เพราะพนักงาน กลัวความล้มเหลว จึงทำให้ Enron ล้มละลาย
22 มิ.ย. 2021
เพราะพนักงาน กลัวความล้มเหลว จึงทำให้ Enron ล้มละลาย | THE BRIEFCASE
ถ้าพูดถึงกรณีศึกษาสุดคลาสสิกของการฉ้อโกงและการล้มละลายของบริษัทใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
คดีของ “Enron” ก็จะติด Top List ที่ต้องพูดถึงแน่นอน
“Enron” เป็นอดีตบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
ที่ล้มละลายจากการถูกตรวจพบว่ามีการรายงานผลประกอบการสวยหรูเกินจริง เพราะบริษัทรายงานการรับรู้รายได้ จากส่วนที่ไม่ได้เป็นรายได้ของบริษัทจริง ๆ
ต้องบอกก่อนว่า นอกจากในแง่มุมของการเงินแล้ว
ส่วนผสมที่ทำให้บริษัทแห่งนี้เดินทางสู่หายนะนั้น ก็ยังมีมากมาย
ซึ่งในแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ Mindset ที่ไม่ถูกต้องของผู้บริหาร ซึ่งส่งผลมายังการทำงานของพนักงาน จนนำพาบริษัทสู่การล้มละลายในที่สุด
Carol Dweck นักจิตวิทยาจากสแตนฟอร์ด ได้เขียนถึงเรื่องราวของบริษัท Enron ว่า
หนึ่งในสาเหตุ ที่องค์กรพลังงานยักษ์ใหญ่นี้ล้มละลาย
เพราะผู้บริหารขาดการสนับสนุนใน กระบวนการคิดแบบเติบโต หรือ Growth Mindset
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ขาดกระบวนการคิดที่อยากจะเรียนรู้สิ่งใหม่ ขาดกระบวนการคิดที่จะยอมรับ เข้าใจ และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเองและการทำงานจากปัญหาที่เจอ
ต้องเล่าพื้นเพของบริษัท Enron ก่อนว่า
Enron ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1985 โดยเป้าหมายหลักของบริษัท คือ การเข้าไปซื้อบริษัทต่าง ๆ ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงาน เพื่อขยายธุรกิจให้ครอบคลุมพลังงานหลากหลายรูปแบบ
โดยเฉพาะธุรกิจก๊าซ ไฟฟ้า นอกจากนั้นยังขยายไปถึง ธุรกิจสื่อสาร และธุรกิจผลิตเยื่อกระดาษ
ช่วงก่อนที่จะล้มละลาย Enron เคยมีมูลค่าบริษัทสูงถึง 2 ล้านล้านบาท ทำให้ Enron เคยถูกจัดให้เป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 7
และเรื่องที่นักจิตวิทยาต่างให้ความสนใจก็คือ
บริษัท Enron เป็นบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กร ที่ทำให้ทุกคนหลงใหลแต่เรื่องของความเก่ง สติปัญญา หรือเรื่องพรสวรรค์ต่าง ๆ ซึ่งคนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้น ที่จะได้รับการชื่นชมและยกย่องจากคนระดับสูงในองค์กร
จนเกิดเป็นวัฒนธรรมที่เลวร้าย นั่นก็คือ “วัฒนธรรมของการโกหกและปกปิดเมื่อเจอกับปัญหา” แทนที่จะยอมรับในความผิดพลาด และช่วยกันวางกลยุทธ์และหาวิธีแก้ปัญหา
ซึ่งการโกหกนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ ระดับพนักงานไปจนถึงผู้บริหารระดับสูง
ทาง Jeffrey Skilling อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท
ก็เคยบอกกับนักลงทุน และนักวิเคราะห์ว่า
“ธุรกิจของเราไม่มีอะไรให้ต้องสงสัย บริษัท Enron นั้นทำธุรกิจง่าย ๆ และชัดเจน ใครที่ยังสงสัยในธุรกิจของ Enron แสดงว่า เป็นคนที่ไม่เคยรู้จักเราอย่างแท้จริง”
ในตอนนั้นนักลงทุนก็ให้ความไว้วางใจและเชื่อว่า Enron จะยังคงเติบโตได้ดี แต่สุดท้ายก็มีคนจับสังเกตได้ว่า เบื้องหลังของ Enron ไม่ได้ดูดีเหมือนอย่างที่ Jeffrey Skilling ขายฝัน
โดย Enron มีการตกแต่งงบการเงิน และบันทึกผลกำไรที่ยังไม่เคยทำกำไรได้จริง ๆ
สุดท้ายเมื่อหลักฐานปรากฏชัด ราคาหุ้นของบริษัทก็ลดลงจนเหลือเพียง 0.61 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น จากราคา 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น ในตอนช่วงที่บริษัทกำลังรุ่งโรจน์และทุกคนเชื่อมั่น
Enron กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าการล้มละลายสูงสุดของสหรัฐอเมริกา
พนักงานกว่าสามหมื่นคนก็ต้องตกงานในทันที..
