ลาออกอย่างไร ให้เป็น มืออาชีพ
16 ก.ย. 2021
ลาออกอย่างไร ให้เป็น มืออาชีพ | THE BRIEFCASE
ถ้าพูดถึงหนึ่งในการตัดสินใจครั้งสำคัญของคนทำงานหลาย ๆ คน
หนึ่งในคำตอบก็คงเป็นเรื่องของการตัดสินใจลาออก..
เพราะการลาออกจากงานนั้น ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงในชีวิตครั้งสำคัญของคนทำงานทุกคน ซึ่งคนจำนวนไม่น้อยก็ต้องเคยผ่านประสบการณ์การลาออกจากงาน กันมาบ้างแล้ว
แต่ไม่ว่าการลาออกนั้นจะเกิดจากความรู้สึก อิ่มตัว หมดไฟ เบื่อหน่ายกับงานที่ทำ ต้องการที่จะออกไปหาประสบการณ์แปลกใหม่ หรือต้องการเติบโตในหน้าที่การงานที่ทำอยู่
สิ่งสำคัญ ที่เราต้องนึกถึงอยู่เสมอก็คือ ไม่ว่าจะเป็นการลาออกแบบไหน ก็ควรเป็นการจากลากันด้วยดี และมีความเป็นมืออาชีพ
แล้วการลาออกแบบมืออาชีพที่ว่านั้น ทำอย่างไร ?
1. บอกหัวหน้าให้รู้ก่อนคนแรก
เมื่อเราตัดสินใจอย่างแน่วแน่แล้วว่า เราจะลาออกเมื่อไร สิ่งแรกที่ควรทำเป็นอันดับแรกเลยคือ การเดินไปบอกหัวหน้าด้วยตัวของเราเอง ซึ่งจะดีกว่าให้คนอื่นไปบอกแทน หรือแม้แต่หัวหน้าได้ยินจากปากคนอื่น
ทั้งนี้ ถ้าการเดินไปบอกหัวหน้าว่า เรากำลังจะลาออกอาจทำให้เรารู้สึกลำบากใจ เราอาจเริ่มต้นด้วยเรื่องดี ๆ ก่อนว่าได้เรียนรู้อะไรจากการทำงานที่นี่บ้าง ได้ประสบการณ์อะไรจากหัวหน้า หลังจากนั้นจึงบอกเหตุผลการลาออกอย่างตรงไปตรงมาด้วยความจริงใจว่าทำไมเราจึงตัดสินใจแบบนั้น
2. แจ้งในเวลาที่เหมาะสม
นอกจาก การแจ้งหัวหน้าเป็นคนแรกแล้ว สิ่งที่สำคัญต่อมาไม่แพ้กันก็คือ การแจ้งในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งในที่นี้ ก็เพื่อเป็นการให้เวลาแก่หัวหน้าและบริษัท ในการเตรียมตัวเพื่อหาคนใหม่มาทำหน้าที่แทนเรา
โดยปกติ บริษัทส่วนใหญ่มักกำหนดว่า คนที่จะลาออกควรแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน หรือในบางตำแหน่งที่ต้องใช้เวลาหาคนมาทดแทนนั้น อาจต้องแจ้งล่วงหน้านานกว่านั้น
เนื่องจากการแจ้งกระชั้นชิดเกินไป ไม่เพียงแต่ทำให้เราไม่มีเวลาจัดการสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงาน แต่ยังทำให้หัวหน้าและบริษัทไม่สามารถหาคนมาทำงานแทนได้ทันอีกด้วย
3. ทำการส่งมอบงานอย่างมืออาชีพ
เมื่อหัวหน้ายอมรับถึงการลาออกของเราแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาก็คือ การเตรียมตัวสำหรับส่งมอบงานอย่างมืออาชีพ โดยควรพยายามสะสางงานที่เรากำลังทำค้างอยู่ให้มากที่สุด ก่อนที่คนใหม่จะมารับงานต่อจากเรา
หรือหากว่าระหว่างที่เรายังอยู่ และบริษัทได้รับคนใหม่เข้ามาแทนเราแล้วนั้น เราก็สามารถสอนงาน ถ่ายทอดเทคนิคที่เรามี ให้คนที่มาใหม่ได้ รวมไปถึงการจัดการเอกสารให้เป็นหมวดหมู่เพื่อให้สะดวกต่อคนที่มารับงานต่อจากเรา
นอกจากนี้ กรณีที่เราเป็นคนติดต่อลูกค้าหรือบุคคลภายนอก เราก็ควรแจ้งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ให้ลูกค้าหรือบุคคลภายนอกทราบ เพื่อให้พวกเขา รวมถึงตัวบริษัทเอง สามารถทำงานต่อไปได้อย่างราบรื่นหลังจากที่เราลาออกไปแล้ว
