สรุปแนวคิดผู้บริหาร RBF บริษัทเฉพาะทางด้านกลิ่น หนึ่งเดียวในตลาดหุ้นไทย
26 ต.ค. 2021
สรุปแนวคิดผู้บริหาร RBF บริษัทเฉพาะทางด้านกลิ่น หนึ่งเดียวในตลาดหุ้นไทย | THE BRIEFCASE
ปี 2020 ตลาดของอุตสาหกรรมกลิ่น และน้ำหอมของโลก มีมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านบาท
และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
โดย 4 บริษัทผู้ครองตลาดระดับโลก หรือ Big 4 ส่วนใหญ่แล้วเป็นบริษัทในยุโรป และสหรัฐอเมริกา
ได้แก่ บริษัท Givaudan และ Firmenich ของสวิตเซอร์แลนด์
บริษัท International Flavors and Fragrances ของสหรัฐอเมริกา
และบริษัท Symrise ของเยอรมนี
ซึ่งทั้ง 4 บริษัท Big 4 นี้ มีสัดส่วนรายได้ คิดเป็นกว่า 50% ของตลาดโลก..
และรู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยก็มีบริษัทที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกลิ่น และจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นไทยด้วย
ซึ่งเน้นไปที่การปรุงแต่งกลิ่นและรส ของอาหารเป็นหลัก บริษัทนั้นก็คือ R&B Food Supply
หรือที่ใช้ชื่อย่อในตลาดหุ้นว่า RBF
RBF เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกลิ่น สี และสารปรุงแต่งรสอาหาร
ก่อตั้งโดย ดร.สมชาย รัตนภูมิภิญโญ นักวิทยาศาสตร์ด้านเคมี ในปี พ.ศ. 2534 หรือกว่า 30 ปีที่แล้ว
และเติบโตจนกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าราว 40,000 ล้านบาท
RBF เป็นผู้อยู่เบื้องหลังกลิ่น สี และรสของผลิตภัณฑ์อาหารชั้นนำในท้องตลาด รวมถึงมีการขยายฐานการผลิตไปยังประเทศในอาเซียนด้วย คือ อินโดนีเซีย และเวียดนาม
ในวันนี้ ส่วนหนึ่งของการบริหารได้ตกมาอยู่ที่ทายาทรุ่นที่สอง
ซึ่งก็คือ พ.ท. พญ.จัณจิดา รัตนภูมิภิญโญ ลูกสาวของ ดร.สมชาย ผู้ก่อตั้งนั่นเอง
โดยคุณหมอจัณจิดาได้ใช้หลัก 2 ประการ ในการบริหาร และพัฒนา RBF ให้เติบโตต่อไป
ประการแรกคือ การอ่อนน้อมถ่อมตน
เนื่องจากตัวคุณหมอเองเป็นทายาทรุ่นที่ 2 จึงอาจไม่ได้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเท่ากับพนักงานหลาย ๆ คนในบริษัท จำเป็นต้องอาศัยความอ่อนน้อมถ่อมตน ในการเรียนรู้งานจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ในบริษัท โดยเฉพาะสายวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร เพื่อนำมาปรับและวางแผนการเติบโตให้บริษัทต่อไป
นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการเรียนรู้จากบริษัทคู่ค้าทางธุรกิจต่าง ๆ ด้วย ซึ่งหลายบริษัทก็เป็นคู่ค้ากันมานาน การรักษาความสัมพันธ์อันดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้เกิดการช่วยกันวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดได้
