ทำงานที่บ้าน VS ทำงานทางไกล ชื่อคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน
1 ต.ค. 2021
ทำงานที่บ้าน VS ทำงานทางไกล ชื่อคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน | THE BRIEFCASE
ถ้าถามว่าหนึ่งในปัจจัยของการเลือกทำเลที่อยู่อาศัยคืออะไร
หนึ่งในนั้นก็คือความสะดวกสบายในการเดินทางไปทำงาน
แต่ทุกวันนี้เทคโนโลยีออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น
เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต ก็สามารถทำงานได้จากทุกที่ ทุกเวลา
อย่างการทำงานจากบ้าน, ร้านกาแฟ, Co-Working Space
อย่างในประเทศไทย เราคงจะเห็นภาพการทำงานโดยไม่ต้องไปสำนักงานนี้ได้อย่างชัดเจน
ก็คือ การทำงานที่บ้าน (Work From Home) ในช่วงเวลาการระบาดของโควิด 19 นี้นั่นเอง
แต่รู้หรือไม่ว่า สำหรับในต่างประเทศ รูปแบบการทำงานที่ไม่ต้องไปสำนักงานนี้
กลับทำให้พนักงานจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยกันเลยทีเดียว
เพราะจากเดิมที่เคยอยู่ในทำเลเดินทางไปกลับที่สะดวก ระหว่างบ้านและที่ทำงาน
ก็อาจจะย้ายไปยัง “ทำเลชานเมือง” ที่จะสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตส่วนตัวมากขึ้น หรือบางคนอาจเลือกย้ายบ้าน ไปยังเมืองอื่น ๆ ที่มีค่าครองชีพถูกกว่า แต่ก็ยังสามารถทำงานได้ไม่ต่างไปจากเดิม เรียกว่า การทำงานทางไกล (Remote Work)
ทั้งนี้ ก็เพื่อจะได้ประหยัดค่าใช้จ่าย หรือค่าครองชีพอื่น ๆ และมีเงินเหลือให้เก็บออมมากขึ้น
เมื่อเทียบกับการอยู่อาศัยในเมืองใหญ่ ที่มีค่าครองชีพสูงกว่ามาก
แล้วสงสัยไหมว่า “ทำงานที่บ้าน” ต่างจาก “ทำงานทางไกล” อย่างไร ?
หลายคนอาจเข้าใจว่าทั้ง 2 แบบดูคล้ายกันคือ ยังคงทำงานจากที่อื่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าสำนักงาน
แต่ความจริงแล้วรูปแบบการทำงาน 2 แบบข้างต้นกลับมีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ ทั้งสถานการณ์ สถานที่ และรูปแบบการทำงาน เช่น
- การทำงานที่บ้าน (Work From Home)
มักจะเกิดขึ้นได้ไม่บ่อย และไม่ต่อเนื่องยาวนาน โดยในหนึ่งสัปดาห์ อาจต้องเข้าสำนักงานเฉพาะบางวัน หรือในกรณีจำเป็น เช่น มีการประชุมสำคัญ
ส่วนวันทำงานที่เหลือ ก็สามารถนำชิ้นงานหรือพกคอมพิวเตอร์กลับบ้าน เพื่อมาทำต่อให้เสร็จได้
- การทำงานระยะไกล (Remote Work)
มักจะเกิดขึ้นสำหรับพนักงานที่อาจจะไม่ต้องเข้าออฟฟิศเลยตลอดการจ้างงาน
เพียงต้องจัดสรรเวลาเอง เพื่อให้รับผิดชอบชิ้นงานสำเร็จลุล่วง และทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบ
เท่ากับว่า หากมองในแง่ของการอยู่อาศัยและการทำงานแล้ว
พูดง่าย ๆ ว่า “การทำงานที่บ้าน” ยังมีโอกาสที่จะต้องเข้าไปทำงานในสำนักงาน
จึงจำเป็นจะยังต้องอยู่อาศัยในทำเลที่เดินทางไปทำงานได้สะดวก
ขณะที่ “การทำงานระยะไกล” ตัวพนักงานจะมีอิสระในการเลือกที่อยู่อาศัยได้มากกว่า
และยังไม่จำเป็นต้องอยู่ในทำเล หรือในเมืองที่ตั้งเดียวกันกับบริษัทที่ตนเองทำงานอยู่ก็ได้
แล้ว ฝั่งผู้ประกอบการ มองเรื่องนี้อย่างไร ?
