3 วิธี ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ที่ Albert Einstein และ Steve Jobs เคยใช้มาแล้ว
10 ต.ค. 2021
3 วิธี ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ที่ Albert Einstein และ Steve Jobs เคยใช้มาแล้ว | THE BRIEFCASE
หลายคนอาจจะคิดว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องของพรสวรรค์เฉพาะบุคคล หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ เวลาที่เราไม่ได้ตั้งใจ
แต่จริง ๆ แล้ว รู้หรือไม่ว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์ และสามารถฝึก หรือพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นได้ เหมือนกับการออกกำลังกาย เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อ ได้เช่นกัน
ซึ่งวิธีในการฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์ก็มีหลายวิธี
THE BRIEFCASE รวบรวม 3 วิธีฝึกความคิดสร้างสรรค์ ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
1. กำหนดช่วงเวลา “Non-time”
Non-time คือช่วงที่เราได้พักผ่อนสมอง
หรือช่วงเวลาที่เราได้มีอิสระ โดยไม่ต้องคาดหวังเรื่องผลลัพธ์ใด ๆ
ต้องยอมรับว่า หลาย ๆ ครั้งที่เราไม่รู้ว่า ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นมาเมื่อไร
และยิ่งเราไปกดดันเรื่องเวลาในการสร้างแรงบันดาลใจ
เช่น เราไปกำหนดว่าต้องออกแบบโลโกสำหรับลูกค้าในอีกสามชั่วโมงข้างหน้า อาจทำให้เราไม่สามารถคิดงานออกได้เลย
ดังนั้น ทางออกของปัญหาในข้อนี้
ก็คือ ลองจัดตารางเวลา Non-time ในแต่ละวัน ให้เป็นช่วงเวลาที่เราได้พักผ่อนสมอง หรือช่วงเวลาที่เราได้มีอิสระ โดยไม่ต้องคาดหวังเรื่องผลลัพธ์ใด ๆ ก็จะช่วยลดความกดดัน และช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ ๆ ได้มากขึ้น
นอกจากนี้ การขจัดความเครียดและความวิตกกังวลออกจากสมองของเรา ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้สมองของเรากลับมาแจ่มใสได้อีกครั้ง ในวันที่ไม่มีแรงบันดาลใจ
ที่น่าสนใจก็คือ วิธี Non-time ที่ว่านี้
นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลและผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพอย่าง Albert Einstein ก็เคยนำไปใช้
และยังบอกว่า ไอเดียเจ๋ง ๆ ส่วนมาก มักแวบเข้ามาตอนไม่ได้คิดอะไร และนั่งอยู่เฉย ๆ
2. การเขียน ขุมพลังมหัศจรรย์ แห่งความสร้างสรรค์
รู้หรือไม่ว่า “การเขียน” สามารถช่วยให้เราปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์ได้ เพียงแค่เรานั่งลง และเขียนสิ่งที่อยู่ในหัว แบบไม่ผ่านการกลั่นกรองใด ๆ ทั้งสิ้น แค่นี้เราก็ได้ปลดปล่อยสิ่งที่อยู่ในหัวเราออกมาแล้ว
วิธีนี้ จะช่วยปล่อยให้ความคิดไหลออกจากหัวของเราโดยตรง และยังช่วยให้เราขจัดความคิดหรือความกังวลออกไปด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มพื้นที่สำหรับความคิดสร้างสรรค์ของเราได้
โดยหนึ่งในวิธีที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายก็คือ “Morning Pages”
หรือก็คือ การเขียนสิ่งที่อยู่ในหัวของเราทันทีหลังตื่นนอน