ประการที่ 2 คือ Mindset ของการเป็น “มวยรอง”
เรื่องราวของการเป็นมวยรอง คือการต่อสู้กับผู้ที่อยู่เหนือกว่า ทั้งที่มีกำลังน้อยกว่า แต่ก็ต่อสู้ด้วยความมุ่งมั่น ความอดทน และการวางแผนที่ดี
เปรียบเทียบได้กับ RBF ถึงแม้จะเป็นบริษัทขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับบริษัทด้านกลิ่นระดับโลก
แต่ก็ค่อย ๆ เติบโต ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการขยายตลาดใหม่ ๆ
ซึ่ง Mindset ของการเป็นมวยรอง คือสิ่งสำคัญมากที่คุณหมอจัณจิดาอยากให้มีในตัวบุคลากรของ RBF ทุก ๆ คน ก็คือ การมุ่งมั่นหาข้อมูล วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต
ในส่วนของแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในช่วงปี 2564 ถึง 2565 จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
ก็คือ กลุ่มสารสกัดจากกัญชา-กัญชง
ซึ่ง RBF เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตในการสกัดสารสำคัญจากพืชเหล่านี้
หากเทียบในห่วงโซ่ของธุรกิจ RBF จัดเป็นธุรกิจกลางน้ำ ที่จำเป็นต้องเชื่อมโยงคุณภาพ กับกลุ่มต้นน้ำและปลายน้ำ
กลุ่มต้นน้ำ ก็คือ เกษตรกรผู้ผลิต ให้วางแผนเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดี และมีสารสำคัญในปริมาณที่เหมาะสม
ส่วนกลุ่มปลายน้ำ คือ บริษัทอาหารต่าง ๆ ต้องมาช่วยกันวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีสารสำคัญในระดับที่มีมาตรฐาน และมีความปลอดภัย
ในส่วนของการขยายตลาด RBF มองว่าระยะยาวก็อยากเติบโตไปสู่ตลาดโลก แต่ขอเริ่มโฟกัสจากการขยายตัวในภูมิภาคก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งก็ถือว่าเป็นตลาดใหญ่ มีศักยภาพในการเติบโตสูง และมีประชากรเกือบ 600 ล้านคน
เป็นที่น่าติดตามต่อไปว่า RBF จะเติบโตอย่างไรในอนาคต
แต่ตราบใดที่การกินอาหารยังคงเป็นความสุขของมนุษย์
โอกาสที่จะเติบโตของ RBF ก็ยังมีอยู่อีกมาก..
References
-บทสัมภาษณ์ พ.ท. พญ.จัณจิดา รัตนภูมิภิญโญ โดย THE BRIEFCASE
-ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ปี 2020 ตลาดของอุตสาหกรรมกลิ่น และน้ำหอมของโลก มีมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านบาท
และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
โดย 4 บริษัทผู้ครองตลาดระดับโลก หรือ Big 4 ส่วนใหญ่แล้วเป็นบริษัทในยุโรป และสหรัฐอเมริกา
ได้แก่ บริษัท Givaudan และ Firmenich ของสวิตเซอร์แลนด์
บริษัท International Flavors and Fragrances ของสหรัฐอเมริกา
และบริษัท Symrise ของเยอรมนี
ซึ่งทั้ง 4 บริษัท Big 4 นี้ มีสัดส่วนรายได้ คิดเป็นกว่า 50% ของตลาดโลก..
