
ทำงานกับ คนเด็กกว่าอย่างไร ให้ความต่างวัยไม่ใช่ปัญหา
17 ส.ค. 2021
ทำงานกับ คนเด็กกว่าอย่างไร ให้ความต่างวัยไม่ใช่ปัญหา | THE BRIEFCASE
หลายคนที่เป็นหัวหน้าคงเคยเจอกับการมีลูกทีมที่เด็กกว่า หรือมีอายุห่างกันมาก ๆ
ทำให้เวลาทำงาน มักมีปัญหาผิดใจกันบ่อย ๆ หรือบางทีความหวังดีของเรา ก็กลายเป็นเรื่องที่สร้างความอึดอัดให้กับลูกทีม จนทำให้เสียบรรยากาศในการทำงานไป
สาเหตุของความขัดแย้งมันคืออะไร แล้วหากเราเป็นหัวหน้า จะเริ่มแก้ไขเรื่องอย่างไรดี ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง..
ก่อนอื่นเราต้องระลึกไว้เสมอว่า คนแต่ละยุคเติบโตในสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ เทคโนโลยีที่ต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่ามันส่งผลต่อชุดความคิดและข้อมูลต่าง ๆ ทำให้คนแต่ละยุคมีความต่างกัน
ซึ่งถึงแม้ว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนรู้กัน แต่พอถึงเวลาจริง ๆ ก็เป็นเรื่องยากที่จะยอมรับและเข้าใจ
แต่เพื่อให้การทำงานมันไปต่อได้ ไม่มีสะดุด และเพื่อให้ความต่างระหว่างวัยไม่ใช่ปัญหา นี่คือสิ่งสำคัญที่หัวหน้าควรรู้ และลองสำรวจตัวเองดูว่าเราทำตามนี้แล้วหรือยัง ?
- เคารพและให้เกียรติกันเสมอ แม้เขาจะอายุน้อยกว่า
การให้เกียรติสามารถทำได้กับทุก ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะการเรียกลูกทีมด้วยคำที่สุภาพ ไม่ติดตลกจนเกินไปหรือการไม่ใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย
ในการประชุม ก็ไม่ควรใช้สิทธิ์ใช้อำนาจ ด่วนตัดสิน หรือพูดแทรกขณะที่ลูกทีมยังพูดไม่จบ
และบางครั้งเราอาจจะคิดว่าเรายุ่งมาก ทำให้เผลอใช้งานลูกทีมในเรื่องจุกจิกเล็กน้อย เช่น ใช้ให้ไปซื้อกาแฟ ใช้ให้ทำเรื่องส่วนตัวของเรา โดยที่เขาไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเลขาฯ ส่วนตัว และมีงานของตัวเองที่ต้องทำอยู่ ซึ่งการทำเช่นนี้ ถือเป็นการไม่ให้เกียรติในหน้าที่ของลูกทีมเช่นกัน
หากอยากได้ความเคารพ เราก็ควรให้ความเคารพก่อน อย่าเห็นว่าเขาเป็นคนอายุน้อยกว่า แล้วจะทำอะไรก็ได้ เพราะเด็กรุ่นหลังมักจะโฟกัสไปที่คุณค่าของตัวเอง ต้องการทำงานเพื่อเรียนรู้ เติบโตด้วยผลงาน มากกว่าการมานั่งเอาใจหัวหน้าหรือเจ้านาย
- สอนงานได้ ลงมือทำให้ดู เป็นที่พึ่งได้จริง
บางคนอาจจะเผลอด่วนสรุปไปว่า เด็กรุ่นใหม่ทุกคนต้องไฟแรง ชอบลุยงานเดี่ยว ไม่ชอบให้คนจู้จี้จุกจิก
ทำให้หัวหน้าบางคนไม่เข้าไปสอนงานคนใหม่ หรือดูแลเรื่องงานมากเท่าที่ควร
แต่เราอย่าเพิ่งคิดไปเอง เพราะไม่ใช่พนักงานทุกคนที่ต้องการระยะห่าง ในช่วงแรกเราต้องคอยสังเกต คอยสอบถาม เพื่อดูท่าทีว่าเขาเป็นคนที่มีความสามารถระดับไหน และมีความมุ่งมั่นในการทำงานแค่ไหน
หากเป็นคนมีความสามารถยังไม่มาก แต่มีความมุ่งมั่นสูง เราก็เข้าไปสอนเทคนิคและสาธิตวิธีการทำงานที่ถูกต้อง เพื่อเป็นต้นแบบ
