AI จะช่วยเราทำงาน หรือจะแย่งงาน เราจนหมด ?
26 เม.ย. 2023
AI จะช่วยเราทำงาน หรือจะแย่งงาน เราจนหมด ? | BrandCase
ตอนที่เครื่องจักรเริ่มเข้ามามีบทบาทในภาคอุตสาหกรรม
ก็มีคนบอกว่า “เครื่องจักร จะเข้ามาแย่งงานมนุษย์”
ก็มีคนบอกว่า “เครื่องจักร จะเข้ามาแย่งงานมนุษย์”
แม้เครื่องจักร จะเข้ามาทดแทนงานในบางส่วนของมนุษย์ไปบ้าง โดยเฉพาะงานที่อันตราย หรือจำเจ
แต่วันนี้ในภาพรวม ทั้งคนและเครื่องจักร ก็ยังทำงานร่วมกันได้ดี
แถม Productivity โดยรวมของโลก ยังดีขึ้นกว่าเดิมมาก
แต่วันนี้ในภาพรวม ทั้งคนและเครื่องจักร ก็ยังทำงานร่วมกันได้ดี
แถม Productivity โดยรวมของโลก ยังดีขึ้นกว่าเดิมมาก
เช่นเดียวกับตอนที่คอมพิวเตอร์เกิดขึ้นมา ที่หลายคนกังวลว่าบางอาชีพจะตกงาน
แต่ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ กลับกลายเป็นสิ่งที่ทุกสายงานขาดไปไม่ได้
แต่ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ กลับกลายเป็นสิ่งที่ทุกสายงานขาดไปไม่ได้
และวันนี้การมาของ ChatGPT ที่เก่งจนสามารถสอบใบอนุญาตแพทย์ผ่าน
แถมยังสามารถเขียนโคดที่มีความซับซ้อนได้ อย่างกับหลุดมาจากภาพยนตร์
แถมยังสามารถเขียนโคดที่มีความซับซ้อนได้ อย่างกับหลุดมาจากภาพยนตร์
ก็กำลังทำให้มนุษยชาติ กลับมาตั้งคำถามเดียวกันอีกครั้งว่า AI จะเข้ามาแย่งงานของมนุษย์หรือเปล่า ?
BrandCase ชวนทุกคนมาลองวิเคราะห์กัน
BrandCase ชวนทุกคนมาลองวิเคราะห์กัน
คำตอบของเรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันในปัจจุบัน
แม้แต่กลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อโลก ก็ยังมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ตรงกัน
แม้แต่กลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อโลก ก็ยังมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ตรงกัน
บิลล์ เกตส์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft บอกว่า AI จะกลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษนี้
อีลอน มัสก์ เจ้าของ Tesla บอกว่า AI คือความเสี่ยงของมนุษยชาติ และน่ากลัวไม่แพ้อาวุธนิวเคลียร์..
อย่างไรก็ตาม มันก็มีมุมมองที่น่าสนใจว่า จริง ๆ แล้ว AI จะไม่ได้เข้ามาแย่งงานของมนุษย์ไปทั้งหมด
แต่จะทำให้มนุษย์ทำงานได้มากกว่า และสร้างสรรค์กว่าเดิม ซึ่งส่งผลดีกว่าในระยะยาวด้วยซ้ำ
แต่จะทำให้มนุษย์ทำงานได้มากกว่า และสร้างสรรค์กว่าเดิม ซึ่งส่งผลดีกว่าในระยะยาวด้วยซ้ำ
-เริ่มจากคำถามที่ว่า AI จะสามารถทำงานแทนคนได้จริง ๆ ไหม
คำตอบคือ “จริง” แต่อาจจะยังไม่ใช่ 100%
ที่ใช้คำว่า อาจจะ เพราะ AI ในตอนนี้ ยังไม่มีความรู้สึกหรือความฉลาดทางอารมณ์ มากพอที่จะตัดสินใจเรื่องบางเรื่อง ได้ดีไปกว่ามนุษย์
โดยเฉพาะเรื่องที่ต้องใช้ดุลยพินิจ, เรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์, การสื่อสารและการบริหารคน หรือมีข้อมูลสำหรับการตัดสินใจน้อย
เพราะสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยประสบการณ์, ความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) และยังมีเรื่องของบริบททางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องอีก
