ทำงานกับ บริษัทเล็ก VS บริษัทใหญ่ ดีและเสียต่างกัน อย่างไรบ้าง
30 ส.ค. 2021
ทำงานกับ บริษัทเล็ก VS บริษัทใหญ่ ดีและเสียต่างกัน อย่างไรบ้าง | THE BRIEFCASE
ไม่ว่าคนที่กำลังจะเริ่มต้นหางาน หรือกำลังวางแผนจะย้ายงาน หนึ่งในคำถามสำคัญที่หลายคนน่าจะเคยถามกับตัวเองคงหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า “ทำงานกับบริษัทขนาดเล็ก หรือบริษัทขนาดใหญ่ อย่างไหนดีกว่ากัน”
แน่นอนว่า การทำงานไม่ว่าจะเป็นกับทั้งบริษัทขนาดเล็ก หรือบริษัทขนาดใหญ่ ก็ย่อมมีความแตกต่างกันอยู่แล้ว และก็มีข้อดี-ข้อเสีย ที่แตกต่างกันไป
เรามาดูตัวอย่างข้อดี ของบริษัทขนาดเล็กกันก่อน
- มีโอกาสได้เรียนรู้งานหลายอย่าง
หนึ่งในลักษณะสำคัญของบริษัทขนาดเล็กคือ การมีจำนวนพนักงานน้อย ซึ่งทำให้ในบางครั้งเราอาจต้องไปช่วยงานคนอื่น ๆ หรือทำงานข้ามฝ่ายข้ามแผนกอยู่บ่อยครั้ง
การที่เราได้ทำงานในหลาย ๆ อย่าง มีส่วนช่วยให้เรามีทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งมีโอกาสเอาไปต่อยอดกับการทำงานในอนาคต
- อาจมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ ของบริษัทบ่อยครั้ง
ด้วยความที่จำนวนพนักงานในบริษัทยังมีน้อย เมื่อบริษัทมีเรื่องสำคัญ ๆ ที่ต้องตัดสินใจ อาจทำให้เรามีโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็น หรือแม้แต่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ ของบริษัทได้มากขึ้น
- ขั้นตอนทำงานไม่ยุ่งยาก มีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง
โครงสร้างองค์กรที่ไม่ซับซ้อน คนน้อย และมีเพียงไม่กี่ฝ่าย จะเปิดโอกาสให้เราทำงานโดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนในการทำงานหรือการตัดสินต่าง ๆ มากมาย จนเสียเวลาเกินความจำเป็น
นอกจากนี้ การทำงานในบริษัทขนาดเล็กยังช่วยให้เรามีโอกาสได้พูดคุยกับผู้บริหารมากกว่าคนที่ทำงานในองค์กรขนาดใหญ่อีกด้วย
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างข้อเสีย ของการทำงานในบริษัทขนาดเล็กกันบ้าง
- อาจรู้สึกว่าถูกกดดันได้ง่าย
ด้วยความที่มีพนักงานไม่มาก ทำให้ไม่ว่าใครทำงานอะไร ทุกคนในบริษัทมักจะรู้หมด ซึ่งในแง่การตรวจสอบการทำงานขององค์กร ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีและทำได้สะดวก
แต่ในมุมของพนักงาน อาจทำให้เกิดภาวะแรงกดดันจากการทำงานได้
- ความมั่นคงในหน้าที่การงานอาจมีไม่มาก
จุดอ่อนอย่างหนึ่งของบริษัทขนาดเล็กคือ มีความทนทานต่อความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจได้น้อยกว่าบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งหากบริษัทมีผลการทำงานย่ำแย่ ขาดทุนหนัก ก็มีโอกาสที่จะปลดพนักงานออกสูง ทำให้คนที่ทำงานในบริษัทเล็กนั้นมีความมั่นคงทางการงานน้อยกว่าคนที่ทำงานในบริษัทใหญ่นั่นเอง
- เงินเดือนและสวัสดิการอาจไม่สูง
