กลยุทธ์ ออกสินค้าตัวใหม่ ให้ขายแพงขึ้นได้ แบบไม่น่าเกลียด
18 ก.ค. 2022
ทำไมถึงขึ้นราคา ? ขึ้นราคาอีกแล้วเหรอ ?
ในยุคที่ข้าวยากหมากแพง การปรับขึ้นราคาสินค้าต่าง ๆ ของแบรนด์ มักมีคำถามตามมาจากผู้บริโภคเสมอ
ยิ่งแบรนด์ไหนประกาศขึ้นราคา แต่คุณภาพและปริมาณไม่ต่างจากเดิม ก็น่าจะโดนผู้บริโภคโกรธเอาได้
เห็นได้จากในหลาย ๆ กรณีที่มีการขึ้นราคาสินค้าหรือบริการ หากผู้ผลิตตอบว่า เพราะราคาต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้เราต้องขึ้นราคาสินค้า
ก็ยังมีผู้บริโภคน้อยคนนัก ที่จะเข้าใจปัญหาด้านต้นทุนของผู้ผลิต
แล้วแบรนด์ควรทำอย่างไร ? หากจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้า ในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาฐานลูกค้าไว้ด้วย..
มีหนึ่งวิธีที่ทำให้แบรนด์สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ และยังได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคด้วย
นั่นก็คือ “การออกสินค้าใหม่” เพื่อให้ขายแพงขึ้นได้ แบบไม่น่าเกลียด
เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลายคนอาจจะได้ยินข่าวเรื่อง “มาม่า” สินค้าประเภทบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขอปรับราคาขึ้น 1 บาท
เนื่องจากต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้น (แต่ยังไม่สามารถปรับขึ้นได้ เพราะต้องผ่านการอนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์)
ถึงแม้ว่าตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา จะไม่ได้มีการขึ้นราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็ตาม แต่การขอขึ้นราคาในครั้งนี้ ก็ยังคงสร้างความไม่พอใจ และเกิดเป็นกระแสดรามาจากฝั่งผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบ
เนื่องจากผู้บริโภคมักไม่พอใจหากต้องจ่ายเงินมากขึ้น เพื่อซื้อของที่มีคุณสมบัติเหมือนเดิม
เพราะรู้สึกว่าสินค้าที่ซื้อ ไม่คุ้มค่ากับราคาที่แพงขึ้น
นอกจากนี้ผู้บริโภคบางส่วนยังมองว่าเป็นการผลักภาระให้กับทางผู้บริโภคเสียมากกว่า
เพราะผู้บริโภคเหล่านี้มองว่า ปัญหาด้านต้นทุนถือเป็นปัญหาของฝั่งผู้ผลิตที่ต้องรับผิดชอบและแก้ไข
และเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ปี 2022 ที่ผ่านมา มาม่าก็ได้เปิดตัวบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สูตรใหม่อย่าง “Less Sodium” ราคาซองละ 8 บาท ซึ่งจะวางขายในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้
โดยเป็นการนำเอา 4 รสชาติยอดนิยม มาพัฒนาเป็นสินค้าใหม่ ได้แก่
- รสต้มยำกุ้ง โซเดียมลดลง 43%
- รสหมูสับ โซเดียมลดลง 32%
- รสต้มยำกุ้งน้ำข้น โซเดียมลดลง 38%
- รสเส้นหมี่น้ำใส โซเดียมลดลง 38%
ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดสินค้าให้เข้ากับเทรนด์สุขภาพมากขึ้น และหลังจากเปิดตัวมาม่าสูตรลดโซเดียม ก็ได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นอย่างมาก รวมไปถึงกระแสตอบรับที่ดีในหมู่คนรักสุขภาพ ที่ถึงแม้ว่าตัวสินค้าจะยังไม่ได้วางขายอย่างเป็นทางการก็ตาม
ซึ่งกระแสของสินค้าใหม่ที่พัฒนาขึ้นนี้ นับว่าเป็นการสร้างทางเลือกและความแปลกใหม่ ที่เรียกความสนใจจากผู้บริโภค ได้มากกว่าเรื่องราคา
เพราะการเพิ่มคุณค่าบางอย่างเข้าไปในผลิตภัณฑ์
อย่างเช่น การลดปริมาณโซเดียม ซึ่งถือเป็น Pain Point สำคัญ ของคนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ก็ช่วยลดความไม่พอใจของลูกค้าบางส่วนลงไปได้
นอกจากนั้น ยังช่วยให้ลูกค้าหลายคน ยอมตัดสินใจซื้อสินค้าใหม่นั้น ได้ง่ายกว่า การขึ้นราคาสินค้าเดิม โดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
ซึ่งก็ทำให้แบรนด์ขายสินค้าแพงขึ้นได้ แบบที่ไม่น่าเกลียด จนเกินไป..