เหตุการณ์นี้ทำให้ Carol Dweck นักจิตวิทยาได้วิเคราะห์ว่า การล้มละลายนี้เกิดจากการที่ไม่มีใคร อยากยอมรับความล้มเหลวทุกประการเลย เพราะวัฒนธรรมขององค์กรนั้น ไม่ยอมรับในการทำผิดพลาด และไม่มีการส่งเสริมให้ทีม ได้เรียนรู้จากความล้มเหลว
Carol Dweck จึงมองว่า องค์กรควรส่งเสริมวัฒนธรรม ที่ยอมรับความล้มเหลวหรือความผิดพลาด และสอนให้ทุกคนเรียนรู้บทเรียนจากปัญหาให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแจ้งแผนปรับปรุงอย่างชัดเจน
ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องเกิดจากการมี Growth Mindset ที่แข็งแรง คือต้องเต็มใจรับความผิดพลาด แล้วเอาความผิดพลาดนั้นมาเรียนรู้ และพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม
และที่สำคัญ ต้องเริ่มตั้งแต่ผู้บริหาร ไปจนถึงพนักงานทุกคนในองค์กร
จากเรื่องนี้เราก็คงจะได้เห็นแล้วว่า
การส่งเสริมแต่เรื่องความเก่ง จนทุกคนกลัวความล้มเหลว และมองแต่เป้าหมายของตัวเอง อาจเป็นปัญหาที่ใหญ่ และร้ายแรงกว่าที่เราคิด
และมันก็เคยทำให้ อดีตบริษัทใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก ล้มละลายมาแล้ว..
References:
-https://stanfordmag.org/contents/the-effort-effect
-https://www.business.com/articles/a-strategy-for-applying-the-growth-mindset-concept-to-your-business/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Enron
-https://www.forbes.com/2002/01/15/0115enron.html?sh=5bf607e13c9c
ถ้าพูดถึงกรณีศึกษาสุดคลาสสิกของการฉ้อโกงและการล้มละลายของบริษัทใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
คดีของ “Enron” ก็จะติด Top List ที่ต้องพูดถึงแน่นอน
“Enron” เป็นอดีตบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
ที่ล้มละลายจากการถูกตรวจพบว่ามีการรายงานผลประกอบการสวยหรูเกินจริง เพราะบริษัทรายงานการรับรู้รายได้ จากส่วนที่ไม่ได้เป็นรายได้ของบริษัทจริง ๆ
ต้องบอกก่อนว่า นอกจากในแง่มุมของการเงินแล้ว
ส่วนผสมที่ทำให้บริษัทแห่งนี้เดินทางสู่หายนะนั้น ก็ยังมีมากมาย
ซึ่งในแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ Mindset ที่ไม่ถูกต้องของผู้บริหาร ซึ่งส่งผลมายังการทำงานของพนักงาน จนนำพาบริษัทสู่การล้มละลายในที่สุด
Carol Dweck นักจิตวิทยาจากสแตนฟอร์ด ได้เขียนถึงเรื่องราวของบริษัท Enron ว่า
หนึ่งในสาเหตุ ที่องค์กรพลังงานยักษ์ใหญ่นี้ล้มละลาย
เพราะผู้บริหารขาดการสนับสนุนใน กระบวนการคิดแบบเติบโต หรือ Growth Mindset
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ขาดกระบวนการคิดที่อยากจะเรียนรู้สิ่งใหม่ ขาดกระบวนการคิดที่จะยอมรับ เข้าใจ และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเองและการทำงานจากปัญหาที่เจอ
ต้องเล่าพื้นเพของบริษัท Enron ก่อนว่า
Enron ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1985 โดยเป้าหมายหลักของบริษัท คือ การเข้าไปซื้อบริษัทต่าง ๆ ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงาน เพื่อขยายธุรกิจให้ครอบคลุมพลังงานหลากหลายรูปแบบ
โดยเฉพาะธุรกิจก๊าซ ไฟฟ้า นอกจากนั้นยังขยายไปถึง ธุรกิจสื่อสาร และธุรกิจผลิตเยื่อกระดาษ
ช่วงก่อนที่จะล้มละลาย Enron เคยมีมูลค่าบริษัทสูงถึง 2 ล้านล้านบาท ทำให้ Enron เคยถูกจัดให้เป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 7