ถ้ามองในแง่ของผู้ประกอบการ จะเห็นได้ว่ารูปแบบการทำงานระยะไกล กำลังสร้างความเหลื่อมล้ำในแง่ของฐานเงินเดือนอยู่ไม่น้อย
เพราะฐานเงินเดือนส่วนหนึ่งก็มักจะคำนวณบนฐานของค่าครองชีพ
หากอยู่ในเมืองใหญ่ที่มีค่าครองชีพสูงกว่าปกติ ก็ควรจะได้รับฐานเงินเดือนที่สูงกว่าปกติ
ทำให้บางองค์กรในต่างประเทศ เริ่มมีแนวคิดที่จะปรับอัตราเงินเดือนของกลุ่มพนักงานทำงานทางไกล
ให้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามอัตราค่าครองชีพในภูมิลำเนาที่พนักงานอาศัยอยู่
เช่น Google ที่ประกาศเตรียมปรับฐานเงินเดือนพนักงาน ดังนี้
1. ปรับลดฐานเงินเดือนกลุ่มพนักงานทำงานระยะไกล 15% สำหรับพนักงานที่อยู่อาศัยนอกเขตพื้นที่นิวยอร์กซิตี ทั้ง 5 เขต
2. คงฐานเงินเดือนเดิมกลุ่มพนักงานทำงานที่บ้าน หากยังพักอาศัยในเขตเมือง
จะเห็นได้ว่า หากพนักงานเลือกอาศัยแถบชานเมืองที่ไกลออกไป เมื่อมีค่าครองชีพลดลง ก็จะถูกปรับฐานเงินเดือนใหม่ตามอัตราจ้างของพื้นที่นั้น ๆ
ซึ่งเรื่องนี้ หากมองในแง่ของพนักงานแล้ว..
ต้องยอมรับว่า อาจจะไม่สมเหตุสมผล และไม่ยุติธรรมกับตัวพนักงาน
โดยเฉพาะสำหรับคนที่อาจจะมีบ้านอยู่นอกเขตเมืองก่อนหน้าแล้ว
กลายเป็นว่าบริษัทควรกลับมาทบทวนหลักเกณฑ์ในการปรับค่าจ้างให้ชัดเจน
มากกว่าแค่เพียงกำหนดว่า ที่พักอาศัยของพนักงานอยู่ในเขตเมืองเดียวกับบริษัทหรือไม่
อย่างไรก็ตาม การคำนวณฐานเงินเดือนของพนักงานทำงานทางไกล ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่
เพราะมักจะใช้กับการจ้างงานข้ามประเทศ หรือต่างทวีปในองค์กรใหญ่ที่มีหลายสาขาทั่วโลก
โดยเฉพาะกับ Google ที่มีสาขาและพนักงานอยู่ทั่วโลก ซึ่งจะมีการกำหนดเงินเดือนพนักงานตามอัตราตลาดของแต่ละประเทศอยู่แล้ว
ที่สำคัญอย่าลืมว่า ไม่ว่าจะเป็น “การทำงานที่บ้าน” หรือ “การทำงานทางไกล”
แม้จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แต่ก็ต้องพบเจอค่าใช้จ่ายส่วนตัวในการทำงานอย่าง ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าอินเทอร์เน็ต เพิ่มขึ้นตามมาด้วย
สุดท้ายแล้ว.. ในแง่ของการปรับฐานเงินเดือนพนักงาน
บริษัทควรยึดหลักเกณฑ์ตามอัตราเฉลี่ยของตำแหน่งงาน
รวมถึงพิจารณาตามความสามารถ และศักยภาพในการทำงานของตัวพนักงาน
มากกว่าจะมานั่งมองว่า วันนี้พนักงานอยู่อาศัยในทำเลใด และทำเลนั้นค่าครองชีพมากน้อยเพียงใด..
