มนุษย์ต้องทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ มาตั้งแต่เมื่อไร ?
28 พ.ค. 2021
มนุษย์ต้องทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ มาตั้งแต่เมื่อไร ? | THE BRIEFCASE
วิถีการทำงาน ที่อาจกลายเป็นความปกติแบบใหม่หลังวิกฤติโรคระบาด
นอกจากเรื่องความยืดหยุ่นในการทำงาน ที่จะทำจากที่ไหนก็ได้แล้ว
อีกเรื่องหนึ่งก็คือ จำนวนวันทำงาน ที่อาจเหลือเพียง 4 วัน จาก 5 วันต่อสัปดาห์
ซึ่งประเด็นการลดจำนวนวันทำงานลงนี้ เป็นที่พูดถึงกันมาหลายปี ก่อนที่จะเริ่มนำมาใช้กันอย่างจริงจังในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
และระดับผู้นำในบางประเทศ อย่างเช่น นิวซีแลนด์ ฟินแลนด์ หรือแม้แต่ญี่ปุ่น
ต่างก็สนับสนุนแนวทางนี้ โดยให้บริษัทขนาดใหญ่ทดลองลดวันทำงานลงแล้ว
แต่ก่อนที่จะมาถึงกระแสลดวันทำงานลงจาก 5 วันอย่างในตอนนี้
การทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ เริ่มมาตั้งแต่เมื่อไร แล้วใครเป็นผู้ริเริ่ม ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
ทุกวันนี้ มนุษย์มีเวลาในการทำงานตามหลักสากลอยู่ที่ 8 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ รวมเป็นสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง
แต่ถ้าย้อนไปเมื่อ 150 ปีก่อน ในช่วงหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์ต้องทำงาน 60-100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และเป็นการทำงานแบบไม่มีวันหยุด หรือถ้ามี ก็มีเพียงสัปดาห์ละวันเท่านั้น
จุดเปลี่ยนสำคัญ เกิดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1926 หรือเมื่อ 95 ปีที่แล้ว โดยผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตรถยนต์ระดับโลกอย่าง Ford Motor ที่ชื่อว่า Henry Ford
โรงงานผลิตรถยนต์ในสมัยนั้น ก็ไม่ต่างจากโรงงานอื่น ที่ใช้ระบบสายพานและคนงานในการประกอบสินค้า
คุณ Henry Ford เกิดความคิดว่า ถ้าพนักงานมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น มีเวลาว่างหาความรู้ใหม่เพิ่มเติมมากขึ้น รวมถึงได้ใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสุดท้ายจะส่งผลไปถึงผลการดำเนินงานของบริษัท ที่ทำรายได้และกำไรได้มากขึ้นตามไปด้วย
คุณ Henry Ford จึงลองประกาศลดวันทำงานของพนักงานลง จาก 6 วันเหลือ 5 วันต่อสัปดาห์ และจำกัดชั่วโมงทำงานต่อวันที่ 8 ชั่วโมง โดยพนักงานจะยังได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเท่าเดิม
และนโยบายนี้ ก็ได้สร้างความฮือฮาไปเป็นวงกว้าง เพราะใคร ๆ ต่างก็คิดว่าการทำแบบนี้ บริษัทจะมีแต่เสียกับเสีย
แต่ผลลัพธ์กลับตรงกันข้ามกับที่คนส่วนใหญ่คิด
เพราะการที่พนักงานยังได้เงินเท่าเดิม แต่มีจำนวนชั่วโมงการทำงานลดลง กลับทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นตามที่คุณ Henry Ford คิด
ซึ่งเรื่องนี้ก็สะท้อนได้จากผลประกอบการของ Ford Motor ที่ทำกำไรได้มากขึ้นหลังจากใช้นโยบายนี้