หากเป็นคนที่มีความสามารถสูง แต่มีความกลัว ความไม่มั่นใจ เราก็จะเข้าไปให้กำลังใจ ไปสร้างความเชื่อมั่น ให้กับพนักงาน ซึ่งกลุ่มนี้เราอาจจะไม่จำเป็นต้องไปสอนเทคนิคการทำงาน
เพราะบางคนขาดแค่ความมั่นใจ ไม่ได้ขาดความรู้ หากเราแนะนำผิดจุด มันก็จะกลายเป็นเราไม่เข้าใจลูกทีมมากพอ และการแนะนำหรือหวังดีของเรา อาจไม่ช่วยให้เขาพัฒนาขึ้น
เมื่อผู้นำรู้จักสังเกตความต้องการของแต่ละคน ก็จะรู้ว่าแต่ละคนขาดตกบกพร่องตรงไหน ทำให้สามารถเสริมศักยภาพของทีมงานได้อย่างถูกจุด
ซึ่งนี่ก็ถือเป็นคุณสมบัติของโค้ชที่ดี เพราะพนักงานก็จะรู้สึกว่าหัวหน้าเป็นที่พึ่งให้กับพวกเขาได้
- ยืดหยุ่นได้ แต่เรื่องสำคัญต้องชัดเจน อย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
เมื่อเป็นผู้นำก็มักจะมีลูกทีมหรือลูกค้าขอร้องให้แก้ไขเรื่องต่าง ๆ มากมาย หากเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขได้ในทางที่ดีขึ้น โดยไม่กระทบกับแบรนด์ หรือภาพใหญ่ของกระบวนการทำงานขององค์กร ก็อาจทำได้ เพื่อให้การทำงานมันมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ หากปรับเปลี่ยนทุกอย่างอยู่ตลอดเวลาตามที่คนนั้นคนนี้ขอ จนละทิ้งแกนหลักของงานหรือแกนหลักของธุรกิจไป ทีมงานก็จะเริ่มสับสน ไม่อยากทำอะไรที่ทุ่มแรงไปเต็มที่ เพราะกลัวว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปอีก
แม้ในโลกการทำงาน การทำงานกับคนรุ่นใหม่ ความยืดหยุ่นเป็นเรื่องสำคัญก็จริง แต่หากยืดหยุ่นจนหย่อนยาน เอาแต่ตามใจทุกคน หรือเป็นผู้นำที่หวั่นไหวง่ายจนเกินไป ความเชื่อใจที่ได้จากลูกทีม ก็มีโอกาสที่จะลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ
- กล้าสื่อสารกันตรง ๆ และกล้าตัดสินใจให้เฉียบขาด
หัวหน้าบางคนกลัวความขัดแย้งมาก จนไม่กล้าฟีดแบ็กหรือพูดคุยอะไรกับลูกทีมที่อายุน้อยกว่าเลย
ต้องฝากให้คนอื่นทำหน้าที่ในการตักเตือนแทน ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด หรือเป็นไปในทิศทางที่ต้องการ
หรือบางครั้งเราก็กลัวที่จะต้องพูดตรง ๆ ปัดตกไอเดียที่ไม่เวิร์ก พูดอ้อมไปอ้อมมา ซึ่งทำให้เสียเวลาและไม่ได้อะไรที่ชัดเจน ทำให้สถานการณ์อาจจะแย่ลงไปอีก
อีกทั้งการนั่งเดาใจกัน ก็ยิ่งทำให้เสียเวลาในการทำงานสำคัญด้วย
ดังนั้นทุกปัญหาที่เกิดขึ้นมา วิธีที่จะแก้ได้อย่างดีที่สุดคือ “คุยกันแบบตรงไปตรงมา” เพราะมันเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจความต้องการของกันและกันได้ดีที่สุด และช่องว่างต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ ลดลง และทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สุดท้ายนี้การเป็นผู้นำ อย่ากลัวที่จะถูกเกลียด จนไม่กล้าพูดอะไรออกมา
เพราะไม่ว่าอย่างไร เราก็ไม่สามารถทำให้ทุกคนมีความสุขในการทำงาน ได้ทั้งหมด
แต่เราก็ต้องแน่ใจด้วยว่า เราทำหน้าที่โค้ชที่ดีที่สุด ได้แล้วจริง ๆ..