References
-https://www.inc.com/jason-aten/remote-working-isnt-same-as-working-from-home-heres-difference-why-it-matters-to-your-business.html
-https://www.reuters.com/world/the-great-reboot/pay-cut-google-employees-who-work-home-could-lose-money-2021-08-10/
-https://nypost.com/2021/08/10/google-slashing-pay-for-work-from-home-employees-by-up-to-25/
ถ้าถามว่าหนึ่งในปัจจัยของการเลือกทำเลที่อยู่อาศัยคืออะไร
หนึ่งในนั้นก็คือความสะดวกสบายในการเดินทางไปทำงาน
แต่ทุกวันนี้เทคโนโลยีออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น
เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต ก็สามารถทำงานได้จากทุกที่ ทุกเวลา
อย่างการทำงานจากบ้าน, ร้านกาแฟ, Co-Working Space
อย่างในประเทศไทย เราคงจะเห็นภาพการทำงานโดยไม่ต้องไปสำนักงานนี้ได้อย่างชัดเจน
ก็คือ การทำงานที่บ้าน (Work From Home) ในช่วงเวลาการระบาดของโควิด 19 นี้นั่นเอง
แต่รู้หรือไม่ว่า สำหรับในต่างประเทศ รูปแบบการทำงานที่ไม่ต้องไปสำนักงานนี้
กลับทำให้พนักงานจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยกันเลยทีเดียว
เพราะจากเดิมที่เคยอยู่ในทำเลเดินทางไปกลับที่สะดวก ระหว่างบ้านและที่ทำงาน
ก็อาจจะย้ายไปยัง “ทำเลชานเมือง” ที่จะสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตส่วนตัวมากขึ้น หรือบางคนอาจเลือกย้ายบ้าน ไปยังเมืองอื่น ๆ ที่มีค่าครองชีพถูกกว่า แต่ก็ยังสามารถทำงานได้ไม่ต่างไปจากเดิม เรียกว่า การทำงานทางไกล (Remote Work)
ทั้งนี้ ก็เพื่อจะได้ประหยัดค่าใช้จ่าย หรือค่าครองชีพอื่น ๆ และมีเงินเหลือให้เก็บออมมากขึ้น
เมื่อเทียบกับการอยู่อาศัยในเมืองใหญ่ ที่มีค่าครองชีพสูงกว่ามาก
แล้วสงสัยไหมว่า “ทำงานที่บ้าน” ต่างจาก “ทำงานทางไกล” อย่างไร ?
หลายคนอาจเข้าใจว่าทั้ง 2 แบบดูคล้ายกันคือ ยังคงทำงานจากที่อื่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าสำนักงาน
แต่ความจริงแล้วรูปแบบการทำงาน 2 แบบข้างต้นกลับมีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ ทั้งสถานการณ์ สถานที่ และรูปแบบการทำงาน เช่น
- การทำงานที่บ้าน (Work From Home)
มักจะเกิดขึ้นได้ไม่บ่อย และไม่ต่อเนื่องยาวนาน โดยในหนึ่งสัปดาห์ อาจต้องเข้าสำนักงานเฉพาะบางวัน หรือในกรณีจำเป็น เช่น มีการประชุมสำคัญ
ส่วนวันทำงานที่เหลือ ก็สามารถนำชิ้นงานหรือพกคอมพิวเตอร์กลับบ้าน เพื่อมาทำต่อให้เสร็จได้
- การทำงานระยะไกล (Remote Work)
มักจะเกิดขึ้นสำหรับพนักงานที่อาจจะไม่ต้องเข้าออฟฟิศเลยตลอดการจ้างงาน
เพียงต้องจัดสรรเวลาเอง เพื่อให้รับผิดชอบชิ้นงานสำเร็จลุล่วง และทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบ
เท่ากับว่า หากมองในแง่ของการอยู่อาศัยและการทำงานแล้ว
พูดง่าย ๆ ว่า “การทำงานที่บ้าน” ยังมีโอกาสที่จะต้องเข้าไปทำงานในสำนักงาน
จึงจำเป็นจะยังต้องอยู่อาศัยในทำเลที่เดินทางไปทำงานได้สะดวก
ขณะที่ “การทำงานระยะไกล” ตัวพนักงานจะมีอิสระในการเลือกที่อยู่อาศัยได้มากกว่า
และยังไม่จำเป็นต้องอยู่ในทำเล หรือในเมืองที่ตั้งเดียวกันกับบริษัทที่ตนเองทำงานอยู่ก็ได้
แล้ว ฝั่งผู้ประกอบการ มองเรื่องนี้อย่างไร ?
