ทำไม Adobe ถึงเป็นบริษัทที่ พนักงานมีความสุขที่สุด ในสหรัฐอเมริกา
13 ต.ค. 2021
ทำไม Adobe ถึงเป็นบริษัทที่ พนักงานมีความสุขที่สุด ในสหรัฐอเมริกา | THE BRIEFCASE
ในแต่ละปี Comparably จะมีการจัดอันดับบริษัทที่พนักงานทำงานด้วยแล้วมีความสุข
โดยพิจารณาบริษัทในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด 70,000 แห่งด้วยกัน
ซึ่งเป็นการสำรวจว่าพนักงานมีความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
เช่น สภาพแวดล้อมการทำงาน เงินเดือน สวัสดิการ และเป้าหมายของบริษัท
โดยในปี 2021 บริษัทที่พนักงานมีความสุขที่สุด ก็คือ “Adobe”
แล้ว Adobe มีการบริหารอย่างไร ให้พนักงานมีความสุขที่สุด
THE BRIEFCASE จะเล่าให้ฟัง
จากผลสำรวจไม่ว่าจะเป็นด้านเงินเดือน ที่พนักงานกว่า 90% ต่างก็พึงพอใจและเห็นว่าเหมาะสมแล้ว
หรือการบริหารของ CEO อย่าง คุณ Shantanu Narayen เอง ก็ได้คะแนนนำมาเป็นอันดับหนึ่งที่ 93 คะแนน
แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้พนักงานของ Adobe มีความสุข ก็คือ “การลงทุนในวัฒนธรรมและตัวของพนักงาน”
โดยคุณ Nazar CEO ของ Comparably บริษัทที่ทำการจัดอันดับได้กล่าวว่า
จากการประเมินพนักงานบริษัท Adobe พบว่า สิ่งที่โดดเด่นของ Adobe คือ การที่พนักงานให้ฟีดแบ็กเชิงบวกและยังให้คะแนนองค์กรในด้านต่าง ๆ สูงมาก ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นถึงความเอาใจใส่ของ Adobe ที่ให้ความสำคัญและสนับสนุนพนักงานเป็นอันดับแรก
ซึ่งวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับพนักงานนั้น ก็ไม่ได้เพิ่งมีเมื่อไม่นานมานี้
แต่ Adobe ให้ความสำคัญกับพนักงานมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทในปี 1982
โดย Adobe ได้ใช้แนวทางธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับผู้คนมาโดยตลอด
ผ่านการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานที่หลากหลาย
และมุ่งมั่นที่จะทำให้พนักงานรู้สึกมีความสุข สบายใจ เพื่อจะได้ทุ่มเทอย่างเต็มที่ให้กับการทำงาน
นอกจากนี้ Adobe ยังเชื่อว่า “พนักงาน” เป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดของบริษัท
และการลงทุนเพื่อการเติบโตและสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงาน ก็จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จในอนาคตของบริษัท
ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่างแนวทางการดูแลพนักงานของ Adobe ที่ทำให้บริษัทนี้ กลายเป็นบริษัทที่พนักงานมีความสุขที่สุดกัน
1. วัฒนธรรมที่ยึดพนักงานเป็นหลัก โดยยึดเป็นค่านิยมมาอย่างยาวนาน
Adobe เชื่อว่า บริษัทจะประสบความสำเร็จได้ ต้องมาจากพนักงานที่มีความสุขกับการทำงานในทุก ๆ วัน เพราะพนักงานที่มีความสุข จะสามารถทุ่มเทความรู้ความสามารถทั้งหมดที่มี ให้กับบริษัทอย่างแท้จริง
ดังนั้น เมื่อ John Warnock และ Chuck Geschke ร่วมกันก่อตั้ง Adobe ในปี 1982
ทั้งสองคน จึงมีจุดมุ่งหมายในการสร้างบริษัทที่มีนวัตกรรมผ่านการทำงานที่ยึดหลัก “ความซื่อสัตย์”,
“ความไว้วางใจ” และความเชื่อในการปฏิบัติต่อทุกคนอย่าง “เท่าเทียมกัน” ด้วยความเคารพ
2. นโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ และความเท่าเทียม
ที่ Adobe ได้มีการลงทุนในการเรียนรู้ และการพัฒนาของพนักงาน
เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ คิดค้นนวัตกรรมต่าง ๆ ที่สร้างการเติบโตให้กับบริษัท
และที่ Adobe ยังให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกัน โดยเชื่อว่าทุกคนสมควรได้รับความเคารพ
และการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ อายุ ความทุพพลภาพ รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ ภูมิหลังทางวัฒนธรรม หรือความเชื่อทางศาสนา
หรือในเรื่องของค่าจ้างเอง Adobe ก็มองว่าต้องมีความยุติธรรม
เพราะไม่ว่าพนักงานจะเป็นเพศอะไร หรือมีเชื้อชาติอะไร ต้องได้รับค่าจ้างอย่างเท่าเทียมกัน
ไม่มีการกดขี่ว่า ถ้าไม่ใช่สัญชาติอเมริกัน แล้วต้องได้ค่าจ้างต่ำกว่า
รวมถึงมีการตรวจสอบความเป็นธรรมในการเลื่อนตำแหน่ง ผ่านการเปิดเผยข้อมูลความเท่าเทียมกันของโอกาสสำหรับการเลื่อนตำแหน่ง
ทั้งการเลื่อนตำแหน่งตามภูมิภาค ประเภทงาน หรืออื่น ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้สร้างความเท่าเทียมกัน “ด้านโอกาส” ให้กับพนักงานทุกคน
3. แนวทางการรับมือที่รอบคอบ เมื่อเกิดวิกฤติ
หลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
Adobe ได้ออกมาให้คำมั่นสัญญาที่จะปกป้องสุขภาพและสวัสดิภาพของพนักงานเป็นอันดับแรก
รวมไปถึง การออกนโยบายต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนพนักงานช่วงวิกฤติโควิด
มีการสำรวจความเชื่อมั่นของพนักงาน ด้วยการประชุมแบบให้ทุกคนในบริษัทมีส่วนร่วม เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาและความท้าทายในการทำงานช่วงโควิด 19 มากขึ้น รวมไปถึงการร่วมกันเสนอแนวทางแก้ไขเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
โดยหลังจากการสำรวจ ทาง Adobe ก็พบว่า ในช่วงวิกฤติโควิด
พนักงานมีอาการเหนื่อยล้า และไม่ได้หยุดงานตามที่ต้องการ
ทาง Adobe จึงได้จัดให้มีวันหยุดทั่วทั้งบริษัทเป็นประจำทุก ๆ วันศุกร์ที่ 3 ของเดือน
เพื่อให้พนักงานมีเวลาว่างในการถอดปลั๊กและเติมพลัง
นอกจากนี้ยังมีการให้คำปรึกษาทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง และมีแอปพลิเคชันการทำสมาธิให้พนักงานใช้ฟรี
รวมถึงเงินชดเชยสำหรับค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายการทำงานช่วง Work From Home อีกด้วย
ซึ่งหลังจากที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว Adobe ก็เตรียมเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
โดยพนักงานของ Adobe จะมีตัวเลือกว่า จะทำงานจากที่บ้าน หรือเข้าออฟฟิศ ก็ได้
ซึ่งทางบริษัทก็จะทำการสำรวจความต้องการของพนักงานต่อไปเป็นระยะ
เพื่อให้พนักงานร่วมกันสร้างรูปแบบการทำงานในอนาคตของ Adobe ด้วยกัน
เพราะองค์กร ถูกขับเคลื่อนด้วยมนุษย์ที่มีอารมณ์ มีความรู้สึก
ดังนั้น การทำให้พนักงานมีความสุข จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทำให้บริษัทเติบโต ไม่แพ้ปัจจัยทางด้านอื่น ๆ เลย..