ต้องยอมรับว่า การทำงานกับบริษัทขนาดเล็ก พนักงานอาจมีผลตอบแทนในรูปของเงินเดือนและสวัสดิการ ที่รวม ๆ แล้ว น้อยกว่าบริษัทขนาดใหญ่
เนื่องจากบริษัทขนาดเล็ก มักจะมีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่าย ที่มากกว่าบริษัทใหญ่ ๆ
ทีนี้เรามาดูทางฝั่งบริษัทขนาดใหญ่ว่ามีลักษณะอะไรที่สำคัญบ้าง
เริ่มที่ตัวอย่างข้อดีกันก่อน
- มีเส้นทางและโอกาสในการเติบโตที่ชัดเจน โดยไม่ต้องลาออก
บางบริษัทมีขนาดใหญ่ มีหลายหน่วยงาน หลากหลายธุรกิจ หรือแม้แต่มีบริษัทในเครือหลายแห่ง ซึ่งจุดเด่นตรงนี้ทำให้พนักงานในบริษัทขนาดใหญ่มีโอกาสเติบโต ก้าวหน้าในอาชีพการทำงานในบริษัท โดยที่ไม่ต้องลาออกไปเติบโตที่บริษัทอื่น
- มีความมั่นคงในหน้าที่การงานค่อนข้างสูง
โดยทั่วไปแล้ว บริษัทขนาดใหญ่มักมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งกว่าบริษัทขนาดเล็ก ทำให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แม้ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งเมื่อบริษัทมีความมั่นคงตรงนี้ ทำให้หน้าที่การงานของพนักงานก็มีความมั่นคงในระดับหนึ่ง
- มีโอกาสได้เงินเดือนและสวัสดิการสูง
ด้วยความที่บริษัทขนาดใหญ่มีฐานะการเงินที่ดี และแข็งแกร่ง ทำให้บริษัทสามารถจ้างพนักงานที่มีความสามารถ ด้วยการจ่ายเงินเดือนและสวัสดิการสูงได้ โดยที่ไม่กระทบกับภาระทางการเงินของบริษัทมาก เมื่อเทียบกับบริษัทขนาดเล็ก
แล้วตัวอย่างข้อเสียที่สำคัญ ของการทำงานในบริษัทขนาดใหญ่ มีอะไรบ้าง ?
- การทำงานเฉพาะด้าน จนอาจไม่รู้กว้าง
โครงสร้างของบริษัทขนาดใหญ่จะถูกออกแบบมาให้มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงานของพนักงานอย่างชัดเจน พนักงานจึงมักจะได้ทำงานเฉพาะด้านนั้น ๆ จนอาจไม่ได้เรียนรู้งานด้านอื่น ๆ ซึ่งก็อาจทำให้เป็นคนที่รู้เฉพาะเรื่องที่ทำ
- อาจไม่ค่อยได้มีส่วนร่วม ในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ ของบริษัท
การตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ ของบริษัทขนาดใหญ่หลายครั้งมักจะทำโดยคณะกรรมการ และผู้บริหารระดับสูงของบริษัท จนทำให้พนักงานของบริษัทไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ ของบริษัทมากนัก เมื่อเทียบกับบริษัทขนาดเล็ก
อาจมีบางบริษัทใหญ่ ๆ ที่เปิดโอกาส เปิดพื้นที่ให้พนักงานได้ออกความเห็นบ้างเช่นกัน แต่ความเห็นนั้นก็ต้องผ่านการตัดสินใจจากผู้บริหาระดับสูงอีกหลาย ๆ ขั้น
- ขั้นตอนการทำงานอาจจะยุ่งยากซับซ้อน และไม่ค่อยมีความยืดหยุ่น
ด้วยความที่มีหลายฝ่าย หลายลำดับชั้นในองค์กร จึงจำเป็นต้องมีการทำงานส่งต่อกันหลาย ๆ ทอด ทำให้มีขั้นตอนเยอะแยะมากมาย ซึ่งแน่นอนว่าข้อดีมันคือการกลับมาตรวจสอบได้อย่างละเอียด แต่ข้อเสียที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือความไม่ค่อยยืดหยุ่นในการทำงาน และบางกรณีอาจกินเวลานานเกินไป
สรุปแล้ว การทำงานกับบริษัทขนาดเล็กหรือบริษัทขนาดใหญ่ อย่างไหนดีกว่ากัน ?