References:
-https://www.bangkokbiznews.com/business/1013201
-https://www.bangkokbiznews.com/business/1009195
-https://www.marketthink.co/28187
ในยุคที่ข้าวยากหมากแพง การปรับขึ้นราคาสินค้าต่าง ๆ ของแบรนด์ มักมีคำถามตามมาจากผู้บริโภคเสมอ
ยิ่งแบรนด์ไหนประกาศขึ้นราคา แต่คุณภาพและปริมาณไม่ต่างจากเดิม ก็น่าจะโดนผู้บริโภคโกรธเอาได้
เห็นได้จากในหลาย ๆ กรณีที่มีการขึ้นราคาสินค้าหรือบริการ หากผู้ผลิตตอบว่า เพราะราคาต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้เราต้องขึ้นราคาสินค้า
ก็ยังมีผู้บริโภคน้อยคนนัก ที่จะเข้าใจปัญหาด้านต้นทุนของผู้ผลิต
แล้วแบรนด์ควรทำอย่างไร ? หากจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้า ในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาฐานลูกค้าไว้ด้วย..
มีหนึ่งวิธีที่ทำให้แบรนด์สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ และยังได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคด้วย
นั่นก็คือ “การออกสินค้าใหม่” เพื่อให้ขายแพงขึ้นได้ แบบไม่น่าเกลียด
เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลายคนอาจจะได้ยินข่าวเรื่อง “มาม่า” สินค้าประเภทบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขอปรับราคาขึ้น 1 บาท
เนื่องจากต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้น (แต่ยังไม่สามารถปรับขึ้นได้ เพราะต้องผ่านการอนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์)
ถึงแม้ว่าตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา จะไม่ได้มีการขึ้นราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็ตาม แต่การขอขึ้นราคาในครั้งนี้ ก็ยังคงสร้างความไม่พอใจ และเกิดเป็นกระแสดรามาจากฝั่งผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบ
เนื่องจากผู้บริโภคมักไม่พอใจหากต้องจ่ายเงินมากขึ้น เพื่อซื้อของที่มีคุณสมบัติเหมือนเดิม
เพราะรู้สึกว่าสินค้าที่ซื้อ ไม่คุ้มค่ากับราคาที่แพงขึ้น
นอกจากนี้ผู้บริโภคบางส่วนยังมองว่าเป็นการผลักภาระให้กับทางผู้บริโภคเสียมากกว่า
เพราะผู้บริโภคเหล่านี้มองว่า ปัญหาด้านต้นทุนถือเป็นปัญหาของฝั่งผู้ผลิตที่ต้องรับผิดชอบและแก้ไข
และเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ปี 2022 ที่ผ่านมา มาม่าก็ได้เปิดตัวบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สูตรใหม่อย่าง “Less Sodium” ราคาซองละ 8 บาท ซึ่งจะวางขายในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้
โดยเป็นการนำเอา 4 รสชาติยอดนิยม มาพัฒนาเป็นสินค้าใหม่ ได้แก่
- รสต้มยำกุ้ง โซเดียมลดลง 43%
- รสหมูสับ โซเดียมลดลง 32%
- รสต้มยำกุ้งน้ำข้น โซเดียมลดลง 38%
- รสเส้นหมี่น้ำใส โซเดียมลดลง 38%
ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดสินค้าให้เข้ากับเทรนด์สุขภาพมากขึ้น และหลังจากเปิดตัวมาม่าสูตรลดโซเดียม ก็ได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นอย่างมาก รวมไปถึงกระแสตอบรับที่ดีในหมู่คนรักสุขภาพ ที่ถึงแม้ว่าตัวสินค้าจะยังไม่ได้วางขายอย่างเป็นทางการก็ตาม
ซึ่งกระแสของสินค้าใหม่ที่พัฒนาขึ้นนี้ นับว่าเป็นการสร้างทางเลือกและความแปลกใหม่ ที่เรียกความสนใจจากผู้บริโภค ได้มากกว่าเรื่องราคา
เพราะการเพิ่มคุณค่าบางอย่างเข้าไปในผลิตภัณฑ์
อย่างเช่น การลดปริมาณโซเดียม ซึ่งถือเป็น Pain Point สำคัญ ของคนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ก็ช่วยลดความไม่พอใจของลูกค้าบางส่วนลงไปได้
นอกจากนั้น ยังช่วยให้ลูกค้าหลายคน ยอมตัดสินใจซื้อสินค้าใหม่นั้น ได้ง่ายกว่า การขึ้นราคาสินค้าเดิม โดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
ซึ่งก็ทำให้แบรนด์ขายสินค้าแพงขึ้นได้ แบบที่ไม่น่าเกลียด จนเกินไป..
References:
-https://www.bangkokbiznews.com/business/1013201
-https://www.bangkokbiznews.com/business/1009195
-https://www.marketthink.co/28187