มาม่า มีกลยุทธ์อย่างไร ในวันที่ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไทย เติบโตช้าลง
24 ก.พ. 2022
มาม่า มีกลยุทธ์อย่างไร ในวันที่ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไทย เติบโตช้าลง | THE BRIEFCASE
ถ้าถามว่า หนึ่งในอาหารที่คนไทยจำนวนมากคุ้นเคยนั้น มีอะไรบ้าง ?
เชื่อว่า บะหมี่กึ่งสําเร็จรูป จะเป็นหนึ่งในคำตอบ
และถ้าพูดถึงบะหมี่กึ่งสําเร็จรูป แบรนด์ที่เราจะนึกถึงเป็นชื่อแรก ๆ คงจะเป็น “มาม่า” ถึงขนาดที่ชื่อมาม่า กลายเป็น Generic name หรือชื่อแบรนด์ที่ใช้เรียกแทนสินค้านั้นไปเลยทีเดียว
รู้ไหมว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตลาดบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปในประเทศเติบโตช้าลง จนอาจพูดได้ว่า ตลาดนี้กำลังอิ่มตัว
แล้ว มาม่า มีกลยุทธ์อย่างไร ที่ใช้รับมือกับเรื่องนี้ ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
ต้องเล่าก่อนว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เข้ามาในประเทศไทยช่วงแรก ราว ๆ ปี พ.ศ. 2514-2515
โดยเจ้าแรกที่เข้ามาตีตลาดในประเทศไทยคือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อ “ซันวา” ที่มีต้นแบบมาจากบะหมี่ญี่ปุ่น
และนั่นถือเป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเริ่มเป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมจากคนไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทยตามมา และหนึ่งในนั้นก็คือ “มาม่า”
ตอนนั้น บริษัท เพรซิเดนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ ของไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ซึ่งรับผิดชอบในด้านการตลาดและการจำหน่ายสินค้า ได้ตกลงร่วมธุรกิจกันก่อตั้งบริษัทขึ้นมาชื่อว่า “ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์”
เพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปภายใต้เครื่องหมายการค้า “มาม่า”
ปัจจุบัน นอกจากบริษัทจะผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปแล้ว ยังผลิตสินค้าอื่น ๆ รวมไปถึงเบเกอรี ขนมปังกรอบ และน้ำผลไม้
อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ยังมีรายได้หลักมาจากบะหมี่และอาหารกึ่งสำเร็จรูป
ลองมาดู ส่วนแบ่งตลาดบะหมี่กึ่งสําเร็จรูป ปี 2563
- มาม่า 48%
- ไวไว 24%
- ยำยำ 22%
- อื่น ๆ 6%
รู้ไหมว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น ตลาดบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเติบโตช้าลง ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
อย่างเช่น นิยมบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น
รวมทั้งการมีสินค้าทดแทนอย่างสมัยนี้ เช่น อาหารประเภท Ready to eat หรืออาหารพร้อมรับประทาน ซึ่งวางขายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไปที่ราคาไม่สูงมากนัก
ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ตลาดบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปนั้นเติบโตช้าลง
ลองมาดู มูลค่าตลาดบะหมี่กึ่งสําเร็จรูป สถิติจาก นีลเส็น (ประเทศไทย)
ปี 2560 15,601 ล้านบาท
ปี 2561 14,836 ล้านบาท
ปี 2562 15,669 ล้านบาท
ปี 2563 16,223 ล้านบาท
ตลาดที่เติบโตช้าลง ทำให้ผู้เล่นหลายรายก็ต้องมีการปรับตัว ไม่เว้นแม้แต่รายใหญ่อย่างไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ ผู้ผลิตมาม่า
ซึ่งผู้บริหารไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ก็ตระหนักถึงเรื่องนี้ดี และมีการนำกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อมาขับเคลื่อนให้บริษัทเติบโตต่อไปได้
ยกตัวอย่างกลยุทธ์สำคัญ ก็อย่างเช่น
- ปรับดีไซน์และขนาดแพ็กเกจจิง ให้มีความทันสมัย และทางบริษัทก็ให้ความสำคัญมากขึ้น กับการสร้างแพ็กเกจจิงสินค้าให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคใส่ใจมากขึ้นเรื่อย ๆ
- มองหาโอกาสในการขยายตลาดและการลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น
เช่น ประเทศเมียนมา ที่การบริโภคบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปต่อซองต่อคนต่อปี ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้บริษัทได้มีการจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ในประเทศเมียนมา เพื่อผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
- การพัฒนารสชาติใหม่ และหลากหลาย เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าหลายระดับ
อย่างเมื่อไม่นานมานี้ที่มีการออก “มาม่า OK” ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าประเภทพรีเมียม ที่ราคาจะสูงกว่ามาม่าแบบดั้งเดิม
รวมไปถึงการพยายามใช้กลยุทธ์การตลาด และการประชาสัมพันธ์สินค้าของบริษัท ผ่านทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ให้ครอบคลุมและสื่อสารถึงผู้บริโภคได้ มากที่สุด..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่า ประเทศไทยนั้น เป็นหนึ่งในประเทศที่คนบริโภคบะหมี่กึ่งสําเร็จรูป มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
โดยข้อมูลจาก World Instant Noodles Association ระบุว่า
ในปี 2020 คนไทยนั้นบริโภคบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปกว่า 3,700 ล้านซอง สูงเป็นอันดับที่ 9 ของโลก
ส่วนประเทศที่บริโภคบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปมากเป็นอันดับที่ 1 ของโลก คือ จีน ซึ่งบริโภคกว่า 46,400 ล้านซอง เลยทีเดียว..
