บริษัทด้าน EdTech กำลังได้ประโยชน์ ในยุคที่คนไม่ได้หาความรู้ แค่ในห้องเรียน
28 ธ.ค. 2021
บริษัทด้าน EdTech กำลังได้ประโยชน์ ในยุคที่คนไม่ได้หาความรู้ แค่ในห้องเรียน | THE BRIEFCASE
ถ้าถามว่าสิ่งที่คนทุกวันนี้โหยหากันมากที่สุด คืออะไร ?
เชื่อว่านอกจากคำตอบแรก ๆ จะเป็นเรื่องเงินแล้ว
อีกสิ่งที่น่าจะเป็นคำตอบของใครหลายคน คงเป็น “ความรู้”
เมื่อก่อนถ้าอยากเก่งด้านอะไรเป็นพิเศษ เราอาจต้องไปลงเรียนคอร์สที่มหาวิทยาลัย หรือต่อปริญญาโท เอก ไปเลย
แต่ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้า เราหาความรู้ได้จาก “ทุกที่ ทุกเวลา”
จนกิมมิกคำว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ “Lifelong learning” กลายเป็นอีกเรื่องที่หลายคนให้ความสำคัญ ไม่แพ้เรื่องอื่น ๆ เลย
พอเรื่องเป็นแบบนี้ หนึ่งในคนที่ได้ประโยชน์ไปเต็ม ๆ ก็คือบรรดาบริษัทเทคโนโลยีด้านการศึกษา หรือที่เรียกกันว่า EdTech ซึ่งย่อมาจาก Education Technology
Education Technology อธิบายแบบง่าย ๆ ก็คือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ที่จะทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
ซึ่งที่จริงแล้ว การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษามีมานานแล้ว
เช่น การใช้กระดานไวต์บอร์ด เครื่องฉายภาพ
มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
แต่ถ้าพูดถึงคำว่า EdTech ในทุกวันนี้
สิ่งที่น่าจะสื่อความหมายได้ดีที่สุด
ก็น่าจะเป็นบรรดาแอปพลิเคชัน หรือแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์
รู้ไหมว่า ตั้งแต่ปี 2010 เม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาล ได้หลั่งไหลเข้ามาลงทุนในสตาร์ตอัปด้าน Education Technology
มูลค่าการร่วมลงทุนในสตาร์ตอัป EdTech ทั่วโลก จากรายงานของ HolonIQ
ปี 2010 มูลค่า 15,750 ล้านบาท
ปี 2015 มูลค่า 132,300 ล้านบาท
ปี 2019 มูลค่า 221,000 ล้านบาท
ซึ่งต้องบอกว่าในช่วงเวลาที่ว่านี้ ก็ได้มีแพลตฟอร์มสำหรับการศึกษา
โดยเฉพาะแพลตฟอร์มสำหรับเรียนออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย
จนบางรายเติบโตจนเข้าตลาดหุ้นไปแล้วก็มี
ยกตัวอย่างเช่น
- Coursera
แพลตฟอร์มรวมคอร์สเรียนออนไลน์ ที่มีพันธมิตรเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำทั่วโลกมากกว่า 200 แห่ง มีคอร์สเรียนบนแพลตฟอร์มมากกว่าแสนคอร์ส เรียนจบแล้วได้ใบรับรอง ซึ่งล่าสุดมีผู้เข้ามาใช้งานแพลตฟอร์มแล้วกว่า 92 ล้านคน
Coursera ก่อตั้งขึ้นในปี 2012 โดย 2 อาจารย์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด คือ Andrew Ng และ Daphne Koller
โดย Coursera ก็เพิ่ง IPO เข้าตลาดหุ้นนิวยอร์กไปเมื่อต้นปี 2021 ที่ผ่านมา และปัจจุบันมีมูลค่าราว ๆ 110,000 ล้านบาท
ลองมาดูการเติบโตของรายได้ Coursera ช่วงที่ผ่านมา
ปี 2018 รายได้ 4,800 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 6,200 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 9,900 ล้านบาท
- Byju’s
สตาร์ตอัปด้านการศึกษาสัญชาติอินเดีย ที่ใหญ่สุดในโลก ณ ปัจจุบัน
บริษัทถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2011 และวันนี้มีมูลค่าที่ถูกประเมินไว้มากถึง 600,000 ล้านบาท
โดยในปี 2020 Byju’s มีผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มกว่า 100 ล้านบัญชี และมีสมาชิกที่เสียเงินรายปีให้กับบริษัทกว่า 6.5 ล้านบัญชี และล่าสุดก็กำลังเตรียมเข้าตลาดหุ้นในเร็ว ๆ นี้
ลองมาดูการเติบโตของรายได้ Byju’s ช่วงที่ผ่านมา
ปี 2018 รายได้ 2,100 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 5,800 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 12,000 ล้านบาท
