Hustle Culture วัฒนธรรมคลั่งงาน ที่ทำให้หลายคน หมดไฟ
30 พ.ค. 2021
Hustle Culture วัฒนธรรมคลั่งงาน ที่ทำให้หลายคน หมดไฟ | THE BRIEFCASE
คำว่า Hustle หากแปลตรงตัว ก็จะหมายถึง การเร่งรีบ หรือความกระฉับกระเฉง
ส่วน Hustle Culture หรือ วัฒนธรรมแห่งความเร่งรีบ กระตือรือร้น ซึ่งพอเรานำมาพูดสะท้อนในเรื่องของการทำงาน ก็จะเป็นในลักษณะของ “วัฒนธรรมการคลั่งไคล้ในการทำงาน”
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ของลักษณะองค์กรที่มี Hustle Culture สูง คือ
- พนักงานทุกคนมีระยะเวลาทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์เกินเวลาที่กำหนด
เช่น เวลาทำงานปกติ เฉลี่ยจะอยู่ที่ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
แต่สำหรับในองค์กรนั้น ๆ ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ของพนักงาน
อาจสูงมากถึง 50-55 ชั่วโมง
- พนักงานบ่นว่าเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน
แต่ไม่มีใครอยากหยุดพัก และเลือกที่จะไปกดกาแฟมาดื่ม แล้วหันกลับไปทำงานต่อ
- ไม่มีเวลาพักผ่อนระหว่างวัน ความสัมพันธ์กับคนอื่นในองค์กรอยู่ในระดับที่ต่ำ
- มาตรฐานในการทำงาน อยู่ในระดับสูง และต้องสูงขึ้นเรื่อย ๆ อยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม Hustle Culture ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด
เพราะในปัจจุบันหรืออดีต ก็มีหลายบริษัทนิยมนำ Hustle Culture มาปรับใช้งานภายในองค์กร
โดยเฉพาะบริษัทสตาร์ตอัป ที่แสวงหาการเติบโตอย่างรวดเร็ว
รวมไปถึง มุมมองของผู้นำองค์กรว่า จะต้องใช้งานพนักงานทุกคนให้คุ้มค่า
เพราะบุคคลที่พวกเขาเลือกให้เข้ามาทำงาน ล้วนมีประสิทธิภาพสูงทุกคน
และจะมีการมอบคำชื่นชม รางวัลพิเศษ ต่อพนักงานที่อุทิศตนให้กับหน้าที่การงาน ได้อย่างดีเยี่ยม
หากว่าแนวคิด Hustle Culture ที่กล่าวมานี้ สามารถช่วยเร่งประสิทธิภาพพนักงานและทำให้องค์กรเติบโตได้แบบก้าวกระโดด
แต่แล้วทำไม พนักงานหลาย ๆ คน จึงมีอาการเบื่อวันจันทร์ เบื่อวันที่ต้องทำงาน เบื่อหน่ายในการทำงาน หรือเกิดภาวะหมดไฟได้ล่ะ ?
1. เกิดวัฒนธรรมการเปรียบเทียบการทำงาน กับพนักงานคนอื่น
ลองจินตนาการดูว่า หากเวลาในการทำงานและผลลัพธ์ของงานเรา ถูกนำไปเปรียบเทียบกับคนอื่น มันจะเป็นอย่างไร ?
ยกตัวอย่างเช่น ตัวเราใช้เวลาทำงานเฉลี่ย 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ได้ผลงานออกมา 5 ชิ้น
ในขณะที่เพื่อนร่วมงานอีก 2 คนในทีม
ทำงานเกินเวลา ไปมากกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และยังได้ผลงานออกมา 10 ชิ้น
แน่นอนว่า คำถามที่ตามมาคือ
แล้วเราจำเป็นต้องทำแบบนั้นหรือ ?
