“เงินไม่สำคัญ” คือคำพูดของคนรวย แล้วถ้าเงินยังสำคัญ ต้องวางแผนกันอย่างไร ?
27 ก.พ. 2022
“เงินไม่สำคัญ” คือคำพูดของคนรวย แล้วถ้าเงินยังสำคัญ ต้องวางแผนกันอย่างไร ? | THE BRIEFCASE
เวลาพูดถึงสิ่งที่จำเป็นในชีวิต “เงิน” มักเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ๆ เสมอ
แต่เมื่อมีการนำไปเปรียบเทียบกับ ความรัก ความสัมพันธ์ หรือสุขภาพ
บางคนก็มักให้ความสำคัญกับเงินไว้ในอันดับอื่น ๆ พร้อมกับประโยคที่ว่า “เงินไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญ”
แต่หากคิดให้ดีแล้ว ทุกอย่างล้วนมีเงินเป็นส่วนเกี่ยวข้อง ต่อการช่วยให้ชีวิตมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น คำว่า “เงินไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญ” สำหรับบางคน อาจไม่ได้เป็นความจริงเสมอไป
แต่เป็นจริงได้ สำหรับคนที่สามารถบริหาร และให้ลำดับความสำคัญแก่ชีวิตในส่วนอื่น ๆ ได้อย่างไร้ความกังวลใจในเรื่องเงินได้แล้ว
หากเราอยากเป็นคนที่ไร้ความกังวลใจทางด้านการเงิน
เราควรเริ่มจัดการเงินอย่างไร เพื่อให้วันข้างหน้า เราสามารถเอ่ยคำพูดเท่ ๆ ได้แบบนั้นบ้าง
THE BRIEFCASE มี 6 เทคนิคที่เรียบง่ายแต่ได้ผล มาให้คุณได้นำไปทำตามกัน
1. ออมไม่ได้ช่วยให้รวย แต่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของวินัยทางการเงิน
เรื่องการออมเป็นเรื่องพื้นฐานที่หลายคนอาจเบื่อหน่าย แต่นี่คือจุดเริ่มต้นเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งการออมก็สามารถทำได้ด้วยการแบ่งออม
โดยวิธีง่าย ๆ ก็คือ การหักออกจากรายได้โดยทันทีที่ได้มา ซึ่งสิ่งที่จะได้ติดตัวมานอกจากเงินออมที่เพิ่มขึ้นแล้ว ก็คือความมี “วินัย” ที่เพิ่มขึ้น
หรือหากไม่รู้จะเริ่มต้นออมอย่างไร เราแนะนำให้กลับไปอ่านวิธีการออมสนุก ๆ จากเทคนิคออมเงิน 6 กระปุกของ THE BRIEFCASE ได้ที่ https://www.facebook.com/TheBriefcaseTH/photos/402191055025713
2. เงินสำรองฉุกเฉิน เงินก้อนสำคัญ ที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่ไม่คาดฝัน
เป้าหมายการออมอันดับแรก ๆ คือ การเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินเอาไว้ป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น เช่น ประสบอุบัติเหตุ หรือตกงานกะทันหัน
หากถามว่าเราควรมีเงินสำรองฉุกเฉินไว้เท่าไร คำแนะนำคือ ควรมีอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของการใช้เวลาหางานใหม่
ส่วนการคำนวณเงินสำรองฉุกเฉินคือ นำค่าใช้จ่ายต่อเดือน คูณ 6
เช่น มีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 30,000 บาท ดังนั้น เงินสำรองฉุกเฉินควรมีอยู่ 180,000 บาทนั่นเอง
3. รายได้หลักเป็นเรื่องดี รายได้เสริมเป็นเรื่องสำคัญ
การสร้างรายได้เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ แต่สิ่งสำคัญกว่าคือ การสร้างรายได้มากกว่า 1 ช่องทาง
