สร้างธุรกิจ ให้เป็นจริงได้เร็วขึ้น ด้วยการทำ Prototype
3 ก.ค. 2021
สร้างธุรกิจ ให้เป็นจริงได้เร็วขึ้น ด้วยการทำ Prototype | THE BRIEFCASE
ในโลกยุคนี้ นับว่าเป็นยุคที่ทุกอย่างเติบโตไปอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะในแง่ของธุรกิจ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ
ทุก ๆ คนต่างแข่งขันกันเพื่อผลิตสิ่งใหม่ ๆ ออกมาให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของมนุษย์มากขึ้น
จากผลสำรวจของ McKinsey พบว่า ผู้บริหารกว่า 90% เชื่อว่าวิกฤติโรคระบาด
จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้การทำธุรกิจในยุคนี้ต้องรวดเร็วและจะต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อให้ทันกับโลกเศรษฐกิจที่หมุนเร็วขึ้นเรื่อย ๆ
แล้วจะมีวิธีการแบบไหนบ้าง ? ที่จะช่วยให้เราสามารถนำไอเดียความคิดของเรา
มาต่อยอดให้เกิดเป็นธุรกิจที่สามารถทำได้จริง ในเวลาอันรวดเร็ว
หนึ่งคำตอบนั้น ก็คือ การทำ Prototype หรือ “ตัวต้นแบบ” มาช่วยในการทำให้ไอเดียธุรกิจ
เป็นจริงได้เร็วขึ้น เพราะจะมีอะไรเร็วไปกว่า การเรียนรู้จากการลงมือทำจริง
แล้ว Prototype คืออะไร ?
Prototype ก็คือ การนำไอเดียที่เรามี มาทำเป็น “ตัวต้นแบบ” หรือ “ตัวอย่าง”
ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องทำสินค้าออกมาเป็นชิ้นพร้อมใช้งานจริงเลย
แต่เป็นการแปลงแนวคิดนั้น มาเป็นภาพแบบง่าย ๆ โดยที่ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด
เช่น ถ้าหากเรากำลังจะทำแอปพลิเคชัน ขอแค่มีปากกากับกระดาษ
ก็สามารถสร้าง Prototype ได้แล้ว เพียงแค่วาด Wireframe หรือภาพรวมการทำงานคร่าว ๆ ของแอปพลิเคชันลงบนกระดาษแบบง่าย ๆ ก็เพียงพอแล้ว
แล้ว Prototype ใช้งานอย่างไร ?
เมื่อได้ Prototype มาแล้ว ก็ให้นำไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ
เพื่อที่จะทำให้เราได้รับฟีดแบ็กจากผู้ใช้งานจริง แทนที่จะมานั่งคิดเอาเองว่า ผู้ใช้งานต้องการอะไร
ต้องยอมรับว่า ในหลาย ๆ ครั้งการที่ผู้พัฒนามานั่งคิดหาความต้องการของผู้ใช้งานเอง
ก็อาจจะไม่ตอบโจทย์เท่ากับการรับฟังเสียงจากผู้ใช้งานจริง
ซึ่งอาจจะมีมุมมอง หรือการใช้งานที่เราอาจคาดไม่ถึงก็เป็นได้
ในขณะเดียวกัน การทดสอบกับผู้ใช้งาน ยังทำให้เราได้รู้อีกว่า
กลุ่มที่เราคิดว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายนั้น ใช่กลุ่มเป้าหมายของเราจริง ๆ หรือไม่
หลังจากได้รับเสียงฟีดแบ็กไปแล้ว ก็นำเอา Prototype นั้นมาปรับแก้ไข
และนำไปทดลองกับกลุ่มผู้ใช้งานอีกครั้ง เพื่อให้ได้สินค้าที่ทุกคนพึงพอใจ
มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า รูปแบบของการทำ Prototype ก็คือการสร้างต้นแบบ และนำไปทดลอง
จากนั้นจึงเรียนรู้จากฟีดแบ็กที่เราได้มา แล้วนำกลับไปทดลองใหม่เรื่อย ๆ
หากสินค้าที่ทำออกมายังดีไม่พอ ก็อาจจะนำไปพัฒนาต่อจากเสียงตอบรับ
หรือหากสินค้าที่ทำออกมานั้นไม่ได้ตอบโจทย์ตลาดเลย และไม่ใช่สิ่งที่ตลาดต้องการ
ก็อาจจะทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาในการหาคำตอบต่อไป แต่ไปเริ่มทำโปรเจกต์ใหม่แทนดีกว่า
แล้วเราสามารถทำ Prototype หลายชิ้นพร้อมกันได้หรือไม่ ?
