“บ่วงอิก” ปรัชญาทำธุรกิจ ให้ไม่เจ๊ง ของผู้ก่อตั้ง Thai Union
24 มี.ค. 2023
“บ่วงอิก” ปรัชญาทำธุรกิจ ให้ไม่เจ๊ง ของผู้ก่อตั้ง Thai Union | BrandCase
ในโลกการทำธุรกิจ หลายคนเอาแต่โฟกัสว่าจะทำอย่างไร ให้ธุรกิจเติบโตเร็ว ๆ จนอาจจะไม่ได้สนใจ หรือมองข้ามความเสี่ยงเล็ก ๆ ไป
ซึ่งบางความเสี่ยง แม้โอกาสที่มันจะเกิดแทบจะเป็นศูนย์ แต่พอเกิดขึ้นมาแล้วรับมือกับมันไม่ได้ บทสุดท้ายคือ ธุรกิจที่เราปั้นมา อาจจะจบไม่สวย
ซึ่งบางความเสี่ยง แม้โอกาสที่มันจะเกิดแทบจะเป็นศูนย์ แต่พอเกิดขึ้นมาแล้วรับมือกับมันไม่ได้ บทสุดท้ายคือ ธุรกิจที่เราปั้นมา อาจจะจบไม่สวย
และเรื่องนี้ก็มีหนึ่งคนที่พูดไว้ได้อย่างน่าสนใจ
คือคุณไกรสร จันศิริ ผู้ก่อตั้ง Thai Union ที่ทำธุรกิจส่งออกอาหารทะเลแปรรูปรายใหญ่ของไทย
คือคุณไกรสร จันศิริ ผู้ก่อตั้ง Thai Union ที่ทำธุรกิจส่งออกอาหารทะเลแปรรูปรายใหญ่ของไทย
คุณไกรสร เรียกปรัชญาการทำธุรกิจ ให้ไม่เจ๊งนี้ว่า “บ่วงอิก”
แล้ว บ่วงอิก ที่ว่านี้หมายถึงอะไร ?
BrandCase จะเล่าให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase จะเล่าให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
“บ่วงอิก” เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว
-คำว่า บ่วง แปลว่า 10,000
-คำว่า อิก แปลว่า 1
ซึ่งเปรียบเป็นวลีสั้น ๆ ว่า “1 ใน 10,000”
คุณไกรสร ให้ความหมายของ บ่วงอิก ไว้ว่า
ใน 10,000 ปี ใน 10,000 เรื่อง หรือใน 10,000 หน จะต้องเจอสัก 1 ครั้ง ที่จะเป็นความผิดพลาดครั้งรุนแรง
ใน 10,000 ปี ใน 10,000 เรื่อง หรือใน 10,000 หน จะต้องเจอสัก 1 ครั้ง ที่จะเป็นความผิดพลาดครั้งรุนแรง
พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ขึ้นมาอีกก็คือ
การจะทำอะไรก็ตาม ที่ทำแล้วมีความเสี่ยง แม้เพียงเล็กน้อย (โอกาส 1 ใน 10,000) ที่จะทำให้ธุรกิจของเราล้มละลาย ก็จงอย่าทำ
การจะทำอะไรก็ตาม ที่ทำแล้วมีความเสี่ยง แม้เพียงเล็กน้อย (โอกาส 1 ใน 10,000) ที่จะทำให้ธุรกิจของเราล้มละลาย ก็จงอย่าทำ
เช่น หากเรามีธุรกิจที่ดีอยู่แล้ว แต่เจอโอกาสการลงทุนใหม่ ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงมาก ทว่ามีโอกาส 0.01% ที่จะทำให้ธุรกิจของเราเจ๊งเลย ก็ไม่ควรเสี่ยงลงทุนโดยเด็ดขาด
ซึ่งคำว่า บ่วงอิก ก็เปรียบเสมือนเหตุการณ์ Black Swan ของบริษัทต่าง ๆ ที่โอกาสเกิดมันน้อยมาก แต่เกิดขึ้นมาทีหนึ่ง ก็เจ๊งได้เลย
ไม่ว่าจะเป็น
-เครดิตสวิส ที่ปล่อยกู้ให้ลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง พอลูกค้าล้มละลาย ไม่มีเงินมาจ่ายคืน บริษัทเลยขาดทุนหนัก จนเกือบเจ๊ง
-กองทุนชื่อว่า LTCM ที่มีนักเศรษฐศาสตร์ รางวัลโนเบล 2 คนเป็นผู้บริหาร
กองทุนนี้ประสบความสำเร็จมาตลอด แต่เพราะกู้เงินมาลงทุนมากเกินไป พอลงทุนผิดพลาดนิดเดียว ก็เจ๊งทันที
กองทุนนี้ประสบความสำเร็จมาตลอด แต่เพราะกู้เงินมาลงทุนมากเกินไป พอลงทุนผิดพลาดนิดเดียว ก็เจ๊งทันที
-หลายบริษัทประกันภัย ที่ขายประกันแบบ เจอ จ่าย จบ พอเกิดโรคระบาดหนักเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ ก็ไม่มีเงินจ่ายให้จบ จนตัวเองต้องจบกิจการของตัวเองแทน
เหล่านี้ล้วนเป็น “บ่วงอิก” ในความหมายของ คุณไกรสร ทั้งสิ้น
คือ นาน ๆ จะเกิดที แต่พอเกิดขึ้นแล้ว กระทบต่อธุรกิจของบริษัทอย่างมหาศาล
คือ นาน ๆ จะเกิดที แต่พอเกิดขึ้นแล้ว กระทบต่อธุรกิจของบริษัทอย่างมหาศาล