และเมื่อยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรม ได้พิสูจน์ความสำเร็จมาแล้ว บริษัทอื่นต่างก็ยึดเอาหลักการนี้มาใช้ต่อ ทั้งในสหรัฐอเมริกาเอง รวมถึงประเทศในยุโรป จนชั่วโมงการทำงานโดยเฉลี่ยเริ่มลดลง โดยเฉพาะช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับประเทศในเอเชีย ที่แม้ว่าปัจจุบัน ประเทศส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มของชั่วโมงการทำงานที่ลดลง
แต่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือช่วงต้น 1950s มาจนถึงช่วงปลาย 1980s
ยังเป็นช่วงที่จำนวนชั่วโมงการทำงานเพิ่มขึ้นอยู่ ก่อนที่จะเริ่มปรับลดลงหลังจากนั้น
และก็ยังมีอีกบางประเทศ ที่จำนวนชั่วโมงการทำงานยังแทบไม่ลดลงหรือลดลงน้อยมาก อย่างเช่น ประเทศจีน
ยกตัวอย่าง วัฒนธรรมการทำงานหนักในจีน ที่ถูกเรียกว่า “996”
ซึ่งคือการทำงานตั้งแต่เวลา 09.00 น. จนถึง 21.00 น. 6 วันต่อสัปดาห์ รวมถึงการทำงานล่วงเวลาแบบไม่ได้รับค่าจ้าง และเหล่าผู้บริหารบริษัทระดับโลก อย่างเช่น Alibaba และ Tencent ยังคงมีทัศนคติแบบนี้
ซึ่งก็สวนทางกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ที่ผู้บริหารกลับเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน ให้พนักงานมากขึ้น โดยที่บางบริษัท ได้เริ่มทดลองทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์แล้ว อย่างเช่น Microsoft และ Unilever และผลที่ได้ก็คือ พนักงานทำผลงานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นกว่า 40%
แล้วถ้าถามว่า ประเทศที่มีจำนวนชั่วโมงทำงานน้อยกว่า ส่งผลให้มีรายได้น้อยกว่าด้วยหรือไม่ ?
คำตอบก็คือ ไม่ใช่เสมอไป และจำนวนชั่วโมงการทำงานกับรายได้ในบางประเทศ ยังสวนทางกันอีกด้วย
เพราะเมื่อดูจากข้อมูลจริง จะพบว่าประเทศที่มีรายได้สูงกว่า หรือวัดได้จากมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศนั้น หารด้วยจำนวนประชากร กลับมีจำนวนชั่วโมงการทำงานที่น้อยกว่า ยกตัวอย่างเช่น
คนจีน มีรายได้ต่อหัวโดยเฉลี่ย 400,000 บาทต่อปี ใช้เวลาทำงานเฉลี่ย 2,174 ชั่วโมงต่อปี
คนอเมริกัน มีรายได้ต่อหัวโดยเฉลี่ย 1,700,000 บาทต่อปี ใช้เวลาทำงานเฉลี่ย 1,757 ชั่วโมงต่อปี
ขณะที่ประเทศที่ใช้เวลาทำงานน้อยที่สุด อย่างเยอรมนี
ใช้เวลาในการทำงานเฉลี่ย 1,354 ชั่วโมงต่อปี หรือน้อยกว่าเวลาการทำงานเฉลี่ยในประเทศไทย 1.6 เท่า
ขณะที่ประชากรมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 1,490,000 บาท มากกว่าคนไทย 3.0 เท่า
มาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า แนวคิดของคุณ Henry Ford ผู้ริเริ่มการลดชั่วโมงทำงานลงมาเหลือ 5 วัน เพื่อให้พนักงานมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น ได้ส่งผลไปถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้ ตั้งแต่ระดับบริษัท ไปจนถึงระดับประเทศ
แนวคิดดังกล่าว ยังคงได้รับการพิสูจน์ว่าใช้ได้ผล มาจนถึงทุกวันนี้
และในวันนี้ จำนวนวันในการทำงานของมนุษย์ ก็ดูเหมือนกำลังจะลดลงอีกครั้ง เหลือเพียง 4 วัน หลังจากที่มีวันทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ มาเกือบร้อยปี..