แต่พอมองไปที่ เพื่อนร่วมงานทุกคนในทีม ก็ดันเป็นแบบนั้นกันไปเสียหมด
สุดท้ายแล้ว ก็ต้องเป็นเรา ที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมการทำงานในทีม ทีมนั้น ซึ่งอาจทำให้เราไม่สามารถจัดระเบียบสมดุลชีวิตการทำงาน
จนในที่สุด จุดนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้เราเกิดภาวะหมดใจและท้อถอย ไม่อยากทำงาน
2. เกิดความกังวลกับการจัดตารางเวลาสำหรับงานต่าง ๆ มากจนเกินไป
หากองค์กรของเรา มีการมองในเรื่องความคุ้มค่าของเวลาในการทำงาน มากถึงเพียงนี้
เราก็คงจะคุ้นเคยกับประโยคคำถามของเจ้านาย ในทุก ๆ เช้าของวันจันทร์ว่า
“วันนี้วันจันทร์ เป็นวันเริ่มต้นทำงานของสัปดาห์
ผมขอดูแผนการทำงานในแต่ละชั่วโมงของคุณในสัปดาห์นี้หน่อยสิ ?”
ซึ่งเรื่องนี้อาจกลายเป็นว่า ในระหว่างวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ที่เหล่าพนักงานควรจะได้พักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ พวกเขากลับอดไม่ได้ที่จะต้องเตรียมตัวคิด เพื่อตอบคำถามของหัวหน้าสำหรับเช้าวันจันทร์ ที่กำลังจะมาถึง และเป็นแบบนี้ วนซ้ำไปเรื่อย ๆ
3. เกิดความรู้สึกที่ต้องแกล้งทำเป็นขยันทำงาน เพื่อปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร
แน่นอนว่า ใคร ๆ ก็ต้องอยากได้รับคำชม หรือรางวัลเป็นธรรมดา
บ้างก็ไม่อยากตกขบวน หรือรู้สึกต่ำต้อยไปกว่าเพื่อนร่วมงาน
ความรู้สึกนี้ ก็จะถูกสะท้อนด้วย การที่พนักงานบางคน มีการเสแสร้งแกล้งทำเป็นขยัน และทำงานล่วงเวลา เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตัวเอง และได้รับคำชมจากเจ้านาย
4. รักองค์กร แต่เบื่อเพื่อนร่วมงาน
สืบเนื่องมาจากข้อที่ 3 สำหรับพนักงานบางคน
ที่ยังมีความศรัทธาในองค์กรและรักในตัวเนื้องานที่พวกเขาทำ
แต่อาจต้องเจอกับสภาพแวดล้อมที่เพื่อนร่วมงานรอบตัวไม่ดี เช่น แข่งขันกันเอาดีเข้าตัว หรือแสร้งทำเป็นขยันทำงาน ซึ่งนี่อาจเป็นบ่อเกิดของความเบื่อหน่ายกับการต้องทำงานในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ก็เป็นได้เช่นกัน..
รู้ไหมว่า ในปีที่ผ่านมา นักคณิตศาสตร์เชิงสถิติประจำกรมแรงงาน ในสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาเปิดเผยว่า การที่องค์กรมีการปรับใช้ Hustle Culture ที่มากเกินพอดี จะทำให้ประสิทธิภาพของพนักงาน ลดลงไปมากถึง 68% อีกทั้งยังเป็นต้นเหตุหลัก ของภาวะการหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) ของชาวอเมริกัน
อย่างไรก็ตาม ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ ย่อมมีเหตุผลในตัวมันเสมอ
ไม่มีสิ่งใดที่จะมีแต่ด้านลบ หรือด้านบวก เพียงอย่างเดียว
Hustle Culture ก็เป็นเฉกเช่นเดียวกัน
โดยข้อดีที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด คือ การทำงานแบบมีเป้าหมาย มีการวางแผนและหวังผลสำเร็จที่จับต้องได้
รวมไปถึงการที่เรารู้สึกว่าเราอยากที่จะพัฒนาตัวเอง และทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง
เพราะแน่นอนว่า เราก็คงไม่อยากจะเป็นคนเดียว ที่ก้าวตามหลังเพื่อน ๆ คนอื่นอย่างแน่นอน
สุดท้ายนี้ Hustle Culture หรือวัฒนธรรมการคลั่งไคล้ในการทำงาน ถือว่าเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่ดี
เพียงแต่เราจำเป็นต้องรู้จักการควบคุม และหาจุดพอดีของมันให้ได้
ต้องหาจุดสมดุลของชีวิตการทำงานและในเวลาเลิกงาน
พยายามไม่กดดันและยึดติดตัวเอง ด้วยการเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น