ในกรณีที่เรามีไอเดียใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาระหว่างทางและสงสัยว่า
ไอเดียใหม่นี้ จะเป็นหนทางที่ทำให้เราสามารถทำงานได้เร็วขึ้นกว่าเดิมหรือไม่
ก็อาจจะลองสร้าง Prototype ขึ้นมาอีกอัน เพื่อลองทำการทดสอบไปพร้อม ๆ กัน
ที่เรียกว่า A/B Testing
ยกตัวอย่างเช่น
User Interface (UI) ของ Facebook หากเราลองสังเกตดี ๆ แล้ว
จะพบว่า บางครั้ง UI ของ Facebook แต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไป
เพื่อเป็นการทำ A/B Testing
ซึ่งการทำแบบนี้ ก็จะทำให้ Facebook รู้ได้ว่า การใช้งานแบบไหนที่เหมาะกับผู้บริโภคมากกว่า
เมื่อได้คำตอบแล้ว จึงนำเอาผลลัพธ์นั้นไปพัฒนาต่อ เพื่อให้มี UI ที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น นั่นเอง
ทั้งหมดนี้ ทำให้เราสรุปได้ว่า การลงมือทำจริงนั้น เป็นสิ่งที่ดีกว่า การนั่งคิดไปเรื่อย ๆ ที่จะหวังว่าจะอุดช่องว่างทุกอย่างในสินค้าของเราได้นั้นเป็นสิ่งที่ยาก
เพราะในความเป็นจริงแล้ว ต่อให้เราคิดว่า เราทำสินค้าออกมาดีแค่ไหน
สุดท้ายเมื่อลงมือทำจริง ก็ต้องพบเจอกับปัญหาอยู่ดี
ดังนั้น การได้เจอกับกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ หรือได้ลงมือทำจริง ย่อมช่วยให้เราสามารถมองเห็นปัญหาของธุรกิจและพัฒนาไปได้เร็วกว่า นั่นเอง..
References:
-https://www.forbes.com/sites/janinemaclachlan/2021/06/28/boost-idea-development-and-innovation-with-prototyping/?sh=290ec13d16b2
-https://www.schoolofchangemakers.com/knowledge/15264/
ในโลกยุคนี้ นับว่าเป็นยุคที่ทุกอย่างเติบโตไปอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะในแง่ของธุรกิจ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ
ทุก ๆ คนต่างแข่งขันกันเพื่อผลิตสิ่งใหม่ ๆ ออกมาให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของมนุษย์มากขึ้น
จากผลสำรวจของ McKinsey พบว่า ผู้บริหารกว่า 90% เชื่อว่าวิกฤติโรคระบาด
จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้การทำธุรกิจในยุคนี้ต้องรวดเร็วและจะต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อให้ทันกับโลกเศรษฐกิจที่หมุนเร็วขึ้นเรื่อย ๆ
แล้วจะมีวิธีการแบบไหนบ้าง ? ที่จะช่วยให้เราสามารถนำไอเดียความคิดของเรา
มาต่อยอดให้เกิดเป็นธุรกิจที่สามารถทำได้จริง ในเวลาอันรวดเร็ว
หนึ่งคำตอบนั้น ก็คือ การทำ Prototype หรือ “ตัวต้นแบบ” มาช่วยในการทำให้ไอเดียธุรกิจ
เป็นจริงได้เร็วขึ้น เพราะจะมีอะไรเร็วไปกว่า การเรียนรู้จากการลงมือทำจริง
แล้ว Prototype คืออะไร ?
Prototype ก็คือ การนำไอเดียที่เรามี มาทำเป็น “ตัวต้นแบบ” หรือ “ตัวอย่าง”
ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องทำสินค้าออกมาเป็นชิ้นพร้อมใช้งานจริงเลย
แต่เป็นการแปลงแนวคิดนั้น มาเป็นภาพแบบง่าย ๆ โดยที่ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด
เช่น ถ้าหากเรากำลังจะทำแอปพลิเคชัน ขอแค่มีปากกากับกระดาษ
ก็สามารถสร้าง Prototype ได้แล้ว เพียงแค่วาด Wireframe หรือภาพรวมการทำงานคร่าว ๆ ของแอปพลิเคชันลงบนกระดาษแบบง่าย ๆ ก็เพียงพอแล้ว
แล้ว Prototype ใช้งานอย่างไร ?