สำหรับ Thai Union ก็เคยเกือบมีเหตุการณ์เช่นนี้ ในสมัยปี 2539-2540 ที่เมืองไทยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง
ในตอนนั้นบริษัทเคยจ้างที่ปรึกษาด้านการลงทุน ที่เป็นคนต่างชาติเข้ามา โดยที่ปรึกษาคนนี้ แนะนำให้บริษัท ไปกู้เงินจากต่างประเทศมาฝากในไทย
เนื่องจากในยุคนั้น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศ อยู่ที่แค่ราว 3% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝากในไทย ได้ผลตอบแทนราว 10%
เพราะฉะนั้น การกู้เงินจากต่างประเทศมาฝากในไทย จะทำให้ได้ส่วนต่างดอกเบี้ย 7% แบบฟรี ๆ
เพราะฉะนั้น การกู้เงินจากต่างประเทศมาฝากในไทย จะทำให้ได้ส่วนต่างดอกเบี้ย 7% แบบฟรี ๆ
ซึ่งการทำแบบนี้ ภาษาทางการเงิน เรียกว่าการทำ “Arbitrage” คือทำกำไรจากส่วนต่างราคา หรือส่วนต่างดอกเบี้ย ของ 2 ตลาด
คุณไกรสร พอได้ฟังก็เอามาคิด แต่ไม่ได้ทำตามที่บอก และต่อมาก็ไล่ที่ปรึกษาคนนั้นออก เพราะคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องที่ควรทำ ไม่มีธุรกิจอะไรที่ได้เงินมาง่าย ๆ
แล้วความคิดของคุณไกรสร ก็ได้รับการคอนเฟิร์มว่า ถูก
เพราะหลังจากนั้นไม่นาน วิกฤติต้มยำกุ้งในไทย ก็ไปจบลงที่ รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท จากราว 25 บาท เป็น 50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
เพราะหลังจากนั้นไม่นาน วิกฤติต้มยำกุ้งในไทย ก็ไปจบลงที่ รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท จากราว 25 บาท เป็น 50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
หมายความว่า ถ้าบริษัทเราไปกู้เงินมาจากต่างประเทศ ภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย จะเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัวทันที หลังจากที่มีการลอยตัวค่าเงิน
ตอนนั้นหลายบริษัทที่ไปกู้เงินจากต่างประเทศมาเยอะ ๆ ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง และหนี้สินต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ภายในชั่วข้ามคืน
ขณะที่ Thai Union ที่ไม่ได้ไปกู้เงินจากต่างประเทศมามาก ๆ ก็รอดพ้นวิกฤติมาได้
และ Thai Union ก็ไม่เพียงแค่ผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 มาได้
ธุรกิจของบริษัท ที่เน้นการส่งออกสินค้า อย่างเช่น อาหารทะเลแปรรูปไปขายยังต่างประเทศ
พอเงินบาทอ่อนลงเป็นเท่าตัว ก็ทำให้ Thai Union มีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น
พอเงินบาทอ่อนลงเป็นเท่าตัว ก็ทำให้ Thai Union มีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น
เพราะสินค้าส่งออกจากไทย จะมีราคาถูกลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่น
กลายเป็นว่า นอกจาก Thai Union จะไม่ค่อยได้รับผลกระทบแล้ว
ยังกลายเป็นได้อานิสงส์ หลังจากวิกฤติครั้งนั้นด้วย..
ยังกลายเป็นได้อานิสงส์ หลังจากวิกฤติครั้งนั้นด้วย..
References
-หนังสือ ดีที่สุดในสิ่งที่เป็น โดย หนุ่มเมืองจันท์
-https://www.longtunman.com/27047
-https://www.youtube.com/watch?v=20b7hkUiKcg
-https://www.youtube.com/watch?v=1T8EOVZQVrI
-หนังสือ ดีที่สุดในสิ่งที่เป็น โดย หนุ่มเมืองจันท์
-https://www.longtunman.com/27047
-https://www.youtube.com/watch?v=20b7hkUiKcg
-https://www.youtube.com/watch?v=1T8EOVZQVrI