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่าง ที่น่าจะใกล้ตัวเราขึ้นมาอีก
เพราะรู้ไหมว่าตอนนี้ ก็มีสตาร์ตอัปด้านการศึกษาสัญชาติไทย ที่เติบโตได้อย่างน่าสนใจ นั่นก็คือ
- SkillLane
แพลตฟอร์มรวมคอร์สเรียนออนไลน์สัญชาติไทย ที่เพิ่งได้รับการจัดอันดับจาก Financial Times ว่าเป็นบริษัทด้านการศึกษา ที่เติบโตเร็วสุดในเอเชียแปซิฟิก ในช่วงปี 2016-2019
ลองมาดูการเติบโตของรายได้ SkillLane ช่วงที่ผ่านมา
ปี 2018 รายได้ 65 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 108 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 141 ล้านบาท
โดยหนึ่งในตัวเร่งสำคัญในปี 2020 ที่ผ่านมาคือการระบาดของโควิด 19
ที่ทำให้คนอยู่บ้านมากขึ้น มีเวลาทบทวนตัวเองมากขึ้น หลายคนทั่วโลกก็เลยหันมาหาคอร์สเรียนออนไลน์ อัปสกิลตัวเองในช่วงที่ผ่านมา
พอบวกกับเรื่องอินเทอร์เน็ต สมาร์ตโฟน และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่พัฒนา การเข้าถึงบริการแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์เหล่านี้ ก็ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่
ข้อมูลจากเว็บไซต์ grandviewresearch คาดการณ์ว่า
มูลค่าของตลาด EdTech ทั่วโลก จะเติบโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 19.9% ในช่วงปี 2021-2028
จากการพัฒนาของเทคโนโลยีเสริม เช่น AR, VR, AI ที่จะเพิ่มขึ้นอีกมาก
ซึ่งก็หมายความว่า บริษัทด้าน EdTech ก็น่าจะยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก
ในยุคที่ความรู้มันไม่ได้จำกัดแค่ ในห้องเรียน..
References
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-https://www.classcentral.com/report/coursera-s1-analysis/
-https://techcrunch.com/2021/10/04/indian-edtech-giant-byjus-valued-at-18-billion-in-new-funding/?fbclid=IwAR3K3BB1q-kBynvkm83f2d0I3J1eXXJvqM1rnIncV52ubuBaaF0gLFLg8kM
-https://www.ft.com/high-growth-asia-pacific-ranking-2021
ถ้าถามว่าสิ่งที่คนทุกวันนี้โหยหากันมากที่สุด คืออะไร ?
เชื่อว่านอกจากคำตอบแรก ๆ จะเป็นเรื่องเงินแล้ว
อีกสิ่งที่น่าจะเป็นคำตอบของใครหลายคน คงเป็น “ความรู้”
เมื่อก่อนถ้าอยากเก่งด้านอะไรเป็นพิเศษ เราอาจต้องไปลงเรียนคอร์สที่มหาวิทยาลัย หรือต่อปริญญาโท เอก ไปเลย
แต่ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้า เราหาความรู้ได้จาก “ทุกที่ ทุกเวลา”
จนกิมมิกคำว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ “Lifelong learning” กลายเป็นอีกเรื่องที่หลายคนให้ความสำคัญ ไม่แพ้เรื่องอื่น ๆ เลย
พอเรื่องเป็นแบบนี้ หนึ่งในคนที่ได้ประโยชน์ไปเต็ม ๆ ก็คือบรรดาบริษัทเทคโนโลยีด้านการศึกษา หรือที่เรียกกันว่า EdTech ซึ่งย่อมาจาก Education Technology
Education Technology อธิบายแบบง่าย ๆ ก็คือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ที่จะทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
ซึ่งที่จริงแล้ว การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษามีมานานแล้ว
เช่น การใช้กระดานไวต์บอร์ด เครื่องฉายภาพ
มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
แต่ถ้าพูดถึงคำว่า EdTech ในทุกวันนี้
สิ่งที่น่าจะสื่อความหมายได้ดีที่สุด
ก็น่าจะเป็นบรรดาแอปพลิเคชัน หรือแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์
รู้ไหมว่า ตั้งแต่ปี 2010 เม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาล ได้หลั่งไหลเข้ามาลงทุนในสตาร์ตอัปด้าน Education Technology
มูลค่าการร่วมลงทุนในสตาร์ตอัป EdTech ทั่วโลก จากรายงานของ HolonIQ
ปี 2010 มูลค่า 15,750 ล้านบาท
ปี 2015 มูลค่า 132,300 ล้านบาท
ปี 2019 มูลค่า 221,000 ล้านบาท
ซึ่งต้องบอกว่าในช่วงเวลาที่ว่านี้ ก็ได้มีแพลตฟอร์มสำหรับการศึกษา