ซึ่งการมีรายได้มากกว่า 1 ช่องทาง จะช่วยลดความกังวลใจ และยังทำให้สุขภาพทางการเงินของเราไม่เลวร้าย ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันกับรายได้หลักของเรา
4. ความรู้ทางการเงินคือสิ่งสำคัญ ต่อการดูแลตัวเองและครอบครัว
Financial Literacy หรือ ความรู้ทางการเงิน กลายเป็นทักษะสำคัญในทศวรรษนี้
โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเข้าสู่โลกของการทำงาน ที่กำลังกลายเป็นเสาหลักของครอบครัว พร้อมกับแนวโน้มที่จะต้องเป็นผู้ดูแลชีวิตคนรอบข้าง
จนอาจเจอภาวะ Sandwich Generation หรือเจอปัญหารอบด้านได้ในไม่ช้า
ซึ่ง Sandwich Generation อธิบายง่าย ๆ คือ เป็นกลุ่มคนที่กำลังแบกภาระต่าง ๆ ไว้กับตัวเอง ซึ่งมีทั้งเรื่องเงิน เรื่องงาน และครอบครัว
นั่นทำให้ทักษะความรู้ทางการเงิน ยิ่งสำคัญต่อการบริหารชีวิตมากยิ่งขึ้น
5. หลักคิดสำคัญของการกระจายความเสี่ยง
หลังจากที่เราเริ่มมีความรู้และตัดสินใจลงทุนแล้ว
อีกหนึ่งทักษะที่ต้องมีคือการกระจายความเสี่ยงในเรื่องของการเงินและการลงทุน
ตามแนวคิด “อย่าใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าใบเดียว”
หากถามว่า ถ้าเรามีไข่อยู่สิบใบ จะมีกี่ใบที่เราสามารถวางไว้ในตะกร้าที่มีความเสี่ยงได้ ?
ซึ่งเรามีเทคนิคง่าย ๆ ในการรับความเสี่ยงตามสัดส่วนอายุ
นั่นคือ การนำ “100 - อายุ” จะเท่ากับสัดส่วนที่รับความเสี่ยงได้ เช่น เราอายุ 30 ก็นำ 100 - 30 นั่นเท่ากับว่า พอร์ตการลงทุนของเราสามารถรับความเสี่ยงได้ประมาณ 70%
ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง อย่างหุ้น หรือกองทุนตราสารทุน ก็ได้
แต่ก็ต้องหมายเหตุชัด ๆ ว่า นี่เป็นเพียงเทคนิคง่าย ๆ เบื้องต้นเท่านั้น
ใครที่ซีเรียสหน่อย ก็ต้องลองตัดสินใจวางแผนเรื่องการกระจายความเสี่ยงให้รอบคอบอย่างเต็มที่
6. แผนเกษียณ.. แผนสำคัญที่กำหนดการเงินในชีวิต
สุดท้ายเมื่อเราออมเงินจนมีวินัยอย่างต่อเนื่อง มีเงินสำรองฉุกเฉิน มีแหล่งรายได้ที่แน่นอนที่มีมากกว่าหนึ่งช่องทาง มีความรู้ทางการเงิน จนสามารถเริ่มลงทุนและกระจายความเสี่ยงได้ด้วยตัวเอง
แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาจะไร้ทิศทาง หากเราไม่มีเป้าหมายในการไปถึง
หนึ่งในนั้นคือ “แผนเกษียณ”
ซึ่งต้นทุนข้อหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ “ระยะเวลา”
ระยะเวลาจะช่วยเปลี่ยนเงินก้อนเล็กของเรา ให้กลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ ภายใต้ผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ไปพร้อมกับระดับความเสี่ยงที่รับได้ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายเงินก้อนเกษียณที่เราวางไว้
ดังนั้น หากใครเริ่มต้นได้เร็วย่อมได้เปรียบ แม้ว่าเงินตั้งต้นจะน้อยก็ตาม..
มาถึงตรงนี้ คำพูดที่ว่า “เงินไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญ”
คงขึ้นอยู่กับเราแล้วว่า จะใช้เป็นข้ออ้างต่อความล้มเหลวทางการเงิน
หรือสร้างประโยคนั้นให้กลายเป็นความจริง
ในวันที่เรามีอิสรภาพทางการเงินเรียบร้อยแล้ว..
