใช่แค่จะช่วยเสริมภาพลักษณ์ที่ดูดีให้องค์กร แต่ยังทำให้คนเก่ง ๆ อยากเข้ามาร่วมงานด้วยอีกต่างหาก
แต่การที่องค์กรจะออกมาเล่าเอง ว่าที่นี่เราดีแบบนั้น ดีแบบนี้ มันก็มีอีกวิธีที่ทำได้ และดูจริงใจมากกว่า
นั่นคือ ให้ “พนักงานขององค์กร” เป็นคนเล่าเอง
ซึ่งกรณีของ IKEA ก็คือตัวอย่างหนึ่ง ของการใช้กลยุทธ์แบบที่ว่านี้
ประกอบกับตลอดเดือนมิถุนายนนี้ หลายคนคงได้เห็นสีสันจากงาน “Pride Month” ที่ส่งเสริมความเท่าเทียมของ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกความต่าง
IKEA ก็เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีการเฉลิมฉลองให้กับแคมเปญความหลากหลายและความเท่าเทียมนี้
ภายใต้แฮชแทกที่มีชื่อว่า “IKEAforeveryone”
ซึ่งหนึ่งในแคมเปญของ IKEA ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้
คือ “มารู้จัก IKEA ผ่านสายตาของพนักงาน IKEA”
โดยแต่ละคนก็จะมาเล่าเรื่องราวในลักษณะของการตอบคำถาม
เช่น
- มาร่วมงานกับ IKEA ได้อย่างไร ?
- การทำงานแต่ละวันใน IKEA เป็นอย่างไร ?
- หน้าที่ ที่สร้างแรงบันดาลใจให้มากที่สุด คืออะไร ?
- วัฒนธรรมและค่านิยมหลักของ IKEA ที่ชอบที่สุด คืออะไร ?
- สิ่งที่อยากบอกกับองค์กร และคำแนะนำถึง คนที่อยากสมัครงาน ?
ซึ่งพนักงานที่ออกมาเล่าในแคมเปญนี้ ก็มีตั้งแต่ พนักงานเพศทางเลือก, พนักงานอาวุโส หรือพนักงานต่างชาติ ต่างศาสนา
และมีการพูดถึงความคิดเห็นแง่บวกของแต่ละคน ต่อความหลากหลายและความเท่าเทียม
และเมื่อหลายคนได้อ่านโพสต์เรื่องราวของพนักงานเหล่านี้ ต่างก็เข้าไปแสดงความคิดเห็นชื่นชมในความใจกว้างของแบรนด์ และมีบางส่วนก็ออกมาบอกว่าอยากร่วมงานกับบริษัท IKEA
นอกจากนั้น IKEA ยังมีการขายสินค้าใหม่ ที่เกาะเทรนด์ Pride Month แฝงตัวมาด้วยแบบเนียน ๆ
เช่น ถุงหิ้วสีรุ้ง STORSTOMMA ใบใหญ่ในราคา 99 บาท และเสื้อคอลเลกชันพิเศษลายรุ้ง Make the World Everyone's Home
ซึ่งสินค้าก็ถูกสวมใส่โดยพนักงานของ IKEA เอง
สรุปคือ การโปรโมตองค์กรด้วยพนักงานของตัวเองในครั้งนี้
น่าจะสร้างความประทับใจให้คนที่เห็นได้ไม่น้อย
และทำให้หลายคน ตกหลุมรัก IKEA ได้มากขึ้นไปอีก
และการที่แบรนด์ไม่ได้เลือกโปรโมตวัฒนธรรมองค์กรของตัวเองแบบตรง ๆ แต่ใช้วิธีให้พนักงานทุกเพศ ทุกวัย ทุกความหลากหลาย มาเล่าให้ฟัง
ก็คงเสริมภาพลักษณ์ว่าแบรนด์มีความจริงใจต่อพนักงาน และดูแลพนักงานอย่างดี
ซึ่งมันก็คงมีส่วนทำให้คนเก่ง ๆ หลายคน อยากมาร่วมงานกับ IKEA มากขึ้น ได้อีกด้วย..
