ทัวร์อวกาศ กิจกรรมยามว่างรูปแบบใหม่ ของมหาเศรษฐี
11 ก.ค. 2021
ทัวร์อวกาศ กิจกรรมยามว่างรูปแบบใหม่ ของมหาเศรษฐี | THE BRIEFCASE
เมื่อไม่นานมานี้ Jeff Bezos อดีต CEO บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ Amazon.com
ได้ประกาศว่าจะเริ่มชีวิตหลังเกษียณด้วยการซื้อทริปเดินทางไปอวกาศ
โดยกำหนดวันเดินทางเอาไว้เป็น 20 กรกฎาคมนี้ หลังจากวันที่ก้าวลงจากตำแหน่งเพียง 2 สัปดาห์
แต่ Jeff Bezos ก็ไม่ใช่มหาเศรษฐีคนแรก ที่เป็นลูกค้าของทัวร์นอกโลก
และยิ่งน่าจะไม่ใช่ลูกค้าคนสุดท้าย หากดูจากการแข่งขันกันภายในธุรกิจนี้
ถ้านับตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา มหาเศรษฐีคนแรก ที่ยอมจ่ายเงินก้อนโตเพื่อเดินทางไปอวกาศ
ก็คือ Charles Simonyi พนักงานหมายเลข 40 และผู้ที่พัฒนา Microsoft Office ให้กับ Microsoft
Charles Simonyi เลือกที่จะซื้อทริปไปอวกาศกับ Space Adventures บริษัททัวร์อวกาศของสหรัฐฯ ที่ก่อตั้งในปี 1998 และเดินทางโดยยานอวกาศ Soyuz ของรัสเซีย ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติหรือ ISS
ซึ่งดูเหมือนว่า Charles Simonyi จะชื่นชอบกิจกรรมนี้เป็นอย่างมาก
เพราะหลังจากปี 2007 ที่เขาเดินทางไปนอกโลกครั้งแรก
ในปี 2009 หรืออีกเพียง 2 ปีต่อมา เขาก็ยังคงเลือกจุดหมายปลายทางเป็นอวกาศอีกครั้ง
ทำให้รวม ๆ แล้ว Charles Simonyi หมดเงินไปกับ 2 ทริปนี้ กว่า 1,860 ล้านบาท เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามธุรกิจเดินทางไปอวกาศในตอนนั้น ก็อาจจะยังไม่คึกคักเท่ากับตอนนี้
ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจาก การเดินทางไปนอกโลกแต่ละครั้ง มีต้นทุนที่สูงมาก
เพราะเมื่อเรายิงจรวดขึ้นไปแล้ว ส่วนที่เป็นท่อเชื้อเพลิงจะถูกดีดออกและตกสู่ทะเล ทำให้การยิงจรวดขึ้นสู่อวกาศต้องสร้างฐานเชื้อเพลิงใหม่ทุกครั้ง
แต่เมื่อปี 2015 ทั้งบริษัท Blue Origin และ SpaceX สามารถนำส่วนของท่อเชื้อเพลิงกลับมาจอดยังพื้นโลกได้ ต้นทุนของการยิงจรวดจึงลดลงไปได้อย่างมหาศาล
เรื่องนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผล ที่ทำให้การเดินทางไปอวกาศ เพื่อท่องเที่ยวนี้ ถูกนำมาพูดถึงในวงกว้างมากขึ้น
และในปัจจุบัน ก็มีมหาเศรษฐีเป็นจำนวนมาก ที่ได้จองตั๋วไปเที่ยวบินอวกาศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เริ่มจากคนที่ได้กล่าวไปแล้ว ก็คือ Jeff Bezos
โดยจุดหมายแรกของเขาก็คือ เส้นคาร์แมน (Kármán) หรือเส้นแบ่งขอบเขตระหว่างชั้นบรรยากาศโลกและอวกาศ
ซึ่งอยู่ที่ระยะความสูง 80-100 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล
แน่นอนว่าผู้ให้บริการที่ Jeff Bezos เลือกใช้ ย่อมเป็น Blue Origin
ซึ่งเขาก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2000 และยังได้ทุ่มเงินลงทุนให้กับโปรเจกต์นี้ ไปแล้วกว่า 2.3 แสนล้านบาท
สำหรับในเที่ยวบินนี้ จะเดินทางด้วย New Shepard จรวดที่ส่วนหัวเป็นแคปซูลห้องโดยสาร ซึ่งมีทั้งหมด 6 ที่นั่ง พร้อมกับกระจกบานใหญ่ สำหรับชมวิวอวกาศอันไกลโพ้น