References
-https://www.bbc.co.uk/bitesize/articles/zf22kmn
-https://www.cnbc.com/2017/05/03/how-the-8-hour-workday-changed-how-americans-work.html
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-03-02/four-day-work-week-gains-popularity-around-the-world
-https://www.businessinsider.com/microsoft-4-day-work-week-boosts-productivity-2019-11
-https://www.blockdit.com/posts/600ff400b7abb12d2d440aae
-https://ourworldindata.org/working-hours
วิถีการทำงาน ที่อาจกลายเป็นความปกติแบบใหม่หลังวิกฤติโรคระบาด
นอกจากเรื่องความยืดหยุ่นในการทำงาน ที่จะทำจากที่ไหนก็ได้แล้ว
อีกเรื่องหนึ่งก็คือ จำนวนวันทำงาน ที่อาจเหลือเพียง 4 วัน จาก 5 วันต่อสัปดาห์
ซึ่งประเด็นการลดจำนวนวันทำงานลงนี้ เป็นที่พูดถึงกันมาหลายปี ก่อนที่จะเริ่มนำมาใช้กันอย่างจริงจังในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
และระดับผู้นำในบางประเทศ อย่างเช่น นิวซีแลนด์ ฟินแลนด์ หรือแม้แต่ญี่ปุ่น
ต่างก็สนับสนุนแนวทางนี้ โดยให้บริษัทขนาดใหญ่ทดลองลดวันทำงานลงแล้ว
แต่ก่อนที่จะมาถึงกระแสลดวันทำงานลงจาก 5 วันอย่างในตอนนี้
การทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ เริ่มมาตั้งแต่เมื่อไร แล้วใครเป็นผู้ริเริ่ม ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
ทุกวันนี้ มนุษย์มีเวลาในการทำงานตามหลักสากลอยู่ที่ 8 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ รวมเป็นสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง
แต่ถ้าย้อนไปเมื่อ 150 ปีก่อน ในช่วงหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์ต้องทำงาน 60-100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และเป็นการทำงานแบบไม่มีวันหยุด หรือถ้ามี ก็มีเพียงสัปดาห์ละวันเท่านั้น
จุดเปลี่ยนสำคัญ เกิดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1926 หรือเมื่อ 95 ปีที่แล้ว โดยผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตรถยนต์ระดับโลกอย่าง Ford Motor ที่ชื่อว่า Henry Ford
โรงงานผลิตรถยนต์ในสมัยนั้น ก็ไม่ต่างจากโรงงานอื่น ที่ใช้ระบบสายพานและคนงานในการประกอบสินค้า
คุณ Henry Ford เกิดความคิดว่า ถ้าพนักงานมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น มีเวลาว่างหาความรู้ใหม่เพิ่มเติมมากขึ้น รวมถึงได้ใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสุดท้ายจะส่งผลไปถึงผลการดำเนินงานของบริษัท ที่ทำรายได้และกำไรได้มากขึ้นตามไปด้วย
คุณ Henry Ford จึงลองประกาศลดวันทำงานของพนักงานลง จาก 6 วันเหลือ 5 วันต่อสัปดาห์ และจำกัดชั่วโมงทำงานต่อวันที่ 8 ชั่วโมง โดยพนักงานจะยังได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเท่าเดิม
และนโยบายนี้ ก็ได้สร้างความฮือฮาไปเป็นวงกว้าง เพราะใคร ๆ ต่างก็คิดว่าการทำแบบนี้ บริษัทจะมีแต่เสียกับเสีย
แต่ผลลัพธ์กลับตรงกันข้ามกับที่คนส่วนใหญ่คิด
เพราะการที่พนักงานยังได้เงินเท่าเดิม แต่มีจำนวนชั่วโมงการทำงานลดลง กลับทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นตามที่คุณ Henry Ford คิด
ซึ่งเรื่องนี้ก็สะท้อนได้จากผลประกอบการของ Ford Motor ที่ทำกำไรได้มากขึ้นหลังจากใช้นโยบายนี้