References:
-https://www.facebook.com/IKEAThailand/
-https://www.ikea.com/th/th/campaigns/make-the-world-everyones-home-pub79879a20
สมัยนี้การเล่า หรือสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องราววัฒนธรรมองค์กร ถือเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะไม่ใช่แค่จะช่วยเสริมภาพลักษณ์ที่ดูดีให้องค์กร แต่ยังทำให้คนเก่ง ๆ อยากเข้ามาร่วมงานด้วยอีกต่างหาก
แต่การที่องค์กรจะออกมาเล่าเอง ว่าที่นี่เราดีแบบนั้น ดีแบบนี้ มันก็มีอีกวิธีที่ทำได้ และดูจริงใจมากกว่า
นั่นคือ ให้ “พนักงานขององค์กร” เป็นคนเล่าเอง
ซึ่งกรณีของ IKEA ก็คือตัวอย่างหนึ่ง ของการใช้กลยุทธ์แบบที่ว่านี้
ประกอบกับตลอดเดือนมิถุนายนนี้ หลายคนคงได้เห็นสีสันจากงาน “Pride Month” ที่ส่งเสริมความเท่าเทียมของ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกความต่าง
IKEA ก็เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีการเฉลิมฉลองให้กับแคมเปญความหลากหลายและความเท่าเทียมนี้
ภายใต้แฮชแทกที่มีชื่อว่า “IKEAforeveryone”
ซึ่งหนึ่งในแคมเปญของ IKEA ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้
คือ “มารู้จัก IKEA ผ่านสายตาของพนักงาน IKEA”
โดยแต่ละคนก็จะมาเล่าเรื่องราวในลักษณะของการตอบคำถาม
เช่น
- มาร่วมงานกับ IKEA ได้อย่างไร ?
- การทำงานแต่ละวันใน IKEA เป็นอย่างไร ?
- หน้าที่ ที่สร้างแรงบันดาลใจให้มากที่สุด คืออะไร ?
- วัฒนธรรมและค่านิยมหลักของ IKEA ที่ชอบที่สุด คืออะไร ?
- สิ่งที่อยากบอกกับองค์กร และคำแนะนำถึง คนที่อยากสมัครงาน ?
ซึ่งพนักงานที่ออกมาเล่าในแคมเปญนี้ ก็มีตั้งแต่ พนักงานเพศทางเลือก, พนักงานอาวุโส หรือพนักงานต่างชาติ ต่างศาสนา
และมีการพูดถึงความคิดเห็นแง่บวกของแต่ละคน ต่อความหลากหลายและความเท่าเทียม
และเมื่อหลายคนได้อ่านโพสต์เรื่องราวของพนักงานเหล่านี้ ต่างก็เข้าไปแสดงความคิดเห็นชื่นชมในความใจกว้างของแบรนด์ และมีบางส่วนก็ออกมาบอกว่าอยากร่วมงานกับบริษัท IKEA
นอกจากนั้น IKEA ยังมีการขายสินค้าใหม่ ที่เกาะเทรนด์ Pride Month แฝงตัวมาด้วยแบบเนียน ๆ
เช่น ถุงหิ้วสีรุ้ง STORSTOMMA ใบใหญ่ในราคา 99 บาท และเสื้อคอลเลกชันพิเศษลายรุ้ง Make the World Everyone's Home
ซึ่งสินค้าก็ถูกสวมใส่โดยพนักงานของ IKEA เอง
สรุปคือ การโปรโมตองค์กรด้วยพนักงานของตัวเองในครั้งนี้
น่าจะสร้างความประทับใจให้คนที่เห็นได้ไม่น้อย
และทำให้หลายคน ตกหลุมรัก IKEA ได้มากขึ้นไปอีก
และการที่แบรนด์ไม่ได้เลือกโปรโมตวัฒนธรรมองค์กรของตัวเองแบบตรง ๆ แต่ใช้วิธีให้พนักงานทุกเพศ ทุกวัย ทุกความหลากหลาย มาเล่าให้ฟัง
ก็คงเสริมภาพลักษณ์ว่าแบรนด์มีความจริงใจต่อพนักงาน และดูแลพนักงานอย่างดี
ซึ่งมันก็คงมีส่วนทำให้คนเก่ง ๆ หลายคน อยากมาร่วมงานกับ IKEA มากขึ้น ได้อีกด้วย..
References:
-https://www.facebook.com/IKEAThailand/
-https://www.ikea.com/th/th/campaigns/make-the-world-everyones-home-pub79879a20