สรุปแนวคิดผู้บริหาร มิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ MGC-ASIA ผู้นำธุรกิจค้าปลีกยานยนต์ Lifestyle Mobility Ecosystem กำลังจะ IPO
25 เม.ย. 2023
ในยุคที่ ผู้คนมีไลฟ์สไตล์การเดินทางที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้ นิยามของ “Lifestyle Mobility Ecosystem” ไม่ได้จำกัดกรอบอยู่เพียงแค่การเดินทางทางบกอีกต่อไป แต่รวมถึงการเดินทางทางน้ำ และทางอากาศด้วย
หากพูดถึงหนึ่งในบริษัทไทยที่ออกแบบ Ecosystem ในมิติของ Lifestyle Mobility ได้อย่างครบวงจร
ก็ต้องนึกถึง กลุ่มบริษัท มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) จำกัด (มหาชน) หรือ MGC-ASIA
ก็ต้องนึกถึง กลุ่มบริษัท มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) จำกัด (มหาชน) หรือ MGC-ASIA
ซึ่งล่าสุด กำลังจะต่อยอดคำว่า Lifestyle Mobility Ecosystem ให้แข็งแกร่งในระดับภูมิภาคมากขึ้น
ผ่านการเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (IPO)
ผ่านการเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (IPO)
อะไรคือ เบื้องหลังความสำเร็จที่ทำให้มิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ เติบโตอย่างต่อเนื่อง ?
BrandCase จะพาไปหาคำตอบกับ ดร.สัณหวุฒิ ธรรมชวนวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ
BrandCase จะพาไปหาคำตอบกับ ดร.สัณหวุฒิ ธรรมชวนวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ
ดร.สัณหวุฒิ เริ่มต้นด้วยการฉายภาพให้เห็นธุรกิจภายใต้อาณาจักรมิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ดังนี้
1. กลุ่มธุรกิจค้าปลีกยานยนต์
มิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ ไม่เพียงแต่เป็นผู้จำหน่ายยานยนต์แบรนด์ระดับโลก อย่างรถยนต์ Rolls-Royce, BMW, MINI, Honda หรือบิ๊กไบค์อย่าง BMW Motorrad และ Harley-Davidson
แต่ยังเป็นผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายเรือยอชท์ Azimut ในตลาดไทย และเรือแม่น้ำ Chris-Craft ที่ได้รับสิทธิ์ในการดูแลตลาดไทยและอาเซียน
รวมถึงให้บริการจำหน่ายรถยนต์มือสองพร้อมการรับประกัน ให้บริการจัดหาลูกค้าสำหรับธุรกิจให้เช่าเครื่องบินเจ็ตส่วนตัว VistaJet และตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสารสายการบินชั้นนำ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง อีกด้วย
2. กลุ่มธุรกิจบริการหลังการขายและให้บริการซ่อมบำรุงรถยนต์อิสระ
นอกจากศูนย์บริการหลังการขายของแบรนด์ต่าง ๆ มิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ ยังมีศูนย์ให้บริการซ่อมบำรุงรถยนต์อิสระภายใต้แบรนด์ MMS Bosch Car Service ซึ่งเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของบริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จำกัด จากเยอรมนี
นอกจากศูนย์บริการหลังการขายของแบรนด์ต่าง ๆ มิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ ยังมีศูนย์ให้บริการซ่อมบำรุงรถยนต์อิสระภายใต้แบรนด์ MMS Bosch Car Service ซึ่งเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของบริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จำกัด จากเยอรมนี
3. กลุ่มธุรกิจเช่ารถยนต์และพนักงานขับ
ให้บริการเช่ารถยนต์ระยะยาวสำหรับลูกค้าองค์กร (Corporate) ระยะสั้นภายใต้แบรนด์ SIXT rent a car และให้บริการพนักงานขับ
ให้บริการเช่ารถยนต์ระยะยาวสำหรับลูกค้าองค์กร (Corporate) ระยะสั้นภายใต้แบรนด์ SIXT rent a car และให้บริการพนักงานขับ
นอกจากนี้ยังมีบริการเกี่ยวเนื่องที่สนับสนุนธุรกิจหลักอย่าง IT บริการทางการเงินสำหรับยานยนต์หรูและมารีน และนายหน้าประกัน ฯลฯ
หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมธุรกิจภายใต้อาณาจักรมิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ ถึงหลากหลายและครอบคลุม
BrandCase สรุปแนวคิดในการบริหารธุรกิจของ ดร.สัณหวุฒิ แบบเข้าใจง่าย ๆ มาให้แล้ว