และเมื่อขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศที่ระดับความสูงเหนือพื้นโลกแล้ว แคปซูลก็จะดีดตัวออกก่อนและขับเคลื่อนต่อด้วยตัวเอง
ซึ่งจะทำให้มีระยะเวลาชมอวกาศ ทั้งหมดประมาณ 11 นาที ก่อนที่แคปซูลจะลงจอดสู่พื้นโลก
ซึ่งการเดินทางของ Jeff Bezos ในครั้งนี้
ก็น่าจะเป็นการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของเที่ยวบินเลยก็ว่าได้
โดยเขาจะเดินทางไปกับน้องชาย Mark Bezos และแขกรับเชิญคนอื่น ๆ
รวมทั้งยังมีการเปิดประมูลตั๋วอีก 1 ใบ ที่ก็มีผู้เข้าร่วมเกือบ 7,600 คน จาก 159 ประเทศทั่วโลก
และราคาสุดท้ายอยู่ที่ 686 ล้านบาท แต่ทางบริษัทยังไม่ได้เปิดเผยชื่อผู้ชนะการประมูลในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอวกาศ คงไม่พูดถึงบริษัทนี้ไม่ได้
นั่นก็คือ SpaceX ของ Elon Musk ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2002
แม้ว่าจนถึงปัจจุบัน Elon Musk เอง จะยังไม่ได้ออกมายืนยันว่าเขาจะทดลองเดินทางไปอวกาศเมื่อไร
แต่ในปี 2018 ทาง SpaceX ก็มีการเปิดตัวโปรเจกต์ชื่อ dearMoon
ซึ่งเป็นเที่ยวบินแบบส่วนตัว ที่พาชมรอบดวงจันทร์ด้วยจรวด BFR และกินระยะเวลาประมาณ 6 วัน
โดยมีผู้สนับสนุนคือ มหาเศรษฐีชาวญี่ปุ่น Yusaku Maezawa ผู้ก่อตั้ง Zozotown อีคอมเมิร์ซแฟชั่นรายใหญ่ของญี่ปุ่น
เที่ยวบินนี้คาดการณ์ว่าจะสามารถเดินทางได้ในปี 2023
ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่มีการเปิดเผยตัวเลขเม็ดเงินที่ Yusaku Maezawa จ่ายไป
แต่เขาก็ได้ประกาศว่าจะเหมาที่นั่งหมดทั้งลำนี้
และจะพาแขกที่ผ่านการคัดเลือกไปอีก 8 คนด้วย
แต่ก็ดูเหมือนว่า Yusaku Maezawa จะอดทนรอไม่ไหว
เพราะล่าสุด เขาได้ประกาศว่าได้ซื้อตั๋วอีกใบกับ Space Adventures
เพื่อเดินทางไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ในเดือนธันวาคม ปี 2021 นี้
นอกจากนั้น อีกหนึ่งผู้เล่นสำคัญในวงการท่องเที่ยวอวกาศ
ก็คือ Virgin Galactic ที่ก่อตั้งโดย Richard Branson ในปี 2004
โดย Richard Branson เอง ก็ได้ประกาศแล้วว่าเขาจะเป็นลูกเรือ
ขึ้นไปกับจรวดของ Virgin Galactic ในการทดสอบรอบที่ 3 ช่วงปลายปี 2021 นี้
ซึ่งจุดหมายของการเดินทางครั้งนี้ ก็คือ ประมาณ 80 กิโลเมตร เหนือผิวโลก
และถ้าการทดสอบรอบนี้ผ่านไปได้ด้วยดี
ก็คาดว่าเที่ยวบินนี้ของ Virgin Galactic เปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ได้
โดยที่ผ่านมา ก็มีลูกค้าจองตั๋วล่วงหน้ากับ Virgin Galactic แล้วกว่า 600 คน
ประกอบด้วยเหล่ามหาเศรษฐี รวมถึงคนดังอย่าง Angelina Jolie และ Tom Hanks
นอกจากนั้นยังมีฝาแฝด Tyler และ Cameron Winklevoss
มหาเศรษฐีที่รวยมาจากคริปโทเคอร์เรนซี
ที่น่าสนใจก็คือ จากข้อมูลที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะ
พวกเขาเป็นเพียง 2 คนที่จ่ายค่าตั๋วด้วยบิตคอยน์ เมื่อเดือนมกราคม 2014
ซึ่งในตอนนั้นบิตคอยน์เหล่านี้คิดเป็นมูลค่า 8 ล้านบาท ต่อที่นั่ง
แต่ถ้านับจนถึงปัจจุบัน ก็ได้เพิ่มขึ้นมาเป็นกว่า 320 ล้านบาท เป็นที่เรียบร้อย
อย่างไรก็ตามนอกจากเที่ยวบินสู่อวกาศราคาแพงเหล่านี้แล้ว
ล่าสุดก็มีอีกหนึ่งบริการ ที่ราคา “ถูก” ลงมาเล็กน้อย แต่ยังได้สัมผัสบรรยากาศนอกโลกเหมือนกัน
