“ริมปิง” ซูเปอร์มาร์เก็ต เจ้าถิ่นในเชียงใหม่ ทำธุรกิจอย่างไร ให้สู้รายใหญ่ได้
7 ต.ค. 2023
“ริมปิง” ซูเปอร์มาร์เก็ต เจ้าถิ่นในเชียงใหม่ ทำธุรกิจอย่างไร ให้สู้รายใหญ่ได้ | BrandCase
ไปซูเปอร์มาร์เก็ตไหนดี ? แน่นอนว่าชื่อของ ท็อปส์, ฟู้ดแลนด์ หรือวิลล่า มาร์เก็ท
น่าจะเป็นชื่ออันดับต้น ๆ ที่ผุดขึ้นมา
แต่หากไปถามคนเชียงใหม่ หนึ่งในคำตอบของหลายคน จะมีชื่อของ “ริมปิง” หรือชื่อเต็ม ๆ คือ ริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ต
ไปซูเปอร์มาร์เก็ตไหนดี ? แน่นอนว่าชื่อของ ท็อปส์, ฟู้ดแลนด์ หรือวิลล่า มาร์เก็ท
น่าจะเป็นชื่ออันดับต้น ๆ ที่ผุดขึ้นมา
แต่หากไปถามคนเชียงใหม่ หนึ่งในคำตอบของหลายคน จะมีชื่อของ “ริมปิง” หรือชื่อเต็ม ๆ คือ ริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ต
รู้หรือไม่ว่า ? ในปีที่ผ่านมา บริษัทเจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้
มีรายได้มากถึง 1,300 ล้านบาท
มีรายได้มากถึง 1,300 ล้านบาท
เรื่องราวของริมปิงจะเป็นอย่างไร ?
แล้ว ริมปิง ใช้กลยุทธ์อะไร ในการแข่งขันกับรายใหญ่ ?
BrandCase จะสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ
แล้ว ริมปิง ใช้กลยุทธ์อะไร ในการแข่งขันกับรายใหญ่ ?
BrandCase จะสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ
เรื่องราวทั้งหมดต้องย้อนกลับไปในปี 2485 หรือประมาณ 81 ปีก่อน
ตระกูลตันตรานนท์ ได้ก่อตั้งห้างตันตราภัณฑ์ขึ้นมาที่ถนนท่าแพ
ซึ่งหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ห้างตันตราภัณฑ์ ถือเป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในเชียงใหม่
ซึ่งหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ห้างตันตราภัณฑ์ ถือเป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในเชียงใหม่
เมื่อกิจการห้างสรรพสินค้าเติบโต จนขยายสาขาเพิ่มได้อีก 2 สาขา
ทำให้ตระกูลตันตรานนท์ เริ่มขยายพอร์ตการลงทุน รุกเข้าสู่ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต
ทำให้ตระกูลตันตรานนท์ เริ่มขยายพอร์ตการลงทุน รุกเข้าสู่ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต
ซึ่งก็คือ “ริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ต” ที่ได้มีการเปิดให้บริการสาขาแรกเมื่อปี 2531
และในเวลาต่อมาเศรษฐกิจของเชียงใหม่มีการเติบโตขึ้น นำมาสู่กำลังซื้อที่มากขึ้น ดึงดูดนักลงทุนให้มาลงทุนในจังหวัดเชียงใหม่เพิ่มขึ้น
ทั้งห้างค้าปลีกสมัยใหม่ และศูนย์การค้าจากกลุ่มทุนใหญ่ของประเทศ ได้เข้ามาเปิดจังหวัดหัวเมืองใหญ่แห่งนี้
ยกตัวอย่างเช่น เซ็นทรัลกาดสวนแก้ว
ซึ่งถือเป็นเซ็นทรัลสาขาต่างจังหวัด สาขาแรกของเครือเซ็นทรัล ก็ได้เข้ามาเปิดที่เชียงใหม่ ในเวลานั้นเช่นเดียวกัน
ซึ่งถือเป็นเซ็นทรัลสาขาต่างจังหวัด สาขาแรกของเครือเซ็นทรัล ก็ได้เข้ามาเปิดที่เชียงใหม่ ในเวลานั้นเช่นเดียวกัน
ในเวลานั้น ตระกูลตันตรานนท์จึงได้ตัดสินใจลงทุนครั้งสำคัญ
โดยการสร้างศูนย์การค้าแอร์พอร์ตพลาซ่า เพื่อรับมือกับการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้น
โดยการสร้างศูนย์การค้าแอร์พอร์ตพลาซ่า เพื่อรับมือกับการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้น
แต่ก็ต้องพบกับปัญหา เพราะหลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งขึ้น
ซึ่งวิกฤติในครั้งนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของธุรกิจอย่างหนัก
จนนำไปสู่การปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่
จนนำไปสู่การปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่
เริ่มจากการทยอยปิดห้างตันตราภัณฑ์ สาขาท่าแพและสาขาช้างเผือก
ส่วนศูนย์การค้าแอร์พอร์ตพลาซ่า ก็ได้ขายให้กับคู่แข่งอย่างกลุ่มเซ็นทรัลไป
และหันไปโฟกัสธุรกิจที่ถนัดกว่า นั่นคือ ซูเปอร์มาร์เก็ต
จากวันนั้นซูเปอร์มาร์เก็ต ริมปิง ก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง
จนปัจจุบัน ริมปิงมีทั้งหมด 7 สาขาในไทย (อยู่ในเชียงใหม่ทั้งหมด) และอีก 1 สาขาในประเทศลาว
จนปัจจุบัน ริมปิงมีทั้งหมด 7 สาขาในไทย (อยู่ในเชียงใหม่ทั้งหมด) และอีก 1 สาขาในประเทศลาว