4. ทำงานอย่างเต็มที่จนวันสุดท้ายของการทำงาน
คนจำนวนไม่น้อย พอตัดสินใจลาออก ก็เริ่มที่จะไม่อยากทำงาน หรือทำงานไม่เต็มที่ เช่น จากที่เคยเข้าประชุมทุกครั้งก็เริ่มไม่อยากเข้า หรือจากที่เคยมาทำงานเช้าก็เริ่มมาสาย
จริง ๆ แล้วไม่ว่าเวลาไหน เมื่อเราได้รับมอบหมายให้ทำงานแล้ว เราควรทำงานของเราให้เต็มที่เช่นเดิมจนวันสุดท้ายของการทำงาน ซึ่งสิ่งนี้จะยิ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพของตัวเรามากขึ้น
5. ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ และจริงใจกับ Exit Interview
เมื่อมีพนักงานลาออก บริษัทหลายแห่ง มักจะมีการทำ Exit Interview ซึ่งเป็นการถามเหตุผลของการลาออก เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์ถึงสาเหตุ หรือแม้แต่กรณีที่มีปัญหา ก็สามารถช่วยให้บริษัทนำไปปรับปรุงแก้ไขปัญหาเหล่านั้นต่อไปได้ในอนาคต
หากถูกเชิญให้เข้าร่วม Exit Interview ก็ควรบอกถึงสาเหตุที่แท้จริง ว่าทำไมเราจึงตัดสินใจแบบนั้น โดยควรตอบคำถามแบบชัดเจน ตรงประเด็น ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ โดยไม่ควรใส่อารมณ์ในขณะที่พูดหรือตอบคำถาม แม้ว่าอาจมีสิ่งที่ทำให้เราหัวเสียจนถึงขนาดต้องตัดสินใจลาออกก็ตาม
6. จัดการเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญในชีวิตของเรา
หลังจากที่เราเตรียมทุกเรื่องที่ว่ามาแล้วนั้น อีกเรื่องที่เราไม่ควรมองข้ามคือ การที่ต้องจัดการกับเรื่องต่าง ๆ ของตัวเอง เช่น หนังสือรับรองการทำงาน การดำเนินการเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพว่าจะย้ายมาที่ใหม่ คงเงินไว้ที่เดิม โอนไปเข้าซื้อกองทุน RMF อื่น หรือตัดสินใจว่าจะถอนออกมาเป็นเงินก้อนดีหรือไม่
นอกจากนี้ เราอาจจะทำการส่งอีเมลไปแจ้งคนอื่น ๆ ที่เราไม่สามารถ หรือไม่สะดวกไปบอกเขาด้วยตนเอง เพื่อแจ้งให้ทราบเรื่องการลาออกของเรา พร้อมทั้งกล่าวขอบคุณ ในสิ่งต่าง ๆ ที่เราได้รับมาตลอดเวลาที่ทำงานด้วยกัน
การจัดการเรื่องเหล่านี้ให้เรียบร้อย จะทำให้การลาออกของเรานั้น ดูมีความเป็นมืออาชีพมากกว่าการที่เราไม่ได้เตรียมตัวทำเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้มาเลย
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็น่าจะได้ไอเดียการลาออกแบบจากลากันด้วยดี และมีความเป็นมืออาชีพไปไม่มากก็น้อย
ซึ่งถ้าเราทำแบบนี้ได้ ไม่เพียงแต่เราจะสร้างความประทับใจให้แก่เจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานเท่านั้น
แต่ยังส่งผลดีต่อตัวเราหลายอย่าง ทั้งในเรื่องของการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับคนเหล่านั้น การได้รับการยอมรับและพูดถึงตัวเราในทางที่ดี
เพราะในอนาคต เราอาจมีโอกาสกลับมาร่วมงาน
กับหัวหน้าเก่าหรือเพื่อนร่วมงานเก่า อีกครั้งก็เป็นได้..