#THEBRIEFCASE
#PersonalFinance
เวลาพูดถึงสิ่งที่จำเป็นในชีวิต “เงิน” มักเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ๆ เสมอ
แต่เมื่อมีการนำไปเปรียบเทียบกับ ความรัก ความสัมพันธ์ หรือสุขภาพ
บางคนก็มักให้ความสำคัญกับเงินไว้ในอันดับอื่น ๆ พร้อมกับประโยคที่ว่า “เงินไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญ”
แต่หากคิดให้ดีแล้ว ทุกอย่างล้วนมีเงินเป็นส่วนเกี่ยวข้อง ต่อการช่วยให้ชีวิตมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น คำว่า “เงินไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญ” สำหรับบางคน อาจไม่ได้เป็นความจริงเสมอไป
แต่เป็นจริงได้ สำหรับคนที่สามารถบริหาร และให้ลำดับความสำคัญแก่ชีวิตในส่วนอื่น ๆ ได้อย่างไร้ความกังวลใจในเรื่องเงินได้แล้ว
หากเราอยากเป็นคนที่ไร้ความกังวลใจทางด้านการเงิน
เราควรเริ่มจัดการเงินอย่างไร เพื่อให้วันข้างหน้า เราสามารถเอ่ยคำพูดเท่ ๆ ได้แบบนั้นบ้าง
THE BRIEFCASE มี 6 เทคนิคที่เรียบง่ายแต่ได้ผล มาให้คุณได้นำไปทำตามกัน
1. ออมไม่ได้ช่วยให้รวย แต่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของวินัยทางการเงิน
เรื่องการออมเป็นเรื่องพื้นฐานที่หลายคนอาจเบื่อหน่าย แต่นี่คือจุดเริ่มต้นเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งการออมก็สามารถทำได้ด้วยการแบ่งออม
โดยวิธีง่าย ๆ ก็คือ การหักออกจากรายได้โดยทันทีที่ได้มา ซึ่งสิ่งที่จะได้ติดตัวมานอกจากเงินออมที่เพิ่มขึ้นแล้ว ก็คือความมี “วินัย” ที่เพิ่มขึ้น
หรือหากไม่รู้จะเริ่มต้นออมอย่างไร เราแนะนำให้กลับไปอ่านวิธีการออมสนุก ๆ จากเทคนิคออมเงิน 6 กระปุกของ THE BRIEFCASE ได้ที่ https://www.facebook.com/TheBriefcaseTH/photos/402191055025713
2. เงินสำรองฉุกเฉิน เงินก้อนสำคัญ ที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่ไม่คาดฝัน
เป้าหมายการออมอันดับแรก ๆ คือ การเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินเอาไว้ป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น เช่น ประสบอุบัติเหตุ หรือตกงานกะทันหัน
หากถามว่าเราควรมีเงินสำรองฉุกเฉินไว้เท่าไร คำแนะนำคือ ควรมีอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของการใช้เวลาหางานใหม่
ส่วนการคำนวณเงินสำรองฉุกเฉินคือ นำค่าใช้จ่ายต่อเดือน คูณ 6
เช่น มีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 30,000 บาท ดังนั้น เงินสำรองฉุกเฉินควรมีอยู่ 180,000 บาทนั่นเอง
3. รายได้หลักเป็นเรื่องดี รายได้เสริมเป็นเรื่องสำคัญ
การสร้างรายได้เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ แต่สิ่งสำคัญกว่าคือ การสร้างรายได้มากกว่า 1 ช่องทาง
ซึ่งการมีรายได้มากกว่า 1 ช่องทาง จะช่วยลดความกังวลใจ และยังทำให้สุขภาพทางการเงินของเราไม่เลวร้าย ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันกับรายได้หลักของเรา
