“สึนามิแห่งการเปลี่ยนงาน กำลังเกิดขึ้น” คนอเมริกัน เปลี่ยนงาน สูงสุดในรอบ 20 ปี
29 มิ.ย. 2021
“สึนามิแห่งการเปลี่ยนงาน กำลังเกิดขึ้น” คนอเมริกัน เปลี่ยนงาน สูงสุดในรอบ 20 ปี | THE BRIEFCASE
รู้หรือไม่ว่า เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกามีอัตราการเปลี่ยนงานสูงที่สุดในรอบ 20 ปี
หรือที่เรียกกันว่า Turnover Tsunami..
Turnover Tsunami เป็นปรากฏการณ์พนักงานลาออกเพื่อไปทำงานที่บริษัทอื่น ๆ กันเป็นจำนวนมาก
ทำให้บริษัทสูญเสียพนักงานฝีมือดี และมีต้นทุนในการสรรหาพนักงานใหม่เพิ่มขึ้นมา
แล้ว Turnover Tsunami เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?
จากข้อมูลของกระทรวงแรงงานพบว่า ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา
สัดส่วนของแรงงานในสหรัฐอเมริกาที่ตัดสินใจออกจากงานอยู่ที่ 2.7%
เพิ่มขึ้นจาก 1.6% ในปีก่อนหน้า นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2000
นอกจากนี้จากการสำรวจของ Employee Engagement and Retention Report ยังพบอีกว่า
52% ของพนักงานกำลังวางแผนมองหางานใหม่อยู่
ซึ่งปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนงานก็มีหลายอย่าง อาทิ
- บางคนเบื่อการ Work From Home เพราะทำให้รู้สึกถูกตัดขาดจากวัฒนธรรมและค่านิยมของบริษัท
- บางคนกำลังมองหางานที่ให้รายได้สูงขึ้น
เพื่อชดเชยกับบุคคลในครอบครัวที่สูญเสียงานไปในช่วงวิกฤติโรคระบาด
หรือแม้กระทั่งมาตรการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย
ที่ทำให้คนอเมริกันจำนวนมากต้องการหยุดพักจากการทำงาน
เพื่อถอยออกมาดูว่าตัวเองต้องการอะไรจริง ๆ กันแน่
แม้ว่าการเปลี่ยนงาน จะเป็นการกระตุ้นให้ค่าแรงหรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แก่ลูกจ้างเพิ่มขึ้น
ในทางกลับกัน การที่ลูกจ้างลาออก กำลังสร้างต้นทุนและความสูญเสียให้กับบริษัทไม่น้อย
เพราะเมื่อบริษัทสูญเสียพนักงานไป ก็จำเป็นที่จะต้องหาคนมาแทน
ซึ่งกระบวนการสรรหาพนักงานใหม่นี้ ก็มีต้นทุนเพิ่มขึ้นมา
เช่น การหาพนักงานใหม่, การฝึกอบรม
รวมทั้งเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนของการเตรียมความพร้อมสมาชิกใหม่ในทีม
เช่น การแจกจ่ายหน้าที่ให้กับสมาชิกในทีมคนอื่น ๆ มาดูแลพนักงานใหม่
แล้วบริษัทจะป้องกัน Turnover Tsunami นี้ได้อย่างไร ?
สิ่งแรกที่ผู้นำต้องยอมรับคือ การเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก หลังเกิดโรคระบาดโควิด 19
ดังนั้นในฐานะผู้นำองค์กร ต้องมีการสื่อสารอย่างจริงใจภายในองค์กร
เพื่อแสดงให้พนักงานเห็นว่า ผู้นำไม่เพียงจะให้คุณค่ากับพนักงานที่สร้างความสำเร็จให้กับบริษัทเท่านั้น
แต่ยังพร้อมที่จะเดินหน้าต่อไป เพื่อรักษาพนักงานเหล่านั้นไว้ด้วย
รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่พนักงานลาออกในช่วงวิกฤติในครั้งนี้
ก็คือ พนักงานรู้สึกว่าตัวเองขาดการมีส่วนร่วมกับคนในบริษัท
เพราะต้อง Work From Home ทำให้เรารู้สึกเบื่อหน่าย และหมดไฟในการทำงานไปอย่างง่ายดาย
คุณ Sonia Jackson Myles โค้ชผู้บริหาร, CEO ของ The Accord Group
และอดีตผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อของ P&G ได้ให้คำแนะนำว่า
สิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลานี้คือ การให้พนักงานที่ทำงานนอกสถานที่ได้รับโอกาสเท่าเพื่อนร่วมงานที่อยู่ในสำนักงาน และได้รับการดูแล มีส่วนร่วมกับทุกคนในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ
สุดท้ายนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ธุรกิจยังคงต้องขับเคลื่อนองค์กรด้วยพนักงานอยู่เสมอ
หากองค์กรไม่สามารถรักษาพนักงานฝีมือดีเหล่านั้นไว้ได้
ก็อาจโดนสึนามิซัดกระหน่ำเข้าสู่บริษัท จนเกิดความเสียหายที่ยากเกินจะเยียวยา ก็เป็นได้..