References
-https://www.michaelpage.co.uk/advice/career-advice/making-your-next-career-move/how-leave-good-terms
-https://www.indeed.com/career-advice/career-development/how-to-leave-a-job-on-good-terms
ถ้าพูดถึงหนึ่งในการตัดสินใจครั้งสำคัญของคนทำงานหลาย ๆ คน
หนึ่งในคำตอบก็คงเป็นเรื่องของการตัดสินใจลาออก..
เพราะการลาออกจากงานนั้น ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงในชีวิตครั้งสำคัญของคนทำงานทุกคน ซึ่งคนจำนวนไม่น้อยก็ต้องเคยผ่านประสบการณ์การลาออกจากงาน กันมาบ้างแล้ว
แต่ไม่ว่าการลาออกนั้นจะเกิดจากความรู้สึก อิ่มตัว หมดไฟ เบื่อหน่ายกับงานที่ทำ ต้องการที่จะออกไปหาประสบการณ์แปลกใหม่ หรือต้องการเติบโตในหน้าที่การงานที่ทำอยู่
สิ่งสำคัญ ที่เราต้องนึกถึงอยู่เสมอก็คือ ไม่ว่าจะเป็นการลาออกแบบไหน ก็ควรเป็นการจากลากันด้วยดี และมีความเป็นมืออาชีพ
แล้วการลาออกแบบมืออาชีพที่ว่านั้น ทำอย่างไร ?
1. บอกหัวหน้าให้รู้ก่อนคนแรก
เมื่อเราตัดสินใจอย่างแน่วแน่แล้วว่า เราจะลาออกเมื่อไร สิ่งแรกที่ควรทำเป็นอันดับแรกเลยคือ การเดินไปบอกหัวหน้าด้วยตัวของเราเอง ซึ่งจะดีกว่าให้คนอื่นไปบอกแทน หรือแม้แต่หัวหน้าได้ยินจากปากคนอื่น
ทั้งนี้ ถ้าการเดินไปบอกหัวหน้าว่า เรากำลังจะลาออกอาจทำให้เรารู้สึกลำบากใจ เราอาจเริ่มต้นด้วยเรื่องดี ๆ ก่อนว่าได้เรียนรู้อะไรจากการทำงานที่นี่บ้าง ได้ประสบการณ์อะไรจากหัวหน้า หลังจากนั้นจึงบอกเหตุผลการลาออกอย่างตรงไปตรงมาด้วยความจริงใจว่าทำไมเราจึงตัดสินใจแบบนั้น
2. แจ้งในเวลาที่เหมาะสม
นอกจาก การแจ้งหัวหน้าเป็นคนแรกแล้ว สิ่งที่สำคัญต่อมาไม่แพ้กันก็คือ การแจ้งในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งในที่นี้ ก็เพื่อเป็นการให้เวลาแก่หัวหน้าและบริษัท ในการเตรียมตัวเพื่อหาคนใหม่มาทำหน้าที่แทนเรา
โดยปกติ บริษัทส่วนใหญ่มักกำหนดว่า คนที่จะลาออกควรแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน หรือในบางตำแหน่งที่ต้องใช้เวลาหาคนมาทดแทนนั้น อาจต้องแจ้งล่วงหน้านานกว่านั้น
เนื่องจากการแจ้งกระชั้นชิดเกินไป ไม่เพียงแต่ทำให้เราไม่มีเวลาจัดการสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงาน แต่ยังทำให้หัวหน้าและบริษัทไม่สามารถหาคนมาทำงานแทนได้ทันอีกด้วย
3. ทำการส่งมอบงานอย่างมืออาชีพ
เมื่อหัวหน้ายอมรับถึงการลาออกของเราแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาก็คือ การเตรียมตัวสำหรับส่งมอบงานอย่างมืออาชีพ โดยควรพยายามสะสางงานที่เรากำลังทำค้างอยู่ให้มากที่สุด ก่อนที่คนใหม่จะมารับงานต่อจากเรา
หรือหากว่าระหว่างที่เรายังอยู่ และบริษัทได้รับคนใหม่เข้ามาแทนเราแล้วนั้น เราก็สามารถสอนงาน ถ่ายทอดเทคนิคที่เรามี ให้คนที่มาใหม่ได้ รวมไปถึงการจัดการเอกสารให้เป็นหมวดหมู่เพื่อให้สะดวกต่อคนที่มารับงานต่อจากเรา
นอกจากนี้ กรณีที่เราเป็นคนติดต่อลูกค้าหรือบุคคลภายนอก เราก็ควรแจ้งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ให้ลูกค้าหรือบุคคลภายนอกทราบ เพื่อให้พวกเขา รวมถึงตัวบริษัทเอง สามารถทำงานต่อไปได้อย่างราบรื่นหลังจากที่เราลาออกไปแล้ว
4. ทำงานอย่างเต็มที่จนวันสุดท้ายของการทำงาน
คนจำนวนไม่น้อย พอตัดสินใจลาออก ก็เริ่มที่จะไม่อยากทำงาน หรือทำงานไม่เต็มที่ เช่น จากที่เคยเข้าประชุมทุกครั้งก็เริ่มไม่อยากเข้า หรือจากที่เคยมาทำงานเช้าก็เริ่มมาสาย
จริง ๆ แล้วไม่ว่าเวลาไหน เมื่อเราได้รับมอบหมายให้ทำงานแล้ว เราควรทำงานของเราให้เต็มที่เช่นเดิมจนวันสุดท้ายของการทำงาน ซึ่งสิ่งนี้จะยิ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพของตัวเรามากขึ้น
5. ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ และจริงใจกับ Exit Interview
เมื่อมีพนักงานลาออก บริษัทหลายแห่ง มักจะมีการทำ Exit Interview ซึ่งเป็นการถามเหตุผลของการลาออก เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์ถึงสาเหตุ หรือแม้แต่กรณีที่มีปัญหา ก็สามารถช่วยให้บริษัทนำไปปรับปรุงแก้ไขปัญหาเหล่านั้นต่อไปได้ในอนาคต
หากถูกเชิญให้เข้าร่วม Exit Interview ก็ควรบอกถึงสาเหตุที่แท้จริง ว่าทำไมเราจึงตัดสินใจแบบนั้น โดยควรตอบคำถามแบบชัดเจน ตรงประเด็น ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ โดยไม่ควรใส่อารมณ์ในขณะที่พูดหรือตอบคำถาม แม้ว่าอาจมีสิ่งที่ทำให้เราหัวเสียจนถึงขนาดต้องตัดสินใจลาออกก็ตาม
6. จัดการเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญในชีวิตของเรา
หลังจากที่เราเตรียมทุกเรื่องที่ว่ามาแล้วนั้น อีกเรื่องที่เราไม่ควรมองข้ามคือ การที่ต้องจัดการกับเรื่องต่าง ๆ ของตัวเอง เช่น หนังสือรับรองการทำงาน การดำเนินการเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพว่าจะย้ายมาที่ใหม่ คงเงินไว้ที่เดิม โอนไปเข้าซื้อกองทุน RMF อื่น หรือตัดสินใจว่าจะถอนออกมาเป็นเงินก้อนดีหรือไม่
นอกจากนี้ เราอาจจะทำการส่งอีเมลไปแจ้งคนอื่น ๆ ที่เราไม่สามารถ หรือไม่สะดวกไปบอกเขาด้วยตนเอง เพื่อแจ้งให้ทราบเรื่องการลาออกของเรา พร้อมทั้งกล่าวขอบคุณ ในสิ่งต่าง ๆ ที่เราได้รับมาตลอดเวลาที่ทำงานด้วยกัน
การจัดการเรื่องเหล่านี้ให้เรียบร้อย จะทำให้การลาออกของเรานั้น ดูมีความเป็นมืออาชีพมากกว่าการที่เราไม่ได้เตรียมตัวทำเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้มาเลย
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็น่าจะได้ไอเดียการลาออกแบบจากลากันด้วยดี และมีความเป็นมืออาชีพไปไม่มากก็น้อย
ซึ่งถ้าเราทำแบบนี้ได้ ไม่เพียงแต่เราจะสร้างความประทับใจให้แก่เจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานเท่านั้น
แต่ยังส่งผลดีต่อตัวเราหลายอย่าง ทั้งในเรื่องของการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับคนเหล่านั้น การได้รับการยอมรับและพูดถึงตัวเราในทางที่ดี
เพราะในอนาคต เราอาจมีโอกาสกลับมาร่วมงาน
กับหัวหน้าเก่าหรือเพื่อนร่วมงานเก่า อีกครั้งก็เป็นได้..
References
-https://www.michaelpage.co.uk/advice/career-advice/making-your-next-career-move/how-leave-good-terms
-https://www.indeed.com/career-advice/career-development/how-to-leave-a-job-on-good-terms