คุยกับเจ้าของแบรนด์ “เจ-ปัง” จากทำไอศกรีมโฮมเมด ย่านวังหลัง สู่ไอศกรีมขึ้นห้าง ทั่วกรุงเทพฯ
16 ก.พ. 2024
คุยกับเจ้าของแบรนด์ “เจ-ปัง” จากทำไอศกรีมโฮมเมด ย่านวังหลัง สู่ไอศกรีมขึ้นห้าง ทั่วกรุงเทพฯ | BrandCase
ขนมปังปิ้งเนยหอม ๆ ทานคู่กับไอศกรีม
เชื่อว่าเมนูที่เรียบง่ายนี้ น่าจะเป็นเมนูโปรดของใครหลาย ๆ คน
เชื่อว่าเมนูที่เรียบง่ายนี้ น่าจะเป็นเมนูโปรดของใครหลาย ๆ คน
แต่ตอนนี้ก็มีร้านหนึ่งที่คิดเมนูนี้มาขายเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่กลายเป็นหนึ่งในร้านที่ครองใจคนที่ชอบเมนูนี้ไปแล้ว
ร้านที่ว่านี้ก็คือ “เจ-ปัง”
ร้านที่ขายเมนูขนมปังย่างเนย ใส่ไอศกรีม หรือที่ทางร้านเรียกว่า ไอศกรีมย่างเนย ตอนนี้มีจำนวนกว่า 25 สาขาทั่วกรุงเทพมหานคร
ร้านที่ขายเมนูขนมปังย่างเนย ใส่ไอศกรีม หรือที่ทางร้านเรียกว่า ไอศกรีมย่างเนย ตอนนี้มีจำนวนกว่า 25 สาขาทั่วกรุงเทพมหานคร
และที่น่าสนใจคือ เมนูไอศกรีมย่างเนยนี้ มีขายตามศูนย์การค้าชื่อดังต่าง ๆ โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 69 บาทเท่านั้น
BrandCase มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณโฎม รัตนวชิรินทร์ หรือคุณโดม เจ้าของแบรนด์เจ-ปัง
แล้วเรื่องราวของ เจ-ปัง น่าสนใจอย่างไร ? ..
ก่อนอื่นต้องมาเล่าก่อนสักนิดว่า แต่เดิมครอบครัวของคุณโดมนั้นทำธุรกิจขายเสื้อผ้ามาก่อน รวมถึงตัวคุณโดมเองด้วย
จนวันหนึ่งเพื่อน ๆ ของคุณพ่อของคุณโดม ชักชวนไปลงทุนช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกร ที่เพาะปลูกแบบไร้สารพิษ
โดยการรับซื้อน้ำตาลอ้อยมาจากเกษตรกร
โดยการรับซื้อน้ำตาลอ้อยมาจากเกษตรกร
ทีนี้รับซื้อมาแล้ว จึงมีไอเดียว่า อยากนำผลิตภัณฑ์เหล่านี้มาต่อยอด
คุณพ่อจึงตัดสินใจนำน้ำตาลเหล่านั้นมาทำเป็นไอศกรีมโฮมเมดแทน
และได้เปิดเป็นร้านไอศกรีมที่ย่านวังหลัง โดยตั้งชื่อว่าร้านไอศกรีม “เป่ายิงฉุบ” โดยในช่วงนั้นมีคุณป้าของคุณโดมมาช่วยขาย
และได้เปิดเป็นร้านไอศกรีมที่ย่านวังหลัง โดยตั้งชื่อว่าร้านไอศกรีม “เป่ายิงฉุบ” โดยในช่วงนั้นมีคุณป้าของคุณโดมมาช่วยขาย
ต้องบอกว่าในช่วงแรกนั้น ด้วยความที่เป็นไอศกรีมโฮมเมดทั่วไป ทำให้ตีตลาดได้ค่อนข้างยาก
คุณโดมจึงคิดไอเดีย ว่าจะทำอย่างไรให้ไอศกรีมที่ร้านมีจุดเด่นมากขึ้น
คุณโดมจึงคิดไอเดีย ว่าจะทำอย่างไรให้ไอศกรีมที่ร้านมีจุดเด่นมากขึ้น
ซึ่งในช่วงนั้น เทรนด์ของการย่างเนยกำลังมา หรือพูดง่าย ๆ ในตอนนั้นมีกระแสของการ ปิ้งย่าง ที่เน้นใส่เนยเยอะ ๆ ชุ่ม ๆ
คุณโดมเลยมองว่าขนมปังน่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะที่สุด ในการทานคู่กับไอศกรีม
