“บ้างาน” อย่างไร ไม่ให้เป็นภัย กับตนเอง ?
28 ธ.ค. 2021
“บ้างาน” อย่างไร ไม่ให้เป็นภัย กับตนเอง ? | THE BRIEFCASE
หากพูดถึงอาการที่คนเรากำลังเสพติดบางสิ่งบางอย่าง ต้องการทำหรืออยู่กับสิ่งนั้นตลอดเวลา หลายคนก็น่าจะนึกถึงอาการเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น
- การเสพติดเกม (Game Addiction)
- การติดการพนัน (Pathological Gambling Addiction)
- การติดยาเสพติด (Drug Addiction)
ซึ่งอาการที่ว่ามานั้น มักเป็นอาการที่คนส่วนใหญ่มองว่าจะส่งผลด้านลบต่อผู้เสพติด
แต่ถ้ามองเรื่องนี้ให้ใกล้ตัวเราเข้ามาอีกนิด จะพบอาการเหล่านี้ได้ไม่เว้นแม้แต่ในโลกของการทำงาน
หรือที่เราเรียกกันว่า “คนบ้างาน” นั่นเอง
คนบ้างาน คือคนที่มีความรู้สึกว่า อยากทำงานตลอดเวลา ไม่อยากหยุดทำงานเป็นเวลานาน ๆ หรือแม้แต่เวลาลาพักร้อน รวมไปถึงช่วงวันหยุดพักผ่อน คนเหล่านั้นยังอยากทำงาน, อยากเช็กอีเมล ข้อความต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานอยู่เสมอ
คนซึ่งกำลังอยู่ในภาวะแบบนี้ เรียกว่า “Work Addiction” หรือก็คือภาวะของการเสพติดงาน
แล้ว Work Addiction เกิดจากอะไร แล้วจะส่งผลต่อตัวเราอย่างไร ?
หากใครกำลังมีอาการหมกมุ่นกับการทำงานตลอดเวลา จนละเลยไม่สนใจผู้คนที่อยู่รอบตัว แถมยังเอางานกลับมาทำที่บ้านเป็นประจำ ชอบกลับบ้านดึก ๆ ดื่น ๆ
เพราะมัวแต่ทำงาน หรือไม่อยากทำสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากงานที่ตนเองทำ
นั่นคือ สัญญาณที่บอกว่า เขาเป็นคนบ้างาน หรืออยู่ในภาวะที่เรียกว่า “Work Addiction”
แน่นอนว่า ผลเสียที่เกิดจาก Work Addiction นั้นก็มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
- ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวที่มีแนวโน้มแย่ลงไปเรื่อย ๆ
- ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการทำงานเป็นเวลานาน
- ภาวะหมดไฟจากงานที่ทำ
- ไม่มีเวลาให้กับตนเองไปทำอย่างอื่น นอกเหนือจากเรื่องงาน
รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้วอาการเสพติดงานก็คล้ายกับอาการเสพติดชนิดอื่น ๆ
เช่น การเสพติดเกม การติดยาเสพติด หรือการติดการพนัน
ซึ่งล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย และจิตใจต่อผู้มีอาการ
แล้วทำไมคนเหล่านี้ จึงมีอาการเสพติดการทำงาน ?
ในกรณีของคนบ้างานหรืออยู่ในภาวะของการเสพติดการทำงานนั้น
อาจเกิดมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการทำงานให้ประสบความสำเร็จ หรือบรรลุผลตามที่ตั้งเป้าไว้ ซึ่งผลลัพธ์ของการประสบความสำเร็จก็แสดงออกมาในหลายรูปแบบ
เช่น ตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้น, เงินเดือนที่มากขึ้น, โบนัสที่เพิ่มขึ้น หรือเพื่ออนาคตที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการทุ่มเทให้กับงานที่ทำจะดูเป็นสิ่งที่ดี
แล้วถ้าเรามีอาการเสพติดการทำงานหรือบ้างานเสียแล้ว ควรจะแก้ไขอย่างไร ?