ทั้งหมดดำเนินธุรกิจอยู่ภายใต้บริษัท ตันตราภัณฑ์ซุปเปอร์มาร์เก็ต (1994) จำกัด
เราลองมาดูผลประกอบการที่ผ่านมาของบริษัทกัน
ปี 2563 รายได้ 442 ล้านบาท ขาดทุน 0.7 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 1,449 ล้านบาท กำไร 48 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 1,342 ล้านบาท กำไร 42 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 442 ล้านบาท ขาดทุน 0.7 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 1,449 ล้านบาท กำไร 48 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 1,342 ล้านบาท กำไร 42 ล้านบาท
แต่ต้องขอหมายเหตุไว้ว่า รายได้ส่วนหนึ่งของบริษัท
มาจากการที่บริษัทได้รับสิทธิช่วงอาณาเขตจาก CPALL ในการบริหารร้าน 7-Eleven จำนวนหนึ่ง บริเวณภาคเหนือตอนบน
มาจากการที่บริษัทได้รับสิทธิช่วงอาณาเขตจาก CPALL ในการบริหารร้าน 7-Eleven จำนวนหนึ่ง บริเวณภาคเหนือตอนบน
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงอยากรู้กันแล้วว่า
แล้วอะไรคือจุดเด่น ที่ทำให้ริมปิงสามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่ได้ ?
แล้วอะไรคือจุดเด่น ที่ทำให้ริมปิงสามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่ได้ ?
ข้อแรก ริมปิงมีความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในพื้นที่มาก
โดยทั้ง 7 สาขาที่ริมปิงเปิดอยู่ในตอนนี้ ล้วนตั้งอยู่ในเขตชุมชนหนาแน่น
นอกจากนี้สินค้าในแต่ละสาขาจะมีความแตกต่างกันไป ตามกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการในสาขานั้น ๆ
ข้อต่อมาคือ ริมปิงเลือกจับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง
ความจริงแล้ว ในเชียงใหม่จะมีกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อไม่สูงเป็นตลาดหลัก
โดยลูกค้ากลุ่มนี้จะให้ความสำคัญในเรื่องปริมาณ มากกว่าคุณภาพสินค้า
โดยลูกค้ากลุ่มนี้จะให้ความสำคัญในเรื่องปริมาณ มากกว่าคุณภาพสินค้า
และด้วยเหตุผลนี้ก็จะทำให้เกิดสงครามทางด้านราคา ซึ่งกลุ่มทุนหนาก็จะมีความได้เปรียบอย่างมาก
เมื่อเรื่องเป็นแบบนี้ ริมปิงจึงเลือกวางตำแหน่งทางการตลาดเป็น “พรีเมียมซูเปอร์มาร์เก็ต”
โดยจะคอยจับกลุ่มลูกค้าระดับบน ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยว และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัด
เน้นขายสินค้าที่มีคุณภาพสูง รวมถึงสินค้านำเข้า และสินค้าท้องถิ่นด้วย
เน้นขายสินค้าที่มีคุณภาพสูง รวมถึงสินค้านำเข้า และสินค้าท้องถิ่นด้วย
นอกจากนี้ ริมปิง ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่สามารถจดจำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็น โลโก ที่มีเอกลักษณ์
รวมสไตล์การตกแต่งภายในร้าน รวมถึงบรรยากาศของร้าน ที่มีการใส่ใจในรายละเอียดต่าง ๆ
ยกตัวอย่างเช่น ภายในร้านจะไม่มีเสียงโฆษณาสินค้า แต่จะมีการเปิดเพลงคลาสสิก มีการจัดแสงไฟ ให้เหมาะสมกับแต่ละชั้นวางสินค้า
จากจุดเด่นทั้ง 2 ข้อที่กล่าวมา รวมถึงเอกลักษณ์ และรายละเอียดเล็ก ๆ
บวกกับดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน
บวกกับดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน
ทำให้ตอนนี้ ริมปิงกลายมาเป็นแบรนด์ซูเปอร์มาร์เก็ต อันดับต้น ๆ ของคนเชียงใหม่ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ปัจจุบันริมปิงมีสาขาที่เปิดให้บริการด้วยกันทั้งหมด 7 สาขาอยู่ในเชียงใหม่ และอีก 1 สาขาในประเทศลาว
ปัจจุบันริมปิงมีสาขาที่เปิดให้บริการด้วยกันทั้งหมด 7 สาขาอยู่ในเชียงใหม่ และอีก 1 สาขาในประเทศลาว
โดยสาขาแรกสุดคือ สาขานวรัฐ
ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับสะพานนวรัฐ ติดกับแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก
ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับสะพานนวรัฐ ติดกับแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก
และด้วยความที่สาขาแรกตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำปิง จึงเป็นที่มาของชื่อ ริมปิง นั่นเอง..