เมื่อได้ Prototype มาแล้ว ก็ให้นำไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ
เพื่อที่จะทำให้เราได้รับฟีดแบ็กจากผู้ใช้งานจริง แทนที่จะมานั่งคิดเอาเองว่า ผู้ใช้งานต้องการอะไร
ต้องยอมรับว่า ในหลาย ๆ ครั้งการที่ผู้พัฒนามานั่งคิดหาความต้องการของผู้ใช้งานเอง
ก็อาจจะไม่ตอบโจทย์เท่ากับการรับฟังเสียงจากผู้ใช้งานจริง
ซึ่งอาจจะมีมุมมอง หรือการใช้งานที่เราอาจคาดไม่ถึงก็เป็นได้
ในขณะเดียวกัน การทดสอบกับผู้ใช้งาน ยังทำให้เราได้รู้อีกว่า
กลุ่มที่เราคิดว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายนั้น ใช่กลุ่มเป้าหมายของเราจริง ๆ หรือไม่
หลังจากได้รับเสียงฟีดแบ็กไปแล้ว ก็นำเอา Prototype นั้นมาปรับแก้ไข
และนำไปทดลองกับกลุ่มผู้ใช้งานอีกครั้ง เพื่อให้ได้สินค้าที่ทุกคนพึงพอใจ
มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า รูปแบบของการทำ Prototype ก็คือการสร้างต้นแบบ และนำไปทดลอง
จากนั้นจึงเรียนรู้จากฟีดแบ็กที่เราได้มา แล้วนำกลับไปทดลองใหม่เรื่อย ๆ
หากสินค้าที่ทำออกมายังดีไม่พอ ก็อาจจะนำไปพัฒนาต่อจากเสียงตอบรับ
หรือหากสินค้าที่ทำออกมานั้นไม่ได้ตอบโจทย์ตลาดเลย และไม่ใช่สิ่งที่ตลาดต้องการ
ก็อาจจะทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาในการหาคำตอบต่อไป แต่ไปเริ่มทำโปรเจกต์ใหม่แทนดีกว่า
แล้วเราสามารถทำ Prototype หลายชิ้นพร้อมกันได้หรือไม่ ?
ในกรณีที่เรามีไอเดียใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาระหว่างทางและสงสัยว่า
ไอเดียใหม่นี้ จะเป็นหนทางที่ทำให้เราสามารถทำงานได้เร็วขึ้นกว่าเดิมหรือไม่
ก็อาจจะลองสร้าง Prototype ขึ้นมาอีกอัน เพื่อลองทำการทดสอบไปพร้อม ๆ กัน
ที่เรียกว่า A/B Testing
ยกตัวอย่างเช่น
User Interface (UI) ของ Facebook หากเราลองสังเกตดี ๆ แล้ว
จะพบว่า บางครั้ง UI ของ Facebook แต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไป
เพื่อเป็นการทำ A/B Testing
ซึ่งการทำแบบนี้ ก็จะทำให้ Facebook รู้ได้ว่า การใช้งานแบบไหนที่เหมาะกับผู้บริโภคมากกว่า
เมื่อได้คำตอบแล้ว จึงนำเอาผลลัพธ์นั้นไปพัฒนาต่อ เพื่อให้มี UI ที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น นั่นเอง
ทั้งหมดนี้ ทำให้เราสรุปได้ว่า การลงมือทำจริงนั้น เป็นสิ่งที่ดีกว่า การนั่งคิดไปเรื่อย ๆ ที่จะหวังว่าจะอุดช่องว่างทุกอย่างในสินค้าของเราได้นั้นเป็นสิ่งที่ยาก
เพราะในความเป็นจริงแล้ว ต่อให้เราคิดว่า เราทำสินค้าออกมาดีแค่ไหน
สุดท้ายเมื่อลงมือทำจริง ก็ต้องพบเจอกับปัญหาอยู่ดี
ดังนั้น การได้เจอกับกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ หรือได้ลงมือทำจริง ย่อมช่วยให้เราสามารถมองเห็นปัญหาของธุรกิจและพัฒนาไปได้เร็วกว่า นั่นเอง..
References:
-https://www.forbes.com/sites/janinemaclachlan/2021/06/28/boost-idea-development-and-innovation-with-prototyping/?sh=290ec13d16b2
-https://www.schoolofchangemakers.com/knowledge/15264/