โดยเฉพาะแพลตฟอร์มสำหรับเรียนออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย
จนบางรายเติบโตจนเข้าตลาดหุ้นไปแล้วก็มี
ยกตัวอย่างเช่น
- Coursera
แพลตฟอร์มรวมคอร์สเรียนออนไลน์ ที่มีพันธมิตรเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำทั่วโลกมากกว่า 200 แห่ง มีคอร์สเรียนบนแพลตฟอร์มมากกว่าแสนคอร์ส เรียนจบแล้วได้ใบรับรอง ซึ่งล่าสุดมีผู้เข้ามาใช้งานแพลตฟอร์มแล้วกว่า 92 ล้านคน
Coursera ก่อตั้งขึ้นในปี 2012 โดย 2 อาจารย์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด คือ Andrew Ng และ Daphne Koller
โดย Coursera ก็เพิ่ง IPO เข้าตลาดหุ้นนิวยอร์กไปเมื่อต้นปี 2021 ที่ผ่านมา และปัจจุบันมีมูลค่าราว ๆ 110,000 ล้านบาท
ลองมาดูการเติบโตของรายได้ Coursera ช่วงที่ผ่านมา
ปี 2018 รายได้ 4,800 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 6,200 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 9,900 ล้านบาท
- Byju’s
สตาร์ตอัปด้านการศึกษาสัญชาติอินเดีย ที่ใหญ่สุดในโลก ณ ปัจจุบัน
บริษัทถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2011 และวันนี้มีมูลค่าที่ถูกประเมินไว้มากถึง 600,000 ล้านบาท
โดยในปี 2020 Byju’s มีผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มกว่า 100 ล้านบัญชี และมีสมาชิกที่เสียเงินรายปีให้กับบริษัทกว่า 6.5 ล้านบัญชี และล่าสุดก็กำลังเตรียมเข้าตลาดหุ้นในเร็ว ๆ นี้
ลองมาดูการเติบโตของรายได้ Byju’s ช่วงที่ผ่านมา
ปี 2018 รายได้ 2,100 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 5,800 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 12,000 ล้านบาท
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่าง ที่น่าจะใกล้ตัวเราขึ้นมาอีก
เพราะรู้ไหมว่าตอนนี้ ก็มีสตาร์ตอัปด้านการศึกษาสัญชาติไทย ที่เติบโตได้อย่างน่าสนใจ นั่นก็คือ
- SkillLane
แพลตฟอร์มรวมคอร์สเรียนออนไลน์สัญชาติไทย ที่เพิ่งได้รับการจัดอันดับจาก Financial Times ว่าเป็นบริษัทด้านการศึกษา ที่เติบโตเร็วสุดในเอเชียแปซิฟิก ในช่วงปี 2016-2019
ลองมาดูการเติบโตของรายได้ SkillLane ช่วงที่ผ่านมา
ปี 2018 รายได้ 65 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 108 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 141 ล้านบาท
โดยหนึ่งในตัวเร่งสำคัญในปี 2020 ที่ผ่านมาคือการระบาดของโควิด 19
ที่ทำให้คนอยู่บ้านมากขึ้น มีเวลาทบทวนตัวเองมากขึ้น หลายคนทั่วโลกก็เลยหันมาหาคอร์สเรียนออนไลน์ อัปสกิลตัวเองในช่วงที่ผ่านมา
พอบวกกับเรื่องอินเทอร์เน็ต สมาร์ตโฟน และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่พัฒนา การเข้าถึงบริการแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์เหล่านี้ ก็ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่
ข้อมูลจากเว็บไซต์ grandviewresearch คาดการณ์ว่า
มูลค่าของตลาด EdTech ทั่วโลก จะเติบโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 19.9% ในช่วงปี 2021-2028
จากการพัฒนาของเทคโนโลยีเสริม เช่น AR, VR, AI ที่จะเพิ่มขึ้นอีกมาก
ซึ่งก็หมายความว่า บริษัทด้าน EdTech ก็น่าจะยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก
ในยุคที่ความรู้มันไม่ได้จำกัดแค่ ในห้องเรียน..
References
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-https://www.classcentral.com/report/coursera-s1-analysis/
-https://techcrunch.com/2021/10/04/indian-edtech-giant-byjus-valued-at-18-billion-in-new-funding/?fbclid=IwAR3K3BB1q-kBynvkm83f2d0I3J1eXXJvqM1rnIncV52ubuBaaF0gLFLg8kM
-https://www.ft.com/high-growth-asia-pacific-ranking-2021