- ไม่จำเป็นต้องตอบตกลงในทุกเรื่อง
หากเป็นคนที่ตอบตกลงคนอื่นเสมอ ๆ ไม่ว่าใครจะมาไหว้วานให้ช่วยอะไร ทำให้เราต้องเข้าไปช่วยเหลือคนอื่น ๆ จนบางครั้งเกินลิมิต เกินขีดความสามารถที่ตัวเราเองจะรับไหวได้ รวมทั้งงานที่เราต้องไปช่วยคนอื่นนั้นใช้เวลามาก จนมาเบียดบังเวลางานและชีวิตส่วนตัวเราเสมอ
พอเป็นแบบนี้ เราควรเรียนรู้ที่จะตอบปฏิเสธ ไม่จำเป็นต้องพูด “ได้” หรือ “ตกลง” ตลอดเวลา เมื่อมีใครมาขอร้องให้เราช่วยทุกเรื่อง
ดังนั้น ก่อนที่จะตอบตกลงช่วยเหลือใคร ลองใช้เวลาประเมินขีดความสามารถ และเวลาของเราเสียก่อน
เพื่อไม่ให้เราตกอยู่ในภาวะทำงานหนักตลอดเวลา จนกลายเป็นภาวะเสพติดการทำงาน นั่นเอง
- รู้จักมอบหมายงานให้คนที่เราไว้ใจ
ใครก็ตามที่ชอบเอางานมาทำเองทั้งหมด อาจจะเป็นเพราะต้องการผลงาน หรือไม่ไว้ใจลูกทีม หรือเพื่อนร่วมงาน นอกจากตัวเอง
แน่นอนว่าพฤติกรรมเหล่านี้ จะทำให้เราต้องกลายเป็นคนรับผิดชอบงานคนเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ ส่งผลให้ใช้เวลาในการทำงานมาก จนหลายครั้งเกินเวลาส่วนตัวของตัวเองและคนรอบข้าง
วิธีแก้ปัญหาก็คือ การรู้จักมอบหมายงานให้คนที่เราไว้ใจ
รวมไปถึง การเชื่อมั่นในศักยภาพของคนที่เรามอบหมายงานว่า เขาสามารถทำงานได้
ครั้งหนึ่ง Richard Branson ผู้ร่วมก่อตั้ง Virgin Group ยังเคยแนะนำวิธีการทำงานว่า
“ลองพยายามสร้างทีมงานเก่ง ๆ ให้อยู่รอบตัวเรา เพื่อที่เราจะได้ไว้ใจและมอบหมายงานที่สำคัญ ๆ ให้พวกเขาทำได้ แล้วก็จะทำให้เรามีเวลาไปทำเรื่องอื่น ๆ ได้มากขึ้น”
- เลือกทำงานกับบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรแบบ Work Life Balance
หลายบริษัทในยุคนี้ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมการทำงานแบบ Work Life Balance มากขึ้น
ซึ่ง Work Life Balance นั่นก็คือ การจัดความสมดุลของชีวิตการทำงานให้เหมาะสม
เช่น จัดให้มีโซนพักผ่อนหย่อนใจในที่ทำงาน, จัดคลาสออกกำลังกายหรือกิจกรรมพิเศษ เพื่อให้พนักงานรู้สึกผ่อนคลาย
และที่ลืมไม่ได้ก็คือ หลายบริษัทยังมีนโยบายยืดหยุ่นเวลาเข้า-ออก จากที่ทำงานมากขึ้น
เช่น พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) หรือทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Work from Anywhere) โดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้ามาสำนักงาน ไม่ต้องเผชิญปัญหาเรื่องการเดินทาง การจราจร
แน่นอนว่า นโยบายเหล่านี้ช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบ Work Life Balance ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตัวพนักงานได้ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว
มาถึงตรงนี้ แม้ว่างานจะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต
แต่เราก็ไม่ควรมองข้ามความสำคัญในเรื่องอื่น ๆ ของชีวิตเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพ, เวลาส่วนตัวกับคนรอบข้าง หรือแม้แต่เวลาส่วนตัวในการพัฒนาตัวเอง
สุดท้ายแล้ว “เวลา” เป็นสิ่งมีค่ามากที่สุด เพราะถ้ามันผ่านไปแล้ว จะไม่สามารถย้อนคืนกลับมาได้ ดังนั้น การจัดสรรเวลาให้กับทุกเรื่องที่สำคัญในชีวิต จึงเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้เรื่องงาน นั่นเอง..