References:
-https://www.forbes.com/sites/karadennison/2021/04/27/why-the-2021-turnover-tsunami-is-happening-and-what-business-leaders-can-do-to-prepare/?sh=20bb1b214e6d
-https://www.forbes.com/sites/kevinkruse/2021/06/22/how-to-prevent-the-turnover-tsunami-in-your-organization/?sh=363b10cb60fc
-https://www.wsj.com/articles/forget-going-back-to-the-officepeople-are-just-quitting-instead-11623576602
รู้หรือไม่ว่า เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกามีอัตราการเปลี่ยนงานสูงที่สุดในรอบ 20 ปี
หรือที่เรียกกันว่า Turnover Tsunami..
Turnover Tsunami เป็นปรากฏการณ์พนักงานลาออกเพื่อไปทำงานที่บริษัทอื่น ๆ กันเป็นจำนวนมาก
ทำให้บริษัทสูญเสียพนักงานฝีมือดี และมีต้นทุนในการสรรหาพนักงานใหม่เพิ่มขึ้นมา
แล้ว Turnover Tsunami เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?
จากข้อมูลของกระทรวงแรงงานพบว่า ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา
สัดส่วนของแรงงานในสหรัฐอเมริกาที่ตัดสินใจออกจากงานอยู่ที่ 2.7%
เพิ่มขึ้นจาก 1.6% ในปีก่อนหน้า นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2000
นอกจากนี้จากการสำรวจของ Employee Engagement and Retention Report ยังพบอีกว่า
52% ของพนักงานกำลังวางแผนมองหางานใหม่อยู่
ซึ่งปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนงานก็มีหลายอย่าง อาทิ
- บางคนเบื่อการ Work From Home เพราะทำให้รู้สึกถูกตัดขาดจากวัฒนธรรมและค่านิยมของบริษัท
- บางคนกำลังมองหางานที่ให้รายได้สูงขึ้น
เพื่อชดเชยกับบุคคลในครอบครัวที่สูญเสียงานไปในช่วงวิกฤติโรคระบาด
หรือแม้กระทั่งมาตรการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย
ที่ทำให้คนอเมริกันจำนวนมากต้องการหยุดพักจากการทำงาน
เพื่อถอยออกมาดูว่าตัวเองต้องการอะไรจริง ๆ กันแน่
แม้ว่าการเปลี่ยนงาน จะเป็นการกระตุ้นให้ค่าแรงหรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แก่ลูกจ้างเพิ่มขึ้น
ในทางกลับกัน การที่ลูกจ้างลาออก กำลังสร้างต้นทุนและความสูญเสียให้กับบริษัทไม่น้อย
เพราะเมื่อบริษัทสูญเสียพนักงานไป ก็จำเป็นที่จะต้องหาคนมาแทน
ซึ่งกระบวนการสรรหาพนักงานใหม่นี้ ก็มีต้นทุนเพิ่มขึ้นมา
เช่น การหาพนักงานใหม่, การฝึกอบรม
รวมทั้งเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนของการเตรียมความพร้อมสมาชิกใหม่ในทีม
เช่น การแจกจ่ายหน้าที่ให้กับสมาชิกในทีมคนอื่น ๆ มาดูแลพนักงานใหม่
แล้วบริษัทจะป้องกัน Turnover Tsunami นี้ได้อย่างไร ?
สิ่งแรกที่ผู้นำต้องยอมรับคือ การเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก หลังเกิดโรคระบาดโควิด 19
ดังนั้นในฐานะผู้นำองค์กร ต้องมีการสื่อสารอย่างจริงใจภายในองค์กร
เพื่อแสดงให้พนักงานเห็นว่า ผู้นำไม่เพียงจะให้คุณค่ากับพนักงานที่สร้างความสำเร็จให้กับบริษัทเท่านั้น
แต่ยังพร้อมที่จะเดินหน้าต่อไป เพื่อรักษาพนักงานเหล่านั้นไว้ด้วย
รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่พนักงานลาออกในช่วงวิกฤติในครั้งนี้
ก็คือ พนักงานรู้สึกว่าตัวเองขาดการมีส่วนร่วมกับคนในบริษัท
เพราะต้อง Work From Home ทำให้เรารู้สึกเบื่อหน่าย และหมดไฟในการทำงานไปอย่างง่ายดาย
คุณ Sonia Jackson Myles โค้ชผู้บริหาร, CEO ของ The Accord Group
และอดีตผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อของ P&G ได้ให้คำแนะนำว่า
สิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลานี้คือ การให้พนักงานที่ทำงานนอกสถานที่ได้รับโอกาสเท่าเพื่อนร่วมงานที่อยู่ในสำนักงาน และได้รับการดูแล มีส่วนร่วมกับทุกคนในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ
สุดท้ายนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ธุรกิจยังคงต้องขับเคลื่อนองค์กรด้วยพนักงานอยู่เสมอ
หากองค์กรไม่สามารถรักษาพนักงานฝีมือดีเหล่านั้นไว้ได้
ก็อาจโดนสึนามิซัดกระหน่ำเข้าสู่บริษัท จนเกิดความเสียหายที่ยากเกินจะเยียวยา ก็เป็นได้..
References:
-https://www.forbes.com/sites/karadennison/2021/04/27/why-the-2021-turnover-tsunami-is-happening-and-what-business-leaders-can-do-to-prepare/?sh=20bb1b214e6d
-https://www.forbes.com/sites/kevinkruse/2021/06/22/how-to-prevent-the-turnover-tsunami-in-your-organization/?sh=363b10cb60fc
-https://www.wsj.com/articles/forget-going-back-to-the-officepeople-are-just-quitting-instead-11623576602