และแน่นอนว่า ต้องใส่เนยและย่างจนหอมด้วย โดยตั้งชื่อเมนูนี้ว่า “ไอศกรีมย่างเนย”
และแน่นอนว่า ต้องใส่เนยและย่างจนหอมด้วย โดยตั้งชื่อเมนูนี้ว่า “ไอศกรีมย่างเนย”
ในตอนแรกนั้นก็นำมาทดลองขายให้กับลูกค้าที่สาขาวังหลัง
คุณโดมและคุณป้าใช้วิธีให้ทดลองชิมกันฟรี ๆ บ้าง โดยยังไม่ได้ตั้งราคา
คุณโดมและคุณป้าใช้วิธีให้ทดลองชิมกันฟรี ๆ บ้าง โดยยังไม่ได้ตั้งราคา
ซึ่งสุดท้ายก็ได้ราคาแรก ของเมนูขนมปังย่างเนย โปะไอศกรีม 1 ลูก ที่ราคา 59 บาท
และหลังจากนั้น จากร้านไอศกรีมเป่ายิงฉุบ ก็เปลี่ยนชื่อไปเป็นร้าน เจ-ปัง ในเดือนสิงหาคม ปี 2565
ซึ่งผลตอบรับของสาขาแรกนั้นก็เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก
ทีนี้พอสาขาต่อไป คุณโดมจึงมองหาสถานที่ใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพมากขึ้น
ทีนี้พอสาขาต่อไป คุณโดมจึงมองหาสถานที่ใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพมากขึ้น
โดยสาขาที่สองที่เลือกไปเปิดก็คือ สาขาเซ็นทรัลพระราม 2
ซึ่งหลักในการเลือกทำเลในเวลานั้น อย่างแรกคือ เป็นศูนย์การค้าที่ใกล้โรงงานไอศกรีมโฮมเมดของเจ-ปัง
ข้อสองก็คือเรื่องของ Traffic ผู้คน
โดยคุณโดมให้ข้อมูลว่าเซ็นทรัลพระราม 2 นั้น ถือเป็นศูนย์การค้า ระดับท็อป 5 ของเครือเซ็นทรัล ที่มีคนไปเดินมากที่สุด
โดยคุณโดมให้ข้อมูลว่าเซ็นทรัลพระราม 2 นั้น ถือเป็นศูนย์การค้า ระดับท็อป 5 ของเครือเซ็นทรัล ที่มีคนไปเดินมากที่สุด
คุณโดมจึงตัดสินใจเลือกไปเปิดสาขาที่นั่น โดยตั้งอยู่ที่บริเวณฟูดคอร์ต ซึ่งสาขานี้ก็ได้ผลตอบรับที่ดีเช่นกัน
ดังนั้นพอสาขาต่อไป คุณโดมจึงเลือกไปเปิดที่ใจกลางเมืองไปเลย อย่างศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งสาขานี้เองที่เป็นตัวทำให้ เจ-ปัง กลายเป็นกระแสในเวลาต่อมา
ด้วยความที่เป็นศูนย์การค้าใจกลางเมือง ทำให้คนรุ่นใหม่ วัยรุ่น วัยทำงานแวะเวียนมาอุดหนุนกันมากขึ้น รวมถึงนักรีวิวต่าง ๆ ก็พากันมารีวิวเมนูนี้ จนกลายเป็นกระแสบนโลกโซเชียลมีเดียอยู่พักหนึ่ง
ซึ่งพอคนมารีวิวมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้คนต่างพากันมาลอง และทำให้ เจ-ปัง กลายเป็นที่รู้จักขึ้นมาในเวลานั้น
ทีนี้พอสาขาที่ 1, 2, 3 สำเร็จแล้ว นั่นก็พอจะพิสูจน์ได้แล้วว่า ธุรกิจของเจ-ปังกำลังมาถูกทาง
เพราะหลังจากนั้นในระยะเวลาประมาณ 1 ปี เจ-ปัง ก็มีสาขาทั้งหมดทั่วกรุงเทพมหานครแล้ว กว่า 25 สาขา ยังไม่รวมถึงสาขาที่เป็นพ็อปอัป ตามงานอิเวนต์ต่าง ๆ ด้วย
แล้วถ้าถามว่าโมเดลแห่งความสำเร็จของ เจ-ปัง คืออะไร ?