นั่นก็คือ “บอลลูนอวกาศ Spaceship Neptune”
ของ Space Perspective บริษัททัวร์อวกาศน้องใหม่ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 2019
ซึ่งเที่ยวบินของ Space Perspective จะใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง
พาเราขึ้นไปเหนือผิวโลก ประมาณ 30 กิโลเมตร โดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการฝึกฝนอะไรก่อน
ที่สำคัญ ตอนนี้ยังเปิดขายตั๋วแล้วเป็นที่เรียบร้อย ในราคาที่นั่งละประมาณ 4 ล้านบาท
และคาดว่าจะสามารถให้บริการได้ในปี 2023-2024
ทั้งหมดนี้ จะว่าไปแล้วก็คงคล้ายกับ กรณีของเครื่องบินในอดีต
ที่ตอนแรกก็จำกัดกลุ่มลูกค้า ในวงของคนรวยเท่านั้น
แต่ปัจจุบันเครื่องบินก็เป็นสิ่งที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ จนแทบจะเป็นเรื่องปกติไปแล้ว
ดังนั้นก็เป็นไปได้ว่า “การท่องเที่ยวอวกาศ” อาจจะเป็นเช่นเดียวกันในอนาคตนี้
และเมื่อวันนั้นมาถึง เวลามีคนมาถามว่าจะไปเที่ยวที่ไหนดี
คำตอบอาจจะไม่ใช่ประเทศญี่ปุ่น หรือสหรัฐอเมริกา
แต่เป็นดวงจันทร์ หรือไม่ก็ดาวอังคารแทน..
References
-https://www.blueorigin.com
-https://www.forbes.com/sites/valeriestimac/2021/05/13/japanese-billionaire-yusaku-maezawa-announces-new-space-tourism-flight-plan-for-late-2021/?sh=7b3e634b253d
-https://www.forbes.com/sites/kenrickcai/2021/06/08/jeff-bezos-and-the-other-billionaire-space-cowboys/?sh=46a350f4979a
-https://www.space.com/space-perspective-selling-seats-stratosphere-balloon
เมื่อไม่นานมานี้ Jeff Bezos อดีต CEO บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ Amazon.com
ได้ประกาศว่าจะเริ่มชีวิตหลังเกษียณด้วยการซื้อทริปเดินทางไปอวกาศ
โดยกำหนดวันเดินทางเอาไว้เป็น 20 กรกฎาคมนี้ หลังจากวันที่ก้าวลงจากตำแหน่งเพียง 2 สัปดาห์
แต่ Jeff Bezos ก็ไม่ใช่มหาเศรษฐีคนแรก ที่เป็นลูกค้าของทัวร์นอกโลก
และยิ่งน่าจะไม่ใช่ลูกค้าคนสุดท้าย หากดูจากการแข่งขันกันภายในธุรกิจนี้
ถ้านับตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา มหาเศรษฐีคนแรก ที่ยอมจ่ายเงินก้อนโตเพื่อเดินทางไปอวกาศ
ก็คือ Charles Simonyi พนักงานหมายเลข 40 และผู้ที่พัฒนา Microsoft Office ให้กับ Microsoft
Charles Simonyi เลือกที่จะซื้อทริปไปอวกาศกับ Space Adventures บริษัททัวร์อวกาศของสหรัฐฯ ที่ก่อตั้งในปี 1998 และเดินทางโดยยานอวกาศ Soyuz ของรัสเซีย ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติหรือ ISS
ซึ่งดูเหมือนว่า Charles Simonyi จะชื่นชอบกิจกรรมนี้เป็นอย่างมาก
เพราะหลังจากปี 2007 ที่เขาเดินทางไปนอกโลกครั้งแรก
ในปี 2009 หรืออีกเพียง 2 ปีต่อมา เขาก็ยังคงเลือกจุดหมายปลายทางเป็นอวกาศอีกครั้ง
ทำให้รวม ๆ แล้ว Charles Simonyi หมดเงินไปกับ 2 ทริปนี้ กว่า 1,860 ล้านบาท เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามธุรกิจเดินทางไปอวกาศในตอนนั้น ก็อาจจะยังไม่คึกคักเท่ากับตอนนี้
ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจาก การเดินทางไปนอกโลกแต่ละครั้ง มีต้นทุนที่สูงมาก
เพราะเมื่อเรายิงจรวดขึ้นไปแล้ว ส่วนที่เป็นท่อเชื้อเพลิงจะถูกดีดออกและตกสู่ทะเล ทำให้การยิงจรวดขึ้นสู่อวกาศต้องสร้างฐานเชื้อเพลิงใหม่ทุกครั้ง
แต่เมื่อปี 2015 ทั้งบริษัท Blue Origin และ SpaceX สามารถนำส่วนของท่อเชื้อเพลิงกลับมาจอดยังพื้นโลกได้ ต้นทุนของการยิงจรวดจึงลดลงไปได้อย่างมหาศาล
เรื่องนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผล ที่ทำให้การเดินทางไปอวกาศ เพื่อท่องเที่ยวนี้ ถูกนำมาพูดถึงในวงกว้างมากขึ้น
และในปัจจุบัน ก็มีมหาเศรษฐีเป็นจำนวนมาก ที่ได้จองตั๋วไปเที่ยวบินอวกาศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เริ่มจากคนที่ได้กล่าวไปแล้ว ก็คือ Jeff Bezos
โดยจุดหมายแรกของเขาก็คือ เส้นคาร์แมน (Kármán) หรือเส้นแบ่งขอบเขตระหว่างชั้นบรรยากาศโลกและอวกาศ
ซึ่งอยู่ที่ระยะความสูง 80-100 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล
แน่นอนว่าผู้ให้บริการที่ Jeff Bezos เลือกใช้ ย่อมเป็น Blue Origin
ซึ่งเขาก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2000 และยังได้ทุ่มเงินลงทุนให้กับโปรเจกต์นี้ ไปแล้วกว่า 2.3 แสนล้านบาท
สำหรับในเที่ยวบินนี้ จะเดินทางด้วย New Shepard จรวดที่ส่วนหัวเป็นแคปซูลห้องโดยสาร ซึ่งมีทั้งหมด 6 ที่นั่ง พร้อมกับกระจกบานใหญ่ สำหรับชมวิวอวกาศอันไกลโพ้น
และเมื่อขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศที่ระดับความสูงเหนือพื้นโลกแล้ว แคปซูลก็จะดีดตัวออกก่อนและขับเคลื่อนต่อด้วยตัวเอง
ซึ่งจะทำให้มีระยะเวลาชมอวกาศ ทั้งหมดประมาณ 11 นาที ก่อนที่แคปซูลจะลงจอดสู่พื้นโลก
ซึ่งการเดินทางของ Jeff Bezos ในครั้งนี้
ก็น่าจะเป็นการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของเที่ยวบินเลยก็ว่าได้
โดยเขาจะเดินทางไปกับน้องชาย Mark Bezos และแขกรับเชิญคนอื่น ๆ
รวมทั้งยังมีการเปิดประมูลตั๋วอีก 1 ใบ ที่ก็มีผู้เข้าร่วมเกือบ 7,600 คน จาก 159 ประเทศทั่วโลก
และราคาสุดท้ายอยู่ที่ 686 ล้านบาท แต่ทางบริษัทยังไม่ได้เปิดเผยชื่อผู้ชนะการประมูลในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอวกาศ คงไม่พูดถึงบริษัทนี้ไม่ได้
นั่นก็คือ SpaceX ของ Elon Musk ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2002
แม้ว่าจนถึงปัจจุบัน Elon Musk เอง จะยังไม่ได้ออกมายืนยันว่าเขาจะทดลองเดินทางไปอวกาศเมื่อไร
แต่ในปี 2018 ทาง SpaceX ก็มีการเปิดตัวโปรเจกต์ชื่อ dearMoon
ซึ่งเป็นเที่ยวบินแบบส่วนตัว ที่พาชมรอบดวงจันทร์ด้วยจรวด BFR และกินระยะเวลาประมาณ 6 วัน
โดยมีผู้สนับสนุนคือ มหาเศรษฐีชาวญี่ปุ่น Yusaku Maezawa ผู้ก่อตั้ง Zozotown อีคอมเมิร์ซแฟชั่นรายใหญ่ของญี่ปุ่น
เที่ยวบินนี้คาดการณ์ว่าจะสามารถเดินทางได้ในปี 2023
ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่มีการเปิดเผยตัวเลขเม็ดเงินที่ Yusaku Maezawa จ่ายไป
แต่เขาก็ได้ประกาศว่าจะเหมาที่นั่งหมดทั้งลำนี้
และจะพาแขกที่ผ่านการคัดเลือกไปอีก 8 คนด้วย
แต่ก็ดูเหมือนว่า Yusaku Maezawa จะอดทนรอไม่ไหว
เพราะล่าสุด เขาได้ประกาศว่าได้ซื้อตั๋วอีกใบกับ Space Adventures
เพื่อเดินทางไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ในเดือนธันวาคม ปี 2021 นี้
นอกจากนั้น อีกหนึ่งผู้เล่นสำคัญในวงการท่องเที่ยวอวกาศ
ก็คือ Virgin Galactic ที่ก่อตั้งโดย Richard Branson ในปี 2004
โดย Richard Branson เอง ก็ได้ประกาศแล้วว่าเขาจะเป็นลูกเรือ
ขึ้นไปกับจรวดของ Virgin Galactic ในการทดสอบรอบที่ 3 ช่วงปลายปี 2021 นี้
ซึ่งจุดหมายของการเดินทางครั้งนี้ ก็คือ ประมาณ 80 กิโลเมตร เหนือผิวโลก
และถ้าการทดสอบรอบนี้ผ่านไปได้ด้วยดี
ก็คาดว่าเที่ยวบินนี้ของ Virgin Galactic เปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ได้
โดยที่ผ่านมา ก็มีลูกค้าจองตั๋วล่วงหน้ากับ Virgin Galactic แล้วกว่า 600 คน
ประกอบด้วยเหล่ามหาเศรษฐี รวมถึงคนดังอย่าง Angelina Jolie และ Tom Hanks
นอกจากนั้นยังมีฝาแฝด Tyler และ Cameron Winklevoss
มหาเศรษฐีที่รวยมาจากคริปโทเคอร์เรนซี
ที่น่าสนใจก็คือ จากข้อมูลที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะ
พวกเขาเป็นเพียง 2 คนที่จ่ายค่าตั๋วด้วยบิตคอยน์ เมื่อเดือนมกราคม 2014
ซึ่งในตอนนั้นบิตคอยน์เหล่านี้คิดเป็นมูลค่า 8 ล้านบาท ต่อที่นั่ง
แต่ถ้านับจนถึงปัจจุบัน ก็ได้เพิ่มขึ้นมาเป็นกว่า 320 ล้านบาท เป็นที่เรียบร้อย
อย่างไรก็ตามนอกจากเที่ยวบินสู่อวกาศราคาแพงเหล่านี้แล้ว
ล่าสุดก็มีอีกหนึ่งบริการ ที่ราคา “ถูก” ลงมาเล็กน้อย แต่ยังได้สัมผัสบรรยากาศนอกโลกเหมือนกัน
นั่นก็คือ “บอลลูนอวกาศ Spaceship Neptune”
ของ Space Perspective บริษัททัวร์อวกาศน้องใหม่ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 2019
ซึ่งเที่ยวบินของ Space Perspective จะใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง
พาเราขึ้นไปเหนือผิวโลก ประมาณ 30 กิโลเมตร โดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการฝึกฝนอะไรก่อน
ที่สำคัญ ตอนนี้ยังเปิดขายตั๋วแล้วเป็นที่เรียบร้อย ในราคาที่นั่งละประมาณ 4 ล้านบาท
และคาดว่าจะสามารถให้บริการได้ในปี 2023-2024
ทั้งหมดนี้ จะว่าไปแล้วก็คงคล้ายกับ กรณีของเครื่องบินในอดีต
ที่ตอนแรกก็จำกัดกลุ่มลูกค้า ในวงของคนรวยเท่านั้น
แต่ปัจจุบันเครื่องบินก็เป็นสิ่งที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ จนแทบจะเป็นเรื่องปกติไปแล้ว
ดังนั้นก็เป็นไปได้ว่า “การท่องเที่ยวอวกาศ” อาจจะเป็นเช่นเดียวกันในอนาคตนี้
และเมื่อวันนั้นมาถึง เวลามีคนมาถามว่าจะไปเที่ยวที่ไหนดี
คำตอบอาจจะไม่ใช่ประเทศญี่ปุ่น หรือสหรัฐอเมริกา
แต่เป็นดวงจันทร์ หรือไม่ก็ดาวอังคารแทน..
References
-https://www.blueorigin.com
-https://www.forbes.com/sites/valeriestimac/2021/05/13/japanese-billionaire-yusaku-maezawa-announces-new-space-tourism-flight-plan-for-late-2021/?sh=7b3e634b253d
-https://www.forbes.com/sites/kenrickcai/2021/06/08/jeff-bezos-and-the-other-billionaire-space-cowboys/?sh=46a350f4979a
-https://www.space.com/space-perspective-selling-seats-stratosphere-balloon