โดยมีความยาวประมาณ 3 หน้ากระดาษ
แต่ถ้าเราไม่รู้ว่าจะเขียนอะไร.. ก็ให้เขียนไปว่า ไม่รู้ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบ 3 หน้า
ซึ่งเทคนิคนี้ คุณ Julia Cameron เป็นคนคิดค้นขึ้นมา เพื่อแก้อาการสมองตัน คิดงานไม่ออก
โดยคุณ Julia บอกว่า การเขียนสิ่งที่อยู่ในหัวทันทีหลังจากตื่นนอน เป็นสิ่งที่ทำให้เราได้เชื่อมโยงกับตัวเองและเป็นการสำรวจความคิดต่าง ๆ ของเราก่อนที่สมองจะเข้ามาจัดระเบียบความคิดให้เป็นระบบ
ก็ไม่แน่ว่า เราอาจพบความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ซ่อนอยู่ในงานเขียนอิสระของเราก็เป็นได้
นอกจากการเขียน Morning Pages แล้ว
ยังมีอีกหนึ่งวิธีการเขียนที่ช่วยฝึกความคิดสร้างสรรค์ได้ นั่นก็คือ “Calligraphy”
ซึ่ง Calligraphy ก็คือ งานศิลปะการเขียนที่มีความบรรจงสวยงาม ที่เรามักจะเห็นงานเหล่านี้ผ่านโลโก ภาพงานศิลปะ หรือการ์ดเชิญในงานต่าง ๆ
โดยวิธีนี้ Steve Jobs เคยบอกว่า เป็นสิ่งที่ทำให้เขาได้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ
เขาเคยลงเรียนการเขียน Calligraphy ที่ Reed College
ทำให้เขาได้รู้ความแตกต่างของตัวอักษรแบบเซริฟ (Serif) แบบซานส์ เซริฟ (Sans Serif) ได้เห็นวิธีเว้นช่องไฟระหว่างตัวอักษร ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่หาไม่ได้ในวิทยาศาสตร์
แม้ว่า หลายคนอาจจะมองว่า การเรียนศิลปะการเขียนไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเทคโนโลยี แต่เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ในขณะที่เขากำลังออกแบบคอมพิวเตอร์แมคอินทอชรุ่นแรก เขาได้ใช้ความรู้จากการเรียนศิลปะการเขียนในตอนนั้นมาใช้ในการออกแบบด้วย ทำให้แมคเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในโลก ที่มีตัวพิมพ์ที่สวยงามโดดเด่นจากคอมพิวเตอร์อื่น ๆ
3. คิดมุมกลับ ปรับมุมมอง
ถ้าเรามองสิ่งที่เราคุ้นเคยด้วยมุมเดิม ๆ ก็คงจะไม่ได้แนวคิดอะไรที่แปลกใหม่ออกมา
แต่ถ้าเราลองเปลี่ยนมุมคิด ปรับมุมมอง เป็นไปได้ว่าเราอาจจะได้ไอเดียใหม่ ๆ ออกมาก็ได้
ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ใช้ฝึกการปรับมุมมองก็คือ Alternative Uses Test
ที่พัฒนาโดย J. P. Guilford ในปี 1967
โดยวิธีการฝึกก็คือ ให้เรานึกถึงว่า เราจะเอาสิ่งของธรรมดา ๆ รอบตัว ไปใช้งานอย่างไร ให้ได้มากที่สุด ในเวลาที่จำกัด
เช่น คลิปหนีบกระดาษ ถ้าไม่ใช้หนีบกระดาษ เราเอาไปทำอะไรได้อีกบ้าง ?
อิฐที่เราใช้ก่อกำแพง ถ้าไม่ใช้ก่อกำแพง เอาไปทำอะไรได้อีกบ้าง ?
ซึ่งการฝึกแบบนี้ จะช่วยในเรื่องของการคิดแบบแยกส่วน ที่ช่วยให้เราพัฒนาความสามารถในการคิดนอกกรอบ และกลายเป็นขุมพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ได้ นั่นเอง
ความจริงแล้ว ความคิดสร้างสรรค์ก็เหมือน “กล้ามเนื้อ”..
ถ้าเราอยากให้กล้ามเนื้อเราแข็งแรง เราก็ต้องออกกำลังกาย
และหากกำลังพบเจอกับภาวะสมองตัน คิดงานไม่ออก
เราอาจลองใช้ 3 วิธีเหล่านี้ บริหารกล้ามเนื้อความคิดสร้างสรรค์ ให้กลับมาแข็งแรงขึ้นได้อีกครั้ง..