References:
-https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/generation-gap.html
-https://www.allbusiness.com/how-to-manage-a-staff-of-young-employees-2975083-1.html
หลายคนที่เป็นหัวหน้าคงเคยเจอกับการมีลูกทีมที่เด็กกว่า หรือมีอายุห่างกันมาก ๆ
ทำให้เวลาทำงาน มักมีปัญหาผิดใจกันบ่อย ๆ หรือบางทีความหวังดีของเรา ก็กลายเป็นเรื่องที่สร้างความอึดอัดให้กับลูกทีม จนทำให้เสียบรรยากาศในการทำงานไป
สาเหตุของความขัดแย้งมันคืออะไร แล้วหากเราเป็นหัวหน้า จะเริ่มแก้ไขเรื่องอย่างไรดี ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง..
ก่อนอื่นเราต้องระลึกไว้เสมอว่า คนแต่ละยุคเติบโตในสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ เทคโนโลยีที่ต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่ามันส่งผลต่อชุดความคิดและข้อมูลต่าง ๆ ทำให้คนแต่ละยุคมีความต่างกัน
ซึ่งถึงแม้ว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนรู้กัน แต่พอถึงเวลาจริง ๆ ก็เป็นเรื่องยากที่จะยอมรับและเข้าใจ
แต่เพื่อให้การทำงานมันไปต่อได้ ไม่มีสะดุด และเพื่อให้ความต่างระหว่างวัยไม่ใช่ปัญหา นี่คือสิ่งสำคัญที่หัวหน้าควรรู้ และลองสำรวจตัวเองดูว่าเราทำตามนี้แล้วหรือยัง ?
- เคารพและให้เกียรติกันเสมอ แม้เขาจะอายุน้อยกว่า
การให้เกียรติสามารถทำได้กับทุก ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะการเรียกลูกทีมด้วยคำที่สุภาพ ไม่ติดตลกจนเกินไปหรือการไม่ใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย
ในการประชุม ก็ไม่ควรใช้สิทธิ์ใช้อำนาจ ด่วนตัดสิน หรือพูดแทรกขณะที่ลูกทีมยังพูดไม่จบ
และบางครั้งเราอาจจะคิดว่าเรายุ่งมาก ทำให้เผลอใช้งานลูกทีมในเรื่องจุกจิกเล็กน้อย เช่น ใช้ให้ไปซื้อกาแฟ ใช้ให้ทำเรื่องส่วนตัวของเรา โดยที่เขาไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเลขาฯ ส่วนตัว และมีงานของตัวเองที่ต้องทำอยู่ ซึ่งการทำเช่นนี้ ถือเป็นการไม่ให้เกียรติในหน้าที่ของลูกทีมเช่นกัน
หากอยากได้ความเคารพ เราก็ควรให้ความเคารพก่อน อย่าเห็นว่าเขาเป็นคนอายุน้อยกว่า แล้วจะทำอะไรก็ได้ เพราะเด็กรุ่นหลังมักจะโฟกัสไปที่คุณค่าของตัวเอง ต้องการทำงานเพื่อเรียนรู้ เติบโตด้วยผลงาน มากกว่าการมานั่งเอาใจหัวหน้าหรือเจ้านาย
- สอนงานได้ ลงมือทำให้ดู เป็นที่พึ่งได้จริง
บางคนอาจจะเผลอด่วนสรุปไปว่า เด็กรุ่นใหม่ทุกคนต้องไฟแรง ชอบลุยงานเดี่ยว ไม่ชอบให้คนจู้จี้จุกจิก
ทำให้หัวหน้าบางคนไม่เข้าไปสอนงานคนใหม่ หรือดูแลเรื่องงานมากเท่าที่ควร
แต่เราอย่าเพิ่งคิดไปเอง เพราะไม่ใช่พนักงานทุกคนที่ต้องการระยะห่าง ในช่วงแรกเราต้องคอยสังเกต คอยสอบถาม เพื่อดูท่าทีว่าเขาเป็นคนที่มีความสามารถระดับไหน และมีความมุ่งมั่นในการทำงานแค่ไหน
หากเป็นคนมีความสามารถยังไม่มาก แต่มีความมุ่งมั่นสูง เราก็เข้าไปสอนเทคนิคและสาธิตวิธีการทำงานที่ถูกต้อง เพื่อเป็นต้นแบบ
