อธิบายคำว่า Economies of Scale ยิ่งผลิตเยอะ ยิ่งประหยัดต้นทุน
26 ก.ย. 2022
อธิบายคำว่า Economies of Scale ยิ่งผลิตเยอะ ยิ่งประหยัดต้นทุน | BrandCase
ในมุมของการทำธุรกิจ มันจะมีคำหนึ่งที่สำคัญ และได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ นั่นก็คือ Economies of Scale หรือภาษาไทยเรียกว่า การประหยัดต่อขนาด
จริง ๆ แล้วคำนี้ หมายความว่าอะไร
แล้วนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร ในโลกของการทำธุรกิจ ?
BrandCase จะสรุปให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
แล้วนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร ในโลกของการทำธุรกิจ ?
BrandCase จะสรุปให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
คำว่า Economies of Scale หรือการประหยัดต่อขนาด
ตามนิยามคือมันเกิดจาก การที่ธุรกิจมีต้นทุนต่อหน่วยที่ลดลง เมื่อมีการผลิตสินค้ามากขึ้น
ตามนิยามคือมันเกิดจาก การที่ธุรกิจมีต้นทุนต่อหน่วยที่ลดลง เมื่อมีการผลิตสินค้ามากขึ้น
โดยต้นทุนของการทำธุรกิจ แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
-ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) คือ ต้นทุนที่ไม่ว่าจะผลิตมากหรือน้อย ก็ยังต้องจ่ายเท่าเดิม
-ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คือ ต้นทุนที่แปรผันไป ตามจำนวนการผลิตที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
-ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) คือ ต้นทุนที่ไม่ว่าจะผลิตมากหรือน้อย ก็ยังต้องจ่ายเท่าเดิม
-ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คือ ต้นทุนที่แปรผันไป ตามจำนวนการผลิตที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
มีหลายธุรกิจที่ต้องอาศัย Economies of Scale ในการแข่งขัน ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ “ธุรกิจน้ำดื่ม”
เช่น ถ้าเราผลิตน้ำดื่ม 100,000 ขวดต่อวัน มีต้นทุนรวม 300,000 บาท แบ่งเป็นต้นทุนผันแปร 200,000 บาท และเป็นต้นทุนคงที่ 100,000 บาท
หมายความว่า ต้นทุนรวมต่อขวด คือ 3 บาท
ซึ่งเป็นต้นทุนคงที่ต่อขวด เท่ากับ 1 บาท
และต้นทุนผันแปรต่อขวด เท่ากับ 2 บาท
ซึ่งเป็นต้นทุนคงที่ต่อขวด เท่ากับ 1 บาท
และต้นทุนผันแปรต่อขวด เท่ากับ 2 บาท
ต่อมาเมื่อเราตัดสินใจผลิตน้ำดื่มเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เป็น 200,000 ขวด ต่อวัน ทำให้ต้นทุนผันแปรเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเช่นกัน เป็น 400,000 บาท
ขณะที่ต้นทุนคงที่เท่าเดิม ที่ 100,000 บาท
ขณะที่ต้นทุนคงที่เท่าเดิม ที่ 100,000 บาท
หมายความว่า ตอนนี้ น้ำดื่มที่เราผลิต จะมีต้นทุนรวมเท่ากับ 500,000 บาท
แต่ต้นทุนรวมต่อขวด ลดลงเหลือเท่ากับ 2.5 บาท
แต่ต้นทุนรวมต่อขวด ลดลงเหลือเท่ากับ 2.5 บาท
ซึ่งเป็นต้นทุนผันแปรต่อขวดที่ 2 บาท
และต้นทุนคงที่ต่อขวดที่ 0.5 บาท
และต้นทุนคงที่ต่อขวดที่ 0.5 บาท
เราจะเห็นว่า ต้นทุนคงที่ต่อขวดนั้น ลดลง เมื่อเราเพิ่มการผลิตน้ำดื่มมากขึ้น
เพราะรายจ่ายที่เป็นต้นทุนคงที่ ถูกกระจายไปยังน้ำดื่มแต่ละขวดได้มากขึ้น
เพราะรายจ่ายที่เป็นต้นทุนคงที่ ถูกกระจายไปยังน้ำดื่มแต่ละขวดได้มากขึ้น
หมายความว่า ธุรกิจน้ำดื่มของเรานั้นมี Economies of Scale หรือการประหยัดต่อขนาดเกิดขึ้นแล้ว นั่นเอง..
ตัวอย่างของสินค้าที่ต้องอาศัย Economies of Scale มักเป็นสินค้าที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน ไม่มีความแตกต่างกันในลักษณะของตัวสินค้ามากนัก อย่างเช่น เคสของน้ำดื่มที่เราอธิบายไป
นอกจากนี้ ยังมีอีกคำที่คล้าย ๆ กันนั่นคือ Economies of Scope ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนได้ จากการดำเนินธุรกิจหลายอย่าง ในเวลาเดียวกัน
ซึ่งหนึ่งในธุรกิจที่ใช้ Economies of Scope ในการแข่งขัน ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ “ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ”
ที่วันนี้หลาย ๆ แบรนด์ มีการให้บริการมากมายหลายอย่าง เช่น
ที่วันนี้หลาย ๆ แบรนด์ มีการให้บริการมากมายหลายอย่าง เช่น
-การให้บริการรับฝาก ถอนเงินแก่ลูกค้า
-การรับชำระค่าบริการต่าง ๆ
-การรับส่งสินค้า พัสดุ
-การรับชำระค่าตั๋วเครื่องบิน ตั๋วคอนเสิร์ต
-การรับชำระค่าบริการต่าง ๆ
-การรับส่งสินค้า พัสดุ
-การรับชำระค่าตั๋วเครื่องบิน ตั๋วคอนเสิร์ต
ซึ่งการเพิ่มสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่หลากหลายเข้าไป ทำให้ธุรกิจก็ยังมีต้นทุนเท่าเดิม หรืออาจเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ธุรกิจสามารถให้บริการได้หลากหลายมากขึ้น
เช่น ถ้าลูกค้ามาจ่ายบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ที่ร้าน
ก็อาจจะซื้อของกิน หรือเครื่องดื่มในร้านสะดวกซื้อตามไปด้วย โดยที่ทางร้านก็สามารถให้บริการได้ โดยที่ยังมีต้นทุนค่าเช่าที่ ค่าไฟ และค่าจ้างพนักงาน ในปริมาณเท่า ๆ เดิม
ก็อาจจะซื้อของกิน หรือเครื่องดื่มในร้านสะดวกซื้อตามไปด้วย โดยที่ทางร้านก็สามารถให้บริการได้ โดยที่ยังมีต้นทุนค่าเช่าที่ ค่าไฟ และค่าจ้างพนักงาน ในปริมาณเท่า ๆ เดิม
และนี่ก็คือความหมายและการประยุกต์ใช้ของ 2 คำสำคัญทางธุรกิจอย่าง Economies of Scale และ Economies of Scope
ที่สำคัญมากในโลกของการทำธุรกิจ
ที่สำคัญมากในโลกของการทำธุรกิจ
เพราะการหาวิธีผลิตเยอะ ๆ ให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง และการหาวิธีให้บริการได้หลากหลาย โดยต้นทุนเท่า ๆ เดิม
มันคือวิธีที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราแข่งขันได้ดีขึ้น และทำกำไรได้สูงสุด นั่นเอง..
มันคือวิธีที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราแข่งขันได้ดีขึ้น และทำกำไรได้สูงสุด นั่นเอง..