References
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2563, บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)
-https://www.mama.co.th/th/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2
-https://www.bbc.com/thai/thailand-57956718
-https://en.wikipedia.org/wiki/Instant_noodle
-https://forbesthailand.com/news/other/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%89.html
ถ้าถามว่า หนึ่งในอาหารที่คนไทยจำนวนมากคุ้นเคยนั้น มีอะไรบ้าง ?
เชื่อว่า บะหมี่กึ่งสําเร็จรูป จะเป็นหนึ่งในคำตอบ
และถ้าพูดถึงบะหมี่กึ่งสําเร็จรูป แบรนด์ที่เราจะนึกถึงเป็นชื่อแรก ๆ คงจะเป็น “มาม่า” ถึงขนาดที่ชื่อมาม่า กลายเป็น Generic name หรือชื่อแบรนด์ที่ใช้เรียกแทนสินค้านั้นไปเลยทีเดียว
รู้ไหมว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตลาดบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปในประเทศเติบโตช้าลง จนอาจพูดได้ว่า ตลาดนี้กำลังอิ่มตัว
แล้ว มาม่า มีกลยุทธ์อย่างไร ที่ใช้รับมือกับเรื่องนี้ ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
ต้องเล่าก่อนว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เข้ามาในประเทศไทยช่วงแรก ราว ๆ ปี พ.ศ. 2514-2515
โดยเจ้าแรกที่เข้ามาตีตลาดในประเทศไทยคือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อ “ซันวา” ที่มีต้นแบบมาจากบะหมี่ญี่ปุ่น
และนั่นถือเป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเริ่มเป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมจากคนไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทยตามมา และหนึ่งในนั้นก็คือ “มาม่า”
ตอนนั้น บริษัท เพรซิเดนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ ของไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ซึ่งรับผิดชอบในด้านการตลาดและการจำหน่ายสินค้า ได้ตกลงร่วมธุรกิจกันก่อตั้งบริษัทขึ้นมาชื่อว่า “ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์”
เพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปภายใต้เครื่องหมายการค้า “มาม่า”
ปัจจุบัน นอกจากบริษัทจะผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปแล้ว ยังผลิตสินค้าอื่น ๆ รวมไปถึงเบเกอรี ขนมปังกรอบ และน้ำผลไม้
อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ยังมีรายได้หลักมาจากบะหมี่และอาหารกึ่งสำเร็จรูป
ลองมาดู ส่วนแบ่งตลาดบะหมี่กึ่งสําเร็จรูป ปี 2563
- มาม่า 48%
- ไวไว 24%
- ยำยำ 22%
- อื่น ๆ 6%
รู้ไหมว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น ตลาดบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเติบโตช้าลง ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
อย่างเช่น นิยมบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น
รวมทั้งการมีสินค้าทดแทนอย่างสมัยนี้ เช่น อาหารประเภท Ready to eat หรืออาหารพร้อมรับประทาน ซึ่งวางขายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไปที่ราคาไม่สูงมากนัก
ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ตลาดบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปนั้นเติบโตช้าลง
ลองมาดู มูลค่าตลาดบะหมี่กึ่งสําเร็จรูป สถิติจาก นีลเส็น (ประเทศไทย)
ปี 2560 15,601 ล้านบาท
ปี 2561 14,836 ล้านบาท
ปี 2562 15,669 ล้านบาท
ปี 2563 16,223 ล้านบาท
ตลาดที่เติบโตช้าลง ทำให้ผู้เล่นหลายรายก็ต้องมีการปรับตัว ไม่เว้นแม้แต่รายใหญ่อย่างไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ ผู้ผลิตมาม่า
ซึ่งผู้บริหารไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ก็ตระหนักถึงเรื่องนี้ดี และมีการนำกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อมาขับเคลื่อนให้บริษัทเติบโตต่อไปได้
ยกตัวอย่างกลยุทธ์สำคัญ ก็อย่างเช่น
- ปรับดีไซน์และขนาดแพ็กเกจจิง ให้มีความทันสมัย และทางบริษัทก็ให้ความสำคัญมากขึ้น กับการสร้างแพ็กเกจจิงสินค้าให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคใส่ใจมากขึ้นเรื่อย ๆ
- มองหาโอกาสในการขยายตลาดและการลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น
เช่น ประเทศเมียนมา ที่การบริโภคบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปต่อซองต่อคนต่อปี ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้บริษัทได้มีการจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ในประเทศเมียนมา เพื่อผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
- การพัฒนารสชาติใหม่ และหลากหลาย เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าหลายระดับ
อย่างเมื่อไม่นานมานี้ที่มีการออก “มาม่า OK” ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าประเภทพรีเมียม ที่ราคาจะสูงกว่ามาม่าแบบดั้งเดิม
รวมไปถึงการพยายามใช้กลยุทธ์การตลาด และการประชาสัมพันธ์สินค้าของบริษัท ผ่านทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ให้ครอบคลุมและสื่อสารถึงผู้บริโภคได้ มากที่สุด..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่า ประเทศไทยนั้น เป็นหนึ่งในประเทศที่คนบริโภคบะหมี่กึ่งสําเร็จรูป มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
โดยข้อมูลจาก World Instant Noodles Association ระบุว่า
ในปี 2020 คนไทยนั้นบริโภคบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปกว่า 3,700 ล้านซอง สูงเป็นอันดับที่ 9 ของโลก
ส่วนประเทศที่บริโภคบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปมากเป็นอันดับที่ 1 ของโลก คือ จีน ซึ่งบริโภคกว่า 46,400 ล้านซอง เลยทีเดียว..
References
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2563, บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)
-https://www.mama.co.th/th/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2
-https://www.bbc.com/thai/thailand-57956718
-https://en.wikipedia.org/wiki/Instant_noodle
-https://forbesthailand.com/news/other/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%89.html