คำถามนี้ ต้องขึ้นอยู่กับว่า เราเป็นคนแบบไหน หรืออยากที่จะเป็นแบบไหนด้วย
เช่น คนที่อยากเป็น Generalist หรือคนที่รู้กว้าง ๆ ต้องการทำงานได้หลาย ๆ อย่าง ต้องการมีทักษะความรู้ที่กว้างและหลากหลาย การทำงานกับบริษัทขนาดเล็กก็อาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
ส่วนคนที่อยากเป็น Specialist หรือคนที่มีความรู้ความชำนาญการเฉพาะด้าน
การทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ก็อาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่า เพราะจะมีการแบ่งงานที่รับผิดชอบงานเฉพาะด้าน ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญในด้านใดด้านหนึ่งมากกว่า และมีโอกาสได้ค่าจ้างสูงกว่า
หรือแม้แต่คนคนเดียวเองก็ตาม บริษัทขนาดเล็กอาจเหมาะกับคนคนนั้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป การทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ ก็อาจจะเหมาะสมกว่า ตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของชีวิต
แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันกับขนาดของบริษัทก็คือ งานที่เราทำควรจะต้องช่วยให้เราสามารถพัฒนาฝีมือ เพิ่มทักษะความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์การทำงานได้อย่างดี เพื่อที่วันหนึ่งเราจะได้นำเอาสิ่งเหล่านี้ไปต่อยอดกับการทำงานของเราในอนาคต
นอกจากนี้ อีกเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ
เนื่องจากเวลาเกือบ 1 ใน 3 ในชีวิตของคนส่วนใหญ่จะอยู่กับการทำงาน
ดังนั้น งานที่เรากำลังทำไม่ควรทำให้เราเครียดมากจนเกินไป
ที่สำคัญคือ จงเลือกทำงานในบริษัทที่เราทำแล้วมีความสุข
ไม่ว่าจะเป็น บริษัทขนาดเล็ก หรือบริษัทขนาดใหญ่ ก็ตาม..
-----------------------
Sponsored by JCB
JCB แฮปปี้ทุกไลฟ์สไตล์ มากกว่าส่วนลดและสิทธิประโยชน์แต่เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ในการใช้บัตรเครดิตอย่างคุ้มค่าตลอดทั้งปีกับบัตรเครดิต JCB ที่รวบรวมทั้งร้านอาหารชั้นนำ ปั๊มน้ำมัน ซูเปอร์มาเก็ต แพลตฟอร์มการสั่งอาหาร ส่วนลดการจองที่พัก ร้านค้าชั้นนำอีกมากมายทั้งหน้าร้านและแพลตฟอร์มออนไลน์อีกกว่า 100 ร้านค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/JCBCardThailandTH
#JCBThailand #JCBใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา
-----------------------
References
-https://www.prosoft.co.th/Article/Detail/121708
-https://www.smartsme.co.th/content/242599
-https://th.jobsdb.com/th-th/articles/บริษัทเล็ก-vs-บริษัทใหญ่-2/
ไม่ว่าคนที่กำลังจะเริ่มต้นหางาน หรือกำลังวางแผนจะย้ายงาน หนึ่งในคำถามสำคัญที่หลายคนน่าจะเคยถามกับตัวเองคงหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า “ทำงานกับบริษัทขนาดเล็ก หรือบริษัทขนาดใหญ่ อย่างไหนดีกว่ากัน”
แน่นอนว่า การทำงานไม่ว่าจะเป็นกับทั้งบริษัทขนาดเล็ก หรือบริษัทขนาดใหญ่ ก็ย่อมมีความแตกต่างกันอยู่แล้ว และก็มีข้อดี-ข้อเสีย ที่แตกต่างกันไป
เรามาดูตัวอย่างข้อดี ของบริษัทขนาดเล็กกันก่อน
- มีโอกาสได้เรียนรู้งานหลายอย่าง
หนึ่งในลักษณะสำคัญของบริษัทขนาดเล็กคือ การมีจำนวนพนักงานน้อย ซึ่งทำให้ในบางครั้งเราอาจต้องไปช่วยงานคนอื่น ๆ หรือทำงานข้ามฝ่ายข้ามแผนกอยู่บ่อยครั้ง
การที่เราได้ทำงานในหลาย ๆ อย่าง มีส่วนช่วยให้เรามีทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งมีโอกาสเอาไปต่อยอดกับการทำงานในอนาคต
- อาจมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ ของบริษัทบ่อยครั้ง
ด้วยความที่จำนวนพนักงานในบริษัทยังมีน้อย เมื่อบริษัทมีเรื่องสำคัญ ๆ ที่ต้องตัดสินใจ อาจทำให้เรามีโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็น หรือแม้แต่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ ของบริษัทได้มากขึ้น
- ขั้นตอนทำงานไม่ยุ่งยาก มีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง
โครงสร้างองค์กรที่ไม่ซับซ้อน คนน้อย และมีเพียงไม่กี่ฝ่าย จะเปิดโอกาสให้เราทำงานโดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนในการทำงานหรือการตัดสินต่าง ๆ มากมาย จนเสียเวลาเกินความจำเป็น
นอกจากนี้ การทำงานในบริษัทขนาดเล็กยังช่วยให้เรามีโอกาสได้พูดคุยกับผู้บริหารมากกว่าคนที่ทำงานในองค์กรขนาดใหญ่อีกด้วย
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างข้อเสีย ของการทำงานในบริษัทขนาดเล็กกันบ้าง
- อาจรู้สึกว่าถูกกดดันได้ง่าย
ด้วยความที่มีพนักงานไม่มาก ทำให้ไม่ว่าใครทำงานอะไร ทุกคนในบริษัทมักจะรู้หมด ซึ่งในแง่การตรวจสอบการทำงานขององค์กร ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีและทำได้สะดวก
แต่ในมุมของพนักงาน อาจทำให้เกิดภาวะแรงกดดันจากการทำงานได้
- ความมั่นคงในหน้าที่การงานอาจมีไม่มาก
จุดอ่อนอย่างหนึ่งของบริษัทขนาดเล็กคือ มีความทนทานต่อความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจได้น้อยกว่าบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งหากบริษัทมีผลการทำงานย่ำแย่ ขาดทุนหนัก ก็มีโอกาสที่จะปลดพนักงานออกสูง ทำให้คนที่ทำงานในบริษัทเล็กนั้นมีความมั่นคงทางการงานน้อยกว่าคนที่ทำงานในบริษัทใหญ่นั่นเอง
- เงินเดือนและสวัสดิการอาจไม่สูง
ต้องยอมรับว่า การทำงานกับบริษัทขนาดเล็ก พนักงานอาจมีผลตอบแทนในรูปของเงินเดือนและสวัสดิการ ที่รวม ๆ แล้ว น้อยกว่าบริษัทขนาดใหญ่
เนื่องจากบริษัทขนาดเล็ก มักจะมีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่าย ที่มากกว่าบริษัทใหญ่ ๆ
ทีนี้เรามาดูทางฝั่งบริษัทขนาดใหญ่ว่ามีลักษณะอะไรที่สำคัญบ้าง
เริ่มที่ตัวอย่างข้อดีกันก่อน
- มีเส้นทางและโอกาสในการเติบโตที่ชัดเจน โดยไม่ต้องลาออก
บางบริษัทมีขนาดใหญ่ มีหลายหน่วยงาน หลากหลายธุรกิจ หรือแม้แต่มีบริษัทในเครือหลายแห่ง ซึ่งจุดเด่นตรงนี้ทำให้พนักงานในบริษัทขนาดใหญ่มีโอกาสเติบโต ก้าวหน้าในอาชีพการทำงานในบริษัท โดยที่ไม่ต้องลาออกไปเติบโตที่บริษัทอื่น
- มีความมั่นคงในหน้าที่การงานค่อนข้างสูง
โดยทั่วไปแล้ว บริษัทขนาดใหญ่มักมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งกว่าบริษัทขนาดเล็ก ทำให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แม้ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งเมื่อบริษัทมีความมั่นคงตรงนี้ ทำให้หน้าที่การงานของพนักงานก็มีความมั่นคงในระดับหนึ่ง
- มีโอกาสได้เงินเดือนและสวัสดิการสูง
ด้วยความที่บริษัทขนาดใหญ่มีฐานะการเงินที่ดี และแข็งแกร่ง ทำให้บริษัทสามารถจ้างพนักงานที่มีความสามารถ ด้วยการจ่ายเงินเดือนและสวัสดิการสูงได้ โดยที่ไม่กระทบกับภาระทางการเงินของบริษัทมาก เมื่อเทียบกับบริษัทขนาดเล็ก
แล้วตัวอย่างข้อเสียที่สำคัญ ของการทำงานในบริษัทขนาดใหญ่ มีอะไรบ้าง ?