ให้ลูกค้ารู้สึกถึงความคุ้มค่า คุ้มราคา จริงใจกับผู้บริโภค
นอกจากไอศกรีมโฮมเมดที่ทำจากน้ำตาลอ้อยออร์แกนิกแล้ว
ทางร้านยังเลือกใช้ขนมปังคุณภาพดี ที่ให้รสสัมผัสหนานุ่ม กับเนยพรีเมียมสูตรพิเศษของทางร้าน ที่ใส่ให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า และนำไปจี่บนเตาจนหอมกรอบ
ทางร้านยังเลือกใช้ขนมปังคุณภาพดี ที่ให้รสสัมผัสหนานุ่ม กับเนยพรีเมียมสูตรพิเศษของทางร้าน ที่ใส่ให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า และนำไปจี่บนเตาจนหอมกรอบ
ซึ่งทั้งหมดนี้มีราคาเริ่มต้นเพียง 69 บาท
ถือว่าเป็นราคาที่คนวัยรุ่น วัยทำงาน สามารถเข้าถึงได้ และอิ่มท้องกำลังดี
ถือว่าเป็นราคาที่คนวัยรุ่น วัยทำงาน สามารถเข้าถึงได้ และอิ่มท้องกำลังดี
โดยคุณโดมกล่าวว่า การที่ขายราคานี้ ก็อาจไม่ได้ทำกำไรมากนัก แต่ที่แน่ ๆ ก็คือไอศกรีมนี้ได้ใจของลูกค้าไปอย่างแน่นอน
เพราะคุณโดมมองว่า การที่เราจะขายสินค้าชิ้นหนึ่ง เราไม่อยากให้เขารู้สึกว่า มาทานครั้งเดียวแต่ไม่อยากกลับมาทานอีกเลย เพราะรู้สึกว่าไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
แต่อยากให้ทุกคนรู้สึกว่า เจ-ปัง นั้นเป็นเมนูที่สามารถมาทานได้บ่อย ๆ
ขนาดของร้านที่ไม่ใหญ่มาก ทำให้ประหยัดค่าเช่าพื้นที่ได้ส่วนหนึ่ง
คุณโดมให้ข้อมูลว่า ด้วยขนาดตัวร้านนั้นมีขนาดค่อนข้างเล็ก โดยส่วนมากจะทำเป็นแบบ Kiosk หรือเป็นรถเข็นคันเล็ก ๆ
ซึ่งทำให้สามารถไปเช่าพื้นที่เล็ก ๆ บนห้างได้ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าเช่าที่จำนวนมาก
ซึ่งทำให้สามารถไปเช่าพื้นที่เล็ก ๆ บนห้างได้ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าเช่าที่จำนวนมาก
อย่างเช่น สาขาแรกที่ขึ้นศูนย์การค้าที่เซ็นทรัลพระราม 2 ก็ไปเปิดที่บริเวณฟูดคอร์ต
ซึ่งในการทำหน้าร้าน เจ-ปัง แต่ละร้านก็ไม่ได้ใช้อุปกรณ์มากเท่าร้านอาหารอื่น ๆ เพียงมีตู้แช่ไอศกรีม เตาย่าง และอุปกรณ์อื่น ๆ ก็สามารถเปิดหน้าร้านได้แล้ว
โดยสำหรับสาขาที่เซ็นทรัลพระราม 2 นั้นก็ใช้งบประมาณไปประมาณ 30,000 บาท รวมค่าอุปกรณ์ การตกแต่งทั้งหมด (ไม่ได้รวมค่าเช่ารายเดือนและค่ามัดจำ)
แต่ทั้งนี้การขึ้นห้างนั้นจะมีการเก็บค่าเช่าเป็นแบบ GP หรือเก็บตามเปอร์เซ็นต์ยอดขาย
ทำให้คุณโดมต้องตัดสินใจขึ้นราคามาเป็น 69 บาท (เพิ่มขึ้นมาจากเดิมที่สาขาวังหลัง 10 บาท) เป็นราคาที่ขายอยู่ปัจจุบันนั่นเอง
เมนูธรรมดาแต่ก็ทำให้ Photogenic ได้
คำว่า Photogenic ในที่นี้หมายถึง การทำให้สินค้าของเราถ่ายรูปออกมาสวยดูดี น่าทาน หรือพูดง่าย ๆ ว่าขึ้นกล้องนั่นเอง
เชื่อว่าใครที่เคยไปลองจะต้องมีโอกาสได้ถ่ายรูปเมนูนี้ ลงโซเชียลมีเดีย
เพราะนอกจากจะทำออกมาได้ดูดี น่าทานแล้ว ตัวแพ็กเกจจิงที่ดูเรียบง่ายนั้น แต่ความจริงก็ใส่ใจรายละเอียดลงไปมากเช่นกัน
เพราะนอกจากจะทำออกมาได้ดูดี น่าทานแล้ว ตัวแพ็กเกจจิงที่ดูเรียบง่ายนั้น แต่ความจริงก็ใส่ใจรายละเอียดลงไปมากเช่นกัน
โดยคุณโดมให้ข้อมูลว่า ในช่วงวันวาเลนไทน์นี้ก็จะมีการปรับแพ็กเกจจิงกล่องที่ใส่ตัวขนมปังให้สนุกมากขึ้น