ถ้ามองในแง่ของผู้ประกอบการ จะเห็นได้ว่ารูปแบบการทำงานระยะไกล กำลังสร้างความเหลื่อมล้ำในแง่ของฐานเงินเดือนอยู่ไม่น้อย
เพราะฐานเงินเดือนส่วนหนึ่งก็มักจะคำนวณบนฐานของค่าครองชีพ
หากอยู่ในเมืองใหญ่ที่มีค่าครองชีพสูงกว่าปกติ ก็ควรจะได้รับฐานเงินเดือนที่สูงกว่าปกติ
ทำให้บางองค์กรในต่างประเทศ เริ่มมีแนวคิดที่จะปรับอัตราเงินเดือนของกลุ่มพนักงานทำงานทางไกล
ให้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามอัตราค่าครองชีพในภูมิลำเนาที่พนักงานอาศัยอยู่
เช่น Google ที่ประกาศเตรียมปรับฐานเงินเดือนพนักงาน ดังนี้
1. ปรับลดฐานเงินเดือนกลุ่มพนักงานทำงานระยะไกล 15% สำหรับพนักงานที่อยู่อาศัยนอกเขตพื้นที่นิวยอร์กซิตี ทั้ง 5 เขต
2. คงฐานเงินเดือนเดิมกลุ่มพนักงานทำงานที่บ้าน หากยังพักอาศัยในเขตเมือง
จะเห็นได้ว่า หากพนักงานเลือกอาศัยแถบชานเมืองที่ไกลออกไป เมื่อมีค่าครองชีพลดลง ก็จะถูกปรับฐานเงินเดือนใหม่ตามอัตราจ้างของพื้นที่นั้น ๆ
ซึ่งเรื่องนี้ หากมองในแง่ของพนักงานแล้ว..
ต้องยอมรับว่า อาจจะไม่สมเหตุสมผล และไม่ยุติธรรมกับตัวพนักงาน
โดยเฉพาะสำหรับคนที่อาจจะมีบ้านอยู่นอกเขตเมืองก่อนหน้าแล้ว
กลายเป็นว่าบริษัทควรกลับมาทบทวนหลักเกณฑ์ในการปรับค่าจ้างให้ชัดเจน
มากกว่าแค่เพียงกำหนดว่า ที่พักอาศัยของพนักงานอยู่ในเขตเมืองเดียวกับบริษัทหรือไม่
อย่างไรก็ตาม การคำนวณฐานเงินเดือนของพนักงานทำงานทางไกล ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่
เพราะมักจะใช้กับการจ้างงานข้ามประเทศ หรือต่างทวีปในองค์กรใหญ่ที่มีหลายสาขาทั่วโลก
โดยเฉพาะกับ Google ที่มีสาขาและพนักงานอยู่ทั่วโลก ซึ่งจะมีการกำหนดเงินเดือนพนักงานตามอัตราตลาดของแต่ละประเทศอยู่แล้ว
ที่สำคัญอย่าลืมว่า ไม่ว่าจะเป็น “การทำงานที่บ้าน” หรือ “การทำงานทางไกล”
แม้จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แต่ก็ต้องพบเจอค่าใช้จ่ายส่วนตัวในการทำงานอย่าง ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าอินเทอร์เน็ต เพิ่มขึ้นตามมาด้วย
สุดท้ายแล้ว.. ในแง่ของการปรับฐานเงินเดือนพนักงาน
บริษัทควรยึดหลักเกณฑ์ตามอัตราเฉลี่ยของตำแหน่งงาน
รวมถึงพิจารณาตามความสามารถ และศักยภาพในการทำงานของตัวพนักงาน
มากกว่าจะมานั่งมองว่า วันนี้พนักงานอยู่อาศัยในทำเลใด และทำเลนั้นค่าครองชีพมากน้อยเพียงใด..
References
-https://www.inc.com/jason-aten/remote-working-isnt-same-as-working-from-home-heres-difference-why-it-matters-to-your-business.html
-https://www.reuters.com/world/the-great-reboot/pay-cut-google-employees-who-work-home-could-lose-money-2021-08-10/
-https://nypost.com/2021/08/10/google-slashing-pay-for-work-from-home-employees-by-up-to-25/