หากเป็นคนที่มีความสามารถสูง แต่มีความกลัว ความไม่มั่นใจ เราก็จะเข้าไปให้กำลังใจ ไปสร้างความเชื่อมั่น ให้กับพนักงาน ซึ่งกลุ่มนี้เราอาจจะไม่จำเป็นต้องไปสอนเทคนิคการทำงาน
เพราะบางคนขาดแค่ความมั่นใจ ไม่ได้ขาดความรู้ หากเราแนะนำผิดจุด มันก็จะกลายเป็นเราไม่เข้าใจลูกทีมมากพอ และการแนะนำหรือหวังดีของเรา อาจไม่ช่วยให้เขาพัฒนาขึ้น
เมื่อผู้นำรู้จักสังเกตความต้องการของแต่ละคน ก็จะรู้ว่าแต่ละคนขาดตกบกพร่องตรงไหน ทำให้สามารถเสริมศักยภาพของทีมงานได้อย่างถูกจุด
ซึ่งนี่ก็ถือเป็นคุณสมบัติของโค้ชที่ดี เพราะพนักงานก็จะรู้สึกว่าหัวหน้าเป็นที่พึ่งให้กับพวกเขาได้
- ยืดหยุ่นได้ แต่เรื่องสำคัญต้องชัดเจน อย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
เมื่อเป็นผู้นำก็มักจะมีลูกทีมหรือลูกค้าขอร้องให้แก้ไขเรื่องต่าง ๆ มากมาย หากเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขได้ในทางที่ดีขึ้น โดยไม่กระทบกับแบรนด์ หรือภาพใหญ่ของกระบวนการทำงานขององค์กร ก็อาจทำได้ เพื่อให้การทำงานมันมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ หากปรับเปลี่ยนทุกอย่างอยู่ตลอดเวลาตามที่คนนั้นคนนี้ขอ จนละทิ้งแกนหลักของงานหรือแกนหลักของธุรกิจไป ทีมงานก็จะเริ่มสับสน ไม่อยากทำอะไรที่ทุ่มแรงไปเต็มที่ เพราะกลัวว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปอีก
แม้ในโลกการทำงาน การทำงานกับคนรุ่นใหม่ ความยืดหยุ่นเป็นเรื่องสำคัญก็จริง แต่หากยืดหยุ่นจนหย่อนยาน เอาแต่ตามใจทุกคน หรือเป็นผู้นำที่หวั่นไหวง่ายจนเกินไป ความเชื่อใจที่ได้จากลูกทีม ก็มีโอกาสที่จะลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ
- กล้าสื่อสารกันตรง ๆ และกล้าตัดสินใจให้เฉียบขาด
หัวหน้าบางคนกลัวความขัดแย้งมาก จนไม่กล้าฟีดแบ็กหรือพูดคุยอะไรกับลูกทีมที่อายุน้อยกว่าเลย
ต้องฝากให้คนอื่นทำหน้าที่ในการตักเตือนแทน ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด หรือเป็นไปในทิศทางที่ต้องการ
หรือบางครั้งเราก็กลัวที่จะต้องพูดตรง ๆ ปัดตกไอเดียที่ไม่เวิร์ก พูดอ้อมไปอ้อมมา ซึ่งทำให้เสียเวลาและไม่ได้อะไรที่ชัดเจน ทำให้สถานการณ์อาจจะแย่ลงไปอีก
อีกทั้งการนั่งเดาใจกัน ก็ยิ่งทำให้เสียเวลาในการทำงานสำคัญด้วย
ดังนั้นทุกปัญหาที่เกิดขึ้นมา วิธีที่จะแก้ได้อย่างดีที่สุดคือ “คุยกันแบบตรงไปตรงมา” เพราะมันเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจความต้องการของกันและกันได้ดีที่สุด และช่องว่างต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ ลดลง และทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สุดท้ายนี้การเป็นผู้นำ อย่ากลัวที่จะถูกเกลียด จนไม่กล้าพูดอะไรออกมา
เพราะไม่ว่าอย่างไร เราก็ไม่สามารถทำให้ทุกคนมีความสุขในการทำงาน ได้ทั้งหมด
แต่เราก็ต้องแน่ใจด้วยว่า เราทำหน้าที่โค้ชที่ดีที่สุด ได้แล้วจริง ๆ..
References:
-https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/generation-gap.html
-https://www.allbusiness.com/how-to-manage-a-staff-of-young-employees-2975083-1.html