และรู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยก็มีบริษัทที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกลิ่น และจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นไทยด้วย
ซึ่งเน้นไปที่การปรุงแต่งกลิ่นและรส ของอาหารเป็นหลัก บริษัทนั้นก็คือ R&B Food Supply
หรือที่ใช้ชื่อย่อในตลาดหุ้นว่า RBF
RBF เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกลิ่น สี และสารปรุงแต่งรสอาหาร
ก่อตั้งโดย ดร.สมชาย รัตนภูมิภิญโญ นักวิทยาศาสตร์ด้านเคมี ในปี พ.ศ. 2534 หรือกว่า 30 ปีที่แล้ว
และเติบโตจนกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าราว 40,000 ล้านบาท
RBF เป็นผู้อยู่เบื้องหลังกลิ่น สี และรสของผลิตภัณฑ์อาหารชั้นนำในท้องตลาด รวมถึงมีการขยายฐานการผลิตไปยังประเทศในอาเซียนด้วย คือ อินโดนีเซีย และเวียดนาม
ในวันนี้ ส่วนหนึ่งของการบริหารได้ตกมาอยู่ที่ทายาทรุ่นที่สอง
ซึ่งก็คือ พ.ท. พญ.จัณจิดา รัตนภูมิภิญโญ ลูกสาวของ ดร.สมชาย ผู้ก่อตั้งนั่นเอง
โดยคุณหมอจัณจิดาได้ใช้หลัก 2 ประการ ในการบริหาร และพัฒนา RBF ให้เติบโตต่อไป
ประการแรกคือ การอ่อนน้อมถ่อมตน
เนื่องจากตัวคุณหมอเองเป็นทายาทรุ่นที่ 2 จึงอาจไม่ได้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเท่ากับพนักงานหลาย ๆ คนในบริษัท จำเป็นต้องอาศัยความอ่อนน้อมถ่อมตน ในการเรียนรู้งานจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ในบริษัท โดยเฉพาะสายวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร เพื่อนำมาปรับและวางแผนการเติบโตให้บริษัทต่อไป
นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการเรียนรู้จากบริษัทคู่ค้าทางธุรกิจต่าง ๆ ด้วย ซึ่งหลายบริษัทก็เป็นคู่ค้ากันมานาน การรักษาความสัมพันธ์อันดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้เกิดการช่วยกันวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดได้
ประการที่ 2 คือ Mindset ของการเป็น “มวยรอง”
เรื่องราวของการเป็นมวยรอง คือการต่อสู้กับผู้ที่อยู่เหนือกว่า ทั้งที่มีกำลังน้อยกว่า แต่ก็ต่อสู้ด้วยความมุ่งมั่น ความอดทน และการวางแผนที่ดี
เปรียบเทียบได้กับ RBF ถึงแม้จะเป็นบริษัทขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับบริษัทด้านกลิ่นระดับโลก
แต่ก็ค่อย ๆ เติบโต ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการขยายตลาดใหม่ ๆ
ซึ่ง Mindset ของการเป็นมวยรอง คือสิ่งสำคัญมากที่คุณหมอจัณจิดาอยากให้มีในตัวบุคลากรของ RBF ทุก ๆ คน ก็คือ การมุ่งมั่นหาข้อมูล วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต
ในส่วนของแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในช่วงปี 2564 ถึง 2565 จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
ก็คือ กลุ่มสารสกัดจากกัญชา-กัญชง
ซึ่ง RBF เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตในการสกัดสารสำคัญจากพืชเหล่านี้
หากเทียบในห่วงโซ่ของธุรกิจ RBF จัดเป็นธุรกิจกลางน้ำ ที่จำเป็นต้องเชื่อมโยงคุณภาพ กับกลุ่มต้นน้ำและปลายน้ำ
กลุ่มต้นน้ำ ก็คือ เกษตรกรผู้ผลิต ให้วางแผนเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดี และมีสารสำคัญในปริมาณที่เหมาะสม
ส่วนกลุ่มปลายน้ำ คือ บริษัทอาหารต่าง ๆ ต้องมาช่วยกันวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีสารสำคัญในระดับที่มีมาตรฐาน และมีความปลอดภัย
ในส่วนของการขยายตลาด RBF มองว่าระยะยาวก็อยากเติบโตไปสู่ตลาดโลก แต่ขอเริ่มโฟกัสจากการขยายตัวในภูมิภาคก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งก็ถือว่าเป็นตลาดใหญ่ มีศักยภาพในการเติบโตสูง และมีประชากรเกือบ 600 ล้านคน
เป็นที่น่าติดตามต่อไปว่า RBF จะเติบโตอย่างไรในอนาคต
แต่ตราบใดที่การกินอาหารยังคงเป็นความสุขของมนุษย์
โอกาสที่จะเติบโตของ RBF ก็ยังมีอยู่อีกมาก..
References
-บทสัมภาษณ์ พ.ท. พญ.จัณจิดา รัตนภูมิภิญโญ โดย THE BRIEFCASE
-ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย