ถอดกลยุทธ์ RBF ธุรกิจหมื่นล้าน ผู้สร้างรสชาติและกลิ่นหอม ให้มื้ออาหาร
21 ก.ค. 2021
ถอดกลยุทธ์ RBF ธุรกิจหมื่นล้าน ผู้สร้างรสชาติและกลิ่นหอม ให้มื้ออาหาร | THE BRIEFCASE
อาหารคือหนึ่งในปัจจัยสี่ ของชีวิตคนเราที่ต้องมีเพื่อความอยู่รอด
แต่ในบางครั้งเราไม่ได้กินอาหารเพียงแค่ตอบสนองต่อความต้องการของร่างกายเท่านั้น
เพราะยังมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นขณะที่เรารับประทานอาหาร นั่นคือ “ความสุข” ซึ่งมันเป็นความสุขที่รับรู้ได้จากการรับรู้ผ่าน รูป รส กลิ่น เสียง ขณะรับประทาน
และความสุขเหล่านั้นเอง ที่ทำให้ RBF กลายมาเป็น ธุรกิจที่มีมูลค่ากว่าหมื่นล้าน..
แล้ว RBF ทำธุรกิจอะไร มีกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ และสร้างรายได้จากความสุขเหล่านั้นอย่างไร ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
RBF หรือ บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งมาแล้วกว่า 32 ปี โดยเริ่มต้นจากการที่มองเห็นช่องโหว่เรื่องเทคโนโลยีด้านอาหารในประเทศไทย ที่ยังไม่พัฒนามากนัก จึงก่อตั้งมาเป็นธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ด้วยการเพิ่มมูลค่าด้วยกลิ่นและรสชาติ
ทาง RBF เชื่อว่า อาหารแต่ละจานก็มีส่วนช่วยในการสร้างความสุขให้กับคนคนหนึ่ง หากประกอบขึ้นมาจากวัตถุดิบที่ดี มีกลิ่นหอมที่เย้ายวน และคุณค่าทางโภชนาการสูง
อย่างไรก็ตาม การที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับกลิ่นและรสชาตินี่เอง ทำให้คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักกับบริษัทนี้มากนัก
เพราะธุรกิจในลักษณะนี้ก็เหมือนกับระบบหลังบ้าน ทำธุรกิจต้นน้ำ และกลางน้ำ
ที่คอยส่งวัตถุดิบต่าง ๆ ให้กับโรงงาน หรือร้านค้าผลิตอาหาร
เช่น การรับซื้อแป้งจากเกษตรกร มาใส่ฟังก์ชันเพิ่มเติมให้มีความกรอบขึ้น หรือผลิตกลิ่นในอาหาร หรือสินค้าอุปโภคต่าง ๆ แล้วค่อยส่งไปยังคู่ค้าทางธุรกิจ จึงมีเพียงคู่ค้าเท่านั้นที่จะรู้จักและคุ้นเคยกับ RBF
ซึ่งลูกค้าของ RBF มีตั้งแต่ ซีพีเมจิ, ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ เจ้าของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า, โลตัส และซีพีเอฟ ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจ
แล้ว RBF มีกลยุทธ์อย่างไร ที่ทำให้บริษัทที่ไม่ได้รู้จักในหมู่คนทั่วไป ขึ้นแท่นเป็นบริษัทหมื่นล้านได้ ?
ข้อแรกเลยคือ การนำบริษัทของตัวเองเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์
หลายคนอาจจะคิดว่า การนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ คือการระดมทุนเข้ามาในกิจการ แต่จริง ๆ แล้ว มันมีอะไรมากกว่านั้น
อย่างเช่น RBF ที่มองว่า การนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ คือการสร้างความน่าเชื่อถือ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจ
เพราะไม่ใช่แค่ต้องน่าเชื่อถือกับคู่ค้าของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือในหมู่คนทั่วไป
ทำให้คนรู้จักบริษัทเรามากขึ้น และดึงดูดคนเก่ง ๆ เข้ามาร่วมงานด้วยกัน
ข้อต่อมาก็คือ การบุกตลาดต่างประเทศ แต่ก็ยังมองหาช่องทางเติบโตในประเทศเสมอ
หลังจากที่ทำธุรกิจประสบความสำเร็จในไทยแล้ว สิ่งถัดมาที่ผู้ประกอบการหลาย ๆ คนมักจะนึกถึงก็คือ การขยายตลาดไปยังต่างประเทศ
ซึ่ง RBF ก็ได้ทำการบุกตลาดต่างประเทศมาตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเริ่มจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่เป็นครัวของโลกก่อน โฟกัสในระยะใกล้ ๆ เพื่อให้ธุรกิจแข็งแกร่งก่อนที่จะขยายไปตลาดใหญ่ ที่มีผู้เล่นในตลาดอยู่พอสมควร อย่างเช่น ยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา
โดยการขยายธุรกิจไปยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้ ๆ เราก็ต้องมาคำนวณว่าจะทำอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด
ซึ่งคำตอบก็คือ เราอาจไม่ต้องสร้างเป็นโรงงานที่ใหญ่โตมโหฬาร แค่สร้างโรงงานขนาดที่พอเหมาะ มีประสิทธิภาพ ที่ช่วยประหยัดค่าขนส่งก็เพียงพอแล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อเราขยายตลาดไปยังต่างประเทศแล้ว ก็อย่าลืมหาช่องทางเติบโตในประเทศควบคู่ไปด้วย เช่น เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
นอกจากนี้อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำธุรกิจ ก็คือ ศึกษาเทรนด์ในอนาคตเสมอ
เพราะในโลกใบนี้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วัฒนธรรมการกินอาหารก็เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย มีเทรนด์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น Plant-based เนื้อสัตว์ที่ทำมาจากพืช หรือกัญชา-กัญชง ที่กำลังเป็นกระแสในขณะนี้
สิ่งที่เราในฐานะผู้ประกอบการทำคือ การนำเทรนด์เหล่านั้นมาวิเคราะห์ว่าธุรกิจของเราทำอะไรได้บ้าง เช่น เทรนด์ Plant-based เราสามารถผลิตวัตถุดิบแต่งกลิ่นให้เหมือนเนื้อจริง ๆ
หรือผลิตวัตถุดิบตั้งต้นในการทำ Plant-based ทำให้มีราคาพอ ๆ กับเนื้อสัตว์จริง ๆ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้เข้ามาในเทรนด์นี้มากขึ้น เราเองก็จะมีโอกาสเติบโตในเทรนด์นี้มากขึ้นตามไปด้วย
ในขณะที่เทรนด์กัญชา กัญชง ก็เป็นสิ่งที่หลาย ๆ ประเทศก็คุ้นเคยกันและมีความต้องการอยู่แล้ว
แต่อาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกใหม่ในประเทศไทย
สิ่งที่เราทำได้คือ ควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้าเหล่านี้ให้ออกมาดี และลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ เพื่อสร้างเป็นเทรนด์ที่แข็งแรงต่อไปในอนาคต
ทีนี้เราลองมาดูผลประกอบการของ RBF กันบ้าง
ปี 2561 รายได้ 2,750 ล้านบาท กำไร 324 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 2,882 ล้านบาท กำไร 353 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 3,187 ล้านบาท กำไร 519 ล้านบาท
ซึ่งผลประกอบการ RBF ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจเป็นอย่างดี
และนอกจากการวางแผนกลยุทธ์ในการทำธุรกิจแล้ว การวางแผนด้านอื่น ๆ ให้บริษัทเติบโตอย่างต่อเนื่องก็สำคัญไม่แพ้กัน เช่น ความอ่อนน้อมถ่อมตน และ Mindset ของบุคลากรในบริษัทต้องไปในทิศทางเดียวกัน
โดยทาง RBF จะบอกพนักงานของตัวเองว่า ให้มองบริษัทเป็นมวยรองของคู่ต่อสู้ และหลักการมวยรองนี้เอง ที่จะทำให้เราขยันศึกษาหาความรู้เป็นอย่างมาก เพื่อมาชนะคู่แข่งของเราได้
ด้วยกลยุทธ์ทั้งหมดนี้ ก็ได้ทำให้ RBF ธุรกิจหลังบ้านที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก
กลายมาเป็นบริษัทที่มีมูลค่า 43,000 ล้านบาท เหมือนในทุกวันนี้..
Reference
-สัมภาษณ์พิเศษ พ.ท. พญ.จัณจิดา รัตนภูมิภิญโญ กรรมการบริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) โดยเพจลงทุนแมน
อาหารคือหนึ่งในปัจจัยสี่ ของชีวิตคนเราที่ต้องมีเพื่อความอยู่รอด
แต่ในบางครั้งเราไม่ได้กินอาหารเพียงแค่ตอบสนองต่อความต้องการของร่างกายเท่านั้น
เพราะยังมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นขณะที่เรารับประทานอาหาร นั่นคือ “ความสุข” ซึ่งมันเป็นความสุขที่รับรู้ได้จากการรับรู้ผ่าน รูป รส กลิ่น เสียง ขณะรับประทาน
และความสุขเหล่านั้นเอง ที่ทำให้ RBF กลายมาเป็น ธุรกิจที่มีมูลค่ากว่าหมื่นล้าน..
แล้ว RBF ทำธุรกิจอะไร มีกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ และสร้างรายได้จากความสุขเหล่านั้นอย่างไร ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
RBF หรือ บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งมาแล้วกว่า 32 ปี โดยเริ่มต้นจากการที่มองเห็นช่องโหว่เรื่องเทคโนโลยีด้านอาหารในประเทศไทย ที่ยังไม่พัฒนามากนัก จึงก่อตั้งมาเป็นธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ด้วยการเพิ่มมูลค่าด้วยกลิ่นและรสชาติ
ทาง RBF เชื่อว่า อาหารแต่ละจานก็มีส่วนช่วยในการสร้างความสุขให้กับคนคนหนึ่ง หากประกอบขึ้นมาจากวัตถุดิบที่ดี มีกลิ่นหอมที่เย้ายวน และคุณค่าทางโภชนาการสูง
อย่างไรก็ตาม การที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับกลิ่นและรสชาตินี่เอง ทำให้คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักกับบริษัทนี้มากนัก
เพราะธุรกิจในลักษณะนี้ก็เหมือนกับระบบหลังบ้าน ทำธุรกิจต้นน้ำ และกลางน้ำ
ที่คอยส่งวัตถุดิบต่าง ๆ ให้กับโรงงาน หรือร้านค้าผลิตอาหาร
เช่น การรับซื้อแป้งจากเกษตรกร มาใส่ฟังก์ชันเพิ่มเติมให้มีความกรอบขึ้น หรือผลิตกลิ่นในอาหาร หรือสินค้าอุปโภคต่าง ๆ แล้วค่อยส่งไปยังคู่ค้าทางธุรกิจ จึงมีเพียงคู่ค้าเท่านั้นที่จะรู้จักและคุ้นเคยกับ RBF
ซึ่งลูกค้าของ RBF มีตั้งแต่ ซีพีเมจิ, ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ เจ้าของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า, โลตัส และซีพีเอฟ ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจ
แล้ว RBF มีกลยุทธ์อย่างไร ที่ทำให้บริษัทที่ไม่ได้รู้จักในหมู่คนทั่วไป ขึ้นแท่นเป็นบริษัทหมื่นล้านได้ ?
ข้อแรกเลยคือ การนำบริษัทของตัวเองเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์
หลายคนอาจจะคิดว่า การนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ คือการระดมทุนเข้ามาในกิจการ แต่จริง ๆ แล้ว มันมีอะไรมากกว่านั้น
อย่างเช่น RBF ที่มองว่า การนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ คือการสร้างความน่าเชื่อถือ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจ
เพราะไม่ใช่แค่ต้องน่าเชื่อถือกับคู่ค้าของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือในหมู่คนทั่วไป
ทำให้คนรู้จักบริษัทเรามากขึ้น และดึงดูดคนเก่ง ๆ เข้ามาร่วมงานด้วยกัน
ข้อต่อมาก็คือ การบุกตลาดต่างประเทศ แต่ก็ยังมองหาช่องทางเติบโตในประเทศเสมอ
หลังจากที่ทำธุรกิจประสบความสำเร็จในไทยแล้ว สิ่งถัดมาที่ผู้ประกอบการหลาย ๆ คนมักจะนึกถึงก็คือ การขยายตลาดไปยังต่างประเทศ
ซึ่ง RBF ก็ได้ทำการบุกตลาดต่างประเทศมาตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเริ่มจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่เป็นครัวของโลกก่อน โฟกัสในระยะใกล้ ๆ เพื่อให้ธุรกิจแข็งแกร่งก่อนที่จะขยายไปตลาดใหญ่ ที่มีผู้เล่นในตลาดอยู่พอสมควร อย่างเช่น ยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา
โดยการขยายธุรกิจไปยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้ ๆ เราก็ต้องมาคำนวณว่าจะทำอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด
ซึ่งคำตอบก็คือ เราอาจไม่ต้องสร้างเป็นโรงงานที่ใหญ่โตมโหฬาร แค่สร้างโรงงานขนาดที่พอเหมาะ มีประสิทธิภาพ ที่ช่วยประหยัดค่าขนส่งก็เพียงพอแล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อเราขยายตลาดไปยังต่างประเทศแล้ว ก็อย่าลืมหาช่องทางเติบโตในประเทศควบคู่ไปด้วย เช่น เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
นอกจากนี้อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำธุรกิจ ก็คือ ศึกษาเทรนด์ในอนาคตเสมอ
เพราะในโลกใบนี้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วัฒนธรรมการกินอาหารก็เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย มีเทรนด์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น Plant-based เนื้อสัตว์ที่ทำมาจากพืช หรือกัญชา-กัญชง ที่กำลังเป็นกระแสในขณะนี้
สิ่งที่เราในฐานะผู้ประกอบการทำคือ การนำเทรนด์เหล่านั้นมาวิเคราะห์ว่าธุรกิจของเราทำอะไรได้บ้าง เช่น เทรนด์ Plant-based เราสามารถผลิตวัตถุดิบแต่งกลิ่นให้เหมือนเนื้อจริง ๆ
หรือผลิตวัตถุดิบตั้งต้นในการทำ Plant-based ทำให้มีราคาพอ ๆ กับเนื้อสัตว์จริง ๆ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้เข้ามาในเทรนด์นี้มากขึ้น เราเองก็จะมีโอกาสเติบโตในเทรนด์นี้มากขึ้นตามไปด้วย
ในขณะที่เทรนด์กัญชา กัญชง ก็เป็นสิ่งที่หลาย ๆ ประเทศก็คุ้นเคยกันและมีความต้องการอยู่แล้ว
แต่อาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกใหม่ในประเทศไทย
สิ่งที่เราทำได้คือ ควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้าเหล่านี้ให้ออกมาดี และลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ เพื่อสร้างเป็นเทรนด์ที่แข็งแรงต่อไปในอนาคต
ทีนี้เราลองมาดูผลประกอบการของ RBF กันบ้าง
ปี 2561 รายได้ 2,750 ล้านบาท กำไร 324 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 2,882 ล้านบาท กำไร 353 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 3,187 ล้านบาท กำไร 519 ล้านบาท
ซึ่งผลประกอบการ RBF ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจเป็นอย่างดี
และนอกจากการวางแผนกลยุทธ์ในการทำธุรกิจแล้ว การวางแผนด้านอื่น ๆ ให้บริษัทเติบโตอย่างต่อเนื่องก็สำคัญไม่แพ้กัน เช่น ความอ่อนน้อมถ่อมตน และ Mindset ของบุคลากรในบริษัทต้องไปในทิศทางเดียวกัน
โดยทาง RBF จะบอกพนักงานของตัวเองว่า ให้มองบริษัทเป็นมวยรองของคู่ต่อสู้ และหลักการมวยรองนี้เอง ที่จะทำให้เราขยันศึกษาหาความรู้เป็นอย่างมาก เพื่อมาชนะคู่แข่งของเราได้
ด้วยกลยุทธ์ทั้งหมดนี้ ก็ได้ทำให้ RBF ธุรกิจหลังบ้านที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก
กลายมาเป็นบริษัทที่มีมูลค่า 43,000 ล้านบาท เหมือนในทุกวันนี้..
Reference
-สัมภาษณ์พิเศษ พ.ท. พญ.จัณจิดา รัตนภูมิภิญโญ กรรมการบริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) โดยเพจลงทุนแมน