ทำให้ AI จะเข้ามามีบทบาทในการวิเคราะห์ข้อมูล และช่วยให้ผู้ใช้งานตัดสินใจได้ดีขึ้น มากกว่าที่จะไปตัดสินใจแทนผู้ใช้งาน
เหมือนกับที่คุณซุนดาร์ พิชัย CEO ของบริษัท Alphabet (Google)
เคยบอกเอาไว้ว่า ภายใน 5-10 ปีข้างหน้า
AI จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหมอ ในการบอกขั้นตอนการผ่าตัด เพื่อให้การรักษามีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
แต่จะไม่สามารถทดแทนหมอจริง ๆ ได้ทั้งหมด
AI จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหมอ ในการบอกขั้นตอนการผ่าตัด เพื่อให้การรักษามีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
แต่จะไม่สามารถทดแทนหมอจริง ๆ ได้ทั้งหมด
อีกอย่างคือ เรื่องของ “ความคิดสร้างสรรค์” ที่มนุษย์ จะทำได้ดีกว่า AI
เหตุผลคือ AI ประมวลผลโดยอาศัยข้อมูลที่มนุษย์เป็นคนใส่เข้าไป หรือประมวลผลจากฐานข้อมูล และมีเป้าหมายที่ชัดเจน ว่าถูกสร้างมาเพื่อทำอะไร
เหตุผลคือ AI ประมวลผลโดยอาศัยข้อมูลที่มนุษย์เป็นคนใส่เข้าไป หรือประมวลผลจากฐานข้อมูล และมีเป้าหมายที่ชัดเจน ว่าถูกสร้างมาเพื่อทำอะไร
ดังนั้นความคิดของ AI จะค่อนข้างอยู่ในกรอบ ผิดกับมนุษย์ที่สามารถนำประสบการณ์
และการระดมสมอง มาสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ ได้นอกกรอบมากกว่า AI
และการระดมสมอง มาสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ ได้นอกกรอบมากกว่า AI
สรุปคือ AI จะเข้ามาช่วยให้กระบวนการทำงานหลาย ๆ อย่างถูกตัดออกไป
และทำให้คนหนึ่งคน สามารถผลิตงานได้มากขึ้น
แต่ก็ยังมีหลายอย่าง ที่ AI ยังไม่สามารถทำแทนมนุษย์ได้ในตอนนี้
และทำให้คนหนึ่งคน สามารถผลิตงานได้มากขึ้น
แต่ก็ยังมีหลายอย่าง ที่ AI ยังไม่สามารถทำแทนมนุษย์ได้ในตอนนี้
พอเป็นแบบนี้ หลายบริษัทที่นำ AI มาประยุกต์ใช้ได้ ก็อาจจะต้องพิจารณาตัดตำแหน่งงานที่ AI สามารถทำแทนได้ ออกไปก่อน
เช่น พนักงานคีย์ข้อมูล, Admin หรืออีกหลายงานที่จำเจ น่าเบื่อ ไม่ต้องใช้การตัดสินใจที่ซับซ้อน
เช่น พนักงานคีย์ข้อมูล, Admin หรืออีกหลายงานที่จำเจ น่าเบื่อ ไม่ต้องใช้การตัดสินใจที่ซับซ้อน
ซึ่งจริง ๆ มันก็อาจไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น เพราะในทางกลับกัน AI ก็จะสร้างตำแหน่งงานใหม่ ๆ ขึ้นมาทดแทนด้วยเช่นเดียวกัน
ดังนั้นถ้า AI กลายเป็นสิ่งที่ใครก็ใช้กันไม่ต่างจากไฟฟ้า
อาชีพเกี่ยวกับ AI เช่น นักพัฒนา, ผู้ดูแลเซิร์ฟเวอร์ หรือข้อมูลที่ AI เอาไว้ใช้ประมวลผล ก็จะเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นตามไปด้วย
อาชีพเกี่ยวกับ AI เช่น นักพัฒนา, ผู้ดูแลเซิร์ฟเวอร์ หรือข้อมูลที่ AI เอาไว้ใช้ประมวลผล ก็จะเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นตามไปด้วย
โดยข้อมูลจาก World Economic Forum ยังบอกอีกว่า ภายในปี 2025
AI จะทำให้ตำแหน่งงานกว่า 85 ล้านตำแหน่งหายไป แต่จะสร้างตำแหน่งงานขึ้นมาใหม่ ถึง 97 ล้านตำแหน่งเลยทีเดียว