BrandCase สรุปแนวคิดในการบริหารธุรกิจของ ดร.สัณหวุฒิ แบบเข้าใจง่าย ๆ มาให้แล้ว
1. ให้ความสำคัญกับการแบ่ง Segmentation
“เวลานักลงทุนจัดพอร์ตฯ จะไม่ลงทุนด้านใดด้านหนึ่ง เพราะถ้าเกิดมีปัญหาจะเหนื่อย
ผมเองก็เช่นกัน ผมเลือกที่จะจัดพอร์ตฯ ธุรกิจ ผ่านกลยุทธ์การทำ Segmentation
เพราะคิดว่าถ้าเราทำธุรกิจแนวตั้งอย่างเดียว มันก็ไม่เสถียรต้องมีทั้งแกน x และแกน y ทำงานควบคู่กันไป
ผมเองก็เช่นกัน ผมเลือกที่จะจัดพอร์ตฯ ธุรกิจ ผ่านกลยุทธ์การทำ Segmentation
เพราะคิดว่าถ้าเราทำธุรกิจแนวตั้งอย่างเดียว มันก็ไม่เสถียรต้องมีทั้งแกน x และแกน y ทำงานควบคู่กันไป
อย่างรถยนต์ ผมจัดพอร์ตฯ ให้มีครอบคลุมตั้งแต่ High Luxury Segment, Premium Segment และ Premium Mass Segment
ส่วนฝั่งบริการ เรามีธุรกิจในส่วนของการซื้อ ขาย ให้เช่า ประกันภัย บริการทางการเงิน
ซึ่งมาตอบโจทย์ในการดำเนินธุรกิจ หรือพูดง่าย ๆ ว่า เรากำลังต่อจิกซอว์ทางธุรกิจให้เป็นภาพที่สมบูรณ์เพื่อสร้าง Ecosystem
ซึ่งมาตอบโจทย์ในการดำเนินธุรกิจ หรือพูดง่าย ๆ ว่า เรากำลังต่อจิกซอว์ทางธุรกิจให้เป็นภาพที่สมบูรณ์เพื่อสร้าง Ecosystem
ทั้งนี้ ในการทำ Segmentation ก็ต้องไม่ให้สินค้าหรือแบรนด์ทับซ้อน หรือแข่งขันกันเอง
อย่าง BigBike เรามีทั้ง BMW Motorrad และ Harley-Davidson ก็จริง
อย่าง BigBike เรามีทั้ง BMW Motorrad และ Harley-Davidson ก็จริง
แต่ทั้ง 2 แบรนด์นี้ก็มีแครักเตอร์ต่างกัน BMW Motorrad จะเป็นลุคสปอร์ต ส่วน Harley-Davidson จะเป็นแบรนด์ที่มีตำนาน
พอเราทำเรื่อง Segmentation ได้ดี พาร์ตเนอร์ระดับโลกก็ไว้วางใจ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราเติบโตจนถึงวันนี้”
พอเราทำเรื่อง Segmentation ได้ดี พาร์ตเนอร์ระดับโลกก็ไว้วางใจ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราเติบโตจนถึงวันนี้”
2. ไม่หยุดที่จะมองหาน่านน้ำธุรกิจใหม่ ๆ
แม้ธุรกิจจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่ ดร.สัณหวุฒิ กลับไม่หยุดที่จะมองหาโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ
ยกตัวอย่าง การเข้าสู่ธุรกิจ Marine ซึ่ง ดร.สัณหวุฒิ มองว่าเป็น Blue ocean ที่มีแนวโน้มและโอกาสในการเติบโตอย่างมีนัย รวมถึงมีค่าเฉลี่ยยอดขายที่ได้จากลูกค้าแต่ละราย (Ticket Size) สูง
ยกตัวอย่าง การเข้าสู่ธุรกิจ Marine ซึ่ง ดร.สัณหวุฒิ มองว่าเป็น Blue ocean ที่มีแนวโน้มและโอกาสในการเติบโตอย่างมีนัย รวมถึงมีค่าเฉลี่ยยอดขายที่ได้จากลูกค้าแต่ละราย (Ticket Size) สูง
นอกจากนั้น ดร.สัณหวุฒิยังขยายไปสู่ธุรกิจการบิน
“ผมไม่ได้ซื้อเครื่องบินมาขาย แต่ให้บริการจัดหาลูกค้าสำหรับธุรกิจให้เช่าเครื่องบินเจ็ตส่วนตัว VistaJet เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง ทั้งยังเป็นตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสารสายการบินชั้นนำ
ซึ่งเท่ากับว่า เราตอบโจทย์ Lifestyle Mobility Ecosystem ก็คือทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ”
3. นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ ที่ลูกค้ามองว่าคุ้มค่าที่จะจ่าย
เพื่อข้ามผ่านสารพัดความท้าทายในอุตสาหกรรม หัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ คือ การคัดสรรแบรนด์หรือสินค้าที่ได้มาตรฐานและคุณภาพสูง ทำให้ลูกค้าสัมผัสได้ว่าคุ้มค่าที่จะจ่าย
“ต่อให้ทำดีแค่ไหน ถ้าสินค้าไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ดีเพียงพอ ไม่ตอบโจทย์ความคุ้มค่าต่อเงินของลูกค้า ยังไงก็เหนื่อย
สำหรับมิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ เราผ่านจุดนี้มาหมดแล้ว เห็นได้จากการที่เรามีพันธมิตรเป็นแบรนด์ระดับโลก
ซึ่งเราสามารถสร้างการยอมรับ สร้างความน่าเชื่อถือต่อแบรนด์ในทุก Segmentation”
ซึ่งเราสามารถสร้างการยอมรับ สร้างความน่าเชื่อถือต่อแบรนด์ในทุก Segmentation”
4. พัฒนาองค์กรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