และอย่าลืมหยุดพักสักนิด เพื่อฉลองกับความสำเร็จในงาน ที่เพิ่งผ่านไป
อย่ามัวแต่คิดว่า จะต้องเดินหน้าพัฒนาต่อ เพียงอย่างเดียว
ส่วนคนที่เป็นเจ้านาย หรือผู้นำองค์กร
ก็ควรที่จะทำความเข้าใจการทำงานหนักของพนักงาน
และพร้อมสนับสนุนลูกทีม ให้พร้อมโตไปกับแนวทางการเติบโตของบริษัท ในแบบที่ไม่เร่งรีบจนเกินความจำเป็นเกินไป
เหมือนกับที่คุณริชาร์ด แบรนสัน CEO ของ Virgin Group เคยกล่าวไว้ว่า
“ความสุขในการทำงานของพนักงาน คือเคล็ดลับความสำเร็จในธุรกิจของเรา ถึงแม้บริษัทของเราจะเติบโตช้าไปบ้างสักเล็กน้อย แต่พวกเรามุ่งหวังที่จะมีการเติบโตแบบยั่งยืน โดยให้พนักงานมีความสุข และรักงานที่ทำ”
อย่างน้อยที่สุด “ตัวเรา” ในฐานะพนักงาน ก็จะสามารถมีความสุขในการทำงาน ไม่ติดกับดักภาวะหมดไฟ และทำให้มุมมองของเราที่มีต่อ “วันจันทร์” หรือ “วันที่ต้องทำงาน” ไม่น่าเบื่อ อีกต่อไป..
References
-https://medium.com/the-ascent/hustle-culture-helpful-or-toxic-db8daccf3e29
-https://www.nytimes.com/2019/01/26/business/against-hustle-culture-rise-and-grind-tgim.html
-https://blog.runrun.it/en/hustle-culture/
-https://www.fastcompany.com/90632992/hustle-culture-is-burning-us-out-here-are-3-more-productive-ways-to-achieve-success?partner=rss&utm_source=rss&utm_medium=feed&utm_campaign=rss+fastcompany&utm_content=rss
คำว่า Hustle หากแปลตรงตัว ก็จะหมายถึง การเร่งรีบ หรือความกระฉับกระเฉง
ส่วน Hustle Culture หรือ วัฒนธรรมแห่งความเร่งรีบ กระตือรือร้น ซึ่งพอเรานำมาพูดสะท้อนในเรื่องของการทำงาน ก็จะเป็นในลักษณะของ “วัฒนธรรมการคลั่งไคล้ในการทำงาน”
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ของลักษณะองค์กรที่มี Hustle Culture สูง คือ
- พนักงานทุกคนมีระยะเวลาทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์เกินเวลาที่กำหนด
เช่น เวลาทำงานปกติ เฉลี่ยจะอยู่ที่ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
แต่สำหรับในองค์กรนั้น ๆ ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ของพนักงาน
อาจสูงมากถึง 50-55 ชั่วโมง
- พนักงานบ่นว่าเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน
แต่ไม่มีใครอยากหยุดพัก และเลือกที่จะไปกดกาแฟมาดื่ม แล้วหันกลับไปทำงานต่อ
- ไม่มีเวลาพักผ่อนระหว่างวัน ความสัมพันธ์กับคนอื่นในองค์กรอยู่ในระดับที่ต่ำ
- มาตรฐานในการทำงาน อยู่ในระดับสูง และต้องสูงขึ้นเรื่อย ๆ อยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม Hustle Culture ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด
เพราะในปัจจุบันหรืออดีต ก็มีหลายบริษัทนิยมนำ Hustle Culture มาปรับใช้งานภายในองค์กร
โดยเฉพาะบริษัทสตาร์ตอัป ที่แสวงหาการเติบโตอย่างรวดเร็ว
รวมไปถึง มุมมองของผู้นำองค์กรว่า จะต้องใช้งานพนักงานทุกคนให้คุ้มค่า
เพราะบุคคลที่พวกเขาเลือกให้เข้ามาทำงาน ล้วนมีประสิทธิภาพสูงทุกคน
และจะมีการมอบคำชื่นชม รางวัลพิเศษ ต่อพนักงานที่อุทิศตนให้กับหน้าที่การงาน ได้อย่างดีเยี่ยม
หากว่าแนวคิด Hustle Culture ที่กล่าวมานี้ สามารถช่วยเร่งประสิทธิภาพพนักงานและทำให้องค์กรเติบโตได้แบบก้าวกระโดด
แต่แล้วทำไม พนักงานหลาย ๆ คน จึงมีอาการเบื่อวันจันทร์ เบื่อวันที่ต้องทำงาน เบื่อหน่ายในการทำงาน หรือเกิดภาวะหมดไฟได้ล่ะ ?