และเรื่องที่นักจิตวิทยาต่างให้ความสนใจก็คือ
บริษัท Enron เป็นบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กร ที่ทำให้ทุกคนหลงใหลแต่เรื่องของความเก่ง สติปัญญา หรือเรื่องพรสวรรค์ต่าง ๆ ซึ่งคนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้น ที่จะได้รับการชื่นชมและยกย่องจากคนระดับสูงในองค์กร
จนเกิดเป็นวัฒนธรรมที่เลวร้าย นั่นก็คือ “วัฒนธรรมของการโกหกและปกปิดเมื่อเจอกับปัญหา” แทนที่จะยอมรับในความผิดพลาด และช่วยกันวางกลยุทธ์และหาวิธีแก้ปัญหา
ซึ่งการโกหกนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ ระดับพนักงานไปจนถึงผู้บริหารระดับสูง
ทาง Jeffrey Skilling อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท
ก็เคยบอกกับนักลงทุน และนักวิเคราะห์ว่า
“ธุรกิจของเราไม่มีอะไรให้ต้องสงสัย บริษัท Enron นั้นทำธุรกิจง่าย ๆ และชัดเจน ใครที่ยังสงสัยในธุรกิจของ Enron แสดงว่า เป็นคนที่ไม่เคยรู้จักเราอย่างแท้จริง”
ในตอนนั้นนักลงทุนก็ให้ความไว้วางใจและเชื่อว่า Enron จะยังคงเติบโตได้ดี แต่สุดท้ายก็มีคนจับสังเกตได้ว่า เบื้องหลังของ Enron ไม่ได้ดูดีเหมือนอย่างที่ Jeffrey Skilling ขายฝัน
โดย Enron มีการตกแต่งงบการเงิน และบันทึกผลกำไรที่ยังไม่เคยทำกำไรได้จริง ๆ
สุดท้ายเมื่อหลักฐานปรากฏชัด ราคาหุ้นของบริษัทก็ลดลงจนเหลือเพียง 0.61 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น จากราคา 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น ในตอนช่วงที่บริษัทกำลังรุ่งโรจน์และทุกคนเชื่อมั่น
Enron กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าการล้มละลายสูงสุดของสหรัฐอเมริกา
พนักงานกว่าสามหมื่นคนก็ต้องตกงานในทันที..
เหตุการณ์นี้ทำให้ Carol Dweck นักจิตวิทยาได้วิเคราะห์ว่า การล้มละลายนี้เกิดจากการที่ไม่มีใคร อยากยอมรับความล้มเหลวทุกประการเลย เพราะวัฒนธรรมขององค์กรนั้น ไม่ยอมรับในการทำผิดพลาด และไม่มีการส่งเสริมให้ทีม ได้เรียนรู้จากความล้มเหลว
Carol Dweck จึงมองว่า องค์กรควรส่งเสริมวัฒนธรรม ที่ยอมรับความล้มเหลวหรือความผิดพลาด และสอนให้ทุกคนเรียนรู้บทเรียนจากปัญหาให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแจ้งแผนปรับปรุงอย่างชัดเจน
ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องเกิดจากการมี Growth Mindset ที่แข็งแรง คือต้องเต็มใจรับความผิดพลาด แล้วเอาความผิดพลาดนั้นมาเรียนรู้ และพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม
และที่สำคัญ ต้องเริ่มตั้งแต่ผู้บริหาร ไปจนถึงพนักงานทุกคนในองค์กร
จากเรื่องนี้เราก็คงจะได้เห็นแล้วว่า
การส่งเสริมแต่เรื่องความเก่ง จนทุกคนกลัวความล้มเหลว และมองแต่เป้าหมายของตัวเอง อาจเป็นปัญหาที่ใหญ่ และร้ายแรงกว่าที่เราคิด
และมันก็เคยทำให้ อดีตบริษัทใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก ล้มละลายมาแล้ว..
References:
-https://stanfordmag.org/contents/the-effort-effect
-https://www.business.com/articles/a-strategy-for-applying-the-growth-mindset-concept-to-your-business/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Enron
-https://www.forbes.com/2002/01/15/0115enron.html?sh=5bf607e13c9c