และเมื่อยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรม ได้พิสูจน์ความสำเร็จมาแล้ว บริษัทอื่นต่างก็ยึดเอาหลักการนี้มาใช้ต่อ ทั้งในสหรัฐอเมริกาเอง รวมถึงประเทศในยุโรป จนชั่วโมงการทำงานโดยเฉลี่ยเริ่มลดลง โดยเฉพาะช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับประเทศในเอเชีย ที่แม้ว่าปัจจุบัน ประเทศส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มของชั่วโมงการทำงานที่ลดลง
แต่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือช่วงต้น 1950s มาจนถึงช่วงปลาย 1980s
ยังเป็นช่วงที่จำนวนชั่วโมงการทำงานเพิ่มขึ้นอยู่ ก่อนที่จะเริ่มปรับลดลงหลังจากนั้น
และก็ยังมีอีกบางประเทศ ที่จำนวนชั่วโมงการทำงานยังแทบไม่ลดลงหรือลดลงน้อยมาก อย่างเช่น ประเทศจีน
ยกตัวอย่าง วัฒนธรรมการทำงานหนักในจีน ที่ถูกเรียกว่า “996”
ซึ่งคือการทำงานตั้งแต่เวลา 09.00 น. จนถึง 21.00 น. 6 วันต่อสัปดาห์ รวมถึงการทำงานล่วงเวลาแบบไม่ได้รับค่าจ้าง และเหล่าผู้บริหารบริษัทระดับโลก อย่างเช่น Alibaba และ Tencent ยังคงมีทัศนคติแบบนี้
ซึ่งก็สวนทางกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ที่ผู้บริหารกลับเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน ให้พนักงานมากขึ้น โดยที่บางบริษัท ได้เริ่มทดลองทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์แล้ว อย่างเช่น Microsoft และ Unilever และผลที่ได้ก็คือ พนักงานทำผลงานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นกว่า 40%
แล้วถ้าถามว่า ประเทศที่มีจำนวนชั่วโมงทำงานน้อยกว่า ส่งผลให้มีรายได้น้อยกว่าด้วยหรือไม่ ?
คำตอบก็คือ ไม่ใช่เสมอไป และจำนวนชั่วโมงการทำงานกับรายได้ในบางประเทศ ยังสวนทางกันอีกด้วย
เพราะเมื่อดูจากข้อมูลจริง จะพบว่าประเทศที่มีรายได้สูงกว่า หรือวัดได้จากมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศนั้น หารด้วยจำนวนประชากร กลับมีจำนวนชั่วโมงการทำงานที่น้อยกว่า ยกตัวอย่างเช่น
คนจีน มีรายได้ต่อหัวโดยเฉลี่ย 400,000 บาทต่อปี ใช้เวลาทำงานเฉลี่ย 2,174 ชั่วโมงต่อปี
คนอเมริกัน มีรายได้ต่อหัวโดยเฉลี่ย 1,700,000 บาทต่อปี ใช้เวลาทำงานเฉลี่ย 1,757 ชั่วโมงต่อปี
ขณะที่ประเทศที่ใช้เวลาทำงานน้อยที่สุด อย่างเยอรมนี
ใช้เวลาในการทำงานเฉลี่ย 1,354 ชั่วโมงต่อปี หรือน้อยกว่าเวลาการทำงานเฉลี่ยในประเทศไทย 1.6 เท่า
ขณะที่ประชากรมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 1,490,000 บาท มากกว่าคนไทย 3.0 เท่า
มาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า แนวคิดของคุณ Henry Ford ผู้ริเริ่มการลดชั่วโมงทำงานลงมาเหลือ 5 วัน เพื่อให้พนักงานมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น ได้ส่งผลไปถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้ ตั้งแต่ระดับบริษัท ไปจนถึงระดับประเทศ
แนวคิดดังกล่าว ยังคงได้รับการพิสูจน์ว่าใช้ได้ผล มาจนถึงทุกวันนี้
และในวันนี้ จำนวนวันในการทำงานของมนุษย์ ก็ดูเหมือนกำลังจะลดลงอีกครั้ง เหลือเพียง 4 วัน หลังจากที่มีวันทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ มาเกือบร้อยปี..
References
-https://www.bbc.co.uk/bitesize/articles/zf22kmn
-https://www.cnbc.com/2017/05/03/how-the-8-hour-workday-changed-how-americans-work.html
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-03-02/four-day-work-week-gains-popularity-around-the-world
-https://www.businessinsider.com/microsoft-4-day-work-week-boosts-productivity-2019-11
-https://www.blockdit.com/posts/600ff400b7abb12d2d440aae
-https://ourworldindata.org/working-hours