References:
-https://www.atlassian.com/blog/productivity/work-addiction-is-real
-https://onlinedegrees.unr.edu/blog/the-impact-of-work-addiction-on-family-life-and-mental-health/
หากพูดถึงอาการที่คนเรากำลังเสพติดบางสิ่งบางอย่าง ต้องการทำหรืออยู่กับสิ่งนั้นตลอดเวลา หลายคนก็น่าจะนึกถึงอาการเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น
- การเสพติดเกม (Game Addiction)
- การติดการพนัน (Pathological Gambling Addiction)
- การติดยาเสพติด (Drug Addiction)
ซึ่งอาการที่ว่ามานั้น มักเป็นอาการที่คนส่วนใหญ่มองว่าจะส่งผลด้านลบต่อผู้เสพติด
แต่ถ้ามองเรื่องนี้ให้ใกล้ตัวเราเข้ามาอีกนิด จะพบอาการเหล่านี้ได้ไม่เว้นแม้แต่ในโลกของการทำงาน
หรือที่เราเรียกกันว่า “คนบ้างาน” นั่นเอง
คนบ้างาน คือคนที่มีความรู้สึกว่า อยากทำงานตลอดเวลา ไม่อยากหยุดทำงานเป็นเวลานาน ๆ หรือแม้แต่เวลาลาพักร้อน รวมไปถึงช่วงวันหยุดพักผ่อน คนเหล่านั้นยังอยากทำงาน, อยากเช็กอีเมล ข้อความต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานอยู่เสมอ
คนซึ่งกำลังอยู่ในภาวะแบบนี้ เรียกว่า “Work Addiction” หรือก็คือภาวะของการเสพติดงาน
แล้ว Work Addiction เกิดจากอะไร แล้วจะส่งผลต่อตัวเราอย่างไร ?
หากใครกำลังมีอาการหมกมุ่นกับการทำงานตลอดเวลา จนละเลยไม่สนใจผู้คนที่อยู่รอบตัว แถมยังเอางานกลับมาทำที่บ้านเป็นประจำ ชอบกลับบ้านดึก ๆ ดื่น ๆ
เพราะมัวแต่ทำงาน หรือไม่อยากทำสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากงานที่ตนเองทำ
นั่นคือ สัญญาณที่บอกว่า เขาเป็นคนบ้างาน หรืออยู่ในภาวะที่เรียกว่า “Work Addiction”
แน่นอนว่า ผลเสียที่เกิดจาก Work Addiction นั้นก็มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
- ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวที่มีแนวโน้มแย่ลงไปเรื่อย ๆ
- ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการทำงานเป็นเวลานาน
- ภาวะหมดไฟจากงานที่ทำ
- ไม่มีเวลาให้กับตนเองไปทำอย่างอื่น นอกเหนือจากเรื่องงาน
รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้วอาการเสพติดงานก็คล้ายกับอาการเสพติดชนิดอื่น ๆ
เช่น การเสพติดเกม การติดยาเสพติด หรือการติดการพนัน
ซึ่งล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย และจิตใจต่อผู้มีอาการ
แล้วทำไมคนเหล่านี้ จึงมีอาการเสพติดการทำงาน ?
ในกรณีของคนบ้างานหรืออยู่ในภาวะของการเสพติดการทำงานนั้น
อาจเกิดมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการทำงานให้ประสบความสำเร็จ หรือบรรลุผลตามที่ตั้งเป้าไว้ ซึ่งผลลัพธ์ของการประสบความสำเร็จก็แสดงออกมาในหลายรูปแบบ
เช่น ตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้น, เงินเดือนที่มากขึ้น, โบนัสที่เพิ่มขึ้น หรือเพื่ออนาคตที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการทุ่มเทให้กับงานที่ทำจะดูเป็นสิ่งที่ดี
แล้วถ้าเรามีอาการเสพติดการทำงานหรือบ้างานเสียแล้ว ควรจะแก้ไขอย่างไร ?
