ตำนาน Toyota วันแรกขายเครื่องทอผ้า แล้วค่อยมา ทำรถยนต์
22 ก.พ. 2023
ตำนาน Toyota วันแรกขายเครื่องทอผ้า แล้วค่อยมา ทำรถยนต์ | BrandCase
รู้ไหมว่า Toyota Motor หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “Toyota” ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นรายใหญ่
เริ่มต้นธุรกิจ จากการขาย เครื่องทอผ้า
เริ่มต้นธุรกิจ จากการขาย เครื่องทอผ้า
แล้วทำไปทำมา Toyota กลายมาเป็นบริษัทรถยนต์อันดับต้น ๆ ของโลกอย่างในวันนี้ ได้อย่างไร ?
BrandCase จะสรุปตำนาน Toyota ให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
จุดเริ่มต้นของ Toyota มาจากชายชาวญี่ปุ่น ชื่อว่า คุณ Sakichi Toyoda
ครอบครัวของคุณ Sakichi ทำธุรกิจสิ่งทอ
และด้วยความที่เขาเรียนจบด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในปี 1924 เขาก็ได้ประดิษฐ์เครื่องทอผ้าแบบของตัวเอง มาใช้ในธุรกิจครอบครัว และก็นำเครื่องทอผ้าที่เขาคิด ไปจดสิทธิบัตร
และด้วยความที่เขาเรียนจบด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในปี 1924 เขาก็ได้ประดิษฐ์เครื่องทอผ้าแบบของตัวเอง มาใช้ในธุรกิจครอบครัว และก็นำเครื่องทอผ้าที่เขาคิด ไปจดสิทธิบัตร
ซึ่งในตอนนั้น มีบริษัทชื่อว่า Mitsui ที่ปัจจุบันก็ยังเป็นเครือบริษัทใหญ่ในญี่ปุ่น มาเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องทอผ้าให้เขาด้วย
นานวันเข้า กำไรสะสมจากการขายเครื่องทอผ้า ก็เริ่มเยอะขึ้น
ซึ่งเงินก้อนนี้ จะกลายเป็นทุนก้อนสำคัญ ในการก่อตั้ง Toyota Motor ในเวลาต่อมา
ซึ่งเงินก้อนนี้ จะกลายเป็นทุนก้อนสำคัญ ในการก่อตั้ง Toyota Motor ในเวลาต่อมา
ในระหว่างนั้น คุณ Sakichi มีโอกาสเดินทางไปสหรัฐอเมริกา และพบว่า สินค้าแห่งอนาคตที่จะเข้ามาเปลี่ยนโลกก็คือ รถยนต์
อย่างไรก็ตาม ตัวเขาเองแก่แล้ว และคงไม่มีแรงมากพอที่จะเริ่มทำอะไรใหม่ ๆ
จึงเอาไอเดียธุรกิจนี้ มาพูดคุยกับลูกชาย
จึงเอาไอเดียธุรกิจนี้ มาพูดคุยกับลูกชาย
ลูกชายของคุณ Sakichi คือคุณ Kiichiro Toyoda จึงมีความตั้งใจที่จะทำให้ความฝันของคุณพ่อของเขาเป็นจริง
ในตอนนั้น ธุรกิจหลักของตระกูล Toyoda ยังเป็นธุรกิจสิ่งทอ
แต่ก็ได้มีการจัดตั้งแผนกรถยนต์ขึ้นมาในปี 1933
แต่ก็ได้มีการจัดตั้งแผนกรถยนต์ขึ้นมาในปี 1933
และคุณ Kiichiro ซึ่งจบทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มา ก็เข้ามาร่วมทำงานในแผนกนี้ด้วย
คุณ Kiichiro ค่อย ๆ พัฒนาและประดิษฐ์เครื่องยนต์ โดยเริ่มจากเครื่องยนต์ขนาดเล็ก จนไปสู่เครื่องยนต์ขนาดใหญ่
และมีการรับสมัครวิศวกร ช่างที่ชำนาญ เพื่อเข้ามาช่วยทำงานในแผนกนี้
และมีการรับสมัครวิศวกร ช่างที่ชำนาญ เพื่อเข้ามาช่วยทำงานในแผนกนี้
ในตอนนี้เขามองว่า เขาและทุกคนในบริษัท ไม่ได้เพียงแค่ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์เครื่องยนต์เท่านั้น แต่เขากำลังสร้างอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดอุตสาหกรรมหนึ่ง ให้ญี่ปุ่น
ปี 1935 หลังตั้งแผนกรถยนต์ได้ 2 ปี “Toyota A1” ซึ่งเป็นรถยนต์รุ่นแรกของบริษัทก็ถูกผลิตสำเร็จ ก่อนจะเริ่มขยับไปผลิตรถบรรทุก และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในเวลาต่อมา
สุดท้ายโรงงานทอผ้าของตระกูล Toyoda ก็ถูกปรับเปลี่ยนมาเป็น โรงงานผลิตรถยนต์ และคุณ Kiichiro ก็ก่อตั้ง Toyota Motor ขึ้นอย่างจริงจังในปี 1937
ทุกอย่างดูกำลังไปได้สวย แต่ก็พังลง เมื่อไม่กี่ปีต่อมา สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ปะทุขึ้น..