References
-https://www.cnbc.com/2021/10/06/comparably-top-10-companies-with-the-happiest-employees-in-2021.html
-https://www.comparably.com/companies/adobe/headquarters#office-photos-videos
-https://blog.adobe.com/en/publish/2021/02/09/forbes-award-americas-best-employers.html#gs.d85vtf
ในแต่ละปี Comparably จะมีการจัดอันดับบริษัทที่พนักงานทำงานด้วยแล้วมีความสุข
โดยพิจารณาบริษัทในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด 70,000 แห่งด้วยกัน
ซึ่งเป็นการสำรวจว่าพนักงานมีความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
เช่น สภาพแวดล้อมการทำงาน เงินเดือน สวัสดิการ และเป้าหมายของบริษัท
โดยในปี 2021 บริษัทที่พนักงานมีความสุขที่สุด ก็คือ “Adobe”
แล้ว Adobe มีการบริหารอย่างไร ให้พนักงานมีความสุขที่สุด
THE BRIEFCASE จะเล่าให้ฟัง
จากผลสำรวจไม่ว่าจะเป็นด้านเงินเดือน ที่พนักงานกว่า 90% ต่างก็พึงพอใจและเห็นว่าเหมาะสมแล้ว
หรือการบริหารของ CEO อย่าง คุณ Shantanu Narayen เอง ก็ได้คะแนนนำมาเป็นอันดับหนึ่งที่ 93 คะแนน
แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้พนักงานของ Adobe มีความสุข ก็คือ “การลงทุนในวัฒนธรรมและตัวของพนักงาน”
โดยคุณ Nazar CEO ของ Comparably บริษัทที่ทำการจัดอันดับได้กล่าวว่า
จากการประเมินพนักงานบริษัท Adobe พบว่า สิ่งที่โดดเด่นของ Adobe คือ การที่พนักงานให้ฟีดแบ็กเชิงบวกและยังให้คะแนนองค์กรในด้านต่าง ๆ สูงมาก ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นถึงความเอาใจใส่ของ Adobe ที่ให้ความสำคัญและสนับสนุนพนักงานเป็นอันดับแรก
ซึ่งวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับพนักงานนั้น ก็ไม่ได้เพิ่งมีเมื่อไม่นานมานี้
แต่ Adobe ให้ความสำคัญกับพนักงานมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทในปี 1982
โดย Adobe ได้ใช้แนวทางธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับผู้คนมาโดยตลอด
ผ่านการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานที่หลากหลาย
และมุ่งมั่นที่จะทำให้พนักงานรู้สึกมีความสุข สบายใจ เพื่อจะได้ทุ่มเทอย่างเต็มที่ให้กับการทำงาน
นอกจากนี้ Adobe ยังเชื่อว่า “พนักงาน” เป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดของบริษัท
และการลงทุนเพื่อการเติบโตและสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงาน ก็จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จในอนาคตของบริษัท
ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่างแนวทางการดูแลพนักงานของ Adobe ที่ทำให้บริษัทนี้ กลายเป็นบริษัทที่พนักงานมีความสุขที่สุดกัน
1. วัฒนธรรมที่ยึดพนักงานเป็นหลัก โดยยึดเป็นค่านิยมมาอย่างยาวนาน
Adobe เชื่อว่า บริษัทจะประสบความสำเร็จได้ ต้องมาจากพนักงานที่มีความสุขกับการทำงานในทุก ๆ วัน เพราะพนักงานที่มีความสุข จะสามารถทุ่มเทความรู้ความสามารถทั้งหมดที่มี ให้กับบริษัทอย่างแท้จริง
ดังนั้น เมื่อ John Warnock และ Chuck Geschke ร่วมกันก่อตั้ง Adobe ในปี 1982
ทั้งสองคน จึงมีจุดมุ่งหมายในการสร้างบริษัทที่มีนวัตกรรมผ่านการทำงานที่ยึดหลัก “ความซื่อสัตย์”,
“ความไว้วางใจ” และความเชื่อในการปฏิบัติต่อทุกคนอย่าง “เท่าเทียมกัน” ด้วยความเคารพ
2. นโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ และความเท่าเทียม