References
-https://www.businessinsider.com/darwin-science-great-famous-remote-work-time-think-schedule-busy-2021-3
-https://99designs.com/blog/creative-thinking/creativity-exercises/
-https://www.leemunroe.com/steve-jobs-calligraphy/
-https://juliacameronlive.com/basic-tools/morning-pages/
หลายคนอาจจะคิดว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องของพรสวรรค์เฉพาะบุคคล หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ เวลาที่เราไม่ได้ตั้งใจ
แต่จริง ๆ แล้ว รู้หรือไม่ว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์ และสามารถฝึก หรือพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นได้ เหมือนกับการออกกำลังกาย เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อ ได้เช่นกัน
ซึ่งวิธีในการฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์ก็มีหลายวิธี
THE BRIEFCASE รวบรวม 3 วิธีฝึกความคิดสร้างสรรค์ ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
1. กำหนดช่วงเวลา “Non-time”
Non-time คือช่วงที่เราได้พักผ่อนสมอง
หรือช่วงเวลาที่เราได้มีอิสระ โดยไม่ต้องคาดหวังเรื่องผลลัพธ์ใด ๆ
ต้องยอมรับว่า หลาย ๆ ครั้งที่เราไม่รู้ว่า ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นมาเมื่อไร
และยิ่งเราไปกดดันเรื่องเวลาในการสร้างแรงบันดาลใจ
เช่น เราไปกำหนดว่าต้องออกแบบโลโกสำหรับลูกค้าในอีกสามชั่วโมงข้างหน้า อาจทำให้เราไม่สามารถคิดงานออกได้เลย
ดังนั้น ทางออกของปัญหาในข้อนี้
ก็คือ ลองจัดตารางเวลา Non-time ในแต่ละวัน ให้เป็นช่วงเวลาที่เราได้พักผ่อนสมอง หรือช่วงเวลาที่เราได้มีอิสระ โดยไม่ต้องคาดหวังเรื่องผลลัพธ์ใด ๆ ก็จะช่วยลดความกดดัน และช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ ๆ ได้มากขึ้น
นอกจากนี้ การขจัดความเครียดและความวิตกกังวลออกจากสมองของเรา ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้สมองของเรากลับมาแจ่มใสได้อีกครั้ง ในวันที่ไม่มีแรงบันดาลใจ
ที่น่าสนใจก็คือ วิธี Non-time ที่ว่านี้
นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลและผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพอย่าง Albert Einstein ก็เคยนำไปใช้
และยังบอกว่า ไอเดียเจ๋ง ๆ ส่วนมาก มักแวบเข้ามาตอนไม่ได้คิดอะไร และนั่งอยู่เฉย ๆ
2. การเขียน ขุมพลังมหัศจรรย์ แห่งความสร้างสรรค์
รู้หรือไม่ว่า “การเขียน” สามารถช่วยให้เราปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์ได้ เพียงแค่เรานั่งลง และเขียนสิ่งที่อยู่ในหัว แบบไม่ผ่านการกลั่นกรองใด ๆ ทั้งสิ้น แค่นี้เราก็ได้ปลดปล่อยสิ่งที่อยู่ในหัวเราออกมาแล้ว
วิธีนี้ จะช่วยปล่อยให้ความคิดไหลออกจากหัวของเราโดยตรง และยังช่วยให้เราขจัดความคิดหรือความกังวลออกไปด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มพื้นที่สำหรับความคิดสร้างสรรค์ของเราได้
โดยหนึ่งในวิธีที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายก็คือ “Morning Pages”
หรือก็คือ การเขียนสิ่งที่อยู่ในหัวของเราทันทีหลังตื่นนอน
โดยมีความยาวประมาณ 3 หน้ากระดาษ
แต่ถ้าเราไม่รู้ว่าจะเขียนอะไร.. ก็ให้เขียนไปว่า ไม่รู้ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบ 3 หน้า