- การทำงานเฉพาะด้าน จนอาจไม่รู้กว้าง
โครงสร้างของบริษัทขนาดใหญ่จะถูกออกแบบมาให้มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงานของพนักงานอย่างชัดเจน พนักงานจึงมักจะได้ทำงานเฉพาะด้านนั้น ๆ จนอาจไม่ได้เรียนรู้งานด้านอื่น ๆ ซึ่งก็อาจทำให้เป็นคนที่รู้เฉพาะเรื่องที่ทำ
- อาจไม่ค่อยได้มีส่วนร่วม ในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ ของบริษัท
การตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ ของบริษัทขนาดใหญ่หลายครั้งมักจะทำโดยคณะกรรมการ และผู้บริหารระดับสูงของบริษัท จนทำให้พนักงานของบริษัทไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ ของบริษัทมากนัก เมื่อเทียบกับบริษัทขนาดเล็ก
อาจมีบางบริษัทใหญ่ ๆ ที่เปิดโอกาส เปิดพื้นที่ให้พนักงานได้ออกความเห็นบ้างเช่นกัน แต่ความเห็นนั้นก็ต้องผ่านการตัดสินใจจากผู้บริหาระดับสูงอีกหลาย ๆ ขั้น
- ขั้นตอนการทำงานอาจจะยุ่งยากซับซ้อน และไม่ค่อยมีความยืดหยุ่น
ด้วยความที่มีหลายฝ่าย หลายลำดับชั้นในองค์กร จึงจำเป็นต้องมีการทำงานส่งต่อกันหลาย ๆ ทอด ทำให้มีขั้นตอนเยอะแยะมากมาย ซึ่งแน่นอนว่าข้อดีมันคือการกลับมาตรวจสอบได้อย่างละเอียด แต่ข้อเสียที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือความไม่ค่อยยืดหยุ่นในการทำงาน และบางกรณีอาจกินเวลานานเกินไป
สรุปแล้ว การทำงานกับบริษัทขนาดเล็กหรือบริษัทขนาดใหญ่ อย่างไหนดีกว่ากัน ?
คำถามนี้ ต้องขึ้นอยู่กับว่า เราเป็นคนแบบไหน หรืออยากที่จะเป็นแบบไหนด้วย
เช่น คนที่อยากเป็น Generalist หรือคนที่รู้กว้าง ๆ ต้องการทำงานได้หลาย ๆ อย่าง ต้องการมีทักษะความรู้ที่กว้างและหลากหลาย การทำงานกับบริษัทขนาดเล็กก็อาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
ส่วนคนที่อยากเป็น Specialist หรือคนที่มีความรู้ความชำนาญการเฉพาะด้าน
การทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ก็อาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่า เพราะจะมีการแบ่งงานที่รับผิดชอบงานเฉพาะด้าน ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญในด้านใดด้านหนึ่งมากกว่า และมีโอกาสได้ค่าจ้างสูงกว่า
หรือแม้แต่คนคนเดียวเองก็ตาม บริษัทขนาดเล็กอาจเหมาะกับคนคนนั้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป การทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ ก็อาจจะเหมาะสมกว่า ตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของชีวิต
แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันกับขนาดของบริษัทก็คือ งานที่เราทำควรจะต้องช่วยให้เราสามารถพัฒนาฝีมือ เพิ่มทักษะความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์การทำงานได้อย่างดี เพื่อที่วันหนึ่งเราจะได้นำเอาสิ่งเหล่านี้ไปต่อยอดกับการทำงานของเราในอนาคต
นอกจากนี้ อีกเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ
เนื่องจากเวลาเกือบ 1 ใน 3 ในชีวิตของคนส่วนใหญ่จะอยู่กับการทำงาน
ดังนั้น งานที่เรากำลังทำไม่ควรทำให้เราเครียดมากจนเกินไป
ที่สำคัญคือ จงเลือกทำงานในบริษัทที่เราทำแล้วมีความสุข
ไม่ว่าจะเป็น บริษัทขนาดเล็ก หรือบริษัทขนาดใหญ่ ก็ตาม..
-----------------------
Sponsored by JCB
JCB แฮปปี้ทุกไลฟ์สไตล์ มากกว่าส่วนลดและสิทธิประโยชน์แต่เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ในการใช้บัตรเครดิตอย่างคุ้มค่าตลอดทั้งปีกับบัตรเครดิต JCB ที่รวบรวมทั้งร้านอาหารชั้นนำ ปั๊มน้ำมัน ซูเปอร์มาเก็ต แพลตฟอร์มการสั่งอาหาร ส่วนลดการจองที่พัก ร้านค้าชั้นนำอีกมากมายทั้งหน้าร้านและแพลตฟอร์มออนไลน์อีกกว่า 100 ร้านค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/JCBCardThailandTH
#JCBThailand #JCBใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา
-----------------------
References
-https://www.prosoft.co.th/Article/Detail/121708
-https://www.smartsme.co.th/content/242599
-https://th.jobsdb.com/th-th/articles/บริษัทเล็ก-vs-บริษัทใหญ่-2/