ที่ Adobe ได้มีการลงทุนในการเรียนรู้ และการพัฒนาของพนักงาน
เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ คิดค้นนวัตกรรมต่าง ๆ ที่สร้างการเติบโตให้กับบริษัท
และที่ Adobe ยังให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกัน โดยเชื่อว่าทุกคนสมควรได้รับความเคารพ
และการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ อายุ ความทุพพลภาพ รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ ภูมิหลังทางวัฒนธรรม หรือความเชื่อทางศาสนา
หรือในเรื่องของค่าจ้างเอง Adobe ก็มองว่าต้องมีความยุติธรรม
เพราะไม่ว่าพนักงานจะเป็นเพศอะไร หรือมีเชื้อชาติอะไร ต้องได้รับค่าจ้างอย่างเท่าเทียมกัน
ไม่มีการกดขี่ว่า ถ้าไม่ใช่สัญชาติอเมริกัน แล้วต้องได้ค่าจ้างต่ำกว่า
รวมถึงมีการตรวจสอบความเป็นธรรมในการเลื่อนตำแหน่ง ผ่านการเปิดเผยข้อมูลความเท่าเทียมกันของโอกาสสำหรับการเลื่อนตำแหน่ง
ทั้งการเลื่อนตำแหน่งตามภูมิภาค ประเภทงาน หรืออื่น ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้สร้างความเท่าเทียมกัน “ด้านโอกาส” ให้กับพนักงานทุกคน
3. แนวทางการรับมือที่รอบคอบ เมื่อเกิดวิกฤติ
หลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
Adobe ได้ออกมาให้คำมั่นสัญญาที่จะปกป้องสุขภาพและสวัสดิภาพของพนักงานเป็นอันดับแรก
รวมไปถึง การออกนโยบายต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนพนักงานช่วงวิกฤติโควิด
มีการสำรวจความเชื่อมั่นของพนักงาน ด้วยการประชุมแบบให้ทุกคนในบริษัทมีส่วนร่วม เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาและความท้าทายในการทำงานช่วงโควิด 19 มากขึ้น รวมไปถึงการร่วมกันเสนอแนวทางแก้ไขเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
โดยหลังจากการสำรวจ ทาง Adobe ก็พบว่า ในช่วงวิกฤติโควิด
พนักงานมีอาการเหนื่อยล้า และไม่ได้หยุดงานตามที่ต้องการ
ทาง Adobe จึงได้จัดให้มีวันหยุดทั่วทั้งบริษัทเป็นประจำทุก ๆ วันศุกร์ที่ 3 ของเดือน
เพื่อให้พนักงานมีเวลาว่างในการถอดปลั๊กและเติมพลัง
นอกจากนี้ยังมีการให้คำปรึกษาทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง และมีแอปพลิเคชันการทำสมาธิให้พนักงานใช้ฟรี
รวมถึงเงินชดเชยสำหรับค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายการทำงานช่วง Work From Home อีกด้วย
ซึ่งหลังจากที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว Adobe ก็เตรียมเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
โดยพนักงานของ Adobe จะมีตัวเลือกว่า จะทำงานจากที่บ้าน หรือเข้าออฟฟิศ ก็ได้
ซึ่งทางบริษัทก็จะทำการสำรวจความต้องการของพนักงานต่อไปเป็นระยะ
เพื่อให้พนักงานร่วมกันสร้างรูปแบบการทำงานในอนาคตของ Adobe ด้วยกัน
เพราะองค์กร ถูกขับเคลื่อนด้วยมนุษย์ที่มีอารมณ์ มีความรู้สึก
ดังนั้น การทำให้พนักงานมีความสุข จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทำให้บริษัทเติบโต ไม่แพ้ปัจจัยทางด้านอื่น ๆ เลย..
References
-https://www.cnbc.com/2021/10/06/comparably-top-10-companies-with-the-happiest-employees-in-2021.html
-https://www.comparably.com/companies/adobe/headquarters#office-photos-videos
-https://blog.adobe.com/en/publish/2021/02/09/forbes-award-americas-best-employers.html#gs.d85vtf