“สิ่งที่มิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ เตรียมตัวและให้ความสำคัญมาตลอด 23 ปี คือเรื่องของบุคลากร
เราดูแลบุคลากรอย่างเต็มที่ พยายามสร้าง Employee Engagement ในองค์กร เพื่อให้พนักงานเกิดความผูกพัน และมีความภาคภูมิใจ พร้อมจะเติบโตไปกับองค์กร”
เราดูแลบุคลากรอย่างเต็มที่ พยายามสร้าง Employee Engagement ในองค์กร เพื่อให้พนักงานเกิดความผูกพัน และมีความภาคภูมิใจ พร้อมจะเติบโตไปกับองค์กร”
ด้วยความมุ่งมั่นที่ในการเป็นผู้นำด้าน Lifestyle Mobility ของเมืองไทย
บวกกับการชูกลยุทธ์การสร้าง Ecosystem ที่ครบวงจร ทำให้รายได้และกำไรของมิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เติบโตอย่างต่อเนื่อง
บวกกับการชูกลยุทธ์การสร้าง Ecosystem ที่ครบวงจร ทำให้รายได้และกำไรของมิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เติบโตอย่างต่อเนื่อง
ปี 2563 รายได้ 20,275 ล้านบาท กำไร 189 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 21,350 ล้านบาท กำไร 296 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 23,076 ล้านบาท กำไร 596 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 21,350 ล้านบาท กำไร 296 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 23,076 ล้านบาท กำไร 596 ล้านบาท
ในปีนี้ มิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ พร้อมแล้วที่จะเติบโตไปอีกขั้น จากการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
“วันนี้ มิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ เดินมาแค่ 1 ใน 3 ที่ผมคาดหวัง
ผมไม่ตั้งใจแค่เมืองไทยอย่างเดียว แต่ต้องการเป็นหนึ่งในบริษัทไทยแรก ๆ ที่ไปขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน หรือเอเชียแปซิฟิก
ผมไม่ตั้งใจแค่เมืองไทยอย่างเดียว แต่ต้องการเป็นหนึ่งในบริษัทไทยแรก ๆ ที่ไปขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน หรือเอเชียแปซิฟิก
ซึ่งนอกจากจะเป็นความภาคภูมิใจของพนักงาน ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น ยังรวมถึงคนไทยที่จะได้เห็นบริษัทของคนไทย ได้มีโอกาสส่งคนไทยไปบริหารงานในต่างประเทศ เหมือนกับที่ต่างชาติมาบริหารงานที่เมืองไทย อีกด้วย
ถามว่า มิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ มีแผนที่จะนำเงินที่ระดมทุนไปทำอะไรบ้าง ?
- ลงทุนในบริษัท อัลฟา เอกซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) และลงทุนในบริษัท มาสเตอร์ มอเตอร์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจให้บริการซ่อมบำรุงรถยนต์อิสระที่มีศักยภาพการเติบโตสูงในอนาคต และโอกาสทางธุรกิจอื่น ๆ
- ชำระคืนเงินกู้จากสถาบันการเงิน
- ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อรองรับการเติบโต
มาถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่า อะไรคือเบื้องหลังความสำเร็จตลอด 23 ปีของมิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ
แน่นอนว่า มาจากหลากหลายปัจจัยที่เกื้อหนุนกัน แต่ที่แน่ ๆ คือวิสัยทัศน์ของผู้นำ
ที่มุ่งมั่นต่อยอดให้ มิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ เป็นมากกว่า Automotive Retail แต่ก้าวไปสู่การเป็น Lifestyle Mobility Ecosystem นั่นเอง
แน่นอนว่า มาจากหลากหลายปัจจัยที่เกื้อหนุนกัน แต่ที่แน่ ๆ คือวิสัยทัศน์ของผู้นำ
ที่มุ่งมั่นต่อยอดให้ มิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ เป็นมากกว่า Automotive Retail แต่ก้าวไปสู่การเป็น Lifestyle Mobility Ecosystem นั่นเอง
Reference
-วิดีโอสัมภาษณ์ ดร.สัณหวุฒิ ธรรมชวนวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) จำกัด (มหาชน) หรือ MGC-ASIA โดยรายการ THE BRIEFCASE
-วิดีโอสัมภาษณ์ ดร.สัณหวุฒิ ธรรมชวนวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) จำกัด (มหาชน) หรือ MGC-ASIA โดยรายการ THE BRIEFCASE