ไม่เพียงแต่ประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับความเสียหายจากสงครามเป็นอย่างมาก แต่รวมไปถึงโรงงานของ Toyota ด้วยเช่นกัน
ในตอนนั้น ฝ่ายบริหารและพนักงานของ Toyota ทำทุกอย่างเพื่อให้กิจการอยู่รอด เพราะกิจการย่ำแย่อย่างหนัก ถึงขนาดมีการปลูกผักขายเพื่อให้กิจการอยู่รอด
หลังสงครามสิ้นสุดลง กองทัพสหรัฐอเมริกาที่เข้ามายึดครองญี่ปุ่น
และสั่งบริษัทรถยนต์หลายแห่งของญี่ปุ่น รวมทั้ง Toyota ว่าห้ามผลิตรถยนต์สำหรับนั่งโดยสาร (Passenger car)
และสั่งบริษัทรถยนต์หลายแห่งของญี่ปุ่น รวมทั้ง Toyota ว่าห้ามผลิตรถยนต์สำหรับนั่งโดยสาร (Passenger car)
แต่เรื่องนี้ก็ทำให้การทำงานในญี่ปุ่นของกองทัพสหรัฐอเมริกา เป็นไปอย่างยากลำบาก
พอเรื่องเป็นแบบนี้ กองทัพสหรัฐอเมริกา จึงให้ Toyota เริ่มผลิตรถบรรทุกพลเรือน เพื่อขนส่งแรงงานไปซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่เสียหาย
และนั่นทำให้ทหารอเมริกัน กลายเป็นลูกค้ารายใหญ่ของ Toyota ในตอนนั้น
แต่นั่นก็เพียงแค่ช่วยประคองสถานะของบริษัท ไม่ให้ Toyota ตกต่ำไปกว่าเดิมเท่านั้น
เพราะในปี 1948 บริษัทยังมีสถานะทางการเงินที่ย่ำแย่ มีหนี้สินสูง จนทำให้ไม่มีเจ้าหนี้รายไหนอยากให้กู้เพิ่ม
แต่แล้วในปี 1950 การต่อสู้กันระหว่างเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ ที่นำไปสู่สงครามเกาหลี
ทำให้สหรัฐอเมริกา ซึ่งหนุนหลังเกาหลีใต้ ได้ใช้ญี่ปุ่นเป็นฐานที่ตั้งกองทัพ และได้สั่งซื้อรถบรรทุกจากรัฐบาลญี่ปุ่นจำนวนหลายพันคัน
ซึ่งสัญญาจ้างการผลิตรถบรรทุกนั้น มีมูลค่าเกือบ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 100,000 ล้านบาท
ซึ่ง Toyota ได้ส่วนแบ่งในสัญญาดังกล่าวจำนวนไม่น้อย และกลายเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้บริษัทฟื้นตัว จากสถานะทางการเงินที่ย่ำแย่ก่อนหน้าเป็นอย่างมาก
แม้ว่าเหตุการณ์หลังสงครามทั้ง 2 ครั้ง จะช่วยให้ Toyota ฟื้นตัวกลับมา
แต่คุณ Kiichiro และตระกูล Toyoda ก็มองว่า การพึ่งพาแต่เพียงรัฐบาลที่เป็นลูกค้ารายใหญ่นั้น ไม่สามารถช่วยให้ธุรกิจของ Toyota เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวได้
ทำให้คุณ Eiji Toyoda ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับคุณ Kiichiro เดินทางไปดูงานที่บริษัทผลิตรถยนต์ของ Ford Motor ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในตอนนั้น Toyota ผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลได้แค่ 40 คันต่อวัน แต่ Ford Motor สามารถผลิตได้วันละ 20,000 คันต่อวัน
เมื่อกลับมาญี่ปุ่น เขาและทีมงานได้ร่วมกันพัฒนาและนำแนวคิด Lean Production ซึ่งเป็นการผลิตรถยนต์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิต และลดความสูญเปล่าที่ไม่จำเป็นในการทำงาน
ซึ่งแนวคิดนี้ก็นำไปสู่ระบบการผลิตแบบ Toyota Production System ที่เน้นลดเรื่องไม่สำคัญออกไป และผลิตแบบ Mass Production นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
และแนวคิดนี้ยังเป็นส่วนสำคัญที่ ทำให้ Toyota กลายมาเป็น
หนึ่งในบริษัทผลิตรถยนต์ รายใหญ่ของโลก จนถึงวันนี้..
หนึ่งในบริษัทผลิตรถยนต์ รายใหญ่ของโลก จนถึงวันนี้..