ถ้าเราดูดี ๆ สิ่งนี้เคยเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าตั้งแต่อดีต เช่น การมาของเครื่องจักรและหุ่นยนต์ ในโรงงานอุตสาหกรรม
ที่ทำให้ภาคการผลิต ใช้พนักงานประกอบชิ้นส่วนบางส่วนน้อยลงไปเยอะ บางโรงงานแทบจะไม่ใช้พนักงานมาช่วยผลิตแล้วด้วยซ้ำ
แต่หุ่นยนต์เหล่านี้ ก็สร้างตำแหน่งงานใหม่ ๆ เช่น วิศวกรซ่อมบำรุง, ช่างเทคนิค หรือคนดูแลเครื่องจักร เพิ่มขึ้นมาทดแทนเหมือนกัน
ซึ่งเรื่องนี้ ก็อาจจะส่งผลดีกับโลกในระยะยาวมากกว่า
โดยเฉพาะในแง่การเติบโตของ GDP ที่จะเอาตัวเลขของการผลิตสินค้าและบริการ รวมไปถึง
การบริโภคภายในประเทศมาคำนวณ เพื่อบอกว่าเศรษฐกิจของประเทศแข็งแกร่งขนาดไหน
การบริโภคภายในประเทศมาคำนวณ เพื่อบอกว่าเศรษฐกิจของประเทศแข็งแกร่งขนาดไหน
AI จะเข้ามาช่วยให้ประชากรต่อคน สามารถผลิตงานให้กับประเทศได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับการเติบโตของประเทศ
ส่วนงานที่ถูก AI เข้ามาแทนที่ คนที่ได้รับผลกระทบ ก็จะมีโอกาสไปทำงานอื่น ๆ ที่สร้างคุณค่าให้กับประเทศมากกว่านั่นเอง..
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่า วันหนึ่ง พนักงานคีย์ข้อมูล ถูกแทนที่ด้วย AI ไปแล้ว
พนักงานตรงนั้น ก็มีโอกาสที่จะไปทำอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์กับสังคมมากกว่า
โดยอาจจะใช้ AI เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ตัวเองได้ในงานถัดไปนั่นเอง
โดยอาจจะใช้ AI เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ตัวเองได้ในงานถัดไปนั่นเอง
และเชื่อหรือไม่ว่า มีการคาดการณ์ว่า ถ้า AI สามารถเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คนได้จริง ๆ
จะทำให้ GDP โดยรวมของทั้งโลกนั้น สูงขึ้นถึง 7% เลยทีเดียว
จะทำให้ GDP โดยรวมของทั้งโลกนั้น สูงขึ้นถึง 7% เลยทีเดียว
สุดท้าย การมาของ AI ก็ไม่ต่างจากการมาของนวัตกรรมใหม่ ๆ
ที่เคยเปลี่ยนโลกไปในทางที่ดีขึ้นแล้วไม่รู้ตั้งกี่ครั้ง
ที่เคยเปลี่ยนโลกไปในทางที่ดีขึ้นแล้วไม่รู้ตั้งกี่ครั้ง
ซึ่งการปรากฏขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะมาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนไปตลอดกาล
ก็มักมีจุดเริ่มต้น ที่ถูกผู้คนมองเทคโนโลยีนั้น ๆ ในแง่ลบเพียงอย่างเดียว และกลัวว่ามันจะมาแย่งอาชีพของมนุษย์ไป เช่นเดียวกัน
ก็มักมีจุดเริ่มต้น ที่ถูกผู้คนมองเทคโนโลยีนั้น ๆ ในแง่ลบเพียงอย่างเดียว และกลัวว่ามันจะมาแย่งอาชีพของมนุษย์ไป เช่นเดียวกัน
ดังนั้นในเมื่อกระแสของ AI มันจุดติดแล้ว และก็ยังไม่มีใครตอบได้ว่า ใครบ้างที่จะได้รับผลกระทบ และใครบ้างที่จะได้ประโยชน์
หรือว่ามันจะทำอะไรแทนคนได้ 100% หรือไม่ 100%
หรือว่ามันจะทำอะไรแทนคนได้ 100% หรือไม่ 100%
แต่สิ่งที่ทำได้ไปก่อนตอนนี้
คือการเริ่มเรียนรู้ที่จะใช้มันให้เกิดประโยชน์
เหมือนกับที่คุณสัตยา นาเดลลา CEO ของ Microsoft เคยบอกเอาไว้ว่า
คือการเริ่มเรียนรู้ที่จะใช้มันให้เกิดประโยชน์
เหมือนกับที่คุณสัตยา นาเดลลา CEO ของ Microsoft เคยบอกเอาไว้ว่า
“การวิ่งหนี AI นั่นแหละ คือปัญหาที่แท้จริง”