1. เกิดวัฒนธรรมการเปรียบเทียบการทำงาน กับพนักงานคนอื่น
ลองจินตนาการดูว่า หากเวลาในการทำงานและผลลัพธ์ของงานเรา ถูกนำไปเปรียบเทียบกับคนอื่น มันจะเป็นอย่างไร ?
ยกตัวอย่างเช่น ตัวเราใช้เวลาทำงานเฉลี่ย 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ได้ผลงานออกมา 5 ชิ้น
ในขณะที่เพื่อนร่วมงานอีก 2 คนในทีม
ทำงานเกินเวลา ไปมากกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และยังได้ผลงานออกมา 10 ชิ้น
แน่นอนว่า คำถามที่ตามมาคือ
แล้วเราจำเป็นต้องทำแบบนั้นหรือ ?
แต่พอมองไปที่ เพื่อนร่วมงานทุกคนในทีม ก็ดันเป็นแบบนั้นกันไปเสียหมด
สุดท้ายแล้ว ก็ต้องเป็นเรา ที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมการทำงานในทีม ทีมนั้น ซึ่งอาจทำให้เราไม่สามารถจัดระเบียบสมดุลชีวิตการทำงาน
จนในที่สุด จุดนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้เราเกิดภาวะหมดใจและท้อถอย ไม่อยากทำงาน
2. เกิดความกังวลกับการจัดตารางเวลาสำหรับงานต่าง ๆ มากจนเกินไป
หากองค์กรของเรา มีการมองในเรื่องความคุ้มค่าของเวลาในการทำงาน มากถึงเพียงนี้
เราก็คงจะคุ้นเคยกับประโยคคำถามของเจ้านาย ในทุก ๆ เช้าของวันจันทร์ว่า
“วันนี้วันจันทร์ เป็นวันเริ่มต้นทำงานของสัปดาห์
ผมขอดูแผนการทำงานในแต่ละชั่วโมงของคุณในสัปดาห์นี้หน่อยสิ ?”
ซึ่งเรื่องนี้อาจกลายเป็นว่า ในระหว่างวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ที่เหล่าพนักงานควรจะได้พักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ พวกเขากลับอดไม่ได้ที่จะต้องเตรียมตัวคิด เพื่อตอบคำถามของหัวหน้าสำหรับเช้าวันจันทร์ ที่กำลังจะมาถึง และเป็นแบบนี้ วนซ้ำไปเรื่อย ๆ
3. เกิดความรู้สึกที่ต้องแกล้งทำเป็นขยันทำงาน เพื่อปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร
แน่นอนว่า ใคร ๆ ก็ต้องอยากได้รับคำชม หรือรางวัลเป็นธรรมดา
บ้างก็ไม่อยากตกขบวน หรือรู้สึกต่ำต้อยไปกว่าเพื่อนร่วมงาน
ความรู้สึกนี้ ก็จะถูกสะท้อนด้วย การที่พนักงานบางคน มีการเสแสร้งแกล้งทำเป็นขยัน และทำงานล่วงเวลา เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตัวเอง และได้รับคำชมจากเจ้านาย
4. รักองค์กร แต่เบื่อเพื่อนร่วมงาน
สืบเนื่องมาจากข้อที่ 3 สำหรับพนักงานบางคน
ที่ยังมีความศรัทธาในองค์กรและรักในตัวเนื้องานที่พวกเขาทำ
แต่อาจต้องเจอกับสภาพแวดล้อมที่เพื่อนร่วมงานรอบตัวไม่ดี เช่น แข่งขันกันเอาดีเข้าตัว หรือแสร้งทำเป็นขยันทำงาน ซึ่งนี่อาจเป็นบ่อเกิดของความเบื่อหน่ายกับการต้องทำงานในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ก็เป็นได้เช่นกัน..