4. ความรู้ทางการเงินคือสิ่งสำคัญ ต่อการดูแลตัวเองและครอบครัว
Financial Literacy หรือ ความรู้ทางการเงิน กลายเป็นทักษะสำคัญในทศวรรษนี้
โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเข้าสู่โลกของการทำงาน ที่กำลังกลายเป็นเสาหลักของครอบครัว พร้อมกับแนวโน้มที่จะต้องเป็นผู้ดูแลชีวิตคนรอบข้าง
จนอาจเจอภาวะ Sandwich Generation หรือเจอปัญหารอบด้านได้ในไม่ช้า
ซึ่ง Sandwich Generation อธิบายง่าย ๆ คือ เป็นกลุ่มคนที่กำลังแบกภาระต่าง ๆ ไว้กับตัวเอง ซึ่งมีทั้งเรื่องเงิน เรื่องงาน และครอบครัว
นั่นทำให้ทักษะความรู้ทางการเงิน ยิ่งสำคัญต่อการบริหารชีวิตมากยิ่งขึ้น
5. หลักคิดสำคัญของการกระจายความเสี่ยง
หลังจากที่เราเริ่มมีความรู้และตัดสินใจลงทุนแล้ว
อีกหนึ่งทักษะที่ต้องมีคือการกระจายความเสี่ยงในเรื่องของการเงินและการลงทุน
ตามแนวคิด “อย่าใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าใบเดียว”
หากถามว่า ถ้าเรามีไข่อยู่สิบใบ จะมีกี่ใบที่เราสามารถวางไว้ในตะกร้าที่มีความเสี่ยงได้ ?
ซึ่งเรามีเทคนิคง่าย ๆ ในการรับความเสี่ยงตามสัดส่วนอายุ
นั่นคือ การนำ “100 - อายุ” จะเท่ากับสัดส่วนที่รับความเสี่ยงได้ เช่น เราอายุ 30 ก็นำ 100 - 30 นั่นเท่ากับว่า พอร์ตการลงทุนของเราสามารถรับความเสี่ยงได้ประมาณ 70%
ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง อย่างหุ้น หรือกองทุนตราสารทุน ก็ได้
แต่ก็ต้องหมายเหตุชัด ๆ ว่า นี่เป็นเพียงเทคนิคง่าย ๆ เบื้องต้นเท่านั้น
ใครที่ซีเรียสหน่อย ก็ต้องลองตัดสินใจวางแผนเรื่องการกระจายความเสี่ยงให้รอบคอบอย่างเต็มที่
6. แผนเกษียณ.. แผนสำคัญที่กำหนดการเงินในชีวิต
สุดท้ายเมื่อเราออมเงินจนมีวินัยอย่างต่อเนื่อง มีเงินสำรองฉุกเฉิน มีแหล่งรายได้ที่แน่นอนที่มีมากกว่าหนึ่งช่องทาง มีความรู้ทางการเงิน จนสามารถเริ่มลงทุนและกระจายความเสี่ยงได้ด้วยตัวเอง
แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาจะไร้ทิศทาง หากเราไม่มีเป้าหมายในการไปถึง
หนึ่งในนั้นคือ “แผนเกษียณ”
ซึ่งต้นทุนข้อหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ “ระยะเวลา”
ระยะเวลาจะช่วยเปลี่ยนเงินก้อนเล็กของเรา ให้กลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ ภายใต้ผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ไปพร้อมกับระดับความเสี่ยงที่รับได้ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายเงินก้อนเกษียณที่เราวางไว้
ดังนั้น หากใครเริ่มต้นได้เร็วย่อมได้เปรียบ แม้ว่าเงินตั้งต้นจะน้อยก็ตาม..
มาถึงตรงนี้ คำพูดที่ว่า “เงินไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญ”
คงขึ้นอยู่กับเราแล้วว่า จะใช้เป็นข้ออ้างต่อความล้มเหลวทางการเงิน
หรือสร้างประโยคนั้นให้กลายเป็นความจริง
ในวันที่เรามีอิสรภาพทางการเงินเรียบร้อยแล้ว..
#THEBRIEFCASE
#PersonalFinance