ซึ่งเทคนิคนี้ คุณ Julia Cameron เป็นคนคิดค้นขึ้นมา เพื่อแก้อาการสมองตัน คิดงานไม่ออก
โดยคุณ Julia บอกว่า การเขียนสิ่งที่อยู่ในหัวทันทีหลังจากตื่นนอน เป็นสิ่งที่ทำให้เราได้เชื่อมโยงกับตัวเองและเป็นการสำรวจความคิดต่าง ๆ ของเราก่อนที่สมองจะเข้ามาจัดระเบียบความคิดให้เป็นระบบ
ก็ไม่แน่ว่า เราอาจพบความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ซ่อนอยู่ในงานเขียนอิสระของเราก็เป็นได้
นอกจากการเขียน Morning Pages แล้ว
ยังมีอีกหนึ่งวิธีการเขียนที่ช่วยฝึกความคิดสร้างสรรค์ได้ นั่นก็คือ “Calligraphy”
ซึ่ง Calligraphy ก็คือ งานศิลปะการเขียนที่มีความบรรจงสวยงาม ที่เรามักจะเห็นงานเหล่านี้ผ่านโลโก ภาพงานศิลปะ หรือการ์ดเชิญในงานต่าง ๆ
โดยวิธีนี้ Steve Jobs เคยบอกว่า เป็นสิ่งที่ทำให้เขาได้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ
เขาเคยลงเรียนการเขียน Calligraphy ที่ Reed College
ทำให้เขาได้รู้ความแตกต่างของตัวอักษรแบบเซริฟ (Serif) แบบซานส์ เซริฟ (Sans Serif) ได้เห็นวิธีเว้นช่องไฟระหว่างตัวอักษร ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่หาไม่ได้ในวิทยาศาสตร์
แม้ว่า หลายคนอาจจะมองว่า การเรียนศิลปะการเขียนไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเทคโนโลยี แต่เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ในขณะที่เขากำลังออกแบบคอมพิวเตอร์แมคอินทอชรุ่นแรก เขาได้ใช้ความรู้จากการเรียนศิลปะการเขียนในตอนนั้นมาใช้ในการออกแบบด้วย ทำให้แมคเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในโลก ที่มีตัวพิมพ์ที่สวยงามโดดเด่นจากคอมพิวเตอร์อื่น ๆ
3. คิดมุมกลับ ปรับมุมมอง
ถ้าเรามองสิ่งที่เราคุ้นเคยด้วยมุมเดิม ๆ ก็คงจะไม่ได้แนวคิดอะไรที่แปลกใหม่ออกมา
แต่ถ้าเราลองเปลี่ยนมุมคิด ปรับมุมมอง เป็นไปได้ว่าเราอาจจะได้ไอเดียใหม่ ๆ ออกมาก็ได้
ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ใช้ฝึกการปรับมุมมองก็คือ Alternative Uses Test
ที่พัฒนาโดย J. P. Guilford ในปี 1967
โดยวิธีการฝึกก็คือ ให้เรานึกถึงว่า เราจะเอาสิ่งของธรรมดา ๆ รอบตัว ไปใช้งานอย่างไร ให้ได้มากที่สุด ในเวลาที่จำกัด
เช่น คลิปหนีบกระดาษ ถ้าไม่ใช้หนีบกระดาษ เราเอาไปทำอะไรได้อีกบ้าง ?
อิฐที่เราใช้ก่อกำแพง ถ้าไม่ใช้ก่อกำแพง เอาไปทำอะไรได้อีกบ้าง ?
ซึ่งการฝึกแบบนี้ จะช่วยในเรื่องของการคิดแบบแยกส่วน ที่ช่วยให้เราพัฒนาความสามารถในการคิดนอกกรอบ และกลายเป็นขุมพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ได้ นั่นเอง
ความจริงแล้ว ความคิดสร้างสรรค์ก็เหมือน “กล้ามเนื้อ”..
ถ้าเราอยากให้กล้ามเนื้อเราแข็งแรง เราก็ต้องออกกำลังกาย
และหากกำลังพบเจอกับภาวะสมองตัน คิดงานไม่ออก
เราอาจลองใช้ 3 วิธีเหล่านี้ บริหารกล้ามเนื้อความคิดสร้างสรรค์ ให้กลับมาแข็งแรงขึ้นได้อีกครั้ง..
References
-https://www.businessinsider.com/darwin-science-great-famous-remote-work-time-think-schedule-busy-2021-3
-https://99designs.com/blog/creative-thinking/creativity-exercises/
-https://www.leemunroe.com/steve-jobs-calligraphy/
-https://juliacameronlive.com/basic-tools/morning-pages/