รู้ไหมว่า ในปีที่ผ่านมา นักคณิตศาสตร์เชิงสถิติประจำกรมแรงงาน ในสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาเปิดเผยว่า การที่องค์กรมีการปรับใช้ Hustle Culture ที่มากเกินพอดี จะทำให้ประสิทธิภาพของพนักงาน ลดลงไปมากถึง 68% อีกทั้งยังเป็นต้นเหตุหลัก ของภาวะการหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) ของชาวอเมริกัน
อย่างไรก็ตาม ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ ย่อมมีเหตุผลในตัวมันเสมอ
ไม่มีสิ่งใดที่จะมีแต่ด้านลบ หรือด้านบวก เพียงอย่างเดียว
Hustle Culture ก็เป็นเฉกเช่นเดียวกัน
โดยข้อดีที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด คือ การทำงานแบบมีเป้าหมาย มีการวางแผนและหวังผลสำเร็จที่จับต้องได้
รวมไปถึงการที่เรารู้สึกว่าเราอยากที่จะพัฒนาตัวเอง และทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง
เพราะแน่นอนว่า เราก็คงไม่อยากจะเป็นคนเดียว ที่ก้าวตามหลังเพื่อน ๆ คนอื่นอย่างแน่นอน
สุดท้ายนี้ Hustle Culture หรือวัฒนธรรมการคลั่งไคล้ในการทำงาน ถือว่าเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่ดี
เพียงแต่เราจำเป็นต้องรู้จักการควบคุม และหาจุดพอดีของมันให้ได้
ต้องหาจุดสมดุลของชีวิตการทำงานและในเวลาเลิกงาน
พยายามไม่กดดันและยึดติดตัวเอง ด้วยการเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น
และอย่าลืมหยุดพักสักนิด เพื่อฉลองกับความสำเร็จในงาน ที่เพิ่งผ่านไป
อย่ามัวแต่คิดว่า จะต้องเดินหน้าพัฒนาต่อ เพียงอย่างเดียว
ส่วนคนที่เป็นเจ้านาย หรือผู้นำองค์กร
ก็ควรที่จะทำความเข้าใจการทำงานหนักของพนักงาน
และพร้อมสนับสนุนลูกทีม ให้พร้อมโตไปกับแนวทางการเติบโตของบริษัท ในแบบที่ไม่เร่งรีบจนเกินความจำเป็นเกินไป
เหมือนกับที่คุณริชาร์ด แบรนสัน CEO ของ Virgin Group เคยกล่าวไว้ว่า
“ความสุขในการทำงานของพนักงาน คือเคล็ดลับความสำเร็จในธุรกิจของเรา ถึงแม้บริษัทของเราจะเติบโตช้าไปบ้างสักเล็กน้อย แต่พวกเรามุ่งหวังที่จะมีการเติบโตแบบยั่งยืน โดยให้พนักงานมีความสุข และรักงานที่ทำ”
อย่างน้อยที่สุด “ตัวเรา” ในฐานะพนักงาน ก็จะสามารถมีความสุขในการทำงาน ไม่ติดกับดักภาวะหมดไฟ และทำให้มุมมองของเราที่มีต่อ “วันจันทร์” หรือ “วันที่ต้องทำงาน” ไม่น่าเบื่อ อีกต่อไป..
References
-https://medium.com/the-ascent/hustle-culture-helpful-or-toxic-db8daccf3e29
-https://www.nytimes.com/2019/01/26/business/against-hustle-culture-rise-and-grind-tgim.html
-https://blog.runrun.it/en/hustle-culture/
-https://www.fastcompany.com/90632992/hustle-culture-is-burning-us-out-here-are-3-more-productive-ways-to-achieve-success?partner=rss&utm_source=rss&utm_medium=feed&utm_campaign=rss+fastcompany&utm_content=rss