- ไม่จำเป็นต้องตอบตกลงในทุกเรื่อง
หากเป็นคนที่ตอบตกลงคนอื่นเสมอ ๆ ไม่ว่าใครจะมาไหว้วานให้ช่วยอะไร ทำให้เราต้องเข้าไปช่วยเหลือคนอื่น ๆ จนบางครั้งเกินลิมิต เกินขีดความสามารถที่ตัวเราเองจะรับไหวได้ รวมทั้งงานที่เราต้องไปช่วยคนอื่นนั้นใช้เวลามาก จนมาเบียดบังเวลางานและชีวิตส่วนตัวเราเสมอ
พอเป็นแบบนี้ เราควรเรียนรู้ที่จะตอบปฏิเสธ ไม่จำเป็นต้องพูด “ได้” หรือ “ตกลง” ตลอดเวลา เมื่อมีใครมาขอร้องให้เราช่วยทุกเรื่อง
ดังนั้น ก่อนที่จะตอบตกลงช่วยเหลือใคร ลองใช้เวลาประเมินขีดความสามารถ และเวลาของเราเสียก่อน
เพื่อไม่ให้เราตกอยู่ในภาวะทำงานหนักตลอดเวลา จนกลายเป็นภาวะเสพติดการทำงาน นั่นเอง
- รู้จักมอบหมายงานให้คนที่เราไว้ใจ
ใครก็ตามที่ชอบเอางานมาทำเองทั้งหมด อาจจะเป็นเพราะต้องการผลงาน หรือไม่ไว้ใจลูกทีม หรือเพื่อนร่วมงาน นอกจากตัวเอง
แน่นอนว่าพฤติกรรมเหล่านี้ จะทำให้เราต้องกลายเป็นคนรับผิดชอบงานคนเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ ส่งผลให้ใช้เวลาในการทำงานมาก จนหลายครั้งเกินเวลาส่วนตัวของตัวเองและคนรอบข้าง
วิธีแก้ปัญหาก็คือ การรู้จักมอบหมายงานให้คนที่เราไว้ใจ
รวมไปถึง การเชื่อมั่นในศักยภาพของคนที่เรามอบหมายงานว่า เขาสามารถทำงานได้
ครั้งหนึ่ง Richard Branson ผู้ร่วมก่อตั้ง Virgin Group ยังเคยแนะนำวิธีการทำงานว่า
“ลองพยายามสร้างทีมงานเก่ง ๆ ให้อยู่รอบตัวเรา เพื่อที่เราจะได้ไว้ใจและมอบหมายงานที่สำคัญ ๆ ให้พวกเขาทำได้ แล้วก็จะทำให้เรามีเวลาไปทำเรื่องอื่น ๆ ได้มากขึ้น”
- เลือกทำงานกับบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรแบบ Work Life Balance
หลายบริษัทในยุคนี้ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมการทำงานแบบ Work Life Balance มากขึ้น
ซึ่ง Work Life Balance นั่นก็คือ การจัดความสมดุลของชีวิตการทำงานให้เหมาะสม
เช่น จัดให้มีโซนพักผ่อนหย่อนใจในที่ทำงาน, จัดคลาสออกกำลังกายหรือกิจกรรมพิเศษ เพื่อให้พนักงานรู้สึกผ่อนคลาย
และที่ลืมไม่ได้ก็คือ หลายบริษัทยังมีนโยบายยืดหยุ่นเวลาเข้า-ออก จากที่ทำงานมากขึ้น
เช่น พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) หรือทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Work from Anywhere) โดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้ามาสำนักงาน ไม่ต้องเผชิญปัญหาเรื่องการเดินทาง การจราจร
แน่นอนว่า นโยบายเหล่านี้ช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบ Work Life Balance ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตัวพนักงานได้ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว
มาถึงตรงนี้ แม้ว่างานจะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต
แต่เราก็ไม่ควรมองข้ามความสำคัญในเรื่องอื่น ๆ ของชีวิตเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพ, เวลาส่วนตัวกับคนรอบข้าง หรือแม้แต่เวลาส่วนตัวในการพัฒนาตัวเอง
สุดท้ายแล้ว “เวลา” เป็นสิ่งมีค่ามากที่สุด เพราะถ้ามันผ่านไปแล้ว จะไม่สามารถย้อนคืนกลับมาได้ ดังนั้น การจัดสรรเวลาให้กับทุกเรื่องที่สำคัญในชีวิต จึงเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้เรื่องงาน นั่นเอง..
References:
-https://www.atlassian.com/blog/productivity/work-addiction-is-real
-https://onlinedegrees.unr.edu/blog/the-impact-of-work-addiction-on-family-life-and-mental-health/