โดยมีการใส่ประโยคว่า I love … แล้วให้ลูกค้าใช้ปากกาเขียนชื่ออะไรก็ได้ลงไป ระหว่างรอพนักงานย่างขนมปัง
หรือในอนาคตก็มีแผนที่จะ Collab กับศิลปินต่าง ๆ มาวาดลวดลาย หรือมาร่วมมือทำไอศกรีมรสใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นด้วย
ซึ่งด้วยการตกแต่งของทั้งจากตัวร้านที่เน้นใช้สีแดง และป้ายผ้าสี่เหลี่ยมแบบร้านญี่ปุ่น พนักงานก็มียูนิฟอร์มสีแดงชัดเจน ก็ทำให้หลาย ๆ คน มักจะถ่ายรูปขนมปังที่ติดหน้าร้านลงโซเชียลมีเดียกัน
ซึ่งเรื่องนี้ก็เหมือนเป็นการโปรโมตตัวร้านให้แบบฟรี ๆ ด้วยเช่นกัน
กลยุทธ์การเปิดพ็อปอัป ทดลองตลาดก่อน
ด้วยความที่มูลค่าการลงทุนต่อสาขานั้นไม่ได้สูงมาก ทำให้คุณโดมสามารถขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว
ซึ่งอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่คุณโดมใช้ควบคู่ไปด้วยก็คือการทดลองเปิดสาขาแบบ พ็อปอัป ซึ่งจะใช้เงินลงทุนน้อยกว่า การเปิดสาขาประจำ
โดยหากทำเลไหนที่ประสบความสำเร็จก็จะมีการเปลี่ยนมาเป็นสาขาประจำต่อไป
ซึ่งปัจจุบัน เจ-ปัง มีสาขาแบบประจำทั้งหมด 25 สาขาแล้ว ทั้งนี้ยังไม่รวมสาขาพ็อปอัปตามงานอิเวนต์ต่าง ๆ
ซึ่งปัจจุบัน เจ-ปัง มีสาขาแบบประจำทั้งหมด 25 สาขาแล้ว ทั้งนี้ยังไม่รวมสาขาพ็อปอัปตามงานอิเวนต์ต่าง ๆ
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นโมเดลที่ทำให้ เจ-ปัง สามารถครองใจผู้บริโภคได้ในหลาย ๆ มิติ
โดยหากคิดเป็นค่าเฉลี่ยแล้ว ในปี 2566 ที่ผ่านมา เจ-ปังสามารถขายได้ประมาณ วันละ 1,000 ชิ้น รวมทุกสาขา
ทีนี้คุณโดมยังเสริมอีกว่า ในอนาคตนั้น เจ-ปัง จะไม่ได้เป็นแค่ร้านแบบ Kiosk เหมือนเดิมแล้ว
โดยต่อไปคุณโดมมีแผนที่จะพัฒนาให้ เจ-ปัง มีแบบเป็นร้านมีที่นั่ง และอาจจะมีเมนูอื่น ๆ มาเสริม เพิ่มความหลากหลายมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้จะมีการเน้นการจัดตามงานอิเวนต์นอกสถานที่ หรือที่เรียกว่า Catering เพิ่มมากขึ้น
และไฮไลต์สุดท้ายคือ
เป้าหมายสู่การเป็นแฟรนไชส์ไอศกรีมย่างเนย ที่ต้องบอกว่าทางคุณโดมก็กำลังมุ่งมั่นพัฒนาอย่างจริงจัง
ซึ่งถ้าทุกอย่างลงตัวเมื่อไร ก็พร้อมที่จะปล่อยเป็นแฟรนไชส์แน่นอน..
เป้าหมายสู่การเป็นแฟรนไชส์ไอศกรีมย่างเนย ที่ต้องบอกว่าทางคุณโดมก็กำลังมุ่งมั่นพัฒนาอย่างจริงจัง
ซึ่งถ้าทุกอย่างลงตัวเมื่อไร ก็พร้อมที่จะปล่อยเป็นแฟรนไชส์แน่นอน..
และปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ที่มาของชื่อ เจ-ปัง นั้นมาจาก คำว่า Japan บวกกับ ขนมปัง
ซึ่งถ้าเขียนเป็นภาษาอังกฤษจะเป็น Japang ซึ่งก็มาจากความชื่นชอบในวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ใส่ใจในรายละเอียด
รวมถึงตัวคุณโดมเองก็ชอบในการนำหลัก Kaizen ซึ่งเป็นหลักเรื่องการควบคุมระบบ ควบคุมคุณภาพของคนญี่ปุ่น
มาเป็นหลักในการทำงาน และการดำเนินชีวิตด้วย..
มาเป็นหลักในการทำงาน และการดำเนินชีวิตด้วย..
Reference
-สัมภาษณ์พิเศษ คุณโดม-โฎม รัตนวชิรินทร์ เจ้าของแบรนด์เจ-ปัง
-สัมภาษณ์พิเศษ คุณโดม-โฎม รัตนวชิรินทร